เนื้อหาวันที่ : 2010-02-05 18:40:35 จำนวนผู้เข้าชมแล้ว : 5316 views

ป้องกันความเสียหายของข้อมูลในฮาร์ดไดรฟ์ ด้วยเทคโนโลยี ESP

เมื่อฮาร์ดดิสก์ไดรฟ์ในผลิตภัณฑ์ CE แบบพกพา ถูกนำมาใช้เพิ่มมากขึ้น ฮิตาชิ จึงได้คิดวิธีการต่าง ๆ ที่จะป้องกันฮาร์ดไดรฟ์จากการสูญเสียข้อมูลอันเนื่องมาจากการตกหล่น ซึ่งวิธีการล่าสุดก็คือ การใช้เทคโนโลยีที่เรียกว่า ESP หรือ Extra Sensory ProtectionTM ซึ่ง ฮิตาชิ เชื่อว่าจะกลายเป็นสิ่งจำเป็นสำหรับฮาร์ดไดรฟ์ เช่นเดียวกับความสำคัญของถุงลมนิรภัยที่มีต่อรถยนต์

.

เมื่อฮาร์ดดิสก์ไดรฟ์ในผลิตภัณฑ์ CE แบบพกพา ถูกนำมาใช้เพิ่มมากขึ้น ฮิตาชิ จึงได้คิดวิธีการต่าง ๆ ที่จะป้องกันฮาร์ดไดรฟ์จากการสูญเสียข้อมูลอันเนื่องมาจากการตกหล่น ซึ่งวิธีการล่าสุดก็คือ การใช้เทคโนโลยีที่เรียกว่า ESP หรือ Extra Sensory ProtectionTM ซึ่ง ฮิตาชิ เชื่อว่าจะกลายเป็นสิ่งจำเป็นสำหรับฮาร์ดไดรฟ์ เช่นเดียวกับความสำคัญของถุงลมนิรภัยที่มีต่อรถยนต์

.

คุณทำคอมพิวเตอร์ตั้งโต๊ะตกครั้งสุดท้ายเมื่อไหร่ ? ตอนที่มันทำงานอยู่หรือเปล่า ? คุณจะบอกว่าไม่เคยเลยหรือ ? ถ้าเช่นนั้นฮาร์ดดิสก์ไดรฟ์ในคอมพิวเตอร์ตั้งโต๊ะของคุณอาจไม่จำเป็นต้องมีการป้องกันการตกในขณะที่ทำงาน อย่างไรก็ตาม ในระหว่างการขนส่ง อะไรก็เกิดขึ้นได้

.

ดังนั้น อุปกรณ์ฮาร์ดดิสก์ไดรฟ์ (HDD) จึงได้รับการออกแบบมาเพื่อให้ต้านทานแรงกระแทกทั่วไปที่อาจเกิดขึ้นระหว่างการขนส่งได้มากกว่าปกติ ทั้งนี้ คอมพิวเตอร์ก็ต้องได้รับการบรรจุหีบห่อโดยคำนึงถึงเรื่องการกระแทกด้วยเช่นกัน เพราะเคสคอมพิวเตอร์ในปัจจุบันทำมาจากพลาสติก ดังนั้น พวกเขาต้องดูแลเคสคอมพิวเตอร์ให้มากพอ ๆ กับอุปกรณ์ฮาร์ดดิสก์ไดรฟ์ที่อยู่ข้างใน

.

ถ้าถามคำถามเดียวกันนี้กับคอมพิวเตอร์แบบพกพาหรือ Laptop ของคุณ คงเหมือนกับคนส่วนใหญ่ที่เคยทำเครื่องคอมพิวเตอร์พกพาหล่นอย่างน้อยก็สักครั้งหนึ่ง และบางทีอาจทำหล่นในขณะที่เครื่องกำลังทำงานอยู่ด้วยซ้ำไป เทคโนโลยีล่าสุดของเครื่องคอมพิวเตอร์พกพาในปัจจุบันจึงมีเซนเซอร์ป้องกันการหล่นโดยโปรเซสเซอร์สามารถตรวจพบการหล่นและปิดการทำงานในส่วนที่สำคัญของเครื่อง โดยเฉพาะอย่างยิ่งอุปกรณ์ฮาร์ดดิสก์ไดรฟ์

.

ตอนนี้มาคุยกันถึงเครื่องเล่น MP 3 หรือโทรศัพท์มือถือกันบ้าง คุณทำอุปกรณ์พวกนั้นหล่นกี่ครั้งในหนึ่งสัปดาห์ และอีกครั้งหนึ่ง ถ้าคุณเหมือนคนส่วนใหญ่ทั่วไป คำถามไม่ใช่ว่าคุณเคยทำมันตกไหม แต่คำถามคือคุณทำตกไปกี่ครั้งแล้ว และบ่อยแค่ไหน

.

ดังนั้น การออกแบบอุปกรณ์ที่ใช้พกพาอย่างเช่นเครื่องพีดีเอ โทรศัพท์มือถือ หรือเครื่องเล่น MP 3 ซึ่งมีอุปกรณ์ฮาร์ดดิสก์ไดรฟ์ จึงต้องการการออกแบบที่มีการป้องกันการทำตก

.

จวบจนถึงปัจจุบัน การป้องกันการตกส่วนใหญ่มักประกอบไปด้วยโฟมกันกระแทก และ/หรือพลาสติกกันสะเทือนซึ่ง ทำงาน เมื่ออุปกรณ์ปะทะกับผิวของแข็ง ด้วยเหตุนี้จึงลดแรงกระแทกภายนอกต่อฮาร์ดดิสก์ไดรฟ์ได้

.

ณ วันนี้ บริษัท ฮิตาชิ เมทัล ได้ทำการผลิตเทคโนโลยีใหม่ คือ เซนเซอร์ป้องกันการทำตกซึ่งใช้ในเครื่องคอมพิวเตอร์พกพาดังที่ได้อธิบายข้างต้น โดยเซนเซอร์ได้ถูกออกแบบให้มีขนาดเล็กลงเพื่อที่ บริษัท ฮิตาชิ โกลบอล สตอเรจ เทคโนโลจีส์ (จีเอสที) จะสามารถใส่เซนเซอร์นี้ในอุปกรณ์ไมโครไดรฟ์ 3K8 รุ่นใหม่ได้

.

โดยเป็นคุณสมบัติพิเศษที่เรียกว่า Extra Sensory Protection (ESP) สิ่งนี้หมายความว่า จากนี้ไปอุปกรณ์พกพาสามารถมีหน่วยเก็บความจำมากขึ้นในขนาดอุปกรณ์ที่เล็กลงและยังมีการต้านทานการสั่นสะเทือนในระดับที่สูงด้วย

.

อุปกรณ์เหล่านี้ทำงานอย่างไร

คุณสมบัติพิเศษที่เรียกว่า ESP นั้น ได้มาจากตัวเซนเซอร์ซึ่งประกอบด้วยตัวต้านความดัน 4 ชิ้นที่จะทำให้เกิดวงจรบริดจ์เต็มตัวดังรูปประกอบที่ 1 ด้วยการติดตามแรงเคลื่อนไฟฟ้าด้วยกระแสคงตัวผ่านตัวต้านทานเหล่านี้ ตัวแปรเล็ก ๆ ในตำแหน่งจะถูกตรวจพบ เมื่อตัวเซนเซอร์ถูกฝังในทิศทางที่หลากหลาย ตำแหน่งจะถูกตรวจพบโดยการเปลี่ยนแปลงต่าง ๆ ในค่าการต้านทาน

.

เมื่อตัวเซนเซอร์อยู่ในสถานะที่กำลังหล่นลง ค่าของตัวต้านทั้งหลายจะเท่ากัน เพราะว่าไม่มีแรง G ในทิศทางใด สิ่งนี้จะถูกตรวจพบด้วยวงจรอิเล็กทรอนิกส์และดังนั้นตัวเซนเซอร์ Zero G จะถูกสร้างขึ้น

.

ฮิตาชิ เมทัล ได้รวมเอาวงจรอิเล็กทรอนิกส์ CMOS กับเทคโนโลยีเซนเซอร์เข้าไว้ด้วยกันในแพ็กเกจขนาดเล็กมาก ซึ่งทำให้ ฮิตาชิ จีเอสที สามารถฝังอุปกรณ์เหล่านี้บน PCB ของไมโครไดรฟ์ 3K8 ได้ ด้วยการใส่ Zero G ขาออกในตัวควบคุมไดรฟ์ ทำให้ไดรฟ์สามารถระงับปฏิบัติการอ่านหรือเขียน และหยุดหัวอ่านได้

.

โดยเทคโนโลยีนี้จะทำหน้าที่ราวกับเป็นสัมผัสที่ 6 โดยคุณสมบัติ ESP นี้ จะใช้ 3-Axis Accelerometer ซึ่งเป็น Drop Sensor ประเภทหนึ่ง ซึ่งปกติแล้วการทำงานนี้จะเกิดขึ้นในการหล่นระยะ 140 มิลลิวินาที (4 นิ้ว) หรือมากกว่านั้น

.

รูปที่ 1 แสดงเซนเซอร์ซึ่งประกอบด้วยตัวต้านทาน 4 ชิ้น ซึ่งทำให้เกิดวงจรแบบ Full Bridge

.

ตัวเซนเซอร์ไม่จำเป็นต้องประกอบอยู่ในไดรฟ์ เพราะอุปกรณ์ที่มีเซนเซอร์ป้องกันการตกหล่นด้วยเหตุผลภายในสามารถปรับปรุงแรงต้านทานการสั่นสะเทือนของฮาร์ดดิสก์ไดรฟ์ด้วยการใช้คำสั่ง Standby Immediate ทันทีที่ Zero G ถูกตรวจพบ โดยสิ่งนี้จะทำให้ฮาร์ดดิสก์ไดรฟ์หยุดหัวอ่านและเข้าสู่โหมดการไม่ปฏิบัติงานภายในระยะ140 มิลลิวินาที (4 นิ้ว) ของการตก

.

ทั้งนี้ ผลที่ได้จากการทำงานของเซนเซอร์สามารถนำมาใช้เพื่อตรวจจับการเอียงในทิศทางที่หลากหลาย ซึ่งทำให้ผู้ใช้สามารถเรียกใช้งานเมนูได้โดยไม่ต้องใช้ปุ่มลูกศรหรือเมาส์

.
การทำงานของฮาร์ดดิสก์ไดรฟ์

เมื่อดิสก์ในอุปกรณ์ฮาร์ดดิสก์ไดรฟ์หมุน จะมีชั้นของอากาศเคลื่อนที่อยู่ใกล้กับดิสก์ ในขณะที่หัวอ่านเคลื่อนที่เหนือดิสก์ หัวอ่านจะบินบนชั้นบาง ๆ นั้น เสมือนปีกของเครื่องบิน ซึ่งความสูงในการบินของหัวอ่านบนดิสก์ถูกกำหนดโดยการออกแบบของหัวอ่าน

.

ทั้งนี้ จากรูปประกอบที่ 2 แสดงให้เห็นถึงระยะความสัมพันธ์ของหัวอ่านกับแผ่นดิสก์ด้วยการออกแบบหัวอ่านให้สามารถถูกบิดเพื่อรับมือการกระแทกและการสั่นสะเทือนได้ เช่นเดียวกับการออกแบบเครื่องบินให้มีความมั่นคงในสภาพอากาศแปรปรวน ทั้งนี้ วิศวกรของฮิตาชิ จีเอสที ได้ทำการเปลี่ยนแปลงแบบหัวอ่านเพื่อปรับปรุงการทำงานของอุปกรณ์ไมโครไดรฟ์ 3K8 รุ่นใหม่เมื่อเกิดการกระแทกและการสั่นสะเทือน

.

ทั้งหมดนี้เป็นคุณสมบัติของการหยุดการเขียนแผ่นดิสก์อัตโนมัติและคุณสมบัติการอ่านรหัสไมโคร (Microcode) ของอุปกรณ์ไมโครไดรฟ์อีกประการหนึ่งซึ่งจะเกิดขึ้นทันทีเมื่อหัวอ่านหลุดไปจากร่อง (อันเนื่องมาจากการกระแทกหรือการสั่นสะเทือน) โดยเทคโนโลยีนี้จะหยุดการเขียน (เพื่อป้องกันการเขียนนอกร่องของแผ่นดิสก์) และพยายามอ่านแผ่นดิสก์ในที่ซึ่งข้อมูลยังอาจยังไม่ถูกต้องเนื่องจากการหลุดไปจากร่องของหัวอ่าน จากการตรวจพบของกลไกเซอร์โวที่ควบคุมแขนหัวอ่าน

.

รูปที่ 2 แสดงระยะความสัมพันธ์ของหัวอ่านและแผ่นดิสก์ขณะทำงาน

.
การออกแบบแพ็กเกจเพื่อปกป้องผลกระทบจากการตกหล่น

ด้วยเทคนิคทั้งหลายดังที่ได้อธิบายไว้ข้างต้น วิศวกรออกแบบสามารถใช้เครื่องมืออื่น ๆ ในการปรับปรุงการทำให้อุปกรณ์ฮาร์ดดิสก์ไดรฟ์ในอุปกรณ์ Consumer Electronic (CE) ไม่เสียหายระหว่างการตกหล่นด้วยการมีหรือไม่มีค่าใช้จ่ายเพิ่มสำหรับตัวเซนเซอร์ Zero G หรือสำหรับผลิตภัณฑ์ที่ต้องการใช้งานเซนเซอร์แบบเดียวกันสำหรับการปฏิบัติงานของตนเอง

.

เทคนิคทั่วไปโดยมาก คือ การใช้โฟมกันกระแทกรอบไดรฟ์เพื่อกันตัวไดรฟ์จากสิ่งอื่นรอบข้าง ในขณะที่อุปกรณ์ปะทะกับผิวของแข็ง ไดรฟ์จะเคลื่อนไหวได้ก็ต่อเมื่อโฟมถูกทำลาย ด้วยเหตุนี้จึงเป็นการช่วยลดการกระแทกที่อุปกรณ์จะได้รับได้มากถึง 50 เปอร์เซ็นต์ของความเสียหายจากการกระแทกที่เกิดขึ้นจริง

.

เทคนิคอีกประการหนึ่งคือการทำให้แพ็คเกจแตกหรือเปลี่ยนรูปซึ่งจะทำให้มันสามารถรักษาเนื้อหาไว้ได้ โดยเทคนิคนี้ไม่ธรรมดาเพราะว่ามันต้องใช้กับสินค้าที่จะต้องถูกซ่อมเพื่อให้กลับมาอยู่ในรูปเดิมได้ ทั้งนี้ การเชื่อมโยงเทคนิคเหล่านี้เข้าด้วยกันเป็นที่ใช้กันโดยมาก การหยุดตำแหน่งของฮาร์ดดิสก์ไดรฟ์บนสปริงพลาสติกและใช้โฟมกันกระแทก ทำให้อุปกรณ์ถูกกระแทกได้โดยไม่สร้างอันตรายหรือทำให้ข้อมูลสูญหาย

.

รูปที่ 3 Microdrive with Bubper Solution     

.

รูปที่ 4 Microdrive with Corner Bumper Solution

.

ตัวอย่างของ Mikey หรือ Microdrive รุ่น 3K8 ของฮิตาชิ ซึ่งได้ถูกออกแบบวิธีกันกระแทกไว้ 2 วิธีคือ ให้อุปกรณ์ไมโครไดรฟ์ 3K8 ใส่อยู่ในฟุตพรินต์ Compact Flash Type II ให้พอดี แต่มีความต้านทานการกระแทกสูงมากกว่า (ดังรูปที่ 3) และอีกวิธีคือ การใช้วิธีกันกระแทกที่มุมซึ่งทำให้สามารถต้านทานการกระแทกได้ถึง 100 เปอร์เซ็นต์ ให้กับตัวไดรฟ์ (ดังรูปที่ 4)

.
เทคโนโลยีป้องกันการกระแทกอื่นๆ

นอกจากเทคโนโลยี ESP แล้ว ฮิตาชิ ได้ใช้เทคโนโลยีป้องกันการกระแทกที่หลากหลายเพื่อป้องกันอุปกรณ์ฮาร์ดไดรฟ์จากการสูญหายของข้อมูล โดยเฉพาะอย่างยิ่งในตัวฮาร์ดไดรฟ์ Mikey

.

• Snubbers: กรอบกันกระแทกที่มุมนี้จะแยกอุปกรณ์ฮาร์ดไดรฟ์จากส่วนประกอบของอุปกรณ์แวดล้อม ทำให้ลดการกระแทกที่จะเกิดขึ้นกับอุปกรณ์ไดรฟ์ได้มากถึงร้อยละ 50 ทำให้การต้านทานการกระแทกแล้วหยุดการปฏิบัติการทำงานได้ผลดีขึ้นเป็นสองเท่า

.

• Head Load/Unload: เป็นเทคโนโลยีที่ฮิตาชิได้พัฒนาขึ้นและจดสิทธิบัตรไว้ ซึ่งปัจจุบันนี้ใช้กันอย่างกว้างขวางในอุตสาหกรรม การเคลื่อนย้ายหัวอ่าน/เขียนให้ออกจากผิวดิสก์ในขณะที่ไม่ได้ทำงานเพื่อลดการสัมผัสหัวอ่าน/ดิสก์โดยบังเอิญ ใช้ร่วมกับ Drop Sensor เพื่อเสริมประสิทธิภาพของเทคโนโลยี ESP

.

• Servo: ชุดของเทคโนโลยีซึ่งเป็นสิทธิบัตรของฮิตาชิ ในฐานะ True Track ใช้ระบบควบคุมดิจิตอลแบบวงกลมเพื่อรักษาความเที่ยงตรงในตำแหน่งร่องของหัวอ่าน/เขียนแม้จะอยู่ภายใต้สภาวะที่มวลอากาศต่ำ

.

• Femto Slider: เป็นการลดขนาดของสไลเดอร์ซึ่งเป็นปีกขนาดเล็กที่รองรับหัวอ่าน/เขียนเหนือผิวของดิสก์ลง 30% เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการป้องกันความเสียหายอันเกิดจากการกระแทกมากกว่าเทคโนโลยีสไลเดอร์รุ่นก่อนประมาณ 25%

.

จะเห็นได้ว่า ในส่วนของบริษัทผู้ผลิตนั้น นอกจากจะต้องคำนึงถึงความต้องการใช้งานขั้นพื้นฐานของผู้บริโภคแล้ว ปัจจัยและเทคโนโลยีต่าง ๆ ที่จะมารองรับให้อุปกรณ์เหล่านั้นมีประสิทธิภาพการใช้งานที่สมบูรณ์ยิ่งขึ้น ก็มีส่วนสำคัญเช่นกัน ที่จะต้องถูกคิดค้นขึ้นมา ซึ่งผลดีที่ได้รับตามนั้นก็คงเป็นใครไปไม่ได้ นอกจากผู้บริโภคนั่นเองครับ

.
ข้อมูลอ้างอิง

• www.hitachight.com เว็บไซต์รายละเอียดเกี่ยวกับบริษัท ฮิตาชิ จีเอสที
• Dr.William F.Heybruck, Drop Proofing a Hard Disk Drive

สงวนลิขสิทธิ์ ตามพระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ พ.ศ. 2539 www.thailandindustry.com
Copyright (C) 2009 www.thailandindustry.com All rights reserved.

ขอสงวนสิทธิ์ ข้อมูล เนื้อหา บทความ และรูปภาพ (ในส่วนที่ทำขึ้นเอง) ทั้งหมดที่ปรากฎอยู่ในเว็บไซต์ www.thailandindustry.com ห้ามมิให้บุคคลใด คัดลอก หรือ ทำสำเนา หรือ ดัดแปลง ข้อความหรือบทความใดๆ ของเว็บไซต์ หากผู้ใดละเมิด ไม่ว่าการลอกเลียน หรือนำส่วนหนึ่งส่วนใดของบทความนี้ไปใช้ ดัดแปลง โดยไม่ได้รับอนุญาตเป็นลายลักษณ์อักษร จะถูกดำเนินคดี ตามที่กฏหมายบัญญัติไว้สูงสุด