เนื้อหาวันที่ : 2009-07-20 19:50:14 จำนวนผู้เข้าชมแล้ว : 8543 views

ซัพพลายเชนในกระบวนการเติมเต็มสินค้าคงเหลือให้เพียงพอตลอดเวลา (Replenishment)

ระบบการจัดการสินค้าคงคลังในปัจจุบันที่มีการนิยมใช้คือ แบบต่อเนื่อง และแบบสินค้าปลายงวด ซึ่งระบบการสั่งซื้อมีหลายตัวแบบในการคำนวณ ขึ้นกับสภาวการณ์ต่าง ๆ เพื่อกำหนดจำนวนที่สั่งซื้อ เวลาในการสั่งซื้อ และจุดสั่งซื้อใหม่ เพื่อใช้เป็นทางเลือกระหว่างต้นทุนค่าจัดเก็บ และต้นทุนการสั่งซื้อสินค้า นอกจากนั้นยังสามารถใช้ตัดสินใจในการพิจารณาเลือกการลงทุนให้มีต้นทุนการสั่งซื้อต่ำสุด และสามารถลดต้นทุนสินค้าคงคลังทั้งระบบในซัพพลายเชนต่ำสุด

บูรณะศักดิ์  มาดหมาย
Buranasak_madmaiy@yahoo.com

.

.

ระบบการจัดการสินค้าคงคลังในปัจจุบันที่มีการนิยมใช้คือ แบบต่อเนื่อง และแบบสินค้าปลายงวด ซึ่งระบบการสั่งซื้อมีหลายตัวแบบในการคำนวณ ขึ้นกับสภาวการณ์ต่าง ๆ เพื่อกำหนดจำนวนที่สั่งซื้อ เวลาในการสั่งซื้อ และจุดสั่งซื้อใหม่ ที่นิยมใช้มากที่สุดคือ การสั่งแบบต่อเนื่องเมื่อสินค้าถูกใช้ และการสั่งซื้อเมื่อจำนวนสินค้าเหลือตามจำนวนที่กำหนด ซึ่งนิยมการสั่งซื้อโดยใช้แบบจำลองปริมาณการสั่งซื้อแบบประหยัด (EOQ) เพื่อใช้เป็นทางเลือกระหว่างต้นทุนค่าจัดเก็บ และต้นทุนการสั่งซื้อสินค้า นอกจากนั้นยังสามารถใช้ตัดสินใจในการพิจารณาเลือกการลงทุนให้มีต้นทุนการสั่งซื้อต่ำสุด และสามารถลดต้นทุนสินค้าคงคลังทั้งระบบในซัพพลายเชนต่ำสุด

.
ขนาดการสั่งซื้อที่ประหยัด 

เป็นระบบสินค้าคงคลังที่ใช้กันอย่างแพร่หลายมานาน โดยที่ระบบนี้ใช้กับสินค้าคงคลังที่มีลักษณะของความต้องการที่เป็นอิสระไม่เกี่ยวข้องต่อเนื่องกับความต้องการของสินค้าคงคลังตัวอื่น จึงต้องวางแผนพิจารณาความต้องการอย่างเป็นเอกเทศด้วยวิธีการพยากรณ์อุปสงค์ของลูกค้าโดยตรง เช่น การวางแผนผลิตรถยนต์นั่งส่วนบุคคล บริษัทรถยนต์จะพยากรณ์อุปสงค์จากจำนวนครอบครัวขนาดเล็กถึงปานกลางที่มีรายได้รวมเกินกว่า 50,000 บาทต่อเดือน

.

ระบบขนาดการสั่งซื้อที่ประหยัดจะพิจารณาต้นทุนรวมของสินค้าคงคลังที่ต่ำสุดเป็นหลัก เพื่อกำหนดระดับปริมาณการสั่งซื้อต่อครั้งที่เรียกว่า "ขนาดการสั่งซื้อที่ประหยัด" การใช้ระบบขนาดการสั่งซื้อที่ประหยัดมีทั้ง 4 สภาวการณ์ดังต่อไปนี้

.

ขนาดการสั่งซื้อที่ประหยัดที่อุปสงค์คงที่และสินค้าคงคลังไม่ขาดมือ โดยมีสมมติฐานที่กำหนดเป็นขอบเขตไว้ว่า
  1) ทราบปริมาณอุปสงค์อย่างชัดเจน และอุปสงค์คงที่
  2) ได้รับสินค้าที่สั่งซื้อพร้อมกันทั้งหมด
  3) รอบเวลาในการสั่งซื้อ ซึ่งเป็นช่วงเวลาตั้งแต่สั่งซื้อจนได้รับสินค้าคงที่
  4) ต้นทุนการเก็บรักษาสินค้า และต้นทุนการสั่งซื้อคงที่
  5) ราคาสินค้าที่สั่งซื้อคงที่
  6) ไม่มีสภาวะของขาดมือเลย

.
การหาขนาดการสั่งซื้อประหยัด (EOQ) และต้นทุนรวม (TC) จะทำได้จาก
  EOQ    = 
  TCmin =  

โดย    EOQ = ขนาดการสั่งซื้อต่อครั้งที่ประหยัด (Q*)
              D = อุปสงค์หรือความต้องการสินค้าต่อปี (หน่วย)
            Co = ต้นทุนการสั่งซื้อ หรือต้นทุนการตั้งเครื่องจักรใหม่ต่อครั้ง (บาท)
            Cc = ต้นทุนการเก็บรักษาต่อหน่วยต่อปี (บาท)
             Q = ปริมาณการสั่งซื้อต่อครั้ง (หน่วย)
            TC = ต้นทุนสินค้าคงคลังโดยรวม (บาท)

.
ต้นทุนการสั่งซื้อต่อปี       = 
ต้นทุนการเก็บรักษาต่อปี  = 
จำนวนการสั่งซื้อต่อปี      = 

รอบเวลาการสั่งซื้อ         = 

.

ถ้าต้องการต้นทุนรวมที่ต่ำสุด จำนวนสั่งซื้อต่อปี หรือรอบเวลาการสั่งซื้อที่จะสามารถประหยัดได้มากที่สุด ให้แทน Q ด้วย EOQ หรือ Q* ที่คำนวณได้

.

ตัวอย่าง บริษัทจำหน่ายวัสดุผนังหินสังเคราะห์ในประมาณการว่า ปีนี้จะมีอุปสงค์รวม 10,000 ตารางเมตร ต้นทุนการเก็บรักษาต่อหลายเท่ากับ 0.75 บาท ต้นทุนการสั่งซื้อครั้งละ 150 บาท จงหา

.
1.ขนาดการสั่งซื้อที่ประหยัด (EOQ)
      EOQ = 
             = 
             = 2,000 ตารางเมตร
2.ต้นทุนรวมที่ต่ำสุด
  TCmin  =  
             = 
             = 1,500 บาท
3.จำนวนครั้งของการสั่งซื้อที่ประหยัดที่สุด
   =   = 5 ครั้งต่อปี
4.ถ้าบริษัทเปิดขาย 311 วันต่อปี รอบการสั่งซื้อประหยัดที่สุดคือ
   =  = 62.2 วัน
.

ขนาดการสั่งซื้อที่ประหยัดมีอุปสงค์คงที่และมีสินค้าขาดมือบ้าง เนื่องจากการที่ของขาดมือก่อให้เกิดความประหยัดบางประการ อันจะทำให้ต้นทุนการสั่งซื้อหรือต้นทุนการตั้งเครื่องใหม่ลดต่ำลง เพราะผลิตหรือสั่งซื้อของล็อตใหญ่ขึ้น สินค้านั้นมีต้นทุนการเก็บรักษาสูงมากจึงไม่มีการเก็บของไว้เลย เช่น ในร้านตัวแทนจำหน่ายรถยนต์มักจะเกิดสภาวการณ์นี้ เพราะรถยนต์แต่ละคันมีราคาแพง จึงมีการจอดแสดงอยู่เพียงคันละรุ่น  

.

เมื่อลูกค้าตกลงใจเลือกซื้อรถแบบที่ต้องการแล้ว ก็จะเลือกสีรถจากตัวอย่างสีในใบรายการ ตัวแทนจำหน่ายจะรับคำสั่งซื้อนี้ไปสั่งรถจากบริษัทผลิต และติดตั้งอุปกรณ์แต่งรถตามความต้องการของลูกค้าซึ่งจะใช้เวลารอคอยสักระยะหนึ่ง โดยที่ต้องระวังมิให้นานเกินไป ข้อสมมติฐานของกรณีนี้มีดังต่อไปนี้

.

1.เมื่อของล็อตใหม่ซึ่งมีจำนวนเท่ากับ Q มาถึง จะต้องรีบส่งตามจำนวนที่ขาดมือ (S) ที่ค้างไว้ก่อนทันที ส่วนของที่เหลือซึ่งเท่ากับ (Q-S) จะเก็บเข้าคลังสินค้า
2.ระดับสินค้าคงคลังต่ำสุดเท่ากับ –S ระดับสินค้าคงคลังสูงสุดเท่ากับQ-S
3.ระยะเวลาของสินค้าคงคลัง (T) จะแบ่งออกได้เป็น 2 ส่วน คือ
   T1 คือ ระยะเวลาช่วงที่มีสินค้าจะขายได้
   T2 คือ ระยะเวลาช่วงที่สินค้าขาดมือ

.
ขนาดการสั่งซื้อที่ประหยัด ระดับสินค้าขาดมือที่ประหยัด และต้นทุนรวมจะหาได้จาก
          Q* = 
          S* = Q*
          TC =  
.
โดยที่  Q* = ขนาดการสั่งซื้อที่ประหยัด
          S* = ระดับสินค้าขาดมือที่ประหยัด
          Cg = ต้นทุนสินค้าขาดมือต่อหน่วยต่อปี
ระดับสินค้าคงคลังเฉลี่ย = 
ระยะเวลาช่วงที่มีสินค้าขาย (T ) = 
ระยะเวลาช่วงที่สินค้าขาดมือ (T ) = 
เวลารอคอยของสินค้าคงคลัง (T) = T1 + T2
                                            = 
                                            = 
.

ตัวอย่าง  ศูนย์จำหน่ายรถมิตซูบิชินครราชสีมาซึ่งเป็นตัวแทนจำหน่ายรถปิคอัพขับเคลื่อนสี่ล้อ คาดว่าปีนี้จะมีอุปสงค์ 500 คัน ต้นทุนการสั่งซื้อครั้งละ 250 บาท ต้นทุนการจมของเงินทุนเท่ากับ 1,200 บาท ต่อคันต่อปี  ต้นทุนสินค้าขาดมือ เป็น 200 บาท ต่อคันต่อปี จงหา

.

1.ขนาดการสั่งซื้อที่ประหยัด (Q*)      = 
                                                  = 
                                                  =   38.19   (38) คัน
 2.ระดับของขาดมือที่ประหยัด (S*)   = Q*
                                                  = 38.19* 
                                                  = 32.73 คัน
 3.เวลารอคอยของสินค้าคงคลัง   =  = 0.076 ปี = 27.73 วัน
 4.ระดับสินค้าคงคลังสูงสุด   = Q*-S* = 38.19 – 32.73 = 5.46 คัน
 5.จำนวนครั้งของการสั่งซื้อต่อปี     =  = 13.09 ครั้ง
 6.ต้นทุนสินค้าคงคลังต่ำสุดต่อปี    = 
       
         = 
         = 3,273+468+2,805 = 6,546 บาท

.
ขนาดการสั่งซื้อที่ประหยัดที่ทยอยรับทยอยใช้สินค้า สินค้าคงคลังไม่ได้ถูกส่งมาพร้อมกันในคราวเดียวแต่ทยอยส่งมาและในขณะนั้นมีการใช้สินค้าไปด้วย โดยที่อัตราการรับ (p) ต้องมากกว่าอัตราการใช้ (d) ทั้งสองอัตรามีค่าเฉลี่ยคงที่และไม่มีของขาดมือ สินค้าคงคลังจะสะสมส่วนที่เหลือจากการใช้มากขึ้นเรื่อยๆ จนถึงจุดสูงสุด
.

การหาขนาดสั่งซื้อที่ประหยัดและต้นทุนรวมทำได้จาก
            Q opt =  

          TC   = 
 โดยที่   p   = อัตราการรับสินค้า
            d   = อัตราการใช้สินค้า
            E   = อัตราการตั้งเครื่องจักรใหม่ต่อล็อตการผลิตตัวแปรอื่นเหมือนกรณีที่ 1
 ระดับสินค้าคงคลังสูงสุด   = Q -  = Q
 ระดับสินค้าคงคลังเฉลี่ย   = 
 ระยะเวลาที่ทยอยซื้อทยอยใช้ (T )   = 
 ระยะเวลาที่ใช้สินค้าเพียงอย่างเดียว (T )  = 
 ระยะเวลาของสินค้าคงคลัง (T)   = Tp + Td
     = 

.

ตัวอย่าง  โรงงานผลิตหุ่นยนต์เศษเหล็กมีอุปสงค์เท่ากับ 2,000 ตัวต่อปี  ต้นทุนการตั้งเครื่องแต่ละครั้งเท่ากับ 100 บาท  ต้นทุนการเก็บรักษาเท่ากับ 2 บาทต่อตัวต่อปี อัตราการผลิตเท่ากับ 8,000 ตัวต่อปี ให้หาค่าต่อไปนี้

.

1.ขนาดการผลิตที่ประหยัด
  =  = 516 วัน
 2.ระดับสินค้าคงคลังสูงสุด
  = Q  = 516  = 387 วัน
 3.รอบเวลาสินค้าคงคลัง
  =  =  = 0.259 ปี หรือ 94.5 วัน
 4.ต้นทุนสินค้าคงคลังรวม
  = 
  =  = 774 บาท

.
ขนาดการสั่งซื้อที่ประหยัดที่มีส่วนลดปริมาณ (Quantity Discount)

เมื่อซื้อของจำนวนมากฝ่ายจัดซื้อมักจะต่อรองให้ราคาสินค้าต่อหน่วยลดลงซึ่งได้มีสมมติฐานว่า ยิ่งจำนวนที่ซื้อมากเท่าไร ราคาต่อหน่วยของสินค้ายิ่งลดลงเท่านั้น นอกจากนั้นปริมาณสั่งซื้อที่เปลี่ยนแปลงไปจะมีผลทำให้ต้นทุนการเก็บรักษาเปลี่ยน

.

ดังนั้น วิธีการที่จะคำนวณให้ได้ขนาดการสั่งซื้อที่ประหยัดที่สุดจึงต้องพิจารณาต้นทุนของสินค้าที่ราคาต่างกันด้วย ขั้นตอนของการคิดมีดังต่อไปนี้

.
1.คำนวณหาขนาดการสั่งซื้อที่ประหยัดแล้วหาต้นทุนสินค้าคงคลังรวมที่ EOQ
ต้นทุนสินค้าคงคลังรวม =
.
เมื่อ   P     เป็นราคาของสินค้าแต่ละระดับปริมาณการซื้อ
        Cc    เป็นต้นทุนการเก็บรักษาแต่ละระดับปริมาณการซื้อ 
.

ถ้าขนาดการสั่งซื้อที่ประหยัดที่คำนวณได้อยู่ในช่วงปริมาณที่สั่งซื้อได้ในระดับราคาต่ำสุด ขนาดการสั่งซื้อที่ประหยัดที่คำนวณได้คือ ปริมาณการสั่งซื้อที่ประหยัด

.

2.ถ้าขนาดการสั่งซื้อที่ประหยัดที่คำนวณได้ ไม่อยู่ในช่วงปริมาณที่สามารถสั่งซื้อได้ในระดับราคาต่ำสุด ให้คำนวณต้นทุนรวมของการเก็บสินค้าคงคลังที่ปริมาณการสั่งซื้อต่ำสุดของระดับราคาสินค้าที่ต่ำกว่าระดับราคาของขนาดการสั่งซื้อที่ประหยัดที่คำนวณได้ แล้วเปรียบเทียบกับต้นทุนรวมที่ขนาดการสั่งซื้อที่ประหยัด เพื่อหาต้นทุนต่ำสุดแล้วกำหนดปริมาณการสั่งซื้อที่ประหยัด

.

ตัวอย่าง อาคารคอนโดมิเนียมใช้น้ำยาทำความสะอาดปีหนึ่งต้องใช้ปีละ 816 แกลลอน คำสั่งซื้อได้ในระดับราคาต่ำสุด 120 บาท ค่าเก็บรักษาเท่ากับ 40 บาท ต่อปีต่อลิตร การให้ส่วนลดของผู้ค้าส่งน้ำยาทำความสะอาดเป็นดังต่อไปนี้

.
ปริมาณการสั่งซื้อต่อครั้งแกลลอน 0 – 49 ราคาต่อแกลลอน

0 – 49
50 – 79
80 – 99
100 ขึ้นไป 

100
90
85
80

.
จงหาขนาดการสั่งซื้อที่ประหยัดที่สุด
  EOQ =    = 69.97 = 70 แกลลอน
.
แต่ปริมาณ 70 แกลลอนจะได้ราคาแกลลอนละ 90 บาท ซึ่งไม่ใช้ราคาต่ำสุด ดังนั้นจึงต้องคำนวณต้นทุนสินค้าคงคลังรวม เปรียบเทียบกับต้นทุนสินค้าคงคลังรวมที่ราคา 85 และ 80 บาท ตามลำดับ
.
1.เมื่อสั่งซื้อที่ 70 แกลลอน ราคาแกลลอนละ 90 บาท
  ต้นทุนรวม   = ต้นทุนสินค้า + ต้นทุนการสั่งซื้อ + ต้นทุนการเก็บรักษา
                  = (90x816) +  +
                  = 76,239 บาท
 2.เมื่อสั่งซื้อที่ 80 แกลลอน ราคาแกลลอนละ 85 บาท
  ต้นทุนรวม    = (85x816) +  +
                   = 72,184 บาท
 3.เมื่อสั่งซื้อที่ 100 แกลลอน ราคาแกลลอนละ 80 บาท
  ต้นทุนรวม    = (80x816) +  +
                   = 68,259 บาท
 ต้นทุนรวมที่ต่ำสุดคือปริมาณการสั่งซื้อครั้งละ 100 แกลลอน
.
จุดสั่งซื้อใหม่ (Reorder Point)

ในการจัดซื้อสินค้าคงคลัง เวลาก็เป็นปัจจัยที่สำคัญอย่างยิ่งตัวหนึ่ง โดยเฉพาะอย่างยิ่งถ้าระบบการควบคุมสินค้าคงคลังของกิจการเป็นแบบต่อเนื่อง จะสามารถกำหนดที่จะสั่งซื้อใหม่ได้เมื่อพบว่าสินค้าคงคลังลดเหลือระดับหนึ่งก็จะสั่งซื้อของมาใหม่ในปริมาณคงที่เท่ากับปริมาณการสั่งซื้อที่กำหนดไว้ ซึ่งเรียกว่า Fixed order Quantity System จุดสั่งซื้อใหม่นั้นมีความสัมพันธ์แปรตามตัวแปร 2 ตัว คือ อัตราความต้องการใช้สินค้าคงคลังและรอบเวลาในการสั่งซื้อ (Lead Time) ภายใต้สภาวการณ์ 4 แบบ ดังต่อไปนี้

.

จุดสั่งซื้อใหม่ในอัตราความต้องการสินค้าคงคลังคงที่และรอบเวลาคงที่ เป็นสภาวะที่ไม่เสี่ยงที่จะเกิดสินค้าขาดมือเลย เพราะทุกสิ่งทุกอย่างแน่นอน
  จุดสั่งซื้อใหม่     R = d x L
  โดยที่              d = อัตราความต้องการสินค้าคงคลัง
                        L = เวลารอคอย

.

ตัวอย่าง ถ้าโรงงานทำซาลาเปาฮ่องเต้ใช้แป้งสาลี วันละ 10 ถุง และการสั่งแป้งจากร้านค้าส่งจะใช้เวลา 2 วันกว่าของจะมาถึง จุดสั่งซื้อใหม่จะเป็นเท่าใด
  จุดสั่งซื้อใหม่      = d x L
                         = 10 x 2
                         = 20 ถุง
 เมื่อแป้งสาลีเหลือ 20 ถุง ต้องทำการสั่งซื้อใหม่มาเพิ่มเติม

.

สต็อคเพื่อความปลอดภัย (Safety Stock) เป็นสต็อคที่ต้องสำรองไว้กันสินค้าขาดเมื่อสินค้าถูกใช้และปริมาณลดลงจนถึงจุดสั่งซื้อ (Reorder point) เป็นจุดที่ใช้เตือนสำหรับการสั่งซื้อรอบถัดไป เมื่ออุปสงค์สูงกว่าสินค้าคงคลังที่เก็บไว้ เป็นการป้องกันสินค้าขาดมือไว้ล่วงหน้า หรืออีกคำอธิบายหนึ่งเป็นการเก็บสะสมสินค้าคงคลังในช่วงของรอบเวลาในการสั่งซื้อ 

.

ระดับการให้บริการ (Service Level) เป็นวิธีการวัดปริมาณสต็อคเพื่อความปลอดภัย เพื่อให้สอดคล้องกับข้อกำหนดในด้านคุณภาพ โดยปกติในระบบคุณภาพลูกค้าจะมีการคาดหวังในระดับที่กำหนดเป็นร้อยละของการสั่งซื้อว่าสามารถจัดส่งได้หรือไม่ ซึ่งขึ้นกับนโยบายที่ป้องกันสต็อคขาดมือ โดยขึ้นอยู่กับต้นทุนสำหรับสต็อคเพิ่มเติม และเสียยอดขายเนื่องจากไม่สอดคล้องกับอุปสงค์

.

จุดสั่งซื้อใหม่ในอัตราความต้องการสินค้าคงคลังที่แปรผันและรอบเวลาคงที่ เป็นสภาวะที่อาจเกิดของขาดมือได้เพราะว่าอัตราการใช้หรือความต้องการสินค้าคงคลังไม่สม่ำเสมอ จึงต้องมีการเก็บสินค้าคงคลังเผื่อขาดมือ (Cycle-Service Level) ซึ่งจะเป็นโอกาสที่ไม่มีของขาดมือ

.
.

ตัวอย่าง  บริษัทเช่ารถตุ๊กตุ๊กมีผู้มาเช่าทุก 10 วัน พบว่าการกระจายของจำนวนลูกค้าที่มาเช่านั้นเป็นแบบปกติ และมีความเบี่ยงเบนมาตรฐาน 2 ราย ลูกค้าแต่ละรายมักจะเช่าไปครั้งละ 2 วัน ระดับการให้บริการประมาณร้อยละ 95 จงหาจุดสั่งซื้อของรถตุ๊กตุ๊ก

.
.

จุดสั่งซื้อในอัตราความต้องการสินค้าคงคลังคงที่และรอบเวลาแปรผัน เป็นสภาวะที่รอบเวลามีลักษณะการกระจายของข้อมูลแบบปกติ

.
.

ตัวอย่าง  บริษัทที่ปรึกษาใช้หมึกพิมพ์สำหรับเครื่องพร็อตกราฟ 6 กล่อง ในแต่ละสัปดาห์ การสั่งซื้อหมึกพิมพ์ใหม่ใช้ในเวลารอคอยเฉลี่ย 0.5 สัปดาห์และมีความเบี่ยงเบนมาตรฐาน 0.25 สัปดาห์ ถ้าต้องการระดับวงจรของการบริการ 97% จงหาจุดสั่งซื้อใหม่ 

.
.

จุดสั่งซื้อใหม่ในอัตราความต้องการสินค้าแปรผันและรอบเวลาแปรผัน โดยที่ทั้งอัตราความต้องการสินค้าและรอบเวลามีลักษณะการกระจายของข้อมูลแบบปกติทั้งสองตัวแปร

.
.

ตัวอย่าง  การขายหมึกฟิล์มเลเซอร์ของร้านเครื่องเขียน มีการกระจายของข้อมูลแบบปกติ ซึ่งมีค่าเฉลี่ย 100 กล่องต่อวัน และมีความเบี่ยงเบนมาตรฐาน 10 กล่องต่อวัน รอบเวลามีการกระจายของข้อมูลแบบปกติซึ่งมีค่าเฉลี่ย 5 วัน และค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน 1 วัน ถ้าต้องการระดับการให้บริการร้อยละ 90 จงหาจุดสั่งซื้อใหม่

.
.

ส่วนการพิจารณาจุดสั่งซื้อใหม่ในกรณีที่การตรวจสอบสินค้าคงคลังเป็นแบบสิ้นงวดเวลาที่กำหนดไว้ (Fixed Time Period System) จะแตกต่างกับการตรวจสอบสินค้าคงคลังแบบต่อเนื่องตรงที่ปริมาณการสั่งซื้อแต่ละครั้งจะไม่คงที่ และขึ้นอยู่กับว่าสินค้าพร่องลงไปเท่าใดก็ซื้อเติมให้เต็มระดับเดิม

.
.

ข้อมูลอ้างอิง

• http://e-learning.mfu.ac.th
• http://www.phrae.mju.ac.th
• http://www.sirikitdam.egat.com
• http://www.pwstation.com
• http://www.nppointasia.com
• http://classroom.hu.ac.th
• เอกสารการออกแบบระบบบริหารคลังสินค้า, สมาคมสมองกลฝังตัวไทย สถาบันไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ บริษัท Identify จำกัด
• เอกสารประกอบการสัมมนา สัมมนาการจัดการเทคโนโลยีสารสนเทศ, มานิตา  ศฤงคารินทร์, มกราคม  พ.ศ. 2549

สงวนลิขสิทธิ์ ตามพระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ พ.ศ. 2539 www.thailandindustry.com
Copyright (C) 2009 www.thailandindustry.com All rights reserved.

ขอสงวนสิทธิ์ ข้อมูล เนื้อหา บทความ และรูปภาพ (ในส่วนที่ทำขึ้นเอง) ทั้งหมดที่ปรากฎอยู่ในเว็บไซต์ www.thailandindustry.com ห้ามมิให้บุคคลใด คัดลอก หรือ ทำสำเนา หรือ ดัดแปลง ข้อความหรือบทความใดๆ ของเว็บไซต์ หากผู้ใดละเมิด ไม่ว่าการลอกเลียน หรือนำส่วนหนึ่งส่วนใดของบทความนี้ไปใช้ ดัดแปลง โดยไม่ได้รับอนุญาตเป็นลายลักษณ์อักษร จะถูกดำเนินคดี ตามที่กฏหมายบัญญัติไว้สูงสุด