กระแสการแข่งขันของเศรษฐกิจโลกที่รุนแรง ประเทศต่างๆ พยายามฟันฝ่าวิกฤติเศรษฐกิจที่รุมเร้าไม่ว่าจะเป็นวิกฤตการณ์ทางการเงิน และระบบการค้าเสรี ซึ่งประเทศมหาอำนาจสามารถรับมือกับการเปลี่ยนแปลงได้รวดเร็ว เพราะมีความพร้อมทั้งด้านทุน เทคโนโลยี บุคลากร รวมทั้งยังพยายามสร้างกฎ กติกา เพื่อปกป้องเศรษฐกิจของประเทศตน
สำนักนโยบายอุตสาหกรรมรายสาขา 2 |
||||
. | ||||
. | ||||
กระแสการแข่งขันของเศรษฐกิจโลกที่รุนแรง ประเทศต่างๆ พยายามฟันฝ่าวิกฤติเศรษฐกิจที่รุมเร้าไม่ว่าจะเป็นวิกฤตการณ์ทางการเงิน และระบบการค้าเสรี ซึ่งประเทศมหาอำนาจสามารถรับมือกับการเปลี่ยนแปลงได้รวดเร็ว เพราะมีความพร้อมทั้งด้านทุน เทคโนโลยี บุคลากร รวมทั้งยังพยายามสร้างกฎ กติกา เพื่อปกป้องเศรษฐกิจของประเทศตนอีกด้วย ส่วนประเทศเล็กหรือประเทศกำลังพัฒนาถูกมรสุมกระหน่ำครั้งแล้วครั้งเล่า จนเกิดความเสียหายมาก ทำให้มีการปรับตัวได้ช้า ทั้งยังต้องยอมรับกฎ กติกา ที่ประเทศมหาอำนาจตั้งไว้อย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ |
||||
. | ||||
ประเทศไทยเป็นประเทศเล็กประเภทกำลังพัฒนา แต่มีความเป็นเอกภาพโดยทั้งภาครัฐและภาคเอกชนมีความตั้งใจสูง พร้อมเพรียงในการฟันฝ่ามรสุมเศรษฐกิจทุกด้าน ในช่วงวิกฤตทางการเงิน ภาคการผลิตรับความเสียหายมากที่สุด รัฐและเอกชนภาคการผลิตได้ร่วมมือกันปรับโครงสร้างอุตสาหกรรมพลิกฟื้นวิกฤตให้เป็นโอกาส มีผลให้เศรษฐกิจไทยมีความเข้มแข็งในระดับหนึ่ง และเมื่อต้องเข้าสู่ระบบเศรษฐกิจเสรีอย่างเต็มตัวต้องปฏิบัติตามพันธกรณีที่ได้ตกลงกันไว้ในเวทีต่างๆ ทั้งพหุพาคี ทวิภาคี มีผลทำให้อุตสาหกรรมต้องปรับตัวเพื่อเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันอย่างยั่งยืนตลอดไป |
||||
. | ||||
การเพิ่มขีดความสามารถการแข่งขันของอุตสาหกรรมมีหลายวิธี สำหรับประเทศไทยอุตสาหกรรมหลายประเภทมี Value Chain ที่เชื่อมโยงกันอย่างมีนัยสำคัญ ดังนั้นการสร้างเครือข่ายวิสาหกิจ หรือ Cluster ซึ่งเป็นแนวทางที่ Michael E.Porter นำเสนอไว้เป็นทางเลือกหนึ่งที่จะทำให้อุตสาหกรรมไทยสามารถสร้างเครือข่ายกันได้อย่างมีศักยภาพในกรพัฒนา Cluster ต้องเกิดจากความร่วมมือของภาคเอกชนใน Value Chain ของอุตสาหกรรมนั้น และอุตสาหกรรมที่เกี่ยวเนื่องกับการส่งเสริมสนับสนุนของภาครัฐที่ชัดเจนและจริงจัง |
||||
. | ||||
การพัฒนา Cluster ในอุตสาหกรรมไทยอาจใช้ 3 รูปแบบ ดังนี้ | ||||
|
||||
ปัจจัยแห่งความสำเร็จ (Key Success Factor) ของการพัฒนาคลัสเตอร์ | ||||
|
||||
. | ||||
แม้ปัจจัยที่กล่าวข้างต้นนั้นจะเป็นปัจจัยโดยรวมที่จะสามารถนำพากลุ่มวิสาหกิจ (Cluster) ให้ประสบความสำเร็จได้ แต่ในทางปฏิบัติแล้ว กลุ่มวิสาหกิจกลุ่มใดกลุ่มหนึ่งจะประสบความสำเร็จได้ไม่จำเป็นต้องมีครบทุกองค์ประกอบข้างต้น เพียงแต่ต้องมีข้อได้เปรียบที่มีนัยสำคัญ และเข้มแข็งมากพอที่จะสามารถเอาชนะคู่แข่งได้ |
||||
. | ||||
สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม ตระหนักถึงความสำคัญของการพัฒนาเครือข่ายวิสาหกิจ ต่อการสร้างขีดความสามารถในการแข่งขันและพัฒนาอุตสาหกรรมไทย จึงทำการศึกษากรณีตัวอย่างอุตสาหกรรมเซรามิก และอุตสาหกรรมแฟชั่นขึ้น โดยสาระสำคัญของผลการศึกษาสรุปได้ดังนี้ |
||||
. | ||||
การพัฒนาเครือข่ายวิสาหกิจ (Cluster) อุตสาหกรรมเซรามิก | ||||
จากการศึกษาต้นแบบการพัฒนาเครือข่ายวิสาหกิจเซรามิก โดยเปรียบเทียบกับกลุ่มวิสาหกิจในต่างประเทศ พบว่า รูปแบบของเครือข่ายวิสาหกิจของกลุ่มประเทศที่พัฒนาแล้ว (อิตาลี ญี่ปุ่น และอังกฤษ) จะมีรูปแบบที่คล้ายๆ กัน คือ มีประวัติศาสตร์ของการทำเซรามิกที่ยาวนาน มีรากฐานของวัฒนธรรมการใช้สินค้าเซรามิก ซึ่งก่อให้เกิดความต้องการภายในประเทศที่มีขนาดใหญ่เพียงพอที่จะรองรับสินค้าที่ผลิตจากโรงงานในประเทศเหล่านั้นได้ ตลอดจนเป็นศูนย์รวมขององค์ความรู้ทางด้านเซรามิกทั้งในส่วนของบุคลากรเทคโนโลยี และการรับช่วงการผลิต |
||||
. | ||||
เนื่องจากเป็นประเทศที่เป็นผู้ผลิตและคิดค้นเทคโนโลยีของเครื่องจักร และพัฒนากระบวนการผลิตเซรามิกอย่างต่อเนื่อง และมีการรวมตัวของผู้ประกอบการเพื่อการทำธุรกิจร่วมกันนอกจากนี้ ยังมีรูปแบบของการพัฒนาโรงงานผลิตเซรามิกเป็นแหล่งท่องเที่ยว โดยมีการจัดตั้งพิพิธภัณฑ์และศูนย์จำหน่ายสินค้าเพื่อดึงดูดความสนใจของประชาชนทั่วไป ซึ่งอุตสาหกรรมเซรามิกของไทยในพื้นที่ต่างๆ สามารถนำตัวอย่างที่ดีของต่างประเทศมาพัฒนารูปแบบของเครือข่ายวิสาหกิจได้ |
||||
. | ||||
อุตสาหกรรมเซรามิกของไทยในพื้นที่ต่างๆ ได้แก่ กลุ่มเซรามิก จังหวัดลำปาง กลุ่มศิลาดล จังหวัดเชียงใหม่ กลุ่มเครื่องปั้นดินเผาเกาะเกร็ด จังหวัดนนทบุรี กลุ่มเครื่องปั้นดินเผาด่านเกวียน จังหวัดนครราชสีมา กลุ่มเครื่องเคลือบดินเผา จังหวัดราชบุรี กลุ่มเครื่องเบญจรงค์อ้อมน้อย จังหวัดสมุทรสาคร และกลุ่มกระเบื้องเซรามิก จังหวัดสระบุรี เป็นกลุ่มที่มีการรวมตัวกันอย่างหนาแน่นทางภูมิศาสตร์ |
||||
. | ||||
แต่เครือข่ายวิสาหกิจในแต่ละพื้นที่ยังขาดความเชื่อมโยงกันทั้งในแง่ของความร่วมมือการแลกเปลี่ยนข้อมูลข่าวสาร และประสบการณ์ร่วมกันอย่างจริงจัง ทำให้เครือข่ายวิสาหกิจในแต่ละพื้นที่จะต้องหันมาให้ความสำคัญกับการร่วมมือ เพื่อให้เกิดคลัสเตอร์ที่สมบูรณ์ โดยส่งเสริมให้เกิดความร่วมมือในการกำหนดวิสัยทัศน์ และยุทธศาสตร์ของกลุ่มเครือข่ายวิสาหกิจร่วมกัน นอกจากนี้ การนำตัวอย่างที่ดีของต่างประเทศมาพัฒนารูปแบบของเครือข่ายวิสาหกิจ |
||||
. | ||||
โดยสนับสนุนแหล่งผลิตเซรามิกเป็นแหล่งท่องเที่ยว มีสถานที่เยี่ยมชมพิพิธภัณฑ์เครื่องปั้นดินเผา และศูนย์แสดงสินค้า จะเป็นช่องทางในการจำหน่ายสินค้า และเป็นแนวทางสำหรับความอยู่รอดในกลุ่มของโรงงานที่มีขนาดเล็กและยังเป็นแหล่งความรู้ของกลุ่มเครือข่ายวิสาหกิจ ทำให้เกิดศูนย์กลางในการแลกเปลี่ยนข้อมูลข่าวสาร เกิดการพัฒนาองค์ความรู้ด้านการผลิตเซรามิก ทั้งด้านฝีมือแรงงาน เทคโนโลยี จนสามารถทำให้ผลิตภัณฑ์มีคุณภาพ และหลากหลาย มีเครื่องหมายการค้า และแข่งขันกับคู่แข่งในประเทศต่างๆ ได้ |
||||
. | ||||
การพัฒนาเครือข่ายวิสาหกิจ (Cluster) อุตสาหกรรมแฟชั่น | ||||
1.ยุทธศาสตร์อุตสาหกรรมแฟชั่น เป็นยุทธศาสตร์เพิ่มขีดความสามารถการแข่งขันของอุตสาหกรรม 3 ประเภท ได้แก่ อุตสาหกรรมสิ่งทอและเครื่องนุ่งห่ม อุตสาหกรรมหนังและเครื่องหนัง อุตสาหกรรมอัญมณีและเครื่องประดับ ซึ่งได้กำหนดกลยุทธ์การแข่งขันเป็นตัวนำ การพัฒนาในยุทธศาสตร์แฟชั่นสามารถขับเคลื่อนอย่างมีประสิทธิภาพนั้น จำเป็นต้องสนับสนุนให้มีการผลิตที่เชื่อมโยงกันอย่างครบวงจร มีการบริหารจัดการในกลุ่มอุตสาหกรรมเพื่อให้เกิดความเชื่อมโยงกัน เช่นการร่วมกันใช้และแบ่งปันข้อมูล การบริหารจัดการแบ่งงานกันทำการส่งมอบสินค้าตามกำหนด |
||||
. | ||||
เป็นแนวทางในการพัฒนาอุตสาหกรรมแฟชั่นให้สามารถดำเนินการได้ภายใต้สถานการณ์ที่ตลาดโลกมีการแข่งขันเสรี โดยจำเป็นต้องมีระบบการเชื่อมโยงทั้งในอุตสาหกรรมแฟชั่นให้สามารถดำเนินการได้ภายใต้สถานการณ์ที่ตลาดโลกมีการแข่งขันเสรี โดยจำเป็นต้องมีระบบการเชื่อมโยงทั้งในอุตสาหกรรมต้นน้ำ กลางน้ำและปลายน้ำ รวมทั้งอุตสาหกรรมสนับสนุนอื่นๆ เช่น อุตสาหกรรมชิ้นส่วน อุปกรณ์ตกแต่งและส่วนประกอบ |
||||
. | ||||
ซึ่งจะก่อนให้เกิดการพัฒนาและใช้ประโยชน์ร่วมกันเป็นการผลิตที่เกื้อหนุนกัน มีเป้าหมายในการพัฒนาไปในทิศทางเดียวกันทั้งวัตถุดิบ เทคโนโลยี การผลิต การตลาด บุคลากร และจะมีผลให้กลุ่มอุตสาหกรรมแฟชั่นลดการพึ่งพาวัตถุดิบจากต่างประเทศ โดยมีรากฐานการพัฒนาร่วมกันอย่างครบวงจรและมั่งคง พร้อมทั้งมีความเข้มแข็ง มีศักยภาพ และเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันและเติบโตก้าวหน้าได้อย่างยั่งยืน |
||||
. | ||||
2.การจัดทำระบบการเชื่อมโยงเครือข่ายวิสาหกิจอุตสาหกรรมทั้ง 3 ประเภท โดยกรอบ Diamond Model ในส่วนของความได้เปรียบในด้านต้นทุนการผลิต (Cost Efficiency) และการสร้างความแตกต่างของสินค้าและบริการ (Differentiation) ปัจจัยทั้งสองจะเกิดขึ้นต่อเมื่อมีการสร้างองค์ประกอบหลัก 2 อย่างคือ Supply Chain |
||||
. | ||||
ซึ่งประกอบด้วยอุตสาหกรรมต้นน้ำ กลางน้ำ ปลายน้ำ ต้องผลิตสินค้าให้มีคุณภาพดี ตรงความต้องการของผู้บริโภค รวมถึงการจัดส่งสินค้าให้ถึงมือลูกค้าตรงตามเวลาที่กำหนด และ Value Chin ซึ่งเป็นการสร้างมูลค่าเพิ่มให้กับสินค้าแฟชั่น เพราะประกอบด้วย การออกแบบ (Design) การพัฒนาตราผลิตภัณฑ์รวมทั้งกลยุทธ์ในการสร้างตลาด (Branding & Marketing) และการบริหารช่องทางการจัดจำหน่าย (Distribution Channal) |
||||
. | ||||
3.กรอบความคิดการพัฒนาเครือข่ายวิสาหกิจ (Cluster) โดยอาศัยองค์ประกอบที่เป็นรูปธรรมและกลไกที่เป็นนามธรรม ดังนี้ | ||||
|
||||
4.กลยุทธ์และแนวทางในการพัฒนา Cluster ของอุตสาหกรรมแฟชั่นไทย | ||||
|
||||
ปัจจุบันประเทศต่างๆ ได้นำรูปแบบ Cluster เป็นกลยุทธ์ในการพัฒนาอุตสาหกรรม เช่น ประเทศสหรัฐอเมริกา Cluster ประเภทเทคโนโลยีระดับสูงที่ Silicon Valley ประเทศอิตาลี มี Cluster เซรามิกที่ Sassualo และ Cluster ของ Leather Triangle ที่เมือง Vicenza ประเทศอินเดีย มี Cluster เสื้อผ้าฝ้ายถักที่เมือง Tiruppur และประเทศญี่ปุ่นมี Cluster สิ่งทอที่เมือง Hamamatsu เป็นต้น |
||||
. | ||||
สำหรับอุตสาหกรรมไทยระบบ Cluster จะมีความสำคัญมากขึ้นและหากเราใช้ Cluster เป็นกลยุทธ์ในการกระตุ้นให้เกิดความเชื่อมโยงระหว่างผู้ประกอบการภาคเอกชนที่เกี่ยวข้อง หน่วยงานภาครัฐที่เกี่ยวข้อง โดยมีแผนนโยบายแนวทางการปฏิบัติที่เป็นเอกภาพและมีประสิทธิภาพบนเส้นทางแห่ง Cluster นี้ อุตสาหกรรมไทยจะมีชัยชนะอย่างยั่งยืนต่อไป |