การเติบโตของภาคอุตสาหกรรม โดยเฉพาะอุตสาหกรรมฟอกย้อมฯ ที่ปัจจัยการผลิตที่สำคัญ คือ น้ำ และที่ผ่านมาน้ำเพื่อภาคอุตสาหกรรมจะมีแหล่งมาจากการขุดเจาะน้ำบาดาล เนื่องจากน้ำผิวดินถูกกำหนดให้เป็นแหล่งน้ำเพื่อการเกษตรกรรม และยังไม่มีการจัดหาแหล่งน้ำเพื่อภาคอุตสาหกรรมอย่างจริงจัง
การที่ภาครัฐได้มีนโยบายและกำหนดแนวทางพัฒนาประเทศให้เป็นศูนย์กลางแฟชั่นของภูมิภาค โดยเฉพาะสิ่งเสริมการสร้างตราสินค้า พัฒนาการออกแบบยกระดับสินค้า ปรับกลยุทธ์การตลาด และยุทธศาสตร์เชิงรุก ซึ่งจะเป็นแนวทางสำคัญในการผลักดันให้เกิดการขยายตัวของมูลค่าการส่งออกสิ่งทอ และเครื่องนุ่งห่มทางด้านคุณค่าและมูลค่าของสินค้าตามโครงการ "กรุงเทพฯ เมืองแฟชั่น" |
. |
. |
อุตสาหกรรมฟอกย้อม พิมพ์/และตกแต่งสำเร็จ เป็นอุตสาหกรรมกลางน้ำที่มีบทบาทสำคัญในการผลักดันโครงการนี้ให้บรรลุตามวัตถุประสงค์ และส่งเสริมการเติบโตทางเศรษฐกิจของประเทศ ขณะเดียวกันได้มีนโยบายและมาตรฐานที่กำหนดโดยภาครัฐที่มีผลกระทบต่ออุตสาหกรรมฟอกย้อม พิมพ์และตกแต่งสิ่งทอ อันเป็นอุปสรรคต่อการพัฒนา ซึ่งส่งผลกระทบต่อการพัฒนาอุตสาหกรรม ดังกล่าวคือ |
. |
ร่างประกาศกระทรวงอุตสาหกรรม ในการกำหนดท้องที่ห้ามตั้งหรือขยายโรงงานการฟอกย้อมสี หรือตกแต่งสำเร็จด้วยสิ่งทอ และพิมพ์สิ่งทอ นโยบายการปิดบ่อบาดาลในเขตกรุงเทพฯมหานครและปริมณฑล |
. |
บทความนี้ เป็นการศึกษาวิเคราะห์จากการรวบรวมประเด็นปัญหาอุปสรรคและการเข้าไปมีส่วนร่วมในการดำเนินการของ สศอ. เพื่อกำหนดนโยบาย ทิศทาง มาตรการและข้อเสนอแนะในการแก้ปัญหา เพื่อแก้ไขปัญหาและให้ได้ข้อยุติที่ลุล่วงไปและเกิดประโยชน์แก่ทุกฝ่ายต่อการพัฒนาอุตสาหกรรมสิ่งทอให้ก้าวหน้าต่อไป โดยมีประเด็นการเสนอแนะ แนวทาง และมาตรการในการพัฒนาอุตสาหกรรมสิ่งทอ เพื่อให้ผู้ประกอบการสามารถดำเนินธุรกิจได้อย่างมั่นใจและสร้างเสถียรภาพแกธุรกิจส่งออกสิ่งทอของไทยอย่างยั่งยืน |
. |
ความสำคัญของภาคอุตสาหกรรมสิ่งทอ |
ภาคอุตสาหกรรมเป็นหน่วยผลิตที่มีบทบาทสำคัญต่อการพัฒนาประเทศ จากมูลค่าการส่งออกของภาคอุตสาหกรรมในปี 25382547 มีอัตราการขยายตัวเฉลี่ยร้อยละ 14.3 และคิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 74.9 ของการส่งออกโดยรวมของประเทศ ก่อให้เกิดการจ้างงานทางตรงกว่า 3 ล้านคน จากการที่ภาครัฐได้มีแนวทางและมาตรการที่จะขยายการส่งออกได้มีการส่งเสริมพัฒนาภาคอุตสาหกรรมให้มีขีดความสามารถในการแข่งขัน เพื่อเป็นการกระตุ้นการเติบโตของเศรษฐกิจโดยรวมของประเทศ |
. |
ซึ่งที่ผ่านมาภาคอุตสาหกรรมร่วมมือกับภาครัฐในการดำเนินการพัฒนาศักยภาพขีดความสามารถทางการแข่งขัน อีกทั้งยังได้รับการผลักดันจากปัจจัยจากภายนอก เช่น การให้สิทธิประโยชน์ GSP ของประเทศคู่ค้าหลัก หรือการกำหนดโควตานำเข้าให้แก่กลุ่มประเทศที่กำลังพัฒนา (สหรัฐอเมริกา ยุโรป และญี่ปุ่น) ส่งผลให้ภาคอุตสาหกรรมสามารถพลิกฟื้นเศรษฐกิจ สร้างงาน สร้างรายได้ ได้เข้าสู่ประเทศ ก่อให้เกิดความกินดีอยู่ดีแก่ประชาชน และสังคมโดยรวม |
. |
อุตสาหกรรมสิ่งทอของไทยมีการพัฒนาและขยายตัวมาอย่างต่อเนื่อง โดยในปี 2547 มีมูลค่าการส่งออก 6,402 ล้านเหรียญสหรัฐ อัตราการขยายตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 17.1 สินค้าที่มีมูลค้าส่งออกสูงสุด คือ เสื้อผ้าสำเร็จรูป และผ้าผืน มีมูลค่าส่งออก 3,092 และ 1,035 ล้านบาทอัตราการขยายตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 12.0 และ 18.4 การขยายตัวอย่างต่อเนื่อง เนื่องจากผู้ประกอบการสามารถพัฒนาศักยภาพทางการผลิต และมีนโยบายสนับสนุนจากภาครัฐที่ส่งเสริมการส่งออก และจากการขยายตัวของอุตสาหกรรมสิ่งทอได้ส่งผลต่ออุตสาหกรรมต่อเนื่องอื่นๆ |
. |
โดยเฉพาะอุตสาหกรรมฟอกย้อมพิมพ์และตกแต่งสำเร็จ ซึ่งเป็นอุตสาหกรรมที่มีความสำคัญสามารถสร้างมูลค่าเพิ่มให้แก่อุตสาหกรรมผ้าผืน และเสื้อผ้าสำเร็จรูป การผลิตส่วนใหญ่เพื่อความต้องการภายในประเทศ ตลาดที่สำคัญของโรงงานฟอกย้อมคือโรงงานทอผ้า ถักผ้า เสื้อผ้าและเครื่องนุ่งห่ม หลายปีที่ผ่านมามีหลายปัจจัยที่ส่งผลกระทบต่ออุตสาหกรรมฟอกย้อมฯ อาทิเช่น ผู้ส่งออกเครื่องนุ่งห่มที่เป็นผู้รับจ้างผลิตต้องนำเข้าผ้าผืนจากต่างประเทศเนื่องจากเป็นความต้องการของลูกค้า และลวดลาย คุณสมบัติ คุณภาพ และราคาที่หลากหลายและตรงตามความนิยมของตลาดทั้งในและต่างประเทศ |
. |
อีกทั้งยังมีมาตรการส่งเสริมการส่งออกภาครัฐที่ให้ผู้ผลิตเพื่อการส่งออกที่นำเข้าวัตถุดิบสามารถขอคืนภาษีอากรได้ และยังกำหนดพื้นที่ผลิตเพื่อการส่งออก (FTZ) ปัญหาเรื่องมลภาวะ ทำให้ในช่วงที่ผ่านมา จำนวนโรงงานอุตสาหกรรมฟอกย้อมฯ มีแนวโน้มลดลง โดยปี 2538 มีโรงงานฟอกย้อมฯ 441 โรง มีการจ้างงาน 51,870 คน ปี 2547 มีโรงงาน 404 โรง มีการจ้างงาน 46,560 คน มีอัตราการขยายตัวลดลงร้อยละ 8.3 และ 10.2 ตามลำดับ |
. |
น้ำ : ปัจจัยสำคัญต่อการพัฒนา |
อุตสาหกรรมฟอกย้อมพิมพ์และตกแต่งสำเร็จเป็นอุตสาหกรรมขั้นกลางทำหน้าที่เปลี่ยนวัสดุสิ่งทอในรูปที่เป็นวัตถุดิบ คือเส้นด้าน ผ้าผืนให้เป็นวัตถุดิบสำเร็จรูปที่สามารถนำไปใช้ได้โดยตรง หรือนำไปเป็นวัตถุดิบของอุตสาหกรรมขั้นปลาย (เครื่องนุ่งห่ม) หรืออาจเป็นการตกแต่งสนองความต้องการของแฟชั่น โดยนำสินค้าขั้นปลาย (เครื่องนุ่งห่ม) มาผ่านกระบวนการฟอกย้อมฯ กระบวนการผลิตในอุตสาหกรรมฟอกย้อมและตกแต่งสำเร็จส่วนใหญ่เป็นกระบวนการที่ต้องใช้สารเคมีและสีย้อม โดยอาศัยน้ำเป็นตัวกลางอุตสาหกรรมฟอกย้อมฯ จึงจำเป็นต้องใช้น้ำในปริมาณมาก กระบวนการผลิตที่สำคัญมี 3 ขั้นตอน คือ |
. |
1. การเตรียมผ้า (Preparation) เป็นขั้นตอนสำคัญเพื่อเตรียมเส้นด้าย หรือผ้าให้มีสภาพที่สามารถนำไปเข้ากระบวนการย้อมสีหรือตกแต่งสำเร็จ โดยการเตรียมผ้าจะมีขั้นตอนที่สำคัญ เช่น การเผาขน (Singeing) การลอกแป้ง (Desizing) การขจัดสิ่งสกปรกเจือปน (Scouring) การฟอกขาว (Bleaching) การชุบมัน (Mercerization) 2. การย้อมสี (Dyeing) เป็นการใช้วิธีที่เหมาะสมให้สารประกอบเคมีที่ละลายไปทำให้เกิดสีบนวัสดุที่ย้อม 3. การตกแต่งสำเร็จ (Textile Finishing) เป็นขั้นตอนสุดท้ายเพื่อการปรับเปลี่ยนหรือเพิ่มเติมคุณสมบัติ/คุณลักษณะบางอย่างให้กับผลิตภัณฑ์เตรียม |
. |
โดยทั่วไปน้ำเสียจากอุตสาหกรรมฟอกย้อมจะเกิดขึ้นได้จาก 3 กระบวน คือ 1. น้ำฟอกขาว มีปริมาณประมาณ 30-35% 2. น้ำย้อม (สี) ปริมาณประมาณ 10-15% 3. น้ำล้างปริมาณประมาณ 50-60% |
. |
การเติบโตของภาคอุตสาหกรรม โดยเฉพาะอุตสาหกรรมฟอกย้อมฯ ที่ปัจจัยการผลิตที่สำคัญ คือ น้ำ และที่ผ่านมาน้ำเพื่อภาคอุตสาหกรรมจะมีแหล่งมาจากการขุดเจาะน้ำบาดาล เนื่องจากน้ำผิวดินถูกกำหนดให้เป็นแหล่งน้ำเพื่อการเกษตรกรรม และยังไม่มีการจัดหาแหล่งน้ำเพื่อภาคอุตสาหกรรมอย่างจริงจัง และยังไม่มีกฎหมายเรื่องน้ำเพื่อการอุตสาหกรรมโดยตรง |
. |
เมื่อเศรษฐกิจของประเทศขยายตัว ชุมชนมีการขยายตัว การสาธารณูปโภคยังเข้าไปไม่ถึง จึงมีการใช้น้ำบาดาลเพื่อการอุปโภคและบริโภคปริมาณเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง ทั้งในเขตชุมชนและแหล่งอุตสาหกรรม ส่งผลกระทบต่อมลภาวะ และเป็นสาเหตุหนึ่งของการเกิดวิกฤตแผ่นดินทรุดในเขตกรุงเทพฯและปริมณฑล จากปัญหาวิกฤตแผ่นดินทรุดภาครัฐได้รับรู้และตระหนักถึงปัญหามาเนินนานแล้ง |
. |
โดยในปี 2526 ค.ร.ม. ได้มีมติและมอบหมายให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องดำเนินการเพื่อการแก้ไขปัญหาแผ่นดินทรุด และปัญหาด้านสิ่งแวดล้อม ภาคอุตสาหกรรมถูกมองว่าเป็นจำเลยที่ก่อให้เกิดปัญหาจึงได้มีแนวทางมาตรการต่างๆ แก้ไข เช่น การประกาศปิดบ่อน้ำบาดาลในปี 2546 โดยมีการกำหนดให้พื้นที่ที่การประปาสามารถส่งจ่ายน้ำให้ได้ต้องปิดบ่อน้ำบาดาล การกำหนดพื้นที่ห้ามตั้งห้ามขยายโรงงานการนิคมอุตสาหกรรมแห่งประเทศจัดเตรียมพื้นที่รองรับโดยตั้งเป็นนิคมอุตสาหกรรมฟอกย้อมหรือนิคมอุตสาหกรรมสิ่งทอครบวงจร เป็นต้น |
. |
มาตรการต่างๆ เหล่านี้เมื่อนำไปสู่การปฏิบัติได้ก่อให้เกิดความตระหนกและเกิดสับสนทั่วไปโดยเฉพาะผู้ประกอบการภาคอุตสาหกรรมที่ใช้น้ำเป็นปัจจัยสำคัญในการผลิต ข้อมูลที่ได้จากการศึกษาของการนิคมอุตสาหกรรมที่ใช้น้ำเป็นปัจจัยสำคัญในการผลิต ข้อมูลที่ได้จากการศึกษาของการนิคมอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทยพบว่าโรงงานอุตสาหกรรมร้อยละ 90 ใช้น้ำจากใต้ดิน และในส่วนของโรงงานฟอกย้อมฯ สิ่งทอที่มีขนาดกำลังการผลิต 30,000-50,000 หลาต่อวัน จะใช้น้ำวันละประมาณ 2,000 ลบม. |
. |
ซึ่งจำนวนโรงงานฟอกย้อมฯ สิ่งทอที่อยู่ในเขตกรุงเทพฯ และปริมณฑลมีประมาณ 430 โรง และยังมีโรงงานอื่นๆ ที่ใช้น้ำในประบวนการผลิตมาก เช่น ฟอกหนัง มีประมาณ 130 โรง ข้อมูลจากการศึกษาของจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย กำหนดปริมาณการใช้ในระดับความปลอดภัยไว้วันละ 1.25 ล้านลูกบาศก์เมตร ส่วนการศึกษาของ JICA กำหนดให้ใช้วันละ 1.6 ล้านลูกบาศก์เมตร หากสามารถบริหารจัดการการใช้น้ำบาดาลได้อย่างเหมาะสมจะสามารถนำน้ำขึ้นมาใช้ได้ระหว่าง 1.25-1.60 ล้านลูกบาศก์เมตร |
. |
ปัญหาและผลกระทบ |
การพัฒนาภาคอุตสาหกรรมที่ผ่านมา โดยเฉพาะในส่วนของอุตสาหกรรมฟอกย้อมฯ สิ่งทอ ภาครัฐยังไม่เคยมีมาตรการหรือแนวทางที่กำหนดชัดเจน โดยเฉพาะการกำหนดพื้นที่ของการประกอบการฟอกย้อมฯ แต่เป็นการแก้ไขปัญหาตามที่เห็น ซึ่งในปัจจุบันสถานการณ์ของอุตสาหกรรมฟอกย้อมฯ ในเขตกรุงเทพฯ และปริมณฑล ที่กำลังประสบสามารถสรุปได้ ดังนี้ |
. |
1. การกระจุกตัวของโรงงานอุตสาหกรรมในเขตพื้นที่กรุงเทพฯ และปริมณฑล ส่งผลให้เกิดการแย่งชิงพื้นที่และไม่สามารถขยายการผลิต ก่อให้เกิดปัญหามลภาวะทางน้ำอากาศ และเสียงที่เกิดขึ้น 2. ข้อจำกัดด้านสาธารณูปโภค โดยเฉพาะน้ำไฟฟ้า ระบบการขนส่ง เป็นต้น เนื่องจากมีการขยายตัวของชุมชน และแหล่งอุตสาหกรรมที่เติบโตอย่างขาดการวางแผน 3. ปัญหาเครื่องจักรเก่าและล้าสมัย ส่งผลให้ประสิทธิภาพการผลิตต่ำสิ้นเปลืองทรัพยากร (พลังงานและน้ำ) |
. |
จากปัญหาที่เกิดขึ้นหน่วยงานภาครัฐและเอกชนได้มีการหารือร่วมกันและมาตรการต่างๆ ที่ภาครัฐกำหนด ส่งผลกระทบต่อภาคอุตสาหกรรมทั้งทางตรงและทางอ้อม โดนเฉพาะการลดปริมาณการใช้น้ำใต้ดินเป็นนโยบายที่เหมาะสมแต่การกำหนดให้ภาคอุตสาหกรรมต้องใช้น้ำประปานั้นไม่น่าเป็นสิ่งที่เหมาะสมนัก เนื่องจากผู้ประกอบการภาคอุตสาหกรรม ยังมีข้อกังวลที่ควรจะได้นำข้อมูลต่างๆ มาประกอบการพิจารณา อาทิเช่น |
. |
· คุณภาพของน้ำประปา คลอรีนในน้ำประปา ทำให้การย้อมสีผ้าเป็นเรื่องลำบาก เกิดความผิดพลาดของสี (ปริมาณคลอรีนที่จะจำหน่ายให้ภาคอุตสาหกรรมจะมีค่า 0.5 PPM) ซึ่งจำเป็นต้องจำกัดคลอรีนออกจากน้ำประปาทำให้มีต้นทุนเพิ่มสูงขึ้น · ปริมาณของน้ำประปา การขาดแคลนน้ำ แม้เพียงไม่กี่ชั่วโมงก็ส่งผลให้เกิดความเสียหายและไม่สามารถนำมาแก้ไขได้ · ราคาของน้ำประปา สำหรับอุตสาหกรรมที่ใช้น้ำในกระบวนการผลิตปริมาณมากนั้น ราคาน้ำประปาจะส่งผลกระทบต่อต้นทุนการผลิต และในการกำหนดราคาค่าน้ำคิดเป็นอัตราก้าวหน้า ซึ่งไม่สอดคล้องกับการผลิตของภาคอุตสาหกรรมผู้ประกอบการในอุตสาหกรรมฟอกย้อมฯ |
. |
และหากจะต้องย้ายอุตสาหกรรมฟอกย้อมฯ โดยการนิคมอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทยได้ดำเนินการจัดหาพื้นที่ที่เหมาะสมในการประกอบการอุตสาหกรรมสิ่งทอครบวงจร โดยมีการกำหนดพื้นที่ในเขตจังหวัด กาญจนบุรี ราชบุรี ก็ส่งผลกระทบต่อผู้ประกอบการและผู้ประกอบการมีความเห็นและข้อกังวลที่ควรพิจารณา เช่น |
. |
· แหล่งวัตถุดิบ (โรงงานทอผ้า) และแหล่งรับซื้อผ้าหรือตลาดรองรับ หากอยู่ไกลกันจะมีต้นทุนการขนส่งสูงขึ้น · ต้องใช้เงินลงทุนสูงในทุกด้าน เช่น ค่ารื้อถอน ค่าขนย้าย ค่าเครื่องจักร ค่าที่ดิน ค่าก่อสร้าง ค่าระบบบำบัด เหล่านี้เป็นต้น · แรงงานและแหล่งบริการอื่นด้านสังคมรองรับ เช่น สถานศึกษา ชุมชนที่อยู่อาศัย เป็นต้น · อุตสาหกรรมฟอกย้อมที่ต้องใช้น้ำจำนวนมาก จะส่งผลต่อจำนวนน้ำใช้และน้ำทิ้งในชุมชน |
. |
ปัญหาเรื่องน้ำเพื่อการอุตสาหกรรม จึงเป็นปัญหาสำคัญและควรที่จะต้องมีแนวทางในการดำเนินการที่ชัดเจนและเหมาะสม มิฉะนั้นอาจส่งผลต่อเศรษฐกิจและสังคม อาทิเช่น การกำหนดให้ภาคอุตสาหกรรมที่ใช้น้ำในกระบวนการผลิตใช้น้ำบาดาลได้โดยกำหนดการลดลงของการใช้น้ำบาดาลในปริมาณที่เหมาะสม ภาคอุตสาหกรรมที่ต้องใช้น้ำประปาควรพิจารณาจัดหาน้ำและกำหนดอัตราการเก็บค่าน้ำที่มีความสอดคล้องกับสภาพความเป็นจริงของภาคอุตสาหกรรม |
. |
เนื่องจากรัฐบาลใช้การเติบโตของภาคอุตสาหกรรมเป็นตัวขับเคลื่อนภาคธุรกิจที่สำคัญของประเทศ และที่ผ่านมานโยบายของภาครัฐได้ให้การสนับสนุนเพื่อเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขัน แต่นโยบายดังกล่าวยังขาดแคลนความเป็นเอกภาพหน่วยงานที่เกี่ยวข้องต่างกำหนดแนวทางนโยบายที่ไม่มีความสอดคล้องกัน จึงส่งผลให้การพัฒนาศักยภาพของภาคอุตสาหกรรม และทำให้นโยบายทีภาครัฐกำหนดไม่สามารถประสบความสำเร็จได้เต็มประสิทธิภาพที่ได้ใส่เม็ดเงินลงทุนไปเท่าที่ควร |
. |
ข้อเสนอแนะแนวทางการพัฒนาน้ำเพื่อการอุตสาหกรรม |
|
โดย : นายอานนท์ เศรษฐเกรียงไกร และนางอาเกศณี เสมมีสุข |
สำนักนโยบายอุตสาหกรรมรายสาขา 2 สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม |