เนื้อหาวันที่ : 2008-05-21 16:46:43 จำนวนผู้เข้าชมแล้ว : 2124 views

ห้าล้านคนกรุงเทพฯ เสี่ยงน้ำท่วมจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ

ผลงานวิจัยล่าสุดชี้ว่ากรุงเทพฯ เป็นเมืองอันดับที่เจ็ดของโลกซึ่งจะได้รับผลกระทบด้านอุทกภัยอย่างรุนแรงเนื่องจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศและการทรุดตัวของแผ่นดิน ในขณะเดียวกันนักวิทยาศาสตร์และนักเศรษฐศาสตร์ไทยบอกว่าเราจะเป็นฝ่ายแพ้ในเกมนี้ ถ้าไม่ดำเนินการอย่างจริงจังเพื่อปกป้องเมืองหลวง

ผลงานวิจัยล่าสุดชี้ว่ากรุงเทพฯ เป็นเมืองอันดับที่เจ็ดของโลกซึ่งจะได้รับผลกระทบด้านอุทกภัยอย่างรุนแรงเนื่องจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศและการทรุดตัวของแผ่นดิน ในขณะเดียวกันนักวิทยาศาสตร์และนักเศรษฐศาสตร์ไทยบอกว่าเราจะเป็นฝ่ายแพ้ในเกมนี้ ถ้าไม่ดำเนินการอย่างจริงจังเพื่อปกป้องเมืองหลวง รายงานขององค์การเพื่อความร่วมมือทางเศรษฐกิจและการพัฒนา (OECD)

.

นับเป็นครั้งแรกที่มีการจัดอันดับ 136 เมืองชายฝั่งทั่วโลกที่มีประชากรมากกว่า 1 ล้านคน โดยคำนวณจากระดับผลกระทบที่จะได้รับในรูปของน้ำท่วมอย่างรุนแรง ตามข้อมูลในรายงานฉบับดังกล่าว ในปัจจุบันประชากรประมาณ 900,000 คนของกรุงเทพฯ มีความเสี่ยงที่จะต้องเผชิญภัยน้ำท่วม 1 ใน 100 ปี และในปี 2070 จะมีประชากรจำนวนถึง 5 ล้านคนที่มีความเสี่ยงดังกล่าว

.

มูลค่าความเสียหายที่มีต่อโครงสร้างพื้นฐานเนื่องจากอุทกภัยคิดเป็นเงินประมาณ 1.3 แสนล้านบาทในปัจจุบัน และในปี 2070 จะเพิ่มขึ้นเป็น 36.7 แสนล้านบาทหากไม่มีระบบป้องกัน ในสายตาของนักเศรษฐศาสตร์ นี่เป็นเพียงสัญญาณเตือนครั้งล่าสุด เพื่อให้ผู้กำหนดนโยบายให้ความใส่ใจกับประเด็นการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศจริงจังมากขึ้นและเริ่มวางแผนล่วงหน้า สฤณี อาชวานันทกุล อาจารย์พิเศษ จากคณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์กล่าว"

.

มันก็เห็นชัดเจน พื้นที่อย่างขุนสมุทรจีนก็จมแล้ว ถ้าไม่ทำอะไรป้องกัน ถึงเวลาก็เสียหาย ปี 2070 อาจฟังดูยังอีกไกล แต่อันที่จริงในแง่ของการวางแผนเพื่อป้องกันหายนะทางเศรษฐกิจ ก็ไม่ถือว่าไกล ยกตัวอย่างเช่น เราจะต้องมีนโยบายป้องกันการพัฒนาทางเศรษฐกิจ ไม่ให้ลุกล้ำลงไปในทะเล ในพื้นที่เสี่ยงตั้งแต่ตอนนี้แล้ว เพื่อจำกัดความเสียหายในอนาคต"

.

กรุงเทพฯ ตั้งอยู่ที่สามเหลี่ยมปากแม่น้ำเจ้าพระยาทำให้มีความเสี่ยงมากกว่าเมืองชายฝั่งอื่นใดในแง่ของการทรุดตัวของแผ่นดิน ทุกปีกรุงเทพฯ จะทรุดลงประมาณ 2-3 ซม. เมื่อพิจารณาถึงระดับน้ำทะเลที่สูงขึ้นและสภาพภูมิอากาศที่เปลี่ยนแปลงอย่างรุนแรงอันเนื่องมาจากภาวะโลกร้อน รวมทั้งการไม่มีแผนจัดการอุทกภัยอย่างดีพอ สัดส่วนของกรุงเทพฯ ที่จะได้รับผลกระทบจะเพิ่มขึ้นอย่างมาก

.

ทั้งนี้ตามความเห็นของ ดร.ธนวัฒน์ จารุพงษ์สกุล หัวหน้าศูนย์ศึกษาข้อมูลภัยพิบัติและที่ดิน จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย "กรุงเทพฯ อาจมีสภาพเดียวกับนิวออลีนตอนที่เจอกับพายุเฮอร์ริเคนแคทรินา ทั้งนี้เพราะมีสภาพภูมิศาสตร์คล้ายคลึงกัน" ธนวัตน์ยืนยัน "ประชากรอย่างน้อย 3 ล้านคนในกรุงเทพฯ จะได้รับผลกระทบทันทีถ้าเราต้องเผชิญกับไต้ฝุ่น ทั้งนี้เนื่องจากเราไม่มีแผนรับมือกับการเปลี่ยนแปลงอย่างฉับพลันเนื่องจากภัยพิบัติเช่นเดียวกับเมืองชายฝั่งอื่น ๆ เมื่อสองปีก่อนคาดการณ์ว่าจะมีไต้ฝุ่นเข้าที่สามเหลี่ยมปากแม่น้ำโขง เวียดนามสามารถเตรียมการเพื่ออพยพประชาชน 200,000-300,000 คนออกจากพื้นที่เสี่ยงได้อย่างรวดเร็ว แต่กรุงเทพฯ จะมีความสามารถเช่นนั้นหรือเปล่า"

.

เขาเสริมด้วยว่าในช่วงที่เกิดน้ำท่วมใหญ่ในปี 1995 หรือที่หลายคนจำกันได้ในนามกรณี "น้ำท่วมไวท์เฮ้าส์" พื้นที่เมืองหลวงเกือบร้อยละ 40 ต้องจมน้ำเป็นเวลาเกือบเดือน "และตอนนี้จะเห็นได้ว่าเราต้องเจอกับพายุบ่อยครั้งขึ้น จากหนึ่งครั้งในทุกสี่หรือห้าปีเป็นหนึ่งครั้งในทุกสองปีในช่วงทศวรรษที่ผ่านมา" ธนวัฒน์ตั้งข้อสังเกต นอกจากผลกระทบต่อมนุษย์แล้วกรุงเทพฯ ยังต้องเผชิญความเสียหายอย่างใหญ่หลวงดานเศรษฐกิจ สฤณี นักเศรษฐศาสตร์กล่าวเตือน เราจะเอาเงินจากที่ไหนมาช่วยผู้ได้รับผลกระทบ หรือมาซ่อมแซมโครงสร้างพื้นฐานที่เสียหาย จากการประเมินขององค์การเพื่อความร่วมมือทางเศรษฐกิจและการพัฒนา น้ำท่วมใหญ่จะทำให้เกิดความเสียหายต่อประเทศ 1.3 แสนล้านบาท

.

ซึ่งคิดเป็นประมาณร้อยละ 20 ของผลิตภัณฑ์มวลรวมประชาชาติ ถ้าเราไม่หาทางป้องกันในตอนนี้มูลค่าความเสียหายจะสูงเพิ่มขึ้นกว่านี้อีก ธนวัฒน์เสริมว่าจำนวนผู้ได้รับผลกระทบที่คาดการณ์ไว้ยังอยู่ต่ำเกินไปองค์การเพื่อความร่วมมือทางเศรษฐกิจและการพัฒนาใช้ตัวเลขจำนวนประชากรอย่างเป็นทางการที่ 6.5 ล้านคนซึ่งเป็นตัวเลขเมื่อปี 2005 ในขณะที่ตัวเลขที่แท้จริงน่าจะอยู่ที่ประมาณ 11 ล้านคน สฤณีเห็นด้วยกับข้อเสนอแนะขององค์การเพื่อความร่วมมือทางเศรษฐกิจและการพัฒนาว่า ถึงเวลาแล้วที่กรุงเทพฯ ต้องจริงจังกับการป้องกันตนเองจากภัยเนื่องจากพายุในอนาคต

.

 มีข้อสังเกตในรายงานว่า ในขณะที่เมืองชายฝั่งที่จะได้รับผลกระทบรุนแรงแห่งอื่นอย่างเช่น อัมสเตอร์ดัม โตเกียวและลอนดอน เมืองเหล่านี้กลับอยู่ในลำดับขั้นที่ต่ำกว่าเมื่อมองในแง่ผลกระทบ ทั้งนี้เพราะในประวัติศาสตร์ที่ผ่านมาเมืองเหล่านี้ทุ่มเทให้กับมาตรการปกป้องโครงสร้างพื้นฐานและกำหนดนโยบายการใช้ที่ดินอย่างจริงจัง รายงานระบุอย่างชัดเจนถึงผลกระทบด้านนโยบาย "...ประโยชน์จากนโยบายการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศในแง่การลดผลกระทบระดับโลกและการปรับตัวของท้องถิ่นในระดับเมืองจะมีมหาศาล

.

ดังที่ระบุถึงในรายงานประเมินผลครั้งที่ 4 ของคณะกรรมการระหว่างรัฐบาลว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ (IPCC) การลดผลกระทบระดับโลกอาจช่วยชะลอและจำกัดความเสียหายอันเนื่องมาจากภัยน้ำท่วมตามชายฝั่งอันเป็นผลมาจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ อย่างน้อยก็ช่วยซื้อเวลาเพื่อช่วยให้เมืองต่าง ๆ ดำเนินมาตรการปรับตัวเอง

.

เนื่องจากเมืองต่าง ๆ มีส่วนรับผิดชอบปล่อยก๊าซเรือนกระจกส่วนใหญ่ เมืองเหล่านี้จึงมีหน้าที่สำคัญในการออกแบบและดำเนินการตามยุทธศาสตร์เพื่อลดผลกระทบความเสี่ยงที่เพิ่มขึ้นต่อประชาชนและเศรษฐกิจในกรุงเทพฯ เนื่องจากภาวะโลกร้อนควรเป็นเหตุให้รัฐบาลไทยมีบทบาทเข้มแข็งขึ้นเพื่อช่วยลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก สฤณีกล่าวเสริม"

.

ดูรายงานฉบับนี้แล้วบอกว่ามีความเสี่ยง แค่นี้ก็พอแล้วว่าเราต้องทำอะไรสักอย่าง การประหยัดพลังงานต้องจริงจังมากขึ้นเพื่อป้องกันผลกระทบที่มันจะย้อนมาถึงตัวเราเอง แต่จนถึงปัจจุบัน ภาคธุรกิจยังมองแค่ว่าจะใช้ประโยชน์ภาวะโลกร้อนในเชิงการตลาดได้อย่างไร แต่ความเสี่ยงมันสูงขึ้นเรื่อยๆ ทำอย่างไรคนจะเห็นว่าโลกร้อนเป็นปัญหา และพยายามแก้ปัญหา หรือเอามาโยงกับ CSR [corporate social responsibility] ว่าที่ถูกทำกันอย่างไร" สฤณีกล่าว

.
ที่มา : http://www.thaiclimate.org/Articles.cfm?ID=207