ถ่านหินสร้างผลกระทบต่อสุขภาพของมนุษย์และสิ่งแวดล้อม การทำเหมืองทำลายถิ่นที่อยู่อาศัยทางธรรมชาติ เกิดการชะล้างของดิน และทำให้ระดับน้ำใต้ดินลดลง การทำงานในเหมืองถ่านหินเป็นกิจกรรมที่มีความเสี่ยง ในสาธารณรัฐประชาชนจีนเพียงปี 2549 เพียงปีเดียว มีคนงานเหมืองถ่านหินเสียชีวิตจากอุบัติเหตุถึง 4,700 คน มลพิษทางอากาศจากโรงไฟฟ้าถ่านหินสร้างผลกระทบทั้งในระดับท้องถิ่นและระดับภูมิภาค
|
. |
ทำไมต้องเลิกเผาถ่านหิน และทำอย่างไรให้ "ถ่านหิน" ออกไป |
จากเหมืองถ่านหินไปจนถึงการเผาไหม้ ถ่านหินได้ก่อให้เกิดความเสียหายทางสิ่งแวดล้อมที่กลายเป็นปัญหาระดับโลก เนื่องจากถ่านหินสกปรกมากกว่าก๊าซและน้ำมัน นอกจากนี้ยังเป็นตัวการใหญ่ที่ส่งผลให้การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศขยายขอบเขตความรุนแรงขึ้น |
. |
การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศเป็นเรื่องจริง การเผาไหม้ถ่านหินปล่อยคาร์บอนไดออกไซด์ซึ่งเป็นก๊าซที่ไม่มีสีและมีคุณสมบัติดูดกลืนความร้อนให้เข้าไปสะสมในชั้นบรรยากาศโลกซึ่งนำไปสู่ภาวะโลกร้อน หนึ่งในสามของการปล่อยคาร์บอนไดออกไซด์ ทั้งหมดมาจากการเผาไหม้ถ่านหินและโรงไฟฟ้าถ่านหินเป็นแหล่งกำเนิดที่ใหญ่ที่สุด หากเราไม่ลงมือทำเดี๋ยวนี้ การปล่อยคาร์บอนไดออกไซด์จากการเผาไหม้ถ่านหินอาจเพิ่มเป็นร้อยละ 60 ในปี 2573 เมื่อเทียบกับสัดส่วนที่มีอยู่ในปัจจุบัน |
. |
สังคมของเราโดยรวม ทั้งภาคอุตสาหกรรม โรงเรียน บ้านเรือน สามารถใช้พลังงานได้อย่างชาญฉลาด และนำไปสู่การลดการปล่อยมลพิษ ขณะเดียวกันยังก่อให้เกิดความคุ้มทุนอีกด้วย ส่วนการใช้พลังงานหมุนเวียนที่สะอาด เช่น พลังงานลม จะไม่มีการปล่อยคาร์บอนไดออกไซด์ออกมา เพื่อต่อสู้ภัยพิบัติจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ เราต้องก้าวออกจากยุคมืดและนำเอาถ่านหินออกไป |
. |
"มหันตภัยหมายเลขหนึ่งของสภาพภูมิอากาศมาจากการเผาไหม้ถ่านหิน ที่ผ่านมา โรงไฟฟ้าถ่านหินมีส่วนมากที่สุดในการปล่อยคาร์บอนไดออกไซด์ที่สะสมอยู่ในชั้นบรรยากาศในปัจจุบัน" |
จิม ฮันเสน ผู้อำนวยการสถาบันเพื่อการศึกษาอวกาศกอดดาร์ดแห่งนาซา |
. |
ผลกระทบอื่น ๆ จากถ่านหิน |
ถ่านหินสร้างผลกระทบต่อสุขภาพของมนุษย์และสิ่งแวดล้อม การทำเหมืองทำลายถิ่นที่อยู่อาศัยทางธรรมชาติ เกิดการชะล้างของดิน และทำให้ระดับน้ำใต้ดินลดลง การทำงานในเหมืองถ่านหินเป็นกิจกรรมที่มีความเสี่ยง ในสาธารณรัฐประชาชนจีนเพียงปี 2549 เพียงปีเดียว มีคนงานเหมืองถ่านหินเสียชีวิตจากอุบัติเหตุถึง 4,700 คน มลพิษทางอากาศจากโรงไฟฟ้าถ่านหินสร้างผลกระทบทั้งในระดับท้องถิ่นและระดับภูมิภาค ตัวอย่างเช่น ระดับซัลเฟอร์ไดออกไซด์ในอากาศมีส่วนทำให้เกิดการเสียชีวิตก่อนวัยอันควรจำนวน 400,000 คนต่อปีในสาธารณรัฐประชาชนจีน |
. |
ชาวอินเดียใน 14 เมืองใหญ่ของเมืองที่ใหญ่ที่สุด 20 แห่ง หายใจเอาอากาศที่รัฐบาลบอกว่าอยู่ในระดับอันตรายเข้าไป โรงไฟฟ้าถ่านหินในสหรัฐอเมริกาเป็นแหล่งกำเนิดที่ใหญ่ที่สุดของสารปรอทที่ก่อให้เกิดการทำลายสมองของเด็กที่อยู่ในครรภ์มารดา ตัวเลขที่เป็นทางการระบุว่ามีเด็กทารกในครรภ์ 300,000 รายที่สัมผัสต่อความเสี่ยงนี้ในแต่ละปี นอกจากนี้โรงไฟฟ้าถ่านหินยังเป็นสาเหตุหลักของการเกิดฝนกรดที่ทำลายป่าไม้ สัตว์น้ำจืดในทะเลสาบและกัดกร่อนทำลายอาคารสถานที่ต่างๆ ในวงกว้าง |
. |
"ปัจจุบันมีคาร์บอนไดออกไซด์ในบรรยากาศมากกว่าร้อยละ 40 จากระดับก่อนยุคปฏิวัติอุตสาหกรรม ระดับของคาร์บอนไดออกไซด์ปัจจุบันสูงกว่าจุดใดๆ ในช่วง 650,000 ปีที่ผ่านมา" |
องค์การว่าด้วยมหาสมุทรและบรรยากาศแห่งชาติ สหรัฐอเมริกา (NOAA) |
. |
. |
ถ่านหิน-เชื้อเพลิงสกปรกที่ทำลายสภาพภูมิอากาศของเรา |
การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศเป็นภัยคุกคามทางสิ่งแวดล้อมและความท้าทายทางเศรษฐกิจและมนุษยธรรมที่โลกของเรายังไม่เคยเผชิญมาก่อน คนนับล้านรู้สึกถึงผลกระทบของน้ำทะเลที่เพิ่มขึ้นและการกัดเซาะชายฝั่ง ความเข้มข้นที่เพิ่มขึ้นของพิบัติภัยทางธรรมชาติเช่น อุทกภัย ภัยแล้ง คลื่นสูงและไฟป่า สภาพอากาศที่รุนแรงและถี่ขึ้นยังมีผลกระทบต่อเกษตรกรรมและเป็นบ่อนทำลายความมั่นคงทางอาหารโลกที่ร้อนขึ้นทำให้โรคระบาดอย่างเช่น ไข้เลือดออกและมาลาเรีย แพร่กระจายได้มากขึ้น หากไม่มีการลดปริมาณคาร์บอนไดออกไซด์ ซึ่งเป็นก๊าซเรือนกระจกตัวหลักลง 1 ใน 4 ของสัตว์ป่าและพันธุ์จะเผชิญกับความเสี่ยงของการสูญสิ้นสายพันธุ์ |
. |
ในบังคลาเทศและอินเดีย ผลกระทบของการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ เช่น ระดับน้ำทะเลเพิ่มขึ้น และภัยแล้ง ส่งผลให้ผู้คน 125 ล้านคน อพยพออกจากถิ่นฐานของตน ข้อมูลของคณะกรรมการระหว่างรัฐบาลว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศประมาณการณ์ว่า ภายในปี 2563 ประชากร 1.2 พันล้าน ในเอเชียจะทนทุกข์จากวิกฤตขาดแคลนน้ำ ส่วนในทวีปแอฟริกาจะไม่สามารถผลิตข้าวสาลีได้อีกต่อไป |
. |
การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศนำไปสู่อนาคตที่ยากจะคาดเดา สังคมมนุษย์ตกอยู่ในความเสี่ยงหากไม่มีการลดปริมาณการปล่อยคาร์บอนไดออกไซด์ลงอย่างรวดเร็ว ต้นเหตุของปัญหานี้คือการใช้ถ่านหิน |
. |
. |
โรงไฟฟ้าถ่านหินเปลี่ยนปริมาณพลังงานที่อยู่ในถ่านหินกลายเป็นไฟฟ้าที่นำมาใช้ประโยชน์ได้น้อยกว่าครึ่งหนึ่งเท่านั้น |
. |
ถ่านหิน-ขุดมาจากใต้โลกและโยนทิ้งไปในท้องฟ้า |
ถ่ายหินถูกนำไปเผาในเตาเผาไหม้ของการปฏิวัติอุตสาหกรรมแห่งศตวรรษที่ 19 เชื้อเพลิงอันสกปรกนี้ยังคงนำมาใช้ผลิตกระแสไฟฟ้าของโลกราวร้อยละ 40 และนำพาเราไปยังหุบเหวแห่งหายนะของการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ |
. |
โรงไฟฟ้าถ่านหินเป็นตัวอย่างที่ชัดเจนของวิธีคิดที่ล้าสมัย ถ่านหินปล่อยคาร์บอนไดออกไซด์มากกว่ากาซและน้ำมัน นอกจากนี้ยังเป็นตัวการที่ก่อให้เกิดมลพิษมากที่สุดในบรรดาวิธีการผลิตไฟฟ้าในแบบต่างๆ แม้แต่โรงไฟฟ้าถ่านหินที่ทันสมัยที่สุดก็ยังคงมีการสูญเสียพลังงานมากกว่าครึ่งหนึ่งของปริมาณพลังงานที่อยู่ในถ่านหิน นักการเมืองบางคนและภาคอุตสาหกรรมสร้างภาพถ่านหินว่าเป็นแหล่งพลังงานที่มีเหลือเฟือ มีราคาถูกและมีความมั่นคง แต่ต้นทุนภายนอกทางสังคมและสิ่งแวดล้อมอันไม่จำเป็นนี้ก็สูงเกินกว่าที่จะรับได้ |
. |
การหลีกเลี่ยงหายนะภัยของการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศหมายถึงการไม่ทำให้ปริมาณการปล่อยคาร์บอนไดออกไซด์เพิ่มขึ้นภายในปี 2558 และจากนนั้นก็ลดปริมาณการปล่อยลงอีกมากกว่าครึ่งหนึ่งภายในปี 2593 ประเทศอุตสาหกรรมร่ำรวย ซึ่งเป็นผู้ปล่อยคาร์บอนไดออกไซด์ออกมามากที่สุดนับจากอดีตจะต้องลงมือทำก่อน และลดปริมาณการปล่อยของตนลงอย่างน้อยที่สุดร้อยละ 30 ภายในปี 2563 และมากกว่าร้อยละ 80 ภายในกลางศตวรรษนี้ |
. |
ข้อสรุปที่มิอาจปฏิเสธได้คือเราต้องลด ละ เลิกการใช้ถ่านหิน |
. |
"ผมเองเข้าใจแล้วล่ะว่า ทำไมคนหนุ่มสาวจำนวนมากจึงออกมาขัดขวางรถบรรทุก เพื่อยุติการก่อสร้างโรงไฟฟ้าถ่านหิน" |
ฮัล กอร์ – เจ้าของรางวัลโนเบลสาขาสันติภาพ |
. |
รัฐบาลให้สัญญาต่อแผนปฏิบัติการลดโลกร้อน แต่ยังอนุญาตให้มีโรงไฟฟ้าถ่านหิน |
รัฐบาลทั่วโลกประชุมกันที่บาหลีเมื่อปลายปี 2550 เพื่อพูคุยถึงวิธีการรับมือกับการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ แต่ถึงแม้ว่าประเทศอุตสาหกรรมจะเป็นตัวนำในการลงมือลดปริมาณการปล่อยคาร์บอนไดออกไซด์ แต่พวกเขายังคงอนุมัติให้มีโรงไฟฟ้าถ่านหินแห่งใหม่เกิดขึ้น |
. |
สหภาพยุโรปบอกว่าจะลดการปล่อยคาร์บอนไดออกไซด์ลงร้อยละ 30 ภายในปี 2563 ในฐานะเป็นส่วนหนึ่งของแผนการระดับโลกเพื่อต่อสู้กับการเปลี่ยนแปลงภาพมิอากาศ ในขณะที่เยอรมนีซึ่งให้พันธะสัญญาว่าจะลดการปล่อยคาร์บอนลงร้อยละ 40 ภายในปีเดียวกัน ก็กำลังวางแผนให้มีโรงไฟฟ้าถ่านหินแห่งใหม่ 24 โรง ซึ่งจะนำไปสู่การปล่อยคาร์บอนไดออกไซด์ 130 ล้านตันต่อปี เทียบเท่ากับปริมาณการปล่อยคาร์บอนไดออกไซด์จากภาคพลังงานของออสเตรียและเดนมาร์กรวมกัน |
. |
ในสหรัฐอเมริกา มีการวางแผนก่อสร้างโรงไฟฟ้าถ่านหินใหม่อีกราว 150 แห่ง ซึ่งมีการคาดการณ์ว่าในระหว่างปี 2548 – 2573 จะมีส่วนเพิ่มปริมาณการปล่อยคาร์บอนไดออกไซด์ถึงร้อยละ 34 |
. |
หากรัฐบาลประเทศต่างๆ ไม่ดำเนินการอะไร หรือธุรกิจพลังงานและนักลงทุนไม่ตระหนักรับรู้ ปริมาณการปล่อยคาร์บอนไดออกไซด์อาจจะเพิ่มขึ้นถึงร้อยละ 60 ภายในปี 2573 ซึ่งเท่ากับเป็นบ่อนทำลายข้อตกลงระหว่างประเทศในการที่จะต่อสู้กับการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศโดยสิ้นเชิง รัฐบาลทั้งหลายยังถูกชักจูงโดยกลยุทธ์การประชาสัมพันธ์ว่าด้วย "ถ่านหินสะอาด" ของอุตสาหกรรมถ่านหิน |
. |
"ถ่านหินสะอาด" คือนิทานหลอกเด็ก |
. |
การดักจับและกักเก็บคาร์บอนเป็นข้ออ้างเพื่อสร้างโรงไฟฟ้าถ่านหินเพิ่มขึ้น |
การเผชิญกับความเป็นจริงของการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศอุตสาหกรรมถ่านหิน จึงได้สนับสนุนเทคโนโลยีที่ยังไม่ได้รับการพิสูจน์ที่เรียกว่า การดักจับและกักเก็บคาร์บอน (Carbon Capture and Storage – CCS) ซึ่งจะมีการดักจับคาร์บอนไดออกไซด์จากโรงไฟฟ้าและนำไปฝังใต้ดิน ซึ่งต้องใช้เวลาอย่างน้อยที่สุด 20 ปี ก่อนที่เทคโนโลยีนี้จะพร้อม และก็สายเกินไปที่จะปกป้องสภาพภูมิอากาศเพราะปริมาณการปล่อยคาร์บอนไดออกไซด์ในระดับโลกจะต้องเริ่มลดระดับลงตั้งแต่ปี 2558 เป็นต้นไป และถึงแม้ว่าเทคโนโลยีการดักจับและกักเก็บคาร์บอนจะนำมาใช้ในเชิงพาณิชย์ได้ แต่การรั่วไหลของคาร์บอนเป็นเวลานับร้อยปี ยิ่งไปกว่านั้น ร้อยละ 40-70 ของปริมาณการปล่อยคาร์บอนไดออกไซด์จากภาคไฟฟ้าไม่มีความเหมาะสมในการใช้เทคโนโลยีดังกล่าวนี้ |
. |
สัญญาที่ไม่เป็นจริงของการใช้เทคโนโลยีการดักจับและกักเก็บคาร์บอนในอนาคตนำมาใช้เพื่อให้การก่อสร้างโรงไฟฟ้าถ่านหินแห่งใหม่นั้นมีความชอบธรรม ในขณะเดียวกัน โรงไฟฟ้าถ่านหินเหล่านั้นจะปล่อยคาร์บอนไดออกไซด์ออกมาในปริมาณมหาศาลในช่วงเวลา 20 ปีเป็นอย่างน้อย หรืออาจเป็น 40 ปี ซึ่งเป็นอายุการใช้งานของโรงไฟฟ้า โรงไฟฟ้าถ่านหินแห่งใหม่ที่จะเกิดขึ้นทำให้เราต้องเดินถอยหลัง และก่อให้เกิดวิกฤตโลกร้อนที่รุนแรงมากขึ้น |
. |
ประเทศกำลังพัฒนา |
การให้ประชาชนเข้าถึงพลังงานคือเป้าหมายการพัฒนาที่สำคัญ แต่การสมรู้ร่วมคิดของนักวางแผนทั้งหลายคือ การสร้างโรงไฟฟ้าที่ก่อให้เกิดมลพิษ แทนที่จะลงทุนเพื่อลดการสูญเสียพลังงาน หรือลงทุนด้านพลังงานหมุนเวียนที่สะอาด การใช้มาตรการเพิ่มประสิทธิภาพของพลังงานนั้น โดยทั่วไปแล้วเสียเงินน้อยที่สุด และสร้างงานได้มากกว่าการสร้างโรงไฟฟ้าแห่งใหม่ และควรจะเป็นสิ่งที่ต้องผลักดันให้เกิดขึ้นทุกๆ แห่งบนโลกเพื่อปกป้องสภาพภูมิอากาศ กรีนพีซเชื่อว่าประเทศกำลังพัฒนาทั้งหลายรวมถึงประเทศไทยต้องสร้างนโยบายพลังงานบนพื้นฐานของการมีส่วนร่วมของประชาชนอย่างแท้จริงและกิจการไฟฟ้าต้องมีธรรมาภิบาลด้านสังคมและสิ่งแวดล้อมรวมอยู่ด้วย |
. |
ในประเทศจีน โรงไฟฟ้าถ่านหินแห่งใหม่เปิดดำเนินการทุก 10 วัน โดยประมาณ แต่โรงไฟฟ้าเก่าที่ก่อมลพิษสูงก็ปิดตัวลงด้วยเช่นเดียวกัน จีนยังมีกฎหมายประสิทธิภาพทางพลังงานและกฎหมายพลังงานหมุนเวียนที่ก้าวหน้า และภายในปี 2553 จะกลายเป็นผู้นำของโลกในด้านพลังงานลม |
ถ่านหิน > คาร์บอนไดออกไซด์ (CO2) > ภาวะโลกร้อน > การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ |
. |
ชัยชนะของการเคลื่อนไหวภาคประชาชนในการยุติโครงการโรงไฟฟ้าถ่านหิน |
การต่อสู้ของชุมชนบ่อนอกและบ้านกรูดในจังหวัดประจวบคีรีขันธ์นำไปสู่การยุติโครงการก่อสร้างโรงไฟฟ้าถ่านหิน 2 แห่ง ที่สนับสนุนโดยธุรกิจพลังงานข้ามชาติเช่น เอดิสัน ธุรกิจพลังงานจากสหรัฐฯ เป็นต้น และเงินกู้จากธนาคารพัฒนาแห่งเอเชีย (ADB) และธนาคารแห่งญี่ปุ่นเพื่อความร่วมมือระหว่างประเทศ (JBIC) |
. |
แผนการก่อสร้างโรงไฟฟ้าทั้งสองถูกเก็บเป็นความลับจนถึงปี 2542-2543 ชุมชนรับรู้ข้อมูลหลังจากรัฐบาลได้อนุมัติโครงการ มีการประมูลและทำสัญญาธุรกิจกับบริษัทร่วมทุนไปแล้ว |
. |
การต่อสู้อันยาวนานได้เริ่มขึ้นนับจากการปิดถนนการประท้วงและยื่นข้อเรียกร้องนับครั้งไม่ถ้วน นักวิชาการและองค์กรอิสระมีบทบาทสำคัญในการร่วมถกเถียงความไม่โปร่งใสของนโยบายพลังงาน มีคดีความและการฟ้องร้องเรื่องการละเมิดสิทธิมนุษยชน ฯลฯ ในที่สุดโครงการโรงไฟฟ้าถ่านหินทั้งสองแห่งจึงยกเลิกไป |
. |
ปัจจุบัน ชุมชนทั้งสองมีบทบาทสำคัญในการสนับสนุนเครือข่ายชุมชนอื่นๆ ในการต่อสู่กับโครงการพลังงานสกปรกและโครงการขนาดให้อื่นๆ ของรัฐ และแสวงหาแนวทางให้ชุมชนยืนหยัดและพึ่งพาตนเองในด้านพลังงานหมุนเวียน |
. |
การต่อสู้ของชุมชนต้องแลกมาด้วยชีวิต เจริญ วัดอักษร หนึ่งในผู้นำชุมชนถูกยิงเสียชีวิตในปี 2547 โดยผู้มีอิทธิพลในพื้นที่หลังจากที่เขากลับจากการให้การต่อคณะกรรมาธิการของรัฐสภากรณีการบุกรุกที่สาธารณะของชุมชน |
. |
คุณเป็น "นักปฏิวัติพลังงาน" หรือไม่? ทางเลือกที่ไม่ใช่ "ถ่านหิน" และ "นิวเคลียร์" |
ถ่านหินเป็นรากฐานการปฏิวัติอุตสาหกรรม ปัจจุบันเทคโนโลยีพลังงานหมุนเวียนที่สะอาดต้องเข้ามาแทนที่และเป็นแรงขับเคลื่อนในการปฏิวัติใหม่ด้านพลังงานเพื่อช่วยให้โลกออกจากวิกฤตของการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ |
. |
กรีนพีซมีแผนการกอบกู้วิกฤตครั้งนี้เรียกว่า "แผนการปฏิวัติพลังงาน" โดยความร่วมมือจากศูนย์อวกาศแห่งเยอรมนี (DLR) และสภาพพลังงานหมุนเวียนแห่งยุโรป รวมถึงผู้เชี่ยวชาญจากประเทศอุตสาหกรรมและประเทศกำลังพัฒนาต่างๆ กรีนพีซศึกษาว่าจะทำอย่างไรที่เราจะบรรลุถึงความต้องการพลังงานที่เพิ่มขึ้น และมีการพัฒนาเศรษฐกิจที่ยั่งยืน ในขณะเดียวกันก็ลดปริมาณการปล่อยคาร์บอนไดออกไซด์ลงให้ได้มากที่สุด |
. |
การวิเคราะห์ภายใต้แผนการปฏิวัติพลังงานคือเส้นทางที่นำไปสู่เป้าหมายจนถึงปี 2593 ในอันที่จะลดปริมาณการปล่อยคาร์บอนไดออกไซด์ลงครึ่งหนึ่งจากระดับของปี 2533 การลดปริมาณการปล่อยจากการเผาไหม้ถ่านหินคือกุญแจสำคัญของแผนการ ดังแสดงในกราฟด้านล่าง ในขณะเดียวกัน วิสัยทัศน์ของแผนการปฏิวัติพลังงานจะต้องโบกมือลา "พลังงานนิวเคลียร์" ด้วย |
. |
การทำให้ประสบผลสำเร็จตามแผนการนั้นขึ้นอยู่กับปัจจัยสองประการคือการปรับปรุงประสิทธิภาพอย่างมหาศาลในการจัดหาแหล่งพลังงานและการใช้พลังงาน และการขยายบทบาทโดยรวมของแหล่งพลังงานหมุนเวียน กรีนพีซเชื่อว่า การใช้พลังงานอย่างชาญฉลาดจะช่วยลดปริมาณการปล่อยคาร์บอนไดออกไซด์ลงถึง 3 ใน 4 ส่วน และหากโลกยังดำเนินไปในทิศทางที่เป็นมา ผลประโยชน์ต่อไปคือต้นทุนในการจัดหาแหล่งพลังงานหมุนเวียนจะถูกลง |
. |
การปฏิวัติพลังงานคือหลักการวิเคราะห์ที่หนักแน่นและพอเพียง ถ้าเราทำให้ผู้กำหนดนโยบายและนักการเมืองลงมือทำตามข้อสรุปที่นำเสนอไว้นี้ จะเป็นหนทางที่นำเราไปสู่การปกป้องสภาพภูมิอากาศของโลก คุณต้องการเป็นผู้หนึ่งที่สนับสนุนกรีนพีซเพื่อผลักดันเรื่องนี้ให้เป็นจริงหรือไม่ |
. |
. |
. |
ที่มา : กรีนพีซ www.greenpeace.or.th |