ช่วงกว่าสองทศวรรษที่ผ่านมาองค์กรชั้นนำระดับโลกต่างดำเนินกลยุทธ์เพื่อสร้างความสามารถการแข่งขันให้กับธุรกิจ โดยเฉพาะกลุ่มประเทศกำลังพัฒนาได้มีความพยายามสร้างศักยภาพด้วยการเพิ่มกำลังการผลิตภายในประเทศด้วยเป้าหมายบางประการ เช่น การจ้างงาน การสร้างรายได้จากการค้าระหว่างประเทศและการสร้างฐานอุตสาหกรรม ดังกรณีอุตสาหกรรมยานยนต์ในประเทศไทยได้มีการพัฒนาเพื่อผลิตชิ้นส่วนและตัวถังรถอย่างจริงจังเพื่อมุ่งส่งออกให้กับประเทศเพื่อนบ้านและส่งมอบให้กับอุตสาหกรรมประกอบรถยนต์ญี่ปุ่น
ในช่วงที่เรากำลังเผชิญกับวิกฤตการณ์ราคาน้ำมันเชื้อเพลิงราคาสูง และไม่มีระดับราคาที่แน่นอน จนทำให้ผู้คนต่างได้รับผลกระทบกันไปทั่ว ช่วงเวลานี้บรรดานักวิจัยต่างเร่งค้นคว้าหาทางเลือกของพลังงานที่จะเหมาะสมที่สุด เพื่อนำมาทดแทนน้ำมันปิโตรเลียม แม้ว่าสำหรับประเทศไทยนั้นจะตื่นตัวช้าไปหน่อยกับเรื่องนี้ ไม่เหมือนกับบางประเทศที่ได้มีการใช้งานพลังงานทางเลือกอื่น ๆ กันไปนานแล้ว ทั้ง ๆ ที่ทรัพยากรของประเทศเราก็ไม่ได้น้อยกว่า หรือแตกต่างจากประเทศเหล่านั้นเลย
สาระสำคัญของแนวทฤษฎีนิเวศอุตสาหกรรม คือ การสนับสนุนให้เกิดการใช้วัสดุอย่างเป็นวงจร มีการผันวัสดุที่ผ่านการใช้ประโยชน์แล้วกลับไปใช้ซ้ำอีกอย่างไม่รู้จบ ซึ่งถ้าทำได้อย่างนั้น อัตราการถลุงทรัพยากรจากแหล่งธรรมชาติก็จะลดลง อัตราการเกิดของเสียอันเป็นเหตุของมลภาวะต่าง ๆ ก็จะบรรเทาเบาบางลง ซึ่งสาระสำคัญข้อนี้มีความสอดคล้องโดยตรงกับแนวคิดเรื่อง การนำกลับไปใช้ใหม่ และ การรีไซเคิล
การทำงานธุรกิจหรืองานอุตสาหกรรมเป็นงานที่จะต้องคำนึงถึงผลได้ผลเสีย กำไรขาดทุน ทั้งการดำเนินงานยังเต็มไปด้วยการแข่งขันในทุกเรื่อง ไม่ว่าจะด้านคุณภาพของสินค้าและบริการ การโฆษณาประชาสัมพันธ์ การตลาด รวมไปถึงการควบคุมต้นทุนการผลิต และอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง แต่ปัญหาที่ต้องประสบกันมาทุกยุคทุกสมัย คือการทำงานของคนในองค์กร ซึ่งจัดเป็นทรัพยากรบุคคลที่มีค่าขององค์กร ทำอย่างไรจะให้ทรัพยากรบุคคลเหล่านั้นทำงานเต็มที่ เต็มความสามารถเพื่อให้ได้งานที่มีคุณภาพดีที่สุด และด้วยปริมาณมากที่สุด
สิ่งเจือปนและสภาพน้ำมันที่ใช้งานกับเครื่องจักร เป็นตัวที่สะท้อนสภาพความเสียหายและการสึกหรอที่เกิดขึ้นกับเครื่องจักรนั้น ๆ อนุภาคของสิ่งที่สึกหรอจะปะปนอยู่กับน้ำมันที่ใช้กับเครื่องจักรนั้น ๆ การตรวจสอบสภาพน้ำมันที่ใช้กับเครื่องจักรเหมือนกับการตรวจเลือดของคนเรา เพราะสามารถทำให้เรารู้ว่าชิ้นส่วนใหนของเครื่องจักรที่เกิดการสึกหรอหรือชำรุดเสียหาย
หากจะพูดถึงมาตรฐาน ISO ด้านการบริหารจัดการสิ่งแวดล้อมแล้ว ส่วนใหญ่จะรู้จักกันดีในมาตรฐาน ISO 14001 ซึ่งเป็นมาตรฐานการจัดการสิ่งแวดล้อม (Environmental Management System) ในปัจจุบันมีองค์กรที่มีการนำมาตรฐานนี้มาใช้และได้รับการรับรอง ทั้งในภาคอุตสาหกรรม การบริการ การศึกษา การสาธารณสุข รวมถึงหน่วยงานของรัฐจำนวนมาก
ปัจจัยที่สำคัญที่สุด 3 ประการต่อการทำการปลูกสร้างสินทรัพย์ดำเนินระยะยาวเพื่อการดำเนินธุรกิจ ไม่ว่าจะเป็นที่ดิน อาคาร โรงงาน หรือสิ่งปลูกสร้างในลักษณะอื่นใดก็ตามนั่นคือ ที่ตั้งที่ลูกค้าเข้าถึงได้ง่าย ไปมาสะดวก เช่น คลินิก ร้านทำผม ร้านตัดเสื้อผ้า หรือที่ตั้งใกล้กับกิจการคู่แข่งขันที่เป็นแหล่งชุมชนซึ่งมีกลุ่มลูกค้าเป้าหมายอาศัยอยู่
พลังงาน เป็นสิ่งจำเป็นสำหรับการดำรงชีวิตรวมถึงการดำเนินธุรกิจและอุตสาหกรรม โดยการจัดการพลังงาน ถือได้ว่าเป็นองค์ประกอบที่สำคัญของการพัฒนาที่ยั่งยืน ในทำนองเดียวกันกับต้นทุนพลังงาน ก็มักจะถูกมองว่าเป็นองค์ประกอบที่สำคัญของเศรษฐศาสตร์กระบวนการ และประสิทธิภาพพลังงาน ก็เป็นองค์ประกอบที่สำคัญของความสามารถในการแข่งขัน
ข้อพิจารณาในการเลือกเอาทรานสมิตเตอร์ความดันมาประยุกต์ใช้ในงานที่เกี่ยวข้องนั้น นำมาซึ่งข้อได้เปรียบมากมายในเรื่องของย่านความดันที่ใช้งาน แต่ทั้งนี้คุณจะต้องไม่ลืมคิดถึงเทคโนโลยีต่าง ๆ ที่นำมาใช้ประโยชน์ รวมถึงต้องพิจารณาในเรื่องของความเค้นและแรงตึงเครียดทางสิ่งแวดล้อมที่เกี่ยวข้องกับทรานสมิตเตอร์ความดัน และความคุ้มทุนของอุปกรณ์ตลอดอายุการใช้งานด้วย
มาตรฐาน ISO 14015 จะเป็นมาตรฐานในกลุ่มการจัดการสิ่งแวดล้อม ที่จัดทำขึ้นเพื่อใช้เป็นแนวทางสำหรับองค์กรในการตรวจประเมินทางด้านสิ่งแวดล้อมสำหรับสถานที่ และองค์กร โดยจะเป็นการตรวจประเมิน เพื่อระบุประเด็นทางด้านสิ่งแวดล้อมที่เกี่ยวข้องกับสถานที่ และกิจกรรมต่าง ๆ ขององค์กร รวมถึงเป็นการพิจารณาถึงผลกระทบทางธุรกิจที่จะตามมาจากประเด็นทางด้านสิ่งแวดล้อมที่กำหนดขึ้น
ในการติดตั้งโอริงที่ใช้งานแบบต่าง ๆ ตามที่กล่าวมาแล้วนั้นมีความแตกต่างกันในรายละเอียดและค่าต่าง ๆ ที่ใช้ในการติดตั้ง ทั้งนี้เพื่อให้ใช้งานให้ได้ดีที่สุด ณ จุดที่ติดตั้งจุดนั้น ซึ่งในรายละเอียดที่จะนำเสนอต่อไปนี้จะเป็นแนวทางให้เราได้พิจารณาเวลาที่เลือกโอริงมาใช้งานหรือในการออกแบบเครื่องจักรที่ต้องใช้โอริงเป็นส่วนประกอบ
กลยุทธ์การบริหารความเสี่ยงเชื่อมโยงกับการกำหนดนโยบาย/กลยุทธ์/การวางแผน/การลงทุนขององค์กร ธุรกิจ ซึ่ง ได้แก่ การมีหลักฐานที่ชัดเจนที่แสดงถึงการพิจารณาความเสี่ยงต่าง ๆ ทั้งความเสี่ยงทางการเงิน และไม่ใช่ทางการเงิน ประกอบในการกำหนดนโยบาย/กลยุทธ์/การวางแผน /การลงทุน
ด้วยความเปลี่ยนแปลงในปัจจัยการแข่งขันทางการค้าและอุปสงค์ที่หลากหลายของลูกค้า ได้ส่งผลผลักดันให้องค์กรต้องปรับตัวเพื่อรองรับกับสภาวะดังกล่าวด้วยกลยุทธ์ลดต้นทุนดำเนินงาน การลดความผิดพลาด ลดรอบเวลาทำงาน และการตอบสนองต่ออุปสงค์อย่างทันเวลา ทำให้องค์กรชั้นนำประยุกต์แนวคิดลีนเพื่อผลิตภาพการดำเนินงาน ด้วยเหตุนี้แนวคิดลีนที่มีจุดกำเนิดจากภาคการผลิตจึงได้แพร่หลายไปยังภาคธุรกิจต่าง ๆ
แนวทฤษฎีนิเวศอุตสาหกรรม (Industrial Ecology) ถือเป็นศาสตร์แขนงใหม่ที่ให้กรอบแนวคิดเกี่ยวกับการพัฒนาระบบอุตสาหกรรมอย่างยั่งยืน โดยมุ่งให้เกิดการใช้วัสดุและพลังงานอย่างเป็นวงจร (Close-loop Material Flow) เพื่อลดความเข้มข้นของการใช้วัสดุในระบบอุตสาหกรรม (Dematerialization) อันเป็นหนทางที่ช่วยประกันว่า อุตสาหกรรมในอนาคตจะสามารถพัฒนาไปข้างหน้าอย่างยั่งยืนโดยไม่ขาดแคลนวัสดุและพลังงาน และยังเป็นการรักษาสมดุลของระบบนิเวศตามธรรมชาติไปพร้อม ๆ กันด้วย
มาตรฐาน ISO9001:2000 เป็นมาตรฐานทางด้านการพัฒนาระบบบริหารคุณภาพ ซึ่งสามารถนำไปประยุกต์ใช้ได้ทั้งในองค์กรประเภทอุตสาหกรรมการผลิต และการบริการ ปัจจุบันองค์กรต่าง ๆ ในภาคบริการจำนวนมาก ได้มีการนำมาตรฐาน ISO9001:2000 มาประยุกต์ใช้แล้ว ไม่ว่าจะเป็นงานบริการด้านสาธารณสุขโรงพยาบาล โรงแรม ห้างสรรพสินค้า ร้านอาหาร ศูนย์การประชุม การสื่อสาร การขนส่ง คลังสินค้า รวมไปถึงศูนย์บริการรถยนต์
กรองเป็นอุปกรณ์ที่สำคัญมากในระบบไฮดรอลิกแต่ส่วนมากเราจะมองข้ามหรือไม่ค่อยให้ความสำคัญกับอุปกรณ์ชิ้นนี้กันมากนัก หน้าที่ของกรองก็คือการดักเอาอนุภาคเจือปน (Contamination) ออกจากน้ำมันโดยการดักอนุภาคสิ่งเจือปนเหล่านั้นให้ติดไว้กับแผ่นกรองโดยที่แผ่นกรองแบบพื้นฐานนั้นจะมีลักษณะเป็นแผ่นลักษณะเป็นตาข่ายหรือคล้าย ๆ กัน
การสร้างวิสาหกิจแบบลีนนั้น ต้องการแนวทางใหม่ ๆ ในการคิดเกี่ยวกับความสัมพันธ์ระหว่างบริษัทกับบริษัท ซึ่งเป็นหลักการเบื้องต้นทั่ว ๆ ไปสำหรับพฤติกรรมการกำหนดข้อปฏิบัติระหว่างบริษัท และต้องการความโปร่งใสในทุก ๆ ขั้นตอนที่ปฏิบัติตลอดสายธารคุณค่า เพื่อให้ผู้เข้าร่วมแต่ละคนสามารถที่จะตรวจสอบว่าบริษัทอื่น ๆ ประพฤติตัวตามหลักการที่ได้ตกลงกันไว้หรือไม่
ตัวอย่างต่อไปนี้เป็นการใช้งานวาล์วควบคุมบางส่วนในโรงกลั่นน้ำมันและข้อแนะนำต่าง ๆ ข้อแนะนำที่ปรากฏในหัวข้อนี้เป็นข้อแนะนำที่ประหยัดในการแก้ปัญหาต่าง ๆ ผลลัพธ์เหล่านี้ได้ผ่านการยอมรับสำหรับนำไปใช้งานประเภทต่าง ๆ วัสดุและ Packing ที่แนะนำในตัวอย่างต่อไปนี้อาจจะถูกปรับเปลี่ยนได้ ขึ้นอยู่กับผู้ผลิต, คำแนะนำและการใช้งานเฉพาะ ผู้ใช้งานต้องระมัดระวังในการทำความเข้าใจความสำคัญของข้อแนะนำและข้อจำกัดต่าง ๆ
นิคมอุตสาหกรรมเชิงเศรษฐนิเวศ (Eco-industrial Estate) ถือว่าเป็นการประยุกต์หลักทฤษฎีนิเวศอุตสาหกรรมในระดับจุลภาคอีกรูปแบบหนึ่ง และยังเป็นแนวคิดที่นักอุตสาหกรรมทั่วโลกกำลังให้ความสนใจอย่างมาก ด้วยความเชื่อว่า แนวคิดเกี่ยวกับนิคมอุตสาหกรรมเชิงนิเวศ จะสามารถช่วยแก้ปัญหาสำคัญ ๆ ของการดำเนินกิจการนิคมอุตสาหกรรมที่มีอยู่ในปัจจุบันได้
โดยทั่วไปเป้าหมายหลักของการดำเนินธุรกิจคือการมุ่งสร้างมูลค่าเพิ่มให้กับผู้ถือหุ้น (Shareholder) ที่มีส่วนร่วมลงทุนกับธุรกิจโดยคาดหวังที่จะได้ผลตอบแทนสูงกว่าต้นทุนของเงินลงทุน (Cost of Capital) หรืออาจกล่าวได้ว่าผู้ถือหุ้นจะมีความมั่งคั่งขึ้นเมื่อโครงการลงทุนมีมูลค่าปัจจุบันสุทธิ (Net Present Value) เป็นบวก
ความสอดคล้องที่สามารถลงตัวกันได้ระหว่างกำลังการผลิตของกิจการกับความต้องการของลูกค้าเป็นอีกภาระหน้าที่หนึ่งที่ท้าทายความสามารถของผู้บริหาร เนื่องจากกำลังการผลิตที่มีมากเกินไปสามารถก่อให้เกิดปัญหาได้เช่นเดียวกันเมื่อพิจารณาเปรียบเทียบกับสถานการณ์ของการมีกำลังการผลิตไม่เพียงพอ การวางแผนกำลังการผลิตเป็นเรื่องที่เกี่ยวข้องกับอัตราผลผลิตที่ทรัพยากรการดำเนินงานของกิจการสามารถให้ผลประโยชน์ในลักษณะที่เป็นหน่วยนับประเภทต่าง ๆ ได้
ปัจจุบันอุตสาหกรรมเหล็กไทยมีการใช้พลังงานในปริมาณสูงสำหรับการผลิตเหล็กในแต่ละปี ซึ่งในอุตสาหกรรมพื้นฐานของประเทศที่ใช้พลังงานในระดับสูงขนาดนี้ มีความจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องได้รับการปรับปรุงพัฒนา ซึ่งไม่เพียงแต่การพัฒนาเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในด้านต่าง ๆ ของโรงเหล็กเท่านั้นที่จะก่อให้เกิดผลกระทบเชิงบวกกับภาพรวมการใช้พลังงานของประเทศ แต่ยังรวมถึงความจำเป็นที่ต้องมีอุตสาหกรรมเหล็กเพื่อเป็นอุตสาหกรรมพื้นฐานหลักในการพัฒนาอุตสาหกรรมปลายน้ำต่าง ๆ ที่เป็นอุตสาหกรรมยุทธศาสตร์หลักของประเทศ