ภาวะเศรษฐกิจภาคใต้ ไตรมาสที่ 2 ปี 2551 ขยายตัว โดยด้านอุปทานขยายตัวดีตามผลผลิต และราคาพืชผลสำคัญที่ขยายตัวดี รวมทั้งการผลิตภาคอุตสาหกรรมและการท่องเที่ยวที่ขยายตัวเช่นกัน ด้านอุปสงค์ การอุปโภคบริโภคภาคเอกชนชะลอตัว ขณะที่การส่งออก และการเบิกจ่ายงบประมาณขยายตัว พร้อมกันนั้นการลงทุนปรับตัวดีขึ้น โดยเฉพาะการก่อสร้าง
ภาวะเศรษฐกิจภาคใต้ ไตรมาสที่ 2 ปี 2551 ขยายตัว โดยด้านอุปทานขยายตัวดีตามผลผลิต และราคาพืชผลสำคัญที่ขยายตัวดี รวมทั้งการผลิตภาคอุตสาหกรรมและการท่องเที่ยวที่ขยายตัวเช่นกัน ด้านอุปสงค์ การอุปโภคบริโภคภาคเอกชนชะลอตัว ขณะที่การส่งออก และการเบิกจ่ายงบประมาณขยายตัว พร้อมกันนั้นการลงทุนปรับตัวดีขึ้น โดยเฉพาะการก่อสร้าง |
. |
รายละเอียดของภาวะเศรษฐกิจในไตรมาสที่ 2 ปี 2551 มีดังนี้ |
. |
1. ภาคเกษตร รายได้จากการขายพืชผลสำคัญของเกษตรกรขยายตัว ร้อยละ 53.8 ตาม ปริมาณและราคาผลผลิตสำคัญที่เพิ่มขึ้นร้อยละ 24.4 และ 22.8 ตามลำดับ โดยยางพาราปริมาณผลผลิตและ ราคาเพิ่มขึ้นร้อยละ 2.7 และ 23.2 ตามลำดับ ส่วนปาล์มน้ำมัน ปริมาณผลผลิตและราคาเพิ่มขึ้นร้อยละ 93.1 และ 19.2 ตามลำดับ ด้านการประมง ปริมาณและมูลค่าสัตว์น้ำนำขึ้นที่ท่าเทียบเรือในภาคใต้ในไตรมาสนี้ลดลง จากไตรมาสเดียวกันปีก่อนร้อยละ 13.7 และร้อยละ 15.4 ตามลำดับ ด้วยผลกระทบจากต้นทุนที่สูงขึ้น ส่วน การเพาะเลี้ยงกุ้ง เกษตรกรบางส่วนชะลอการเพาะเลี้ยงเนื่องจากประสบปัญหาต้นทุนการเลี้ยงสูงขึ้น กอปรกับ ราคากุ้งที่ตกต่ำ ทำให้ผลผลิตกุ้งเมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันปีก่อนลดลงร้อยละ 24.8 ด้านราคาปรับตัวสูงขึ้น โดย กุ้งขาวขนาด 50 ตัวต่อกิโลกรัม ราคาเฉลี่ยกิโลกรัมละ 119.87 บาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 3.3 |
. |
2. ภาคอุตสาหกรรม ดัชนีผลผลิตภาคอุตสาหกรรมขยายตัวร้อยละ 14.2 เร่งตัวขึ้นจาก ไตรมาสก่อน ตามการส่งอออกและวัตถุดิบ โดยอุตสาหกรรมยางมีปริมาณส่งออก 544,166.9 เมตริกตัน เพิ่มขึ้นจากไตรมาสเดียวกันปีก่อนร้อยละ 4.4 อุตสาหกรรมอาหารทะเลแช่เย็นแช่แข็งมีปริมาณการส่งออก 31,145.1เมตริกตัน เพิ่มขึ้นร้อยละ 8.8 ตามการเพิ่มขึ้นของการส่งออกกุ้งแปรรูปไปตลาดญี่ปุ่น และอาหารบรรจุ กระป๋องส่งออก 34,503.5 เมตริกตันเพิ่มขึ้นร้อยละ 16.7 เป็นการขยายตัวในตลาดตะวันออกกลาง ส่วน ผลผลิตน้ำมันปาล์มดิบมีจำนวน 446,190.5 เมตริกตัน เพิ่มขึ้นจากไตรมาสเดียวกันปีก่อนร้อยละ 92.8 |
. |
3. การท่องเที่ยว ภาวะท่องเที่ยวขยายตัว โดยมีนักท่องเที่ยวชาวต่างประเทศเดินทางผ่านด่าน ตรวจคนเข้าเมืองในภาคใต้ 776,177 คน เพิ่มขึ้นจากไตรมาสเดียวกันปีก่อน ร้อยละ 29.1 จากการเพิ่มขึ้นของ นักท่องเที่ยวฝั่งอันดามัน โดยจังหวัดภูเก็ตเพิ่มขึ้นร้อยละ 8.9 และภาคใต้ตอนล่าง โดยเฉพาะจังหวัดสงขลา เพิ่มขึ้นร้อยละ 57.7 เนื่องจากรัฐและภาคเอกชนร่วมกันจัดกิจกรรมการท่องเที่ยวและนักท่องเที่ยวมีความมั่นใจ ในความปลอดภัย |
. |
4. การอุปโภคบริโภคภาคเอกชน ชะลอตัว โดยดัชนีการอุปโภคบริโภคภาคเอกชนเพิ่มขึ้น ร้อยละ 0.6 ชะลอลงเมื่อเทียบกับไตรมาสก่อนที่ขยายตัวร้อยละ 2.0 เนื่องจากราคาสินค้าเพิ่มสูงขึ้นตามต้นทุน ที่เพิ่มขึ้นทั้งราคาน้ำมันและอาหาร รวมทั้งความไม่มั่นใจในสถานการณ์ด้านการเมือง ทำให้ผู้บริโภคระมัดระวัง ในการใช้จ่ายมากขึ้น โดยภาษีมูลค่าเพิ่ม ณ ราคาคงที่ปี 2543 จัดเก็บได้เพิ่มขึ้นเพียงร้อยละ 0.4 และการใช้ ไฟฟ้าที่อยู่อาศัยเพิ่มขึ้นร้อยละ 5.2 ชะลอลงจากไตรมาสก่อน ส่วนดัชนีหมวดยานยนต์ยังคงขยายตัวต่อเนื่อง เพิ่มขึ้นจากไตรมาสเดียวกันปีก่อนร้อยละ 20.9 |
. |
5. การลงทุนภาคเอกชน โดยรวมอยู่ในภาวะดีขึ้น พื้นที่ก่อสร้างที่ได้รับอนุญาตในเขต เทศบาลมีจำนวน 494,835 ตารางเมตร เพิ่มขึ้นร้อยละ 43.5 และยอดจำหน่าย ปูนซิเมนต์เพิ่มขึ้นร้อยละ 11.7 ขณะเดียวกันการจดทะเบียนธุรกิจนิติบุคคล จำนวนรายและเงินทุนจดทะเบียนเพิ่มขึ้นร้อยละ 11.5 และ 11.5 ตามลำดับ ส่วนใหญ่เป็นการจดทะเบียนในจังหวัดภูเก็ต สุราษฎร์ธานี และสงขลา กิจการที่มีการจดทะเบียน มากเป็นกิจการรับเหมาก่อสร้าง อสังหาริมทรัพย์ และโรงแรม ภัตตาคารร้านอาหาร ส่วนโครงการลงทุนที่ได้รับ ส่งเสริมการลงทุนจากคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน (BOI) ลดลงทั้งจำนวนรายและเงินลงทุน |
. |
6. การจ้างงาน เพิ่มขึ้นต่อเนื่อง จะเห็นได้จากยอดการบรรจุงาน 13,625 อัตรา ตำแหน่งงาน ว่าง 16,208 อัตรา และผู้สมัครงาน 17,321 คน เพิ่มขึ้นจากไตรมาสเดียวกันปีก่อนร้อยละ 44.2 - 58.6 และ 7.3 ตามลำดับ ส่วนใหญ่อยู่ในจังหวัดภูเก็ต สงขลา และสุราษฎร์ธานี ด้านจำนวนผู้ประกันตนเพิ่มขึ้นร้อยละ 0.2 โดยภาคใต้ตอนบนเพิ่มขึ้นร้อยละ 3.8 เพิ่มขึ้นมากในจังหวัดภูเก็ต กระบี่และพังงา ส่วนภาคใต้ตอนล่างลดลง ร้อยละ 3.8 ตามการลดลงของจังหวัดสงขลาเป็นสำคัญ ซึ่งในไตรมาสนี้ลดลงจากไตรมาสดียวกันปีก่อนร้อยละ 6.4 |
. |
7. ระดับราคา อัตราเงินเฟ้อทั่วไปของภาคใต้ในไตรมาสนี้อยู่ที่ร้อยละ 8.5 เร่งตัวขึ้นจาก ไตรมาสก่อน โดยดัชนีราคาหมวดอาหารและเครื่องดื่มเพิ่มขึ้นร้อยละ 11.9 เป็นการเพิ่มขึ้นของราคาข้าว แป้ง ผลิตภัณฑ์จากแป้งร้อยละ 30.3 และเนื้อสัตว์ ร้อยละ 27.5 ขณะเดียวกันดัชนีราคาหมวดอื่น ๆ ที่ไม่ใช่อาหาร และเครื่องดื่มเพิ่มขึ้นร้อยละ 6.2 โดยหมวดยานพาหนะ น้ำมันเชื้อเพลิงเพิ่มขึ้น ร้อยละ 18.5 และหมวดยาสูบ เครื่องดื่มมีแอลกอฮอล์ เพิ่มขึ้นร้อยละ 4.8 สำหรับอัตราเงินเฟ้อพื้นฐาน เมื่อเทียบกับไตรมาสเดียวกันปีก่อน เพิ่มขึ้นร้อยละ 4.8 |
. |
8. การค้าต่างประเทศ มูลค่าการค้าต่างประเทศผ่านด่านศุลกากรในภาคใต้มีจำนวนทั้งสิ้น 4,876.1ล้านดอลลาร์ สรอ. เพิ่มขึ้นจากไตรมาสเดียวกันปีก่อนร้อยละ 32.9 แยกเป็นมูลค่าการส่งออกจำนวน 3,267.5 ล้านดอลลาร์ สรอ. เพิ่มขึ้นจากไตรมาสเดียวกันปีก่อนร้อยละ 31.0 เนื่องจากมูลค่าสินค้าส่งออกที่สำคัญ ได้แก่ ยางพาราเพิ่มขึ้นร้อยละ 29.0 ไม้ยางพาราแปรรูปและเฟอร์นิเจอร์เพิ่มขึ้นร้อยละ 74.7 และอาหารบรรจุกระป๋อง เพิ่มขึ้นร้อยละ 54.4 นอกจากนี้ มูลค่าการส่งออกน้ำมันปาล์มเพิ่มขึ้นกว่า 4 เท่าตัว ส่วนการนำเข้า มีมูลค่าทั้งสิ้น 1,608.7 ล้านดอลลาร์ สรอ. เพิ่มขึ้นจากไตรมาสเดียวกันปีก่อนร้อยละ 36.9 จากมูลค่าการนำเข้าสัตว์น้ำแช่แข็ง เพิ่มขึ้นร้อยละ 65.8 และเครื่องจักรอุปกรณ์เพิ่มขึ้นร้อยละ 11.3 |
. |
9. ภาคการคลัง การเบิกจ่ายเงินงบประมาณของส่วนราชการต่าง ๆ ในภาคใต้ มีจำนวน 36,260.1 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากไตรมาสเดียวกันปีก่อนร้อยละ 16.9 ตามการเพิ่มขึ้นของการเบิกจ่ายเงิน งบประมาณขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น (อปท.) ส่วนทางด้านภาษีจัดจัดเก็บได้ทั้งสิ้น 8,403.4 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากไตรมาสเดียวกันปีก่อนร้อยละ 1.8 โดยภาษีสรรพากรเพิ่มขึ้นร้อยละ 2.0 แต่ชะลอลงจากร้อยละ 4.6 ในไตรมาสที่ 1 เนื่องจากการขยายวงเงินการยกเว้นภาษีและเพดานการหักลดหย่อน ส่วนภาษีสรรพสามิต เพิ่มขึ้นร้อยละ 7.9 ขณะที่ภาษีศุลกากรลดลงร้อยละ 12.2 |
. |
10. การเงิน ในไตรมาสนี้ธนาคารพาณิชย์ได้ปรับอัตราดอกเบี้นเงินฝากขึ้นเพื่อเพิ่มสภาพคล่อง คาดว่า เงินฝากจะขยายตัวร้อยละ 8.1 ส่วนสินเชื่อขยายตัวประมาณร้อยละ 14.2 ตามการขยายตัวของสินเชื่อ เพื่อการอุปโภคบริโภคส่วนบุคคล เป็นสำคัญ |
. |
แนวโน้มไตรมาส 3 ปี 2551 ภาวะเศรษฐกิจภาคใต้ไตรมาส 3 ปี 2551 คาดว่าจะชะลอตัว ถึงแม้รายได้ของเกษตรกรจะเพิ่มขึ้น จากราคาสินค้าเกษตรสำคัญโดยเฉพาะยางพารา และปาล์มน้ำมัน จะทรงตัวอยู่ในระดับสูง และมีมาตรการ กระตุ้นเศรษฐกิจและมาตรการลดภาระค่าใช้จ่ายของประชาชน แต่มีปัจจัยเสี่ยงคือค่าครองชีพที่สูงขึ้น จาก ราคาสินค้าที่เพิ่มสูงขึ้น ตามแรงกดดันของราคาน้ำมัน ประกอบกับความไม่แน่นอนด้านการเมือง ตลอดจนความ เชื่อมั่นของนักลงทุนและประชาชนที่ต่ำลง |
. |
ที่มา : ธนาคารแห่งประเทศไทย |