ภาวะเศรษฐกิจภาคใต้ ไตรมาสที่ 2 ปี 2551 ขยายตัว โดยด้านอุปทานขยายตัวดีตามผลผลิต และราคาพืชผลสำคัญที่ขยายตัวดี รวมทั้งการผลิตภาคอุตสาหกรรมและการท่องเที่ยวที่ขยายตัวเช่นกัน ด้านอุปสงค์ การอุปโภคบริโภคภาคเอกชนชะลอตัว ขณะที่การส่งออก และการเบิกจ่ายงบประมาณขยายตัว พร้อมกันนั้นการลงทุนปรับตัวดีขึ้น โดยเฉพาะการก่อสร้าง
การสร้างเศรษฐกิจของประเทศไทยให้เจริญเติบโต คนกลุ่มหนึ่งที่ถูกมองข้ามมาโดยตลอดคือกลุ่มแรงงานระดับล่างที่ทำงานในงานประเภทที่ค่อนข้างจะเสี่ยงอันตรายส่วนใหญ่จะเป็นแรงงานข้ามชาติจากประเทศเพื่อนบ้านสามประเทศ คือ พม่า ลาวและกัมพูชา ที่เข้าเมืองโดยผิดกฎหมาย แต่สามารถอาศัยอยู่และทำงานในประเทศไทยได้ตามแนวนโยบายของรัฐในแต่ละปี
รัฐบาลได้วางแผนงานในการแก้ไขปัญหา "ความยากจน" โดยเฉพาะเกษตรกรในภาคชนบทตามการนิยามของรัฐบาล มีกระบวนการกลไกต่างๆที่จะทำให้ปัญหา "ความยากจน" หลุดพ้นไปจากสังคมไทย แต่ผู้เขียนคิดว่าปัญหา "ความยากจน" ที่รัฐบาลมีแผนงานนั้นหาได้เป็นการแก้ไขปัญหาระดับโครงสร้างแต่อย่างใด บทความชิ้นนี้จึงขอเสนอมุมมองปัญหาเชิงโครงสร้างอย่างน้อย 3 ประการที่ก่อให้เกิด "ความยากจน"
มหาอำนาจทางเศรษฐกิจทั้งหลายอย่างสหรัฐอเมริกา ญี่ปุ่น หรือ ยุโรป เริ่มหันมาสนับสนุนให้เกษตรกรของตนเองปลูกพืชทดแทนพลังงานหรือ Biofuel ด้วยเหตุนี้เองพื้นที่ที่เคยใช้ทำการเกษตรเพื่อผลิตอาหารได้ถูกเปลี่ยนไปปลูกพืชทดแทนพลังงาน ทำให้ปริมาณสินค้าเกษตรที่เคยผลิตได้ลดลง ส่งผลให้ราคาสินค้าเหล่านี้แพงขึ้น และนี่จึงเป็นที่มาของคำว่า "ราคาอาหารเฟ้อ" หรือ Agflation นั่นเอง
เงินเฟ้อที่พุ่งสูงขึ้นจากภาวะวิกฤตการณ์นี้ทำให้นักลงทุนเกิดความกังวลและเริ่มถอนการลงทุนในภูมิภาคเอเชีย ทำให้ดัชนีตลาดหลักทรัพย์และค่าเงินสกุลภูมิภาคเอเชียลดลง วิกฤตเศรษฐกิจเวียดนาม หรือวิกฤต "เฝอ" ในปัจจุบันจะส่งผลลุกลามทำให้เศรษฐกิจไทยตกต่ำดังเช่นที่เคยเกิดขึ้นในช่วงปี 2540 หรือไม่
ขณะนี้หลายฝ่ายตั้งคำถามว่าโครงการขนาดใหญ่ของภาครัฐนั้นที่แท้คือโครงการอะไรกันแน่ แล้วก็พบคำตอบว่าหลีกไม่พ้นโครงการสร้างเขื่อนอยู่นั่นเอง โดยในระยะ 10 กว่าปีที่ผ่านมานี้ ประเทศไทยเริ่มประสบปัญหาภัยแล้งรวมทั้งต้องเผชิญอุทกภัยมากยิ่งขึ้น ขณะที่ทิศทางการบริหารจัดการน้ำแบบรวมศูนย์อำนาจของรัฐไทย ยังคงมุ่งพัฒนาแหล่งน้ำขนาดใหญ่โดยเฉพาะการสร้าง "เขื่อน" เพื่อแก้ปัญหาทั้งภัยแล้งและอุทกภัยมากขึ้นตามไปด้วย
บทบาทที่สำคัญในการพัฒนาเทคโนโลยีของตนเองในขณะที่ทฤษฎีของภาครัฐเชิงพัฒนาเห็นว่าบทบาทของภาครัฐในการสร้างขีดความสามารถทางเทคโนโลยีของตนเองมีความ สำคัญยิ่งต่อความอยู่รอดอย่างยั่งยืนของอุตสาหกรรมนี้ โดยประเทศในเอเชียใต้ไม่เพียงแต่ยืมเทคโนโลยีหรือเอาเทคโนโลยีใหม่กว่าจากตะวันตกมาใช้เพื่อยกระดับอุตสาหกรรมเท่านั้น ภาครัฐยังมีบทบาทสำคัญในการสร้างขีดความสามารถทางเทคโนโลยีของตนเองอีกด้วย
ในช่วงสี่ทศวรรษที่ผ่านมา จีนได้กลายเป็นตลาดที่ใหญ่ที่สุดของโลกสำหรับเซมิคอนดักเตอร์ จากการย้ายฐานการผลิตมาจีน ในขณะที่สหรัฐฯ เป็นผู้นำเข้าสุทธิในปัจจุบัน ทั้งที่สหรัฐฯ เคยเป็นผู้นำนวัตกรรมด้านนี้มาก่อน แต่จีนตามทันและแซงหน้าสหรัฐฯ ไปในปี 2546 ซึ่งสะท้อนให้เห็นถึงการย้ายฐานการผลิตเครื่องมืออิเล็กทรอนิกส์ไปสู่ภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก โดยเฉพาะจีน
ในประเทศไทยแรงงานนอกระบบซึ่งประกอบด้วย แรงงานในภาคเกษตร ผู้ผลิต เพื่อขาย ผู้รับงานไปทำที่บ้าน ผู้ใช้แรงงานในภาคบริการต่างๆ หาบเร่แผงลอย และผู้ประกอบอาชีพอิสระอื่น ๆ มีจำนวนรวมถึง 22.5 ล้านคน คิดเป็นร้อยละ 62.1 ของกำลังแรงงานทั้งประเทศจำนวน 36.3 ล้านคน
สถานการณ์การเปลี่ยนแปลงภายใต้กระแสการบริโภคนิยมที่ทำให้ประชาชน พลเมืองต้องตกเป็นลูกค้า ถูกชักชวน โน้มน้าวให้ซื้อสินค้าต่างๆ มากมาย อาทิ การเพิ่มขึ้นของปริมาณรถยนต์ รถจักรยานยนต์ ที่วิ่งกันเต็มท้องถนน ซึ่งสิ่งที่ตามมานั่นก็คือ จำนวนของผู้ได้รับบาดเจ็บ หรือเสียชีวิตจากอุบัติเหตุที่เกิดจากการขับขี่รถยนต์ หรือรถจักรยานยนต์ และดูเหมือนจะเพิ่มขึ้นตามจำนวนยานพาหนะที่เพิ่มขึ้นด้วย
ผลงานวิจัยล่าสุดชี้ว่ากรุงเทพฯ เป็นเมืองอันดับที่เจ็ดของโลกซึ่งจะได้รับผลกระทบด้านอุทกภัยอย่างรุนแรงเนื่องจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศและการทรุดตัวของแผ่นดิน ในขณะเดียวกันนักวิทยาศาสตร์และนักเศรษฐศาสตร์ไทยบอกว่าเราจะเป็นฝ่ายแพ้ในเกมนี้ ถ้าไม่ดำเนินการอย่างจริงจังเพื่อปกป้องเมืองหลวง
พระนักคิด นักสังคมวิทยาและนักเศรษฐศาสตร์ ฟันธง การใช้ชีวิตอย่างเรียบง่าย ลดการบริโภคแบบวัตถุนิยม ในที่สุดจะสามารถโค่นทุนนิยมที่ครอบครองโลกอย่างทรงพลังในขณะนี้ แม้ว่าทุนนิยมจะพยายามคิดค้นเครื่องมือใหม่ ๆ ที่ลดการเอาเปรียบสังคมและสิ่งแวดล้อมก็ตาม
เราอาจจะเข้าใจกับความล้มเหลวนี้ดีขึ้น ถ้าเราเพียงแต่เข้าใจว่า ถึงโลกจะร้อน น้ำแข็งขั้วโลกจะละลาย โรคระบาดจะเกิด น้ำจะท่วมแผ่นดิน ฝนจะแล้ง อากาศจะแปรปรวน วิถีชีวิตผู้คนจะได้รับผลกระทบอย่างคาดไม่ถึง สำหรับกลุ่มผลประโยชน์และชนชั้นนำบางกลุ่มบนโลกใบนี้ เรื่องของธุรกิจก็ยังเป็นธุรกิจอยู่วันยังค่ำ และก็ไม่มีทางที่แปรเปลี่ยนเป็นอย่างอื่นไปได้
ทุกวันนี้ CSR ถือเป็นประเด็น "ของเล่นใหม่" ที่กำลังมาแรง และแทนที่ผู้เกี่ยวข้องบางส่วนจะมุ่งเน้นที่ความรับผิดชอบต่อสังคมตามคำนิยาม กลับพยายามทำให้เป็นการอาสาทำดีแบบจับแพะชนแกะ นอกเรื่องอย่างมากจนบดบังบทบาทความรับผิดชอบของธุรกิจต่อสังคมไปเสีย แจกแจงให้เห็นกันชัด ๆ ว่าอะไรคือเปลือก และอะไรคือแก่น แล้วเราจะเอาแต่เปลือกหรือแก่น
ความก้าวหน้าและการขยายขอบเขตความตกลงของ FTA ในปัจจุบันมีการพัฒนาออกไปไกลกว่าเฉพาะการสร้างความสะดวกในการแลกเปลี่ยนสินค้าระหว่างกันเท่านั้น แต่จะครอบคลุมประเด็นที่สำคัญที่คู่เจรจาทุกฝ่ายพอใจ ตั้งแต่การลงทุน การบริการ และการพัฒนาด้านต่างๆ ร่วมกัน ทั้งนี้เพื่อให้แน่ใจคู่สัญญาจะสามารถได้ประโยชน์จากข้อตกลงดังกล่าวได้อย่างเต็มที
ภาวะโลกร้อนไม่ใช่ปัญหาของใครคนใดคนหนึ่ง แต่คือปัญหาที่ทุกคนต้องช่วยและร่วมมือกันแก้ไขปัญหานี้ เพราะ ในช่วง 1-2 ปีที่ผ่านมา ภัยธรรมชาติที่สร้างความสูญเสียต่างๆ มากมายที่เกิดขึ้น เช่น ไฟป่า แผ่นดินไหว สึนามิ น้ำท่วม คลื่นความร้อน หรือพายุทอร์นาโด นับวันจะยิ่งส่งสัญญาณความรุนแรงเพิ่มมากขึ้น เหมือนเป็นการบ่งบอกและกระตุ้นให้ผู้คนทั่วโลกเร่งใส่ใจกับความเปลี่ยนแปลงของสิ่งแวดล้อม อันเนื่องมาจากสภาวะ โลกร้อน
การเคลื่อนย้ายของทุนเกิดขึ้นราวปลายทศวรรษที่ 80 ครับ กลุ่มทุนจากญี่ปุ่นเริ่มเคลื่อนย้ายฐานการลงทุนมายังดินแดนเอเชียตะวันออกเฉียงใต้โดยเฉพาะไทย อินโดนีเซียและฟิลิปปินส์ ด้วยเหตุนี้เองทศวรรษที่ 90 จึงกลายเป็นทศวรรษที่ขับเคลื่อนให้ประเทศเหล่านี้ก้าวเข้าสู่ระบบทุนนิยมอย่างเต็มตัวก่อนจะมาสะดุดหยุดลงเมื่อคราวเกิดวิกฤตการณ์ทางการเงินเอเชียเมื่อปี ค.ศ.1997