ที่ผ่านมาได้มีความกังวลในการใช้เชื้อเพลิงจากก๊าซธรรมชาติและถ่านหินในการผลิตไฟฟ้าว่าจะมีก๊าซธรรมชาติและถ่านหินซึ่งเป็นทรัพยากรธรรมชาติใช้ได้อีกนานแค่ไหนโดยเฉพาะแหล่งก๊าซธรรมชาติในประเทศไทย เนื่องจากเป็นสิ่งที่ใช้แล้วหมดไป ซึ่งประเทศไทยจะต้องนำเข้าจากประเทศอื่น ทำให้หลายประเทศได้ศึกษาถึงพลังงานอื่น ๆ ในการผลิตไฟฟ้าให้สามารถใช้ได้อย่างเพียงพอตามความต้องการที่เพิ่มขึ้น
เบอร์นาร์ด มาดอฟฟ์ อดีตประธานกรรมการตลาดหุ้นนาสแดค กลายเป็นบุคคลที่ถูกสปอทไลท์จับจ้องมากที่สุดในเวลานี้ นับตั้งแต่เขาถูกเจ้าหน้าที่ตำรวจจากสำนักงานสืบสวนสอบสวนกลางสหรัฐ (FBI) บุกจับกุมตัวเมื่อสัปดาห์ที่แล้ว ในข้อหาจัดตั้งกองทุนเฮดจ์ฟันด์ในรูปแบบของ แชร์ลูกโซ่ (ponzi scheme) ซึ่งเป็นธุรกิจที่ผิดกฎหมาย ส่งผลให้สถาบันการเงินหลายแห่งทั่วโลก
บารัค โอบามา ว่าที่ประธานาธิบดีสหรัฐแถลงเปิดตัวคณะทำงานด้านเศรษฐกิจเมื่อคืนนี้ตามเวลาประเทศไทย ซึ่งมีขึ้น 57 วันก่อนที่จะมีพิธีสาบานตนเข้ารับตำแหน่งประธานาธิบดีสหรัฐวันที่ 20 มกราคม พ.ศ.2552 และแทบจะไม่พลิกโผการคาดการณ์ของนักวิเคราะห์ส่วนใหญ่
อุตสาหกรรมยานยนต์โลกสะเทือนกันถ้วนหน้า หลังจากที่สหรัฐอเมริกาซึ่งได้ชื่อว่าเป็นประเทศผู้ผลิตและตลาดรถรายใหญ่ของโลกนั้น กำลังประสบกับภาวะระส่ำระสายอย่างหนักจากวิกฤตแฮมเบอร์เกอร์ เมื่ออุตสาหกรรมยานยนต์ของสหรัฐเข้าตาจน ค่ายบิ๊กทรีของสหรัฐ ซึ่งประกอบไปด้วย เจนเนอรัล มอเตอร์ส คอร์ป (จีเอ็ม) ฟอร์ด มอเตอร์ คอร์ป และไครสเลอร์ ต้องลดพนักงานและปิดโรงงานหลายแห่งแต่ก็ยังไม่สามารถต้านทานพิษสงของวิกฤตเศรษฐกิจในประเทศได้
นายบารัค โอบามา ได้รับชัยชนะในการเลือกตั้งประธานาธิบดีครั้งประวัติศาสตร์ คือ ภาพสะท้อนของ "การเปลี่ยนแปลง" ที่ถือกำเนิดขึ้นแล้วในแผ่นดินอเมริกา สมดังจุดยืนการหาเสียงของเขาที่ว่า "CHANGE" "นโยบาย" คือ แก่นแท้ที่ชาวอเมริกันให้ความสำคัญมากกว่าเปลือกนอกที่ฉาบไว้เพียงคำว่า "เชื้อชาติ" และ "สีผิว"
วิกฤตแฮมเบอร์เกอร์ที่ลุกลามไปทั่วโลกกำลังส่งผลกระทบต่อการทำธุรกิจในสาขาต่างๆ รวมถึงอัตราว่างงาน โดยบรรดาธนาคารและบริษัทหลักทรัพย์รายใหญ่ต่างปรับลดต้นทุนค่าใช้จ่ายเพื่อให้บริษัทรอดพ้นจากวิกฤตสินเชื่อทั่วโลกที่รุนแรงจนทำให้เลห์แมน บราเธอร์ส โฮลดิ้ง อิงค์ ประสบภาวะล้มละลาย และส่งผลให้บริษัทสหรัฐและยุโรปถูกเทคโอเวอร์กันไปหลายต่อหลายราย ธุรกิจการเงินทั่วโลกได้ปรับลดพนักงานไปแล้วกว่า 140,000 ตำแหน่ง
กระแสการแข่งขันของเศรษฐกิจโลกที่รุนแรง ประเทศต่างๆ พยายามฟันฝ่าวิกฤติเศรษฐกิจที่รุมเร้าไม่ว่าจะเป็นวิกฤตการณ์ทางการเงิน และระบบการค้าเสรี ซึ่งประเทศมหาอำนาจสามารถรับมือกับการเปลี่ยนแปลงได้รวดเร็ว เพราะมีความพร้อมทั้งด้านทุน เทคโนโลยี บุคลากร รวมทั้งยังพยายามสร้างกฎ กติกา เพื่อปกป้องเศรษฐกิจของประเทศตน
สิ่งแวดล้อม เป็นประเด็นที่ประเทศต่างๆ ทั่วโลกให้ความสำคัญมากขึ้นอันเป็นผลมาจากการเพิ่มขึ้นของปัญหามลภาวะเป็นพิษ ทั้งทางน้ำ ดิน เสียง และอากาศ ปัญหาโลกร้อน (Global Warming) ตลอดจนการเพิ่มขึ้นของขยะของเสียต่างๆ ทั่วโลก ซึ่งเมื่อเผชิญปํญหาต่างๆ ด้านสิ่งแวดล้อมเหล่านี้
การเติบโตของภาคอุตสาหกรรม โดยเฉพาะอุตสาหกรรมฟอกย้อมฯ ที่ปัจจัยการผลิตที่สำคัญ คือ น้ำ และที่ผ่านมาน้ำเพื่อภาคอุตสาหกรรมจะมีแหล่งมาจากการขุดเจาะน้ำบาดาล เนื่องจากน้ำผิวดินถูกกำหนดให้เป็นแหล่งน้ำเพื่อการเกษตรกรรม และยังไม่มีการจัดหาแหล่งน้ำเพื่อภาคอุตสาหกรรมอย่างจริงจัง
ปัจจุบันการดำเนินกิจกรรมต่าง ๆ เพื่อดำรงชีวิตของคนเรา ต้องเผชิญกับ "ภาวะโลกร้อน" ซึ่งปรากฏให้เห็นในรูปของภัยธรรมชาติที่ทวีความรุนแรงขึ้นเป็นลำดับ รวมทั้งยังมีการเปลี่ยนแปลงทางนิเวศวิทยาที่เป็นสัญญาณเตือนให้ตระหนักถึงผลกระทบจาก ภาวะโลกร้อน มากขึ้น ทำให้ทั้งภาครัฐและภาคเอกชน ต่างตื่นตัวที่จะหาทางบรรเทาปัญหา
ภาวะโลกร้อน หรือภาวะภูมิอากาศเปลี่ยนแปลงเป็นปัญหาใหญ่ของโลกในปัจจุบัน สังเกตได้จากอุณหภูมิของโลกที่สูงขึ้นเรื่อยๆ โดยสาเหตุหลักของปัญหานี้มาจาก ก๊าซเรือนกระจก อัตราผู้เสียชีวิตจากโลกร้อนจะพุ่งสูงถึง 300,000 คนต่อปี ใน 25 ปีต่อจากนี้ ระดับน้ำทะเลจะสูงขึ้น 20 ฟุต พื้นที่บางประเทศอาจจมอยู่ใต้น้ำ
"ลม" ถือเป็นแหล่งพลังงาน "สะอาด" มีศักยภาพสูง เพราะมีอยู่ทั่วไปในอากาศใช้เท่าไหร่ไม่มีหมด และกระบวนการผลิตพลังงานยังไม่ปล่อยของเสียทำลายสิ่งแวดล้อมอีกต่างหาก เรียกว่ามีคุณสมบัติโดดเด่นสมเป็นพลังงาน "ทางเลือก" พลังของลมจึงถูกพัฒนามาใช้ผลิตไฟฟ้าในรูปแบบของ "เทคโนโลยีกังหันลม"
ท่านทราบหรือไม่ว่าผลิตภัณฑ์ที่ใช้อยู่ในชีวิตประจำวันนั้น กว่าจะผลิตและขนส่งมาถึงมือเรา ล้วนแล้วแต่มีผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมทั้งสิ้น เนื่องจากมีการใช้ทรัพยากรธรรมชาติเป็นวัตถุดิบในการผลิตที่ก่อให้เกิดอันตรายต่อเราได้ทั้งในทางตรงและทางอ้อม อีกทั้งเมื่อผลิตภัณฑ์ถูกนำไปใช้งานยังต้องมีการใช้พลังงานที่ผลิตขึ้นจากทรัพยากรธรรมชาติอันมีปริมาณจำกัดอีกด้วย
ถ่านหินสร้างผลกระทบต่อสุขภาพของมนุษย์และสิ่งแวดล้อม การทำเหมืองทำลายถิ่นที่อยู่อาศัยทางธรรมชาติ เกิดการชะล้างของดิน และทำให้ระดับน้ำใต้ดินลดลง การทำงานในเหมืองถ่านหินเป็นกิจกรรมที่มีความเสี่ยง ในสาธารณรัฐประชาชนจีนเพียงปี 2549 เพียงปีเดียว มีคนงานเหมืองถ่านหินเสียชีวิตจากอุบัติเหตุถึง 4,700 คน มลพิษทางอากาศจากโรงไฟฟ้าถ่านหินสร้างผลกระทบทั้งในระดับท้องถิ่นและระดับภูมิภาค
อยากฝากถึงพรรคการเมืองต่างๆ ด้วยว่าหากจะมีการกำหนดนโยบายอะไรออกมาขอให้ดูผลประโยชน์ของประเทศเป็นหลัก และต้องดูถึงผลระยะยาวด้วย เรื่องนิวเคลียร์ต้องใช้เวลาเตรียมตัวนานถึง 14 ปี แต่รัฐบาลมีอายุการทำงานเพียง 4 ปีเท่านั้น เราไม่อาจรอเป็นเวลานานหลายทศวรรษจึงค่อยตอบสนองต่อปัญหาโลกร้อนได้ ปัญหาโลกร้อนกำลังกระทบต่อสังคม สิ่งแวดล้อมและเศรษฐกิจอย่างรุนแรงมากขึ้นทุกปี ตรงกันข้ามกับกรณีโรงไฟฟ้านิวเคลียร์
จากราคาน้ำมันที่ปรับตัวสูงขึ้นอย่างต่อเนื่องไทยจะต้องปรับตัวด้วยการหันมาใช้พลังงานทดแทนมากขึ้น ซึ่งพลังงานทดแทนจะมาจาก 3 กลุ่มหลักคือ พลังงานทดแทนชีวมวล ลม และพลังงานแสงอาทิตย์ พลังงานทางเลือกที่เราจะต้องให้ความสำคัญ เนื่องจากเป็นพลังงานที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม
เมื่อโลกต้องอยู่ในภาวะของวิกฤตทางพลังงาน เทคโนโลยีล้ำสมัยที่จะมาใช้แก้ปัญหา กลับถูกตั้งคำถามขึ้นมาอีกว่า นอกจากจะไม่แก้ปัญหาวิกฤติพลังงานดังกล่าวแล้ว ยังจะสร้างปัญหาอื่นๆ ขึ้นมาอีกไหม? ไม่ว่าจะเป็นการทำลายพื้นที่ป่าธรรมชาติที่ทำหน้าที่ดูดซับคาร์บอนไดออกไซต์และรักษาดุลภาพท่ามกลางวิกฤติโลกร้อน
8 ปีมาแล้วที่ชาวบ้านจากจังหวัดประจวบคีรีขันธ์ได้ต่อสู้ เพื่อยับยั้งโครงการก่อสร้างโรงไฟฟ้าพลังงานถ่านหินขนาดใหญ่ จำนวน 2 แห่ง ซึ่งเป็นโครงการที่ไม่ได้คำนึงถึงผลกระทบต่อสภาพแวดล้อม และสุขภาพของประชาชนเลย กลุ่มประชาสังคมต่างเรียกร้องให้มีการพัฒนาไปสู่ระบบเศรษฐกิจแห่งพลังงานหมุนเวียน
ประเทศที่ประสบปัญหาเงินเฟ้อในอัตราที่สูงจะบั่นทอนการออมและการลงทุน รวมทั้งจะบิดเบือนพฤติกรรมการถือสินทรัพย์ของประชาชนไปสู่การถือสินทรัพย์ต่างประเทศ โลหะที่มีค่า เช่น ทองคำและอสังหาริมทรัพย์ นอกจากนี้ภาวะเงินเฟ้อในระดับสูงยังเป็นอุปสรรคต่อการเจริญเติบโตของเศรษฐกิจและอาจก่อให้เกิดวิกฤตด้านการเมืองและสังคมได้