เนื้อหาวันที่ : 2008-10-21 11:12:53 จำนวนผู้เข้าชมแล้ว : 4318 views

วิกฤตพลังงานและโลกร้อน ลดได้ด้วยพฤติกรรม

ปัญหาวิกฤตน้ำมัน เกิดจากความต้องการใช้พลังงานฟอสซิลที่มากเกิน เกิดภาวะโลกร้อนสืบเนื่องตามมา ซึ่งไม่อาจแก้ไขได้เพียงชั่วข้ามคืน ต้องค่อยเป็นค่อยไป ลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก และปรับเปลี่ยนพฤติกรรม

ปัญหาวิกฤตน้ำมัน เกิดจากความต้องการใช้พลังงานฟอสซิลที่มากเกิน เกิดภาวะโลกร้อนสืบเนื่องตามมา ซึ่งไม่อาจแก้ไขได้เพียงชั่วข้ามคืน ต้องค่อยเป็นค่อยไป ลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก และปรับเปลี่ยนพฤติกรรม

พลังงานฟอสซิลเป็นแหล่งพลังงานหลักของประเทศ มีการนำมาใช้ในด้านต่าง ๆ ทั้งภาคการขนส่ง และการเกษตร ซึ่งปัจจุบันถือว่ามีความขาดแคลนอยู่ในขั้นวิกฤต จากสถิติของกระทรวงพลังงาน ในเดือนมีนาคมถึงเดือนเมษายนที่ผ่านมา ความต้องการใช้น้ำมันดีเซลหมุนเร็ว ที่มีความสำคัญต่อภาคการขนส่ง เพิ่มขึ้นถึง 20 ล้านลิตร ซึ่งการใช้เชื้อเพลิงฟอสซิลไม่ว่าในด้านใดก็ตาม จะมีการปลดปล่อยก๊าซเรือนกระจก อันได้แก่ คาร์บอนไดออกไซด์ มีเทน และไดไน โต รเจนออกไซด์ ออกมาด้วยทุกครั้งไป ส่งผลต่อการเกิดภาวะโลกร้อนตามมา
 
สาเหตุของวิกฤตน้ำมันที่เกิดขึ้นว่า วิกฤตน้ำมันที่เกิดขึ้นครั้งนี้ถือว่าเป็นครั้งที่สามแล้ว โดยครั้งแรกนั้นเกิดใน พ.ศ. 2516 หลังสงครามอาหรับและอิสราเอล ส่วนครั้งที่สองเกิดขึ้นใน พ.ศ. 2523 ช่วงปฏิวัติอิหร่าน ซึ่งจริง ๆ แล้วทั้งสองช่วงนั้นกำลังการผลิตน้ำมันของผู้ผลิตมีเพียงพอ แต่ไม่ยอมผลิตเพื่อส่งออก เรียกว่าเป็น Supply Site Crisis ทำให้เกิดวิกฤตขึ้น

ส่วนครั้งนี้เริ่มขึ้นเมื่อสิบปีที่ผ่านมา ในช่วงหลังสงครามสหรัฐอเมริกากับอิรักครั้งที่ 2 ซึ่งความต้องการน้ำมันมีเพิ่มขึ้นตลอด โดยเฉพาะช่วง 7-8 ปีที่ผ่านมา ประเทศจีนและอินเดีย ที่มีประชากรรวมกันเท่ากับประชากร หนึ่ง ในสามของโลก มีความต้องการน้ำมันเพิ่มขึ้นตามการเติบ โต ของเศรษฐกิจ คือ 10 เปอร์เซ็นต์ และ 8 เปอร์เซ็นต์ ตามลำดับ

ขณะเดียวกันระหว่าง พ.ศ. 2533-2543 เป็นช่วงสิบปีที่ราคาน้ำมันถูกมาก หนึ่ง ลิตรไม่ถึงยี่สิบบาท ทำให้บริษัทน้ำมันต่าง ๆ ไม่มีการลงทุนเพิ่มเติมเพื่อขุดเจาะน้ำมัน เมื่อความต้องการใช้น้ำมันเพิ่มขึ้นช้า ๆ ทำให้การผลิตน้ำมันไม่ทันต่อความต้องการใช้ของประชากรโลก เพราะกว่าที่จะพบบ่อน้ำมัน และพัฒนาจนกระทั่งกลายเป็นน้ำมันเพื่อให้ใช้ได้นั้น บ่อ หนึ่ง ก็ใช้เวลารวมแล้วประมาณสิบปี ความต้องการใช้น้ำมันจึงมีมากเกินขีดความสามารถของการผลิต บรรดาผู้ค้าน้ำมันจึงหันมาขุดเจาะน้ำมันกันอย่างมาก

เมื่อมีการขุดเจาะน้ำมันเพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ เพื่อให้เพียงพอกับความต้องการ จึงเกิดคำถามว่า แล้วปัจจุบันน้ำมันที่อยู่ใต้พื้นพิภพนี้ใกล้จะหมดหรือยัง เพราะจะเป็นตัวบ่งชี้ว่าโลกเรากำลังจะเข้าสู่วิกฤตหมดน้ำมันใช้ ซึ่งมีความเชื่ออยู่สองกลุ่ม คือ กลุ่มแรกเชื่อว่า เรามาถึงจุดนั้นแล้ว หรืออย่างช้าอีกไม่เกินสี่ปี

ส่วนอีกกลุ่มเชื่อว่า ยังไม่ถึง เรายังมีโอกาสขุดพบน้ำมันอีก เพราะยังไม่มีการเจาะในทะเลลึก ที่อยู่ลึกลงไป 20-30 กิโลเมตร แต่ไม่ว่าจะอย่างไรก็ตาม ถ้าพลังงานฟอสซิลหมด ระบบเศรษฐกิจของโลกก็คงย่ำแย่ เพราะเศรษฐกิจของโลกปัจจุบันหลังการปฏิวัติอุตสาหกรรม เป็นเศรษฐกิจที่ตั้งอยู่บนพื้นฐานพลังงานฟอสซิลทั้งหมด เหมือนกับมนุษย์ที่ต้องกินข้าวเป็นอาหาร หากเปรียบมนุษย์เป็นระบบเศรษฐกิจของโลก แล้วเปรียบพลังงานเป็นเหมือนข้าวของระบบ ถ้าไม่มีข้าว มนุษย์ก็ตาย

นอกจากปัญหาน้ำมันที่ทั่วโลกกำลังประสบ ยังคงมีอีกปัญหา หนึ่ง คือ ภาวะโลกร้อน ที่กล่าวถึงกันมาเป็นสิบปีแล้ว ซึ่งเรื่องนี้ สาเหตุของภาวะโลกร้อนที่เกิดขึ้นในปัจจุบันเป็นเพราะการใช้เชื้อเพลิงฟอสซิลเกินกว่าปกติ จนเกิดก๊าซเรือนกระจก ซึ่งตัวการที่สำคัญคือ คาร์บอนไดออกไซด์

โดยระหว่าง พ.ศ. 2293-2548 เป็นช่วงสองร้อยปีที่เรานำเชื้อเพลิงฟอสซิลมาใช้ พบว่าปริมาณคาร์บอนไดออกไซด์เพิ่มขึ้นจาก 280 ppm เป็น 379 ppm ซึ่งหากเพิ่มขึ้น 450 ppm จะเป็นปริมาณที่มากเกินกว่าที่มนุษย์จะทนได้ โดยปริมาณก๊าซเรือนกระจกทั้งสามตัว ได้แก่ คาร์บอนไดออกไซด์ มีเทน และไดไน โต รเจนออกไซด์นั้นมีปริมาณเพิ่มขึ้นตามการปล่อยก๊าซเรือนกระจกด้วย หรือหมายถึงมีการใช้เชื้อเพลิงฟอสซิลเพิ่มขึ้นด้วยนั่นเอง  

อย่างไรก็ตาม เราคงไม่อาจหยุดยั้งการเพิ่มขึ้นของอุณหภูมิของโลกได้เพียงชั่วข้ามคืน เนื่องจากสิ่งที่เกิดขึ้นนี้เป็นปัญหาที่ได้รับการสะสมมานาน เพราะพบว่าตั้งแต่ พ.ศ. 2494-2546 อุณหภูมิต่ำสุดเฉลี่ยของประเทศไทยมีค่าเพิ่มขึ้น อุณหภูมิสูงสุดเฉลี่ยก็เพิ่มขึ้นเช่นเดียวกัน และร้อนขึ้นเรื่อย ๆ ซึ่งอุณหภูมิของโลกที่ร้อนขึ้นเรื่อย ๆ นี้ย่อมส่งผลกระทบต่อการละลายของน้ำแข็งบริเวณขั้วโลกแน่นอน

และที่น่าสนใจคือ บริเวณขั้วโลกใต้ เพราะว่าก้อนน้ำแข็งเกิดขึ้นเหนือแผ่นดิน หากน้ำแข็งละลายก็จะมีผลกระทบกับโครงสร้างแผ่นดินข้างล่าง ทำให้เกิดโพรงใต้ดินมากขึ้น ซึ่งมีการสันนิษฐานว่า แผ่นดินไหวที่เกิดขึ้นช่วงนี้นั้น อาจเป็นผลมาจากการละลายของน้ำแข็งบริเวณขั้วโลกใต้ก็เป็นได้

แม้เราทุกคนจะหยุดหายใจวันนี้ อุณหภูมิของโลกก็คงไม่ได้เย็นขึ้นแต่อย่างใด ถ้าหากเราต้องการรักษาความเข้มข้นของก๊าซเรือนกระจกไม่ให้มากเกินไปกว่านี้ เราต้องปล่อยก๊าซเรือนกระจกให้น้อยลง ถึงจะทำให้โลกในอนาคตไม่มีก๊าซเรือนกระจกมากเกินไป ซึ่งเป้าหมายที่ต้องทำให้ได้คือ ต้องลดประมาณการปล่อยก๊าซเรือนกระจกให้ได้ 50-85 เปอร์เซ็นต์ของการปล่อยใน พ.ศ. 2543
 
และเมื่อกล่าวถึงผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศ หรือ GDP ทุกประเทศต้องการให้เติบ โต ขึ้นอยู่ตลอดเวลา ในแง่ของทางเศรษฐศาสตร์แล้ว ก็คือการสร้างผลผลิตและบริการให้เติบ โต ซึ่งทุกปีที่ผ่านมา การสร้างผลผลิตและบริการให้เติบ โต เพิ่มขึ้นนั้น มาจากการใช้ทรัพยากรของโลกทั้งสิ้น ทั้งไม้และพลังงาน และโชคไม่ดีที่ว่า เทคโนโลยีที่เราพัฒนากันมาตลอด 200 ปี เป็นเทคโนโลยีที่อยู่บนพื้นฐานของเทคโนโลยีที่ใช้พลังงานฟอสซิล ซึ่งเราจะแก้ปัญหาชั่วข้ามคืนไม่ได้

ในเมื่อเราไม่อาจช่วยโลกได้เพียงชั่วข้ามคืน แล้วเราจะรับมือกับภาวะวิกฤตน้ำมันและภาวะโลกร้อนนี้อย่างไร ซึ่งการจะช่วยกันลดปัญหาภาวะโลกร้อนนั้น สิ่งที่เราจะช่วยกันได้คือ เราต้องลดที่ปลายทาง อันได้แก่ บ้านเรือน และอุตสาหกรรมต่าง ๆ เรื่องการประหยัดพลังงานนั้นนับว่ามีความสำคัญมากกว่าการจัดหาพลังงาน

แต่ประเทศเรากลับไม่ค่อยให้ความสำคัญ โดยมองไปที่การหาแหล่งพลังงานใหม่แทน ทั้งที่ต้นทุนมากกว่า ที่จริงแล้ว เราควรลดการใช้พลังงานจนกระทั่งทำได้เต็มศักยภาพก่อน แล้วเราค่อยไปหาแหล่งใหม่ จึงจะเป็นแนวทางที่ถูกต้อง แต่ตอนนี้เราเหมือนคนเป็นโรคพยาธิ มีพยาธิในท้องมาก กินข้าวไม่ถึงชั่วโมงก็หิวแล้ว แต่ไม่ยอมถ่ายพยาธิ กลับหาข้าวให้กินอยู่เรื่อย ๆ ซึ่งเป็นปัญหาของเรา
 
ยิ่งช่วงปัญหาวิกฤตน้ำมันแพงเช่นนี้ ตัวอย่างที่เห็นชัดเจนคือในภาคการขนส่ง ซึ่งถ้าเราจัดการตรงนี้ได้ ก็เป็นสิ่งที่เราควรจะทำ อีกการช่วยเหลือ หนึ่ง คือ การเพิ่มประสิทธิภาพของเครื่องจักร อุปกรณ์ และการใช้พลังงานจากแหล่งพลังงานที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม ที่ไม่มีคาร์บอนเป็นส่วนประกอบ เช่น พลังงานลม แสงแดด น้ำ เป็นต้น

เรื่องของการจัดการพลังงานให้ได้ดีนั้นมีอยู่สามประเด็น คือ ปรับพฤติกรรมของเรา เช่น เมืองร้อนอย่างเมืองไทย ไม่ต้องใส่สูทไปทำงานก็ได้ เพราะเมื่อใส่สูทก็จะร้อน ทำให้ต้องไปปรับอุณหภูมิของเครื่องปรับอากาศอีก เลือกเทคโนโลยีที่มีประสิทธิภาพ เมื่อต้องเปลี่ยนของเก่า

อย่างเช่น เมื่อต้องเปลี่ยนหลอดไฟ ก็สามารถเลือกเป็นแบบหลอดผอมได้ ส่วนประเด็นสุดท้ายจะเน้นที่ผู้ประกอบการ คือ เปลี่ยนกระบวนการของการผลิตให้มีประสิทธิภาพสูงขึ้น เช่น วิเคราะห์การผลิตให้มีประสิทธิภาพสูงขึ้น สร้างบ้านที่เย็นสบายได้โดยไม่ต้องติดตั้งเครื่องปรับอากาศ ซึ่งถ้าเรามีการเปลี่ยนแปลงกระบวนการก็จะช่วยได้

การพัฒนาทางเทคโนโลยีเพื่อความเจริญของมนุษย์ที่ผ่านมา เราใช้ทรัพยากรต่าง ๆ ของโลกอย่างมากมายเหลือเกิน จนโลกแทบจะทนไม่ไหวแล้ว ถึงเวลาแล้วหรือยัง ที่เราจะปรับเปลี่ยนพฤติกรรมของเราเอง คืนสิ่งดี ๆ ให้กลับสู่โลกบ้าง อย่างน้อยก็จะส่งผลต่อโลกในระยะยาว เช่น ปริมาณก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ที่ลดลง