การตรวจวัดการใช้พลังงานของอุปกรณ์หลักที่ใช้พลังงานในโรงงานเป็นสิ่งจำเป็น เพื่อให้ทราบข้อมูลว่าพลังงานถูกใช้ไปที่ไหนบ้าง เท่าไร เมื่อไร และอย่างไร เหมาะสมหรือยัง การตรวจวัดการใช้พลังงานควรจะทำให้ถูกต้อง มิฉะนั้นข้อมูลที่ได้จะเป็นขยะข้อมูล ใช้งานไม่ได้ และหลายครั้งทำให้เกิดความเสียหายหากนำเอาไปใช้
ปัจจัยทางผลิตภาพ ได้มีบทบาทในการสร้างศักยภาพการแข่งขันให้กับทุกองค์กร โดยเฉพาะองค์กรที่ดำเนินธุรกิจในภาคการผลิตที่เกิดความสูญเปล่าในกระบวนการมากมาย และส่งผลต่อผลิตภาพโดยรวมขององค์กร ด้วยเหตุนี้องค์กรจึงต้องมุ่งสร้างคุณค่าเพิ่ม ด้วยการปรับปรุงกระบวนการที่มุ่งเน้นประสิทธิผลจากกระบวนการ (Process Effectiveness)
ในการทำงานของเครื่องจักรและอุปกรณ์ที่เป็นส่วนประกอบของเครื่องจักรนั้น สิ่งที่เกิดมาพร้อมกับการทำงานของเครื่องจักรคือความร้อน ดังนั้นสิ่งที่ต้องมีควบคู่กันกับเครื่องจักรก็คือการระบายความร้อน เพื่อที่จะควบคุมและรักษาระดับความร้อนไม่ให้มากเกินไปจนเป็นอันตรายต่อเครื่องจักรซึ่งนำมาสู่ความเสียหายต่อการผลิตอันเนื่องมาจากต้องหยุดเครื่องจักรที่เสียหายดังกล่าวเพื่อซ่อมแซม
ราคาน้ำมันพุ่งสูงขึ้นและยังมีความผันผวนทำให้ภาครัฐรณรงค์ประหยัดพลังงานอย่างหนัก ส่วนอีกซีกหนึ่งของโลกก็กำลังขะมักเขม้นค้นคว้านวัตกรรมยานพาหนะแบบไม่ใช้น้ำมัน ไม่ว่าจะเป็นรถยนต์เซลล์เชื้อเพลิง รถยนต์พลังไฮโดรเจน เป็นต้น เพื่อแก้ปัญหาราคาน้ำมันที่แพงขึ้นกอปรกับปริมาณสำรองที่ลดลงในระยะยาว
ในช่วงเวลาที่เศรษฐกิจไม่ดี บริษัทฯส่วนใหญ่จะลดค่าใช้จ่ายในทุกด้าน รัดเข็มขัดจนเอวกิ่ว เท่าที่จะทำได้ รวมถึงการชะลอการซื้ออุปกรณ์ใหม่และเลื่อนเวลาการบำรุงรักษาออกไปให้นานที่สุด ถึงแม้ว่าความคิดนี้จะเข้าใจได้ แต่การเลื่อนเวลาการบำรุงรักษาออกไปมีโอกาสสูงที่จะต้องเสียค่าใช้จ่ายเพิ่มขึ้นในภายหลัง
เมื่อการจัดการห่วงโซอุปทาน (Supply Chain Management) มีความสำคัญอย่างยิ่งในธุรกิจ สถานประกอบการทั้งด้านการผลิต ด้านการค้าและบริการ ต่างให้ความตระหนักและความสำคัญที่จะพัฒนาการจัดการ ซึ่งเป็นการพัฒาองค์ประกอบหน้าที่ในการดำเนินธุรกิจทุกด้าน โดยการปรับปรุงกระบวนการของการดำเนินธุรกิจให้ดีมีประสิทธิภาพมากขึ้น สามารถที่จะมีเครือข่ายที่เชื่อมโยงกันระหว่างองค์กรในแต่ละห่วงโซอุปทาน (Supply Chain) นั้นถือได้ว่ามีคุณค่ามหาศาลและอาจถือเป็นเรื่องความอยู่รอดขององค์กร
โรงงานอุตสาหกรรมโดยทั่วไปในปัจจุบันจะต้องมีระบบควบคุมอัตโนมัติเป็นส่วนหนึ่งในกระบวนการผลิต เช่นระบบควบคุมอุณหภูมิ ระบบควบคุมความดัน หรือระบบควบคุมระดับของเหลว เป็นต้น ส่วนประกอบหนึ่งที่ถือว่าเป็นหัวใจสำคัญของระบบควบคุมอัตโนมัติ คือ ตัวควบคุม (Controller) ซึ่งก็มีมากมายหลายชนิดให้เลือกใช้งาน แต่ตัวควบคุมที่ยังคงได้รับความนิยมอย่างสูงนับจากอดีตจนถึงปัจจุบันก็คือตัวควบคุมแบบ พี ไอ ดี (PID Controller) สาเหตุที่ทำให้ตัวควบคุมชนิดนี้เป็นที่นิยมใช้ก็เนื่องจากความเรียบง่ายของโครงสร้างตัวควบคุม และความสามารถในการลดค่าความผิดพลาดได้หลายชนิดในตัวควบคุมเดียว
ตลอดระยะเวลาของประวัติศาสตร์ธุรกิจ บริษัทส่วนใหญ่ทั้งหลายจะสร้างกระบวนการ (Process) ของตัวเองสำหรับทุก ๆ สิ่งที่ต้องทำหรือดำเนินการ คุณคงจะพอนึกภาพของกระบวนการธุรกิจ (Business Process) ต่าง ๆ ได้บ้างจากชีวิตประจำวันไม่ว่าจะเป็นธุรกิจหรือเป็นเรื่องส่วนตัว แต่ละบริษัทต่างก็มีกระบวนการธุรกิจที่แตกต่างกัน มีความซับซ้อนที่แตกต่างกัน จนบริษัทหนึ่ง ๆ ไม่อาจดำเนินการกระบวนการธุรกิจได้ทั้งหมด จึงต้องจัดจ้างจากภายนอก (Outsourcing) หรือรับช่วงการผลิต (Sub-contract) ทำให้บริษัทที่ต้องจัดจ้างกิจกรรมการดำเนินงานจากภายนอกจะต้องคำนึงถึงคุณภาพหรือสมรรถนะของการดำเนินงานของผู้รับจ้าง
ปัจจุบันผู้ประกอบการได้มุ่งสร้างความสามารถการแข่งขันและผลกำไรให้กับธุรกิจโดยรักษาระดับต้นทุนการผลิตในระดับที่เหมาะสมด้วยการลดความสูญเสียต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นในกระบวนการ เช่น การลดรอบเวลาการผลิต การลดความผันแปรที่ก่อให้เกิดของเสียหรืองานแก้ไข การปรับให้เกิดการไหลอย่างราบเรียบ และการค้นหาปัญหาซ่อนเร้นที่เกิดความสูญเปล่าในรูปกิจกรรมที่ไม่สร้างมูลค่าเพิ่ม
กระแสของแนวคิดลอจิสติกส์ในปัจจุบันนั้นมาแรงอย่างต่อเนื่อง แต่ก็ยังมีความคิดและความไม่เข้าใจที่ไม่ค่อยจะตรงกันบ้าง แต่ก็มีการประชาสัมพันธ์กันมากมายว่า ถ้ามีการทำลอจิสติกส์หรือมีการนำเอาลอจิสติกส์มาใช้ในกระบวนการธุรกิจแล้วจะทำให้เกิดการลดต้นทุนและได้เปรียบเชิงการแข่งขัน
เครื่องกำเนิดแสงซินโครตรอนตั้งแต่รุ่นที่ 1 ถึงรุ่นที่ 3 อาศัยการกักเก็บอิเล็กตรอนหรือโพสิตรอนในวงแหวนกักเก็บอิเล็กตรอนที่เคลื่อนที่ในวงแหวนกักเก็บเมื่อผ่านสนามแม่เหล็กที่ทำให้เกิดการเลี้ยวโค้ง จะมีการปลดปล่อยแสงซินโครตรอนออกมา คุณลักษณะเฉพาะของแสงที่ปลดปล่อยออกมาถูกกำหนดพลังงานของอิเล็กตรอน ลักษณะของสนามแม่เหล็ก และขนาดและความลู่คมหรือการบานออกของลำอิเล็กตรอน
พลังงาน มีคำจำกัดความว่า ความสามารถในการทำงาน หรือ ความสามารถที่ทำให้เกิดการทำงาน การทำงาน ในที่นี้หมายถึงการเคลื่อนไหววัตถุ การยกของ การหุงต้ม การให้แสงสว่าง ทั้งหลายเหล่านี้ก็คือตัวอย่างของการทำงาน เมื่อมนุษย์รับประทาน อาหารร่างกายจะแปลงอาหารให้เป็นพลังงานเพื่อการทำงาน เมื่อเราเดินหรือวิ่งหรือแม้แต่คิด อ่านหรือเขียนร่างกายเผาพลาญอาหารซึ่งเป็นแหล่งพลังงานให้สามารถทำงาน ในทำนองเดียวกันยานยนต์ เครื่องบิน เรือ และเครื่องจักร ก็ล้วนเป็นการแปลงเชื้อเพลิงซึ่งเป็นแหล่งพลังงานอีกรูปแบบหนึ่งไปเป็นการทำงานเช่นกัน
เมื่อฮาร์ดดิสก์ไดรฟ์ในผลิตภัณฑ์ CE แบบพกพา ถูกนำมาใช้เพิ่มมากขึ้น ฮิตาชิ จึงได้คิดวิธีการต่าง ๆ ที่จะป้องกันฮาร์ดไดรฟ์จากการสูญเสียข้อมูลอันเนื่องมาจากการตกหล่น ซึ่งวิธีการล่าสุดก็คือ การใช้เทคโนโลยีที่เรียกว่า ESP หรือ Extra Sensory ProtectionTM ซึ่ง ฮิตาชิ เชื่อว่าจะกลายเป็นสิ่งจำเป็นสำหรับฮาร์ดไดรฟ์ เช่นเดียวกับความสำคัญของถุงลมนิรภัยที่มีต่อรถยนต์
ตามแบบดั้งเดิมปรัชญาเกี่ยวกับการมุ่งเน้นอย่างต่อเนื่องต่อ Kaizen ซึ่งหมายถึงการปรับปรุงอย่างต่อเนื่อง และ Genchi Genbutsu ซึ่งหมายถึง ไปและดูให้เห็นจริง นี้และกลุ่มของข้อปฏิบัติถูกส่งผ่านจากครูสู่นักเรียนโดยถ้อยคำและการทำให้ดูเป็นตัวอย่าง มันไม่ได้ถูกเขียนบันทึกไว้ ในโรงงานมักรู้จักกันในนามของ TPS (Toyota Production System)
อุตสาหกรรมผลิตชิ้นส่วนทางวิศวกรรมจากกระบวนการขึ้นรูปโลหะและวัสดุต่าง ๆ แม่พิมพ์นับเป็นส่วนที่มีความสำคัญยิ่งในอุตสาหกรรมไดคาสติ้ง นอกเหนือจากการออกแบบแม่พิมพ์ให้สามารถผลิตชิ้นงานได้อย่างมีประสิทธิภาพแล้ว ประเด็นสำคัญอีกประการหนึ่งที่เราจะต้องคำนึงถึงคือความทนทานหรืออายุการใช้งานของแม่พิมพ์ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในการหล่อชิ้นส่วนโลหะผสมอะลูมิเนียมและโลหะผสมแมกนีเซียมในปริมาณมาก ๆ โดยกระบวนการไดคาสติ้งที่ต้องใช้ระดับแรงดันสูงมาก
พลังงานชีวมวล เป็นพลังงานที่สะสมอยู่ในสิ่งมีชีวิตที่สามารถนำมาใช้ทำงานได้ เช่น ต้นไม้ กิ่งไม้ หรือเศษวัสดุจากการเกษตรหรืออุตสาหกรรม เช่น แกลบ ฟาง ชานอ้อย ขี้เลื่อย เศษไม้ เปลือกไม้ มูลสัตว์ รวมทั้งของเหลือหรือขยะจากครัวเรือนมนุษย์ พลังงานชีวมวล ซึ่งถือว่าเป็นพลังงานที่ภาครัฐกำลังมีการศึกษาในการนำมาใช้เป็นทางเลือกใหม่ในการใช้พลังงานของคนไทย
แสง (Light) เป็นคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า (Electromagnetic Wave) ที่มีความสำคัญยิ่งต่อวงการวิทยาศาสตร์ที่จะนำไปสู่การพัฒนาชีวิตและความเป็นอยู่ของมนุษย์ที่ดีขึ้น แสงเป็นกุญแจที่สำคัญที่ทำให้เราเห็นภาพหรือเข้าใจสิ่งต่าง ๆ ในธรรมชาติ ไม่ว่าสิ่งนั้นเป็นวัตถุที่มีขนาดเล็ก เช่น อะตอม โมเลกุล ไปจนถึงสิ่งที่มีขนาดใหญ่อย่างเช่นจักรวาล แสงมีคุณสมบัติทวิภาค นั่นคือแสงมีคุณสมบัติที่เป็นได้ทั้งอนุภาคและคลื่น
ในระยะนี้มีกระแสความเคลื่อนไหวของการเอาแนวคิดแบบลีนมาใช้ในอุตสาหกรรมไทยเป็นอย่างมาก ไม่ว่าจะเป็นบริษัทไทย ๆ หรือบริษัทต่างประเทศ แต่ส่วนมากจะเริ่มจากบริษัทต่างชาติที่ได้มีโครงการริเริ่ม (Lean Initiative) ในเรื่อง ลีน สำหรับบริษัทในเครือทั่วโลก กระแสความรู้เรื่องลีนก็ได้หลั่งไหลเข้าสู่วงการอุตสาหกรรมไทยอย่างไม่ขาดสายทั้งหนังสือ บทความต่าง ๆ การฝึกอบรมจากทั้งวิทยากรจากภายในและภายนอกประเทศ นับว่าเป็นแนวโน้มที่ดีมากที่ อุตสาหกรรมไทยได้ตอบรับอย่างทันกระแส แต่การรับกระแสความรู้ที่ใช้ในการจัดการในยุคปัจจุบันไม่เหมือนกับการรับรู้หรือการเรียนรู้เครื่องมือต่าง ๆ ในอดีต
ในช่วงหลายปีที่ผ่านมาองค์กรส่วนใหญ่ได้ดำเนินโครงการปรับ ปรุงคุณภาพ เพื่อสร้างศักยภาพการแข่งขันให้กับธุรกิจ แต่ผู้บริหารหลายท่านมีข้อข้องใจเกี่ยวกับแนวทางเลือกเครื่องมือที่สนับสนุน องค์กรสู่ความเป็นเลิศ โดยเฉพาะการเทียบเคียงระหว่างแนวคิดลีนกับ Six Sigma ปัจจุบันระดับราคาน้ำมันที่ปรับตัวสูงขึ้นและปัจจัยสภาพแวดล้อมทางธุรกิจได้ ผลักดันให้องค์กรธุรกิจส่วนใหญ่ต้องปรับตัวเพื่อรักษาส่วนแบ่งทางการตลาดและ สร้างผลกำไรให้กับธุรกิจโดยรักษาระดับต้นทุนไม่ให้สูงขึ้น ดังนั้นแนวทางที่มีประสิทธิผลในสภาวะดังกล่าว นั่นคือ การลดความสูญเสียต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นในกระบวนการ