เนื้อหาวันที่ : 2008-07-16 15:48:22 จำนวนผู้เข้าชมแล้ว : 1863 views

พลังงานหมุนเวียน : ทางเลือกสู่อนาคต

8 ปีมาแล้วที่ชาวบ้านจากจังหวัดประจวบคีรีขันธ์ได้ต่อสู้ เพื่อยับยั้งโครงการก่อสร้างโรงไฟฟ้าพลังงานถ่านหินขนาดใหญ่ จำนวน 2 แห่ง ซึ่งเป็นโครงการที่ไม่ได้คำนึงถึงผลกระทบต่อสภาพแวดล้อม และสุขภาพของประชาชนเลย กลุ่มประชาสังคมต่างเรียกร้องให้มีการพัฒนาไปสู่ระบบเศรษฐกิจแห่งพลังงานหมุนเวียน

8 ปีมาแล้วที่ชาวบ้านจากจังหวัดประจวบคีรีขันธ์ได้ต่อสู้ เพื่อยับยั้งโครงการก่อสร้างโรงไฟฟ้าพลังงานถ่านหินขนาดใหญ่ จำนวน 2 แห่ง ซึ่งเป็นโครงการที่ไม่ได้คำนึงถึงผลกระทบต่อสภาพแวดล้อม และสุขภาพของประชาชนเลย เมื่อนายกรัฐมนตรี ทักษิณ ชินวัตร ได้มีโอกาสไปเยี่ยมชมสถานที่ที่คาดว่าจะก่อสร้างโรงไฟฟ้าแห่งหนึ่ง ท่านได้พบกับกลุ่มชาวบ้านจำนวนกว่า 20,000 คน ชุมนุมประท้วงโครงการดังกล่าว ด้วยการสนับสนุนจากกลุ่มอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมนานาชาติกรีนพีซ ชุมชนบ้านกรูดและบ่อนอกได้ติดตั้งแผงโซล่าเซลล์และกังหันลม เพื่อผลิตพลังงานหมุนเวียนใช้ในชุมชน 

.

 

.

ในอีกซีกโลกหนึ่ง แคลิฟอร์เนียได้ออกกฎหมายในเดือนกันยายน 2002 ตั้งเป้าว่า ภายในปี 2017 จะผลิตไฟฟ้าจากแหล่งพลังงานหมุนเวียนเป็นร้อยละ 20 ของกำลังการผลิตทั้งหมด จากภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ถึงแคลิฟอร์เนีย ผู้บริหารกลุ่มธุรกิจต่างๆ ผู้นำรัฐบาล และกลุ่มประชาสังคมต่างเรียกร้องให้มีการพัฒนาไปสู่ระบบเศรษฐกิจแห่งพลังงานหมุนเวียน

 .

ช่วงระหว่างปลายทศวรรษที่ 1990 ถึง 2020 มีการคาดการณ์ว่าการใช้พลังงานทั่วโลกจะสูงขึ้นถึงร้อยละ 60 เนื่องจากภาวะการขยายตัวของประชากรโลก การอพยพเข้าสู่เมืองอย่างต่อเนื่อง และการขยายตัวทางเศรษฐกิจและอุตสาหกรรม อัตราการใช้ไฟฟ้าจะสูงขึ้นถึงร้อยละ 70 ส่วนแบ่งที่ใหญ่ที่สุดคงจะเป็นตลาดในประเทศกำลังพัฒนา ซึ่งประชากรกว่า 2 พันล้านคน ยังไม่มีโอกาสได้ใช้พลังงานจากแหล่งพลังงานรูปแบบใหม่จำพวกพลังงานไฟฟ้าหรือก๊าซ

 .

จากการคาดการณ์ของหน่วยงานด้านพลังงานทั้งระดับท้องถิ่น และระดับนานาชาติต่างมองว่า พลังงานแหล่งพลังงานสำรองคงจะหนีไม่พ้นพลังงานจากเชื้อเพลิงฟอสซิล แต่การจัดหาเทคโนโลยีและเชื้อเพลิงจากแหล่งพลังงานเก่า เพื่อให้เพียงพอกับความต้องการนั้น จะก่อให้เกิดความเสียหายต่อสภาพ แวดล้อม สุขภาพของประชาชาชน เสถียรภาพของนานาชาติ เทคโนโลยีพลังงานหมุนเวียนมีศักยภาพพอที่จะตอบสนองความต้องการการใช้พลังงานของโลกโดยไม่รู้จักหมด และใช้ได้หลายลักษณะ พลังงานลมและพลังงานแสงอาทิตย์เป็นแหล่งพลังงานที่มีการเจริญเติบโตเร็วที่สุด

 .

ประมาณการณ์ว่า พลังงานหมุนเวียนแนวใหม่ (ซึ่งไม่นับเอาพลังงานน้ำและชีวมวลแบบดั้งเดิม) ผลิตพลังงานไฟฟ้าได้มากกว่า 100,000 เมกกะวัตต์ ในระดับโลกพลังงานหมุนเวียนแนวใหม่นี้จะสามารถตอบสนองความ ต้องการการใช้ไฟฟ้าในบ้านเรือนให้ประชากรมากกว่า 300,000 คน ปี 1999 หน่วยงานพลังงานสากล (International Energy Agency) ได้ชี้ว่า "โลกกำลังอยู่ในช่วงต้นของการเปลี่ยนผ่านไปสู่ระบบพลังงานยั่งยืนซึ่งใช้ทรัพยากรหมุนเวียนเป็นหลัก" ซึ่งถือเป็นถ้อยแถลงที่อาจหาญมากสำหรับองค์กรที่มีสาขาในแถบอเมริกาเหนือ ยุโรป และญี่ปุ่น

 .

ล้วนแล้วแต่ต้องพึ่งพาพลังงานจาก เชื้อเพลิงฟอสซิล แต่ก็ฟังดูเป็นเหตุเป็นผล เมื่อเรามองไปถึงปัญหามากมายที่เกี่ยวพันกับการใช้พลังงานแบบเก่า ประกอบกับในระยะหลายปีที่ผ่านมา มีการลงทุนในอุตสาหกรรมพลังงานหมุนเวียนจำนวนมหาศาล โลกเราใช้พลังงานลมมากขึ้นจากเมื่อ 10 ปีที่แล้วถึง 10 เท่า และใช้พลังงานแสงอาทิตย์มากขึ้นเป็น 7 เท่า อีกทั้งยังมีเสียงสนับสนุนทางการเมืองมากขึ้นด้วย หลายประเทศได้ผ่านข้อบังคับอันเข้มงวด เพื่อสนับสนุนให้มีการใช้พลังงานหมุนเวียน และยังมีการเปิดตลาดใหม่เกิดขึ้นอีกหลายประเทศ เนื่องจากประเทศต่างๆ มีแนวโน้มที่จะเปลี่ยนไปลงทุนกับพลังงานหมุนเวียนมากขึ้น

 .

แต่ทุกการเปลี่ยนแปลงย่อมมีการต่อต้าน โดยเฉพาะอย่างยิ่งจากกลุ่มอุตสาหกรรมที่มีอำนาจต่อรองทางการเมือง ที่ต้องการให้ใช้พลังงานรูปแบบเดิม พลังที่ต้านทานและตอบรับนี้ปรากฏให้เห็นเด่นชัดในการประชุมระดับโลกว่าด้วยเรื่องการพัฒนาที่ยั่งยืน ที่กรุงโจฮันเนสเบิร์ก ประเทศแอฟริกาใต้ ในช่วงฤดูร้อน ปี 2002 โดยกลุ่มสหภาพยุโรป และประเทศบราซิล เสนอให้กำหนดตัวเลขชัดเจนว่า เป้าหมายของการใช้พลังงานหมุนเวียนทั่วโลกควรจะเป็นเช่นไร แต่ก็มีเสียงคัดค้านรุนแรงจากกลุ่มประเทศอุตสาหกรรมเชื้อเพลิงฟอสซิล

 .

รัฐบาลของกลุ่มประเทศที่ผลิตน้ำมันส่วนใหญ่ และประเทศใหญ่ๆ ที่ใช้เชื้อเพลิงฟอสซิลเป็นหลัก เช่น จีน และสหรัฐ ความขัดแย้งที่เกิดขึ้นในโจฮันเนสเบิร์กครานั้นจบลงด้วยเป้าหมายที่ลางเลือน และไม่มีตัวเลขชี้ชัดถึงการเพิ่มพลังงานหมุนเวียนทั่วโลก แต่การหยิบยกประเด็นดังกล่าวขึ้นมาโต้แย้งกันบนเวทีประชุมระดับโลกเป็นสิ่งที่น่าสนใจอย่างยิ่ง ขณะที่ประเทศต่างๆ ทั่วโลกให้ความสำคัญกับการตัดสินใจเลือกใช้พลังงานในอนาคต

 .

หลายประเทศได้มองเห็นแล้วว่า พลังงานหมุนเวียนเป็นทางเลือกที่น่าเชื่อถือ มากกว่าพลังงานเชื้อเพลิงฟอสซิล เราหลีกเลี่ยงกระแสคัดค้านการเปลี่ยนแปลงไม่ได้ แต่การถูกจองจำกับระบบพลังงานแบบเก่าไม่สามารถธำรงโลกไว้ได้ แต่ละปีจะมีโรงไฟฟ้า โรงกลั่นน้ำมัน ท่อส่งก๊าซ และสิ่งก่อสร้างรูปแบบอื่นที่จะยังคงอยู่ต่อไปอีกอย่างน้อยก็ 50 ปี ที่จะก่อสร้างขึ้น เพื่อแทนที่ของเดิม และเพื่อเพิ่มไปตามปริมาณการใช้ที่มากขึ้นเรื่อยๆ

 .

ส่วนใหญ่จะอยู่ในประเทศกำลังพัฒนา ประมาณกันว่า ทุกปีจะมีการลงทุนก่อสร้างอุปกรณ์เกี่ยวกับพลังงานเป็นจำนวนเงิน 200-250 พันล้านเหรียญสหรัฐ อีก 1.5 ล้านล้านเหรียญจะใช้ไปในการบริโภคพลังงาน เกือบทั้งหมดเป็นการลงทุนกับพลังงานรูปแบบเก่า ผลที่เกิดขึ้นตามมาก็คือ โลกจะปิดประตูขังตัวเองเอาไว้กับการพึ่งพาพลังงานที่เสี่ยงต่อสุขภาพ ไม่มีความยั่งยืนและไม่ปลอดภัย

 .

ในขณะเดียวกัน เทคโนโลยีหมุนเวียนต่างๆ กำลังเป็นที่สนใจของกลุ่มนายทุนและบรรษัทข้ามชาติต่างๆ บริษัทน้ำมันขนาดใหญ่อย่าง BP และ Royal Dutch / Shell ได้ลงทุนกับการพัฒนาพลังงานหมุนเวียนไปกว่า 100 ล้านเหรียญ ปัจจุบัน BP มีส่วนแบ่งในตลาดโซล่าเซลล์ถึงร้อยละ 20 และยังวางแผนไว้ว่า จะขยายธุรกิจด้านพลังงานแสงอาทิตย์ไปให้ถึง 1 พันล้านเหรียญสหรัฐ ภายในปี 2007

 .

ขณะที่บริษัท Shell กลายเป็นผู้นำอุตสาหกรรมพลังงานลมนอกชายฝั่ง บริษัทใหญ่ ๆ มีเป้าหมายที่จะลงทุนในอุตสาหกรรมพลังงานสะอาดในอีกไม่กี่ปีข้างหน้า มีมูลค่าถึง 10-15 พันล้านเหรียญ อีกทั้งยังคาดว่า ระหว่างปี 2001-2010 จะมีการลงทุนเพื่อเปลี่ยนไปใช้พลังงานสะอาดเพิ่มขึ้นจากเดิมถึง 8 เท่า คือ มีมูลค่ากว่า 80 ล้านเหรียญต่อปี การลงทุนที่กล่าวมานี้มีคุณค่ามหาศาล เพราะทำให้มีการใช้พลังงานหมุนเวียนเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว หากอัตราการเจริญเติบโตยังคงดำเนินไปคงที่อย่างนี้จะทำให้ค่าใช้จ่ายในการลงทุน และการผลิตลดลงอย่างมาก ทำให้พลังงานหมุนเวียนเป็นสิ่งที่จับต้องได้สำหรับประชาชนทั้งในซีกโลกเหนือและซีกโลกใต้

 .

ยิ่งไปกว่านั้นหากอัตราการเจริญเติบโตเฉลี่ยของการผลิตพลังงานไฟฟ้าจากพลังงานลม และพลังงานแสงอาทิตย์ในช่วงระยะเวลา 10 ปีที่ผ่านมา ยังคงเป็นไปเยี่ยงนี้จนถึงปี 2020 ทั่วโลกจะมีแผงพลังงานแสงอาทิตย์ที่ผลิตไฟฟ้าได้ 48,000 เมกกะวัตต์ และมีพลังงานไฟฟ้าที่ผลิตได้จากพลังงานลมกว่า 2.6 ล้านเมกกะวัตต์ ซึ่งเทียบเป็นร้อยละ 78 ของกำลังการผลิตกระแสไฟฟ้าทั่วโลกในปี 2000 หรือประมาณร้อยละ 45 ของกำลังการผลิตที่คาดการณ์ไว้ในปี 2020

 .

การเจริญเติบโตอย่างต่อเนื่องนี้ ดูจะเป็นสิ่งที่ค่อนข้างยาก แต่ก็มีรายงานจากกลุ่มอุตสาหกรรมหลายแห่ง ระบุว่า หากมีกรอบการดำเนินงานอย่างเป็นรูปธรรมก็เป็นไปได้ที่จะผลิตไฟฟ้าจากพลังงานลมได้ถึงร้อยละ 12 ของปริมาณความต้องการใช้ไฟฟ้าภายในปี 2020 สำหรับพลังงานแสงอาทิตย์ก์จะผลิตได้ถึงร้อยละ 26 ของความต้องการใช้ไฟฟ้าภายในปี 2040 เดวิด โจนส์ แห่งบริษัท Shell ได้พยากรณ์ไว้ว่า พลังงานหมุนเวียนสามารถเทียบเคียงความต้องการใช้น้ำมันเหมือนเมื่อศตวรรษที่ผ่านมา

 .

ครั้งนั้นน้ำมันแซงหน้าพลังงานถ่านหินและฟืนขึ้นมาเป็นเชื้อเพลิงอันดับหนึ่ง การเติบโตในช่วงทศวรรษที่ผ่านมาของพลังงานหมุนเวียนได้รับเชื้อปะทุจากหลายประเทศ (ประกอบด้วย เยอรมนี ญี่ปุ่น เดนมาร์ก และสเปน) และหลายมลรัฐในสหรัฐอเมริกา ซึ่งได้รับเอาความทะเยอทะยานอันแรงกล้า และนโยบายบริหารที่มุ่งไปสู่การใช้พลังงานหมุนเวียนก้าวหน้า

 .

ด้วยประเทศต่างๆ เหล่านี้เพียงลำพังไม่สามารถทำให้การเติบโตนี้ยั่งยืนอย่างที่โจนส์และคนอื่นๆ มองไว้ได้ และไม่ว่าการเติบโตนี้จะดำเนินไปด้วยอัตราความเร็วคงที่หรือไม่ ก็คงขึ้นอยู่กับการตัดสินใจของรัฐบาลจากประเทศต่างๆ ทั่วโลก แต่การพัฒนาใหม่ๆ ได้ชี้แนะว่า มีการสนับสนุนทางการเมืองในเรื่องพลังงานหมุนเวียนเพิ่มขึ้นทั่วโลก ประสบการณ์จากประเทศเยอรมนีและที่อื่นๆ ชี้ให้เห็นว่า นโยบายดังกล่าวสามารถแพร่กระจายไปได้ทั่วโลก มีนโยบายที่สำคัญ 5 ประการหลักๆ ที่จะช่วยผลักดันไปสู่การใช้พลังงานหมุนเวียน

 .

ประการแรกที่มีความสำคัญที่สุด คือ กฎหมายต่างๆ ที่จะบริหารกระแสไฟฟ้าที่ผลิตได้ และข้อบังคับการใช้ไฟฟ้า มีการเข้าถึงอย่างเท่าเทียม และมีกฎหมายกำหนดราคาที่มีมาตรฐาน เป็นทางเลือกที่ประสบความสำเร็จมากที่สุด ที่จะกระตุ้นให้เกิดนวัตกรรมการติดตั้งแผงประจุไฟฟ้า อุตสาหกรรมในประเทศที่เข้มแข็ง และได้รับการสนับสนุนอย่างกว้างขวางจากประชาชนทั่วไป

 .

นโยบายอื่นที่สำคัญ รวมไปถึงการช่วยเหลือทางการเงิน โดยเฉพาะกับผู้ที่ลดความเสี่ยง และเผชิญหน้ากับค่าใช้จ่ายในการลงทุนกับเทคโนโลยีพลังงานหมุนเวียน (จำพวกการให้สินเชื่อดอกเบี้ยต่ำระยะยาว หรือการลดหย่อนภาษี) พร้อมกันกับให้ความรู้ และเผยแพร่ข้อมูล ให้ผู้ถือหุ้นมีส่วนร่วม และกำหนดมาตรฐานอุตสาหกรรม และขั้นตอนการอนุญาต

 .

ก้าวที่สำคัญที่สุดของรัฐในบทบาทผู้นำด้านพลังงานหมุนเวียน คือ เปลี่ยนมุมมองให้กว้างขวางและครอบคลุม และก้าวไปสู่นโยบายด้านพลังงาน รัฐบาลจะต้องตัดนโยบายที่ไม่เหมาะสม ไม่คงที่ และไม่เพียงพอออกไป เพราะนโยบายเหล่านี้จะเอื้อประโยชน์ให้กลุ่มพลังงานและเทคโนโลยีแบบเก่า และจะทำให้ละเลยความได้เปรียบทางสังคม สิ่งแวดล้อม และเศรษฐกิจของพลังงานหมุนเวียนไป

 .

รวมไปถึงศักยภาพในการลดการคุกคาม ต่อสภาพภูมิอากาศของโลกในอนาคตลงด้วย โดยในช่วงต้นปี 2001 ได้มีการนำเสนอรายงานของคณะกรรมการระหว่างรัฐบาลว่าด้วยเรื่องการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ (Integovernmental Panel on Climate Change-IPCC) ที่ยืนยันว่า เพื่อจะรักษาอุณหภูมิของโลกให้คงที่ "เราต้องลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ลงให้เหลือน้อยที่สุดจากปริมาณที่ปล่อยอยู่ในปัจจุบัน" หมายถึง ลดลงจนแทบจะไม่มีเลย และเราจะไปถึงจุดนั้นได้ต้องร่วมมือร่วมใจกันทั่วโลก

 .

โดยเริ่มเปลี่ยนไปใช้พลังงานหมุนเวียนและยั่งยืนตั้งแต่วันนี้ การไปให้ถึงวิสัยทัศน์เยี่ยงนี้ยังต้องการความพยายามอีกมาก ทุกวันนี้ โลกทั้งโลกเหมือนถูกขังอยู่ในระบบพลังงานที่ใช้คาร์บอนเป็นหลัก ซึ่งไม่ได้ดีกว่า หรือถูกกว่าพลังงานหมุนเวียนเลย แต่เป็นเพียงผลผลิตจากนโยบายที่ล้าหลัง และการตัดสินใจลงทุนที่ผ่านไปแล้ว การจะออกจากระบบเดิมที่คุมขังเราไว้นี้ไม่ใช่เรื่องง่าย แต่ก็มีบางประเทศพิสูจน์แล้วว่าเป็นไปได้ อย่างเช่น ประเทศเยอรมนีและอีกหลายๆ ที่ ที่สำคัญ คือ ต้องมีความทะเยอทะยาน มองการณ์ไกล มีนโยบายที่แน่วแน่มั่นคงที่จะนำพาประเทศไปสู่พลังงานหมุนเวียน และสร้างตลาดของตัวเอง เพื่อตอบสนองความต้องการการใช้พลังงานหมุนเวียน

 .

ที่มา : หนังสือ State of the World 2003. จัดทำโดยสถาบัน Worldwatch

http://www.environnet.in.th/evdb/info/pollution/pollution06.html