หากจะพูดถึงมาตรฐาน ISO ด้านการบริหารจัดการสิ่งแวดล้อมแล้ว ส่วนใหญ่จะรู้จักกันดีในมาตรฐาน ISO 14001 ซึ่งเป็นมาตรฐานการจัดการสิ่งแวดล้อม (Environmental Management System) ในปัจจุบันมีองค์กรที่มีการนำมาตรฐานนี้มาใช้และได้รับการรับรอง ทั้งในภาคอุตสาหกรรม การบริการ การศึกษา การสาธารณสุข รวมถึงหน่วยงานของรัฐจำนวนมาก
กิตติพงศ์ จิรวัสวงศ์ |
. |
หากจะพูดถึงมาตรฐาน ISO ด้านการบริหารจัดการสิ่งแวดล้อมแล้ว ส่วนใหญ่จะรู้จักกันดีในมาตรฐาน ISO 14001 ซึ่งเป็นมาตรฐานการจัดการสิ่งแวดล้อม (Environmental Management System) ในปัจจุบันมีองค์กรที่มีการนำมาตรฐานนี้มาใช้และได้รับการรับรอง ทั้งในภาคอุตสาหกรรม การบริการ การศึกษา การสาธารณสุข รวมถึงหน่วยงานของรัฐจำนวนมาก |
. |
นอกเหนือจากมาตรฐาน ISO 14001 แล้ว ทางคณะทำงานด้านเทคนิคของ ISO ยังได้มีการพัฒนามาตรฐานเพื่อการสนับสนุนต่อการพัฒนาระบบตามมาตรฐาน ISO 14001 เพื่ออธิบายขยายความในประเด็นต่าง ๆ ของข้อกำหนดในมาตรฐาน ISO 14001 ให้มีความเข้าใจมากขึ้น และสามารถดำเนินการได้อย่างมีประสิทธิผล โดยจัดทำเป็นมาตรฐานแนวปฏิบัติ (Guideline) เรียกว่า ISO 14004 (Environmental Management Systems-General Guidelines on Principles, Systems and Support Techniques) |
. |
องค์ประกอบของระบบการจัดการสิ่งแวดล้อม |
ในการบริหารจัดการสิ่งแวดล้อมตามมาตรฐาน ISO 14001 และ ISO 14004 นี้ จะขับเคลื่อนตามวงจรการบริหารงาน PDCA (Plan-Do-Check-Act) ดังแสดงในรูปที่ 1 |
. |
รูปที่ 1 แสดงรูปแบบของระบบการจัดการสิ่งแวดล้อม |
. |
จากรูปจะเห็นได้ว่ากระบวนการต่าง ๆ จะมีการดำเนินการอย่างต่อเนื่อง และเชื่อมโยงเข้าด้วยกัน โดยจะประกอบด้วย |
. |
2. การดำเนินการ (Do) จะเป็นการดำเนินการในส่วนต่าง ๆ ของระบบการจัดการสิ่งแวดล้อม ซึ่งประกอบด้วย |
. |
3. การตรวจสอบและแก้ไข (Check) จะเป็นขั้นตอนต่าง ๆ ของการประเมินผลระบบการจัดการสิ่งแวดล้อม ซึ่งประกอบด้วย |
. |
4. การทบทวน และปรับปรุง (Act) จะเป็นขั้นตอนของการทบทวนและปรับปรุงระบบการจัดการสิ่งแวดล้อม ซึ่งประกอบด้วย |
. |
ความมุ่งมั่นและการนำองค์กร |
องค์ประกอบหนึ่งที่สำคัญอย่างมาก เพื่อให้มั่นใจได้ถึงความสำเร็จของการจัดทำ และการปรับปรุงระบบการจัดการสิ่งแวดล้อม จะขึ้นอยู่กับความมุ่งมั่นและการนำองค์กรอย่างต่อเนื่อง ที่เกิดขึ้นจากผู้บริหารระดับสูงขององค์กรในการพัฒนา และปรับปรุงการจัดการสิ่งแวดล้อมทั้งของกิจกรรม ผลิตภัณฑ์ และบริการขององค์กร |
. |
ขอบเขตของระบบการจัดการสิ่งแวดล้อม |
ผู้บริหารระดับสูง จะต้องมีการกำหนดขอบเขตของระบบการจัดการสิ่งแวดล้อมขององค์กรไว้อย่างชัดเจน โดยพิจารณาจากพื้นที่หรือสถานที่ขององค์กรที่มีการจัดการสิ่งแวดล้อม เมื่อทำการกำหนดขอบเขตของระบบการจัดการสิ่งแวดล้อมแล้ว กิจกรรมทั้งหมดรวมถึงผลิตภัณฑ์และบริการขององค์กรที่อยู่ภายใต้ขอบเขตที่กำหนด ก็จะถูกนำมารวมไว้ในระบบการจัดการสิ่งแวดล้อมด้วย |
. |
การทบทวนด้านสิ่งแวดล้อมเบื้องต้น |
สำหรับองค์กรที่ยังไม่มีระบบการจัดการสิ่งแวดล้อมมาก่อน ควรจะมีการประเมินเบื้องต้นถึงสถานะปัจจุบันขององค์กรที่เกี่ยวกับสิ่งแวดล้อม โดยจะเป็นการทบทวนเพื่อพิจารณาถึงลักษณะปัญหาทางด้านสิ่งแวดล้อม (Environmental Aspects) ของกิจกรรม ผลิตภัณฑ์ และบริการขององค์กร สำหรับเป็นพื้นฐานในการจัดทำระบบการจัดการสิ่งแวดล้อมต่อไป |
. |
ส่วนองค์กรที่มีระบบการจัดการสิ่งแวดล้อมอยู่แล้ว อาจจะไม่จำเป็นที่จะต้องทำการทบทวนดังกล่าว อย่างไรก็ตาม การทบทวนยังสามารถช่วยองค์กรในการปรับปรุงระบบการจัดการสิ่งแวดล้อมที่มีอยู่แล้วด้วย |
. |
ในการทบทวน จะครอบคลุมถึงประเด็นที่สำคัญ 4 ประเด็น ประกอบด้วย |
. |
นอกจากนั้น การทบทวนอาจจะรวมไปถึงการพิจารณาในประเด็นต่าง ๆ เหล่านี้ด้วย |
• การประเมินผลการดำเนินงานเทียบกับเกณฑ์ที่กำหนดขึ้นภายในองค์กร มาตรฐานจากภายนอกองค์กร ข้อกฏหมาย รวมถึงแนวปฏิบัติหลักต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้อง |
. |
ผลที่ได้จากการทบทวนเบื้องต้น จะช่วยองค์กรในการกำหนดขอบเขตของระบบการจัดการสิ่งแวดล้อม การจัดทำนโยบายสิ่งแวดล้อม การกำหนดวัตถุประสงค์และเป้าหมายด้านสิ่งแวดล้อม รวมถึงการพิจารณาถึงความมีประสิทธิผลของแนวทางในการรักษาความสอดคล้องตามข้อกฏหมายที่เกี่ยวข้อง รวมถึงกฏระเบียบต่าง ๆ ของหน่วยงานที่องค์กรเป็นสมาชิกอยู่ |
. |
ในส่วนของวิธีการที่องค์กรสามารถนำมาใช้ในการประเมินแนวปฏิบัติ รวมถึงวิธีการปฏิบัติงานในการจัดการสิ่งแวดล้อมที่มีอยู่ในปัจจุบัน ประกอบด้วย |
. |
1. การสัมภาษณ์กับบุคลากรที่ทำงาน หรือเคยทำงานกับองค์กร เพื่อพิจารณาถึงขอบเขตของกิจกรรม ผลิตภัณฑ์ และบริการขององค์กรทั้งในอดีตที่ผ่านมาและในปัจจุบัน |
. |
2. การประเมินผลของการสื่อสารทั้งภายในและภายนอกองค์กรกับหน่วยงานต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้อง รวมถึงข้อร้องเรียนที่เกิดขึ้น เหตุการณ์ที่เกี่ยวกับข้อกฏหมาย หรือข้อกำหนดอื่น ๆ ของหน่วยงานที่องค์กรเป็นสมาชิกอยู่ เหตุการณ์และอุบัติเหตุที่เกี่ยวกับสิ่งแวดล้อมในอดีตที่ผ่านมา |
. |
3. การรวบรวมข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับแนวปฏิบัติในการบริหารงานปัจจุบัน เช่น การควบคุมกระบวนการเกี่ยวกับการจัดหาสารเคมีอันตราย การจัดเก็บ และการเคลื่อนย้ายสารเคมี การควบคุมการฟุ้งกระจายออกสู่ภายนอก วิธีการกำจัดของเสีย เครื่องมือสำหรับการรองรับเหตุฉุกเฉิน การใช้ทรัพยากร การฝึกอบรมด้านสิ่งแวดล้อม ความครบถ้วนของบันทึกการติดตามวัดผล เป็นต้น |
. |
นอกจากนั้น การทบทวนสามารถดำเนินการได้โดยการใช้ใบตรวจสอบ ผังการไหลกระบวนการ การสัมภาษณ์ การตรวจสอบโดยตรง การวัดทั้งในอดีตและในปัจจุบัน ผลของการตรวจประเมินในอดีตที่ผ่านมา ซึ่งจะขึ้นอยู่กับลักษณะของกิจกรรม ผลิตภัณฑ์ และบริการขององค์กร ทั้งนี้ ผลของการทบทวนเบื้องต้น จะต้องมีการจัดทำเป็นเอกสารที่ชัดเจนที่สามารถนำมาใช้ในการกำหนดขอบเขต และจัดทำระบบการจัดการสิ่งแวดล้อม รวมถึงนโยบายสิ่งแวดล้อมต่อไป |
. |
นโยบายสิ่งแวดล้อม |
นโยบายสิ่งแวดล้อม จะเป็นสิ่งที่ใช้ในการกำหนดหลักการพื้นฐานในการดำเนินงานทางด้านสิ่งแวดล้อมขององค์กร โดยจะระบุถึงระดับของความรับผิดชอบ และผลการดำเนินงานด้านสิ่งแวดล้อมที่จำเป็นสำหรับองค์กร ทั้งนี้นโยบายจะต้องมีความเหมาะสมกับผลกระทบทางด้านสิ่งแวดล้อมจากกิจกรรม ผลิตภัณฑ์ และบริการขององค์กร (ที่อยู่ในขอบเขตของระบบการจัดการสิ่งแวดล้อม) และจะใช้เป็นแนวทางสำหรับการกำหนดวัตถุประสงค์ และเป้าหมายทางด้านสิ่งแวดล้อมต่อไป |
. |
การจัดทำนโยบายสิ่งแวดล้อม องค์กรจะต้องพิจารณาถึง |
1. พันธกิจ วิสัยทัศน์ ค่านิยมหลัก และความเชื่อ |
. |
ทั้งนี้ นโยบายสิ่งแวดล้อมควรจะครอบคลุมถึงกิจกรรม ผลิตภัณฑ์ และบริการทั้งหมดที่อยู่ภายใต้ขอบเขตของระบบการจัดการสิ่งแวดล้อมที่สามารถส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมได้ โดยประเด็นต่าง ๆ ที่จะระบุไว้ในนโยบายสิ่งแวดล้อม จะขึ้นอยู่กับลักษณะขององค์กร โดยนโยบายจะต้องแสดงถึงความมุ่งมั่นที่มีต่อ |
. |
1. การปฏิบัติตาม หรือเข้มงวดกว่าข้อกฏหมาย และข้อกำหนดอื่น ๆ ของหน่วยงานที่องค์กรเป็นสมาชิก ในส่วนที่เกี่ยวกับลักษณะปัญหาทางด้านสิ่งแวดล้อม |
. |
การป้องกันมลภาวะ (Pollution Prevention) |
แนวทางในการป้องกันการเกิดมลภาวะ สามารถนำมาบูรณาการเข้ากับการออกแบบ และการพัฒนาผลิตภัณฑ์และบริการใหม่ เช่นเดียวกับการพัฒนากระบวนการอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง โดยกลยุทธ์ดังกล่าวจะช่วยองค์กรในการอนุรักษ์ทรัพยากร และลดปริมาณของเสียที่เกี่ยวกับผลิตภัณฑ์ และบริการลงได้ |
. |
การลดลงที่แหล่งกำเนิด จะเป็นแนวทางที่มีประสิทธิผลอย่างมาก เนื่องจากช่วยให้เกิดประโยชน์ได้ถึงสองทาง ทั้งการหลีกเลี่ยงการเกิดและการปล่อยของเสียออกไป รวมถึงช่วยในการประหยัดทรัพยากรที่ใช้ด้วย อย่างไรก็ตาม การป้องกันมลภาวะโดยการลดลงที่แหล่งกำเนิด อาจจะไม่สามารถทำได้ในทางปฏิบัติในบางสถานการณ์และในบางองค์กรได้ โดยลำดับขั้นของแนวทางในการป้องกันมลภาวะที่จะนำมาพิจารณา จะประกอบด้วย |
. |
1. การลดหรือการขจัดที่แหล่งกำเนิด (รวมถึงการออกแบบและพัฒนาโดยคำนึงถึงสิ่งแวดล้อม การทดแทนวัสดุ การเปลี่ยนแปลงในกระบวนการ ผลิตภัณฑ์ หรือเทคโนโลยี และการใช้ รวมถึงการอนุรักษ์พลังงานและทรัพยากรอย่างมีประสิทธิภาพ) |
. |
การวางแผน |
การวางแผน จะเป็นส่วนที่สำคัญในการทำให้นโยบายสิ่งแวดล้อมประสบความสำเร็จ รวมถึงการจัดทำ การนำไปปฏิบัติ และการดูแลรักษาระบบการจัดการสิ่งแวดล้อมได้อย่างมีประสิทธิผล โดยองค์ประกอบต่าง ๆ ที่สำคัญของการวางแผน จะประกอบด้วย |
. |
1. การระบุถึงลักษณะปัญหาทางด้านสิ่งแวดล้อม (Environmental Aspects) |
. |
ทั้งนี้ กระบวนการในการวางแผน จะช่วยองค์กรในการจัดการกับทรัพยากรให้กับพื้นที่ที่มีความสำคัญที่สุด เพื่อให้บรรลุตามเป้าหมาย รวมถึงข้อมูลสารสนเทศที่เกิดขึ้นจากกระบวนการวางแผน สามารถนำมาใช้ในการจัดทำ และปรับปรุงส่วนงานอื่น ๆ ของระบบการจัดการสิ่งแวดล้อมได้ด้วย เช่น การฝึกอบรม การควบคุมการปฏิบัติการ การเฝ้าติดตามและการวัด เป็นต้น |
. |
1. ลักษณะปัญหาทางด้านสิ่งแวดล้อม |
ระบบการจัดการสิ่งแวดล้อมที่มีประสิทธิผล จะเริ่มต้นจากการทำความเข้าใจถึงความสัมพันธ์ขององค์กรที่มีต่อสิ่งแวดล้อม โดยองค์ประกอบต่าง ๆ ของกิจกรรม ผลิตภัณฑ์ และบริการขององค์กรที่มีผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม จะเรียกว่า ลักษณะปัญหาทางด้านสิ่งแวดล้อม หรือ Environmental Aspect |
. |
ตัวอย่างเช่น การกำจัด การปล่อย การใช้งาน หรือการนำมาใช้ใหม่ของวัสดุต่าง ๆ หรือการทำให้เกิดการรบกวนในการดำเนินงานของระบบการจัดการสิ่งแวดล้อม ทั้งนี้ จะต้องทำการระบุถึงลักษณะปัญหาทางด้านสิ่งแวดล้อมเฉพาะที่องค์กรสามารถควบคุมได้ |
. |
การเปลี่ยนแปลงของสิ่งแวดล้อม ทั้งในทางบวก และทางลบ รวมถึงผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นทั้งโดยรวมหรือบางส่วนจากลักษณะปัญหาทางด้านสิ่งแวดล้อม จะเรียกว่า ผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อม หรือ Environmental Impact ตัวอย่างของผลกระทบในทางลบ ได้แก่ มลภาวะทางอากาศ หรือการลดลงของทรัพยากรธรรมชาติ |
. |
ส่วนตัวอย่างของผลกระทบในทางบวก ได้แก่ การปรับปรุงคุณภาพของน้ำ หรือดินให้ดีขึ้น ทั้งนี้ ความสัมพันธ์ระหว่างลักษณะปัญหาทางด้านสิ่งแวดล้อม และผลกระทบที่เกี่ยวข้อง จะอยู่ในรูปของสาเหตุและผลกระทบ (Cause and Effect) ซึ่งองค์กรจะต้องทำความเข้าใจในลักษณะปัญหาทางด้านสิ่งแวดล้อมที่สามารถส่งผลกระทบที่สำคัญต่อสิ่งแวดล้อม ซึ่งเรียกว่า ลักษณะปัญหาทางด้านสิ่งแวดล้อมที่สำคัญ (Significant Environmental Aspects) |
. |
เมื่อองค์กรมีลักษณะปัญหาทางด้านสิ่งแวดล้อม และผลกระทบที่เกี่ยวข้องจำนวนมาก จำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องมีการกำหนดเกณฑ์ และวิธีการที่จะนำมาใช้ในการกำหนดถึงความสำคัญ โดยพิจารณาจากปัจจัยต่าง ๆ เช่น คุณลักษณะทางสิ่งแวดล้อม ข้อมูลเกี่ยวกับข้อกฏหมาย และข้อกำหนดอื่น ๆ ของหน่วยงานที่องค์กรเป็นสมาชิกอยู่ |
. |
รวมถึงข้อกังวลของหน่วยงานต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้อง (ทั้งภายในและภายนอกองค์กร) ซึ่งเกณฑ์การพิจารณาบางรายการอาจจะนำมาใช้กับลักษณะปัญหาทางด้านสิ่งแวดล้อมโดยตรง ในขณะที่บางรายการอาจจะนำมาใช้กับผลกระทบทางด้านสิ่งแวดล้อมที่เกี่ยวข้อง |
. |
การระบุลักษณะปัญหาทางด้านสิ่งแวดล้อมที่สำคัญ (Significant Environmental Aspects) และผลกระทบที่เกี่ยวข้อง เป็นสิ่งจำเป็นต่อการพิจารณามาตรการควบคุมและการปรับปรุง รวมถึงการกำหนดลำดับความสำคัญของการดำเนินการ ทั้งนี้ นโยบาย วัตถุประสงค์ เป้าหมายทางด้านสิ่งแวดล้อม การฝึกอบรม การสื่อสาร มาตรการควบคุมการปฏิบัติงาน และการเฝ้าติดตามโปรแกรม จะอยู่บนพื้นฐานของความรู้ความเข้าใจที่เกี่ยวกับลักษณะปัญหาทางด้านสิ่งแวดล้อมที่กำหนดขึ้น |
. |
ประเด็นข้อกฏหมายที่เกี่ยวข้องและข้อกำหนดอื่น ๆ ของหน่วยงานที่องค์กรเป็นสมาชิกอยู่ รวมถึงมุมมองของหน่วยงานต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องก็จะถูกนำมาพิจารณาด้วย ทั้งนี้การระบุลักษณะปัญหาทางด้านสิ่งแวดล้อม จะเป็นกระบวนการอย่างต่อเนื่อง ที่จะช่วยสร้างให้เกิดความเข้าใจในความสัมพันธ์ที่มีต่อสิ่งแวดล้อม รวมถึงการมีส่วนในการปรับปรุงผลการดำเนินงานด้านสิ่งแวดล้อมอย่างต่อเนื่องด้วย |
. |
การทำความเข้าใจในกิจกรรม ผลิตภัณฑ์ และบริการขององค์กร |
ในเกือบจะทุก ๆ กิจกรรม ผลิตภัณฑ์และบริการขององค์กร ล้วนมีผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมทั้งนั้น ซึ่งอาจจะเกิดในบางขั้นตอน หรือในทุก ๆ ขั้นตอนของวัฏจักรชีวิตของกิจกรรม ผลิตภัณฑ์หรือบริการ เช่น จากการรับวัตถุดิบและการแจกจ่าย การใช้ และการกำจัด โดยผลกระทบดังกล่าวอาจจะเป็นระดับท้องถิ่น ภูมิภาค หรือระดับโลก ทั้งในระยะสั้นหรือระยะยาว ด้วยระดับของความสำคัญที่แตกต่างกันไป |
. |
ดังนั้น องค์กรจะต้องทำความเข้าใจในกิจกรรม ผลิตภัณฑ์ และบริการที่อยู่ในขอบเขตของระบบการจัดการสิ่งแวดล้อมตามที่กำหนดไว้ และอาจจะเป็นประโยชน์อย่างมากในการจัดกลุ่ม เพื่อชี้บ่งและประเมินผลลักษณะปัญหาด้านสิ่งแวดล้อม การจัดกลุ่มหรือประเภทของกิจกรรม ผลิตภัณฑ์หรือบริการ จะช่วยองค์กรในการระบุลักษณะปัญหาทางด้านสิ่งแวดล้อมที่ร่วมกันหรือที่คล้าย ๆ กัน |
. |
โดยการจัดกลุ่มหรือจัดประเภท จะอยู่ในรูปของคุณลักษณะที่ร่วมกัน เช่น หน่วยองค์กร สถานที่ทางภูมิศาสตร์ ผังการไหลของการทำงาน การใช้วัสดุหรือพลังงานในกลุ่มผลิตภัณฑ์ หรือตัวกลางสิ่งแวดล้อมที่ได้รับผลกระทบ (เช่น อากาศ น้ำ ผืนดิน) และเพื่อให้เกิดประโยชน์ ขนาดของกลุ่มควรจะใหญ่พอให้สามารถอธิบายความหมาย และเล็กพอที่สามารถอธิบายได้อย่างชัดเจน |
. |
การระบุลักษณะปัญหาทางด้านสิ่งแวดล้อม |
องค์กรจะต้องมีการระบุถึงลักษณะปัญหาทางด้านสิ่งแวดล้อม ภายใต้ขอบเขตของระบบการจัดการสิ่งแวดล้อมที่เกี่ยวกับกิจกรรม ผลิตภัณฑ์ และบริการทั้งในอดีตที่ผ่านมา ที่กำลังดำเนินอยู่ในปัจจุบัน และที่อยู่ในแผนการดำเนินงาน รวมถึงองค์กรจะต้องพิจารณาทั้งการปฏิบัติงานในสภาวะปกติ และในสภาพผิดปกติ รวมถึงเมื่อเริ่มต้นการทำงาน (และเมื่อหยุดการทำงานเพื่อบำรุงรักษา รวมถึงเมื่อเกิดเหตุฉุกเฉินหรืออุบัติเหตุขึ้น |
. |
ทั้งนี้ ลักษณะปัญหาทางด้านสิ่งแวดล้อมที่สามารถควบคุมได้โดยตรง จะถูกนำมาพิจารณาเป็นลักษณะปัญหาที่สามารถมีอิทธิพลได้ เช่น ที่เกี่ยวข้องกับผลิตภัณฑ์ และบริการที่ใช้งานโดยองค์กร และที่เกี่ยวกับผลิตภัณฑ์ และบริการที่ส่งมอบโดยองค์กร เมื่อจะทำการประเมินถึงระดับความสามารถในการมีอิทธิพลของลักษณะปัญหาทางด้านสิ่งแวดล้อมที่มีต่อกิจกรรม ผลิตภัณฑ์หรือบริการ องค์กรจะต้องมีการพิจารณาถึงข้อกฏหมายหรือข้อสัญญา นโยบาย ประเด็นท้องถิ่นหรือภูมิภาค และข้อผูกมัดและความรับผิดชอบที่มีต่อหน่วยงานต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้อง |
. |
นอกจากนั้น องค์กรยังต้องมีการพิจารณาถึงประเด็นที่เกี่ยวข้องกับผลการดำเนินงานด้านสิ่งแวดล้อมด้วย เช่น การจัดซื้อผลิตภัณฑ์ที่มีวัสดุอันตราย โดยตัวอย่างของสถานการณ์ที่อาจจะต้องพิจารณาในประเด็นต่าง ๆ เหล่านี้ ได้แก่ กิจกรรมที่ดำเนินการโดยผู้รับจ้างช่วงหรือผู้ส่งมอบ การออกแบบผลิตภัณฑ์และบริการ วัสดุ สินค้าหรือบริการที่ส่งมอบและใช้งาน และการขนส่ง การใช้งาน การนำมาใช้ซ้ำ (Reuse) หรือการหมุนเวียนกลับมาใช้ใหม่ (Recycling) |
. |
ในการระบุ และการทำความเข้าใจในลักษณะปัญหาทางด้านสิ่งแวดล้อม องค์กรจะต้องมีการรวบรวมข้อมูลทั้งในเชิงปริมาณ และเชิงคุณภาพที่เกี่ยวกับคุณลักษณะของกิจกรรม ผลิตภัณฑ์ และบริการ เช่น ปัจจัยนำเข้า และผลลัพธ์ของวัสดุ หรือพลังงาน กระบวนการและเทคโนโลยีที่ใช้ สิ่งอำนวยความสะดวกและสถานที่ตั้ง วิธีการขนส่งและปัจจัยมนุษย์ (เช่น การมองเห็น หรือการได้ยิน) นอกจากนั้น ควรจะรวบรวมข้อมูลที่เกี่ยวกับ |
. |
1. ความสัมพันธ์ของสาเหตุ และผลกระทบระหว่างองค์ประกอบต่าง ๆ ของกิจกรรม ผลิตภัณฑ์ และบริการ และการเปลี่ยนแปลงสิ่งแวดล้อมที่เกิดขึ้น หรือที่อาจจะเกิดขึ้น |
. |
ทั้งนี้ กระบวนการในการระบุถึงลักษณะปัญหาทางด้านสิ่งแวดล้อม จะได้ประโยชน์อย่างมากจากการมีส่วนร่วมของแต่ละคนที่มีความคุ้นเคยเป็นอย่างดีกับกิจกรรม ผลิตภัณฑ์ และบริการต่าง ๆ ขององค์กร โดยกระบวนการที่สามารถนำมาใช้ในการระบุลักษณะปัญหาทางด้านสิ่งแวดล้อม ได้แก่ |
. |
• การปล่อยสู่อากาศ |
. |
การทำความเข้าใจในผลกระทบทางด้านสิ่งแวดล้อม |
การทำความเข้าใจในผลกระทบทางด้านสิ่งแวดล้อมขององค์กร เป็นสิ่งที่จำเป็นเมื่อทำการระบุถึงลักษณะปัญหาทางด้านสิ่งแวดล้อมและพิจารณาถึงความสำคัญ ทั้งนี้ ในบางองค์กรอาจจะมีความพร้อมของข้อมูลที่เกี่ยวกับประเภทของผลกระทบทางด้านสิ่งแวดล้อมที่เกี่ยวข้องกับลักษณะปัญหาทางด้านสิ่งแวดล้อมอยู่แล้ว |
. |
ดังนั้น องค์กรอื่น ๆ อาจจะเลือกใช้วิธีการผังสาเหตุและผลกระทบ (Cause and Effect Diagram) หรือผังการไหลของกระบวนการ (Flowchart) ในการแสดงถึงปัจจัยนำเข้า ผลลัพธ์ที่ได้ หรือความสมดุลของมวลและพลังงาน หรืออาจจะใช้แนวทางอื่น ๆ เช่น การประเมินผลกระทบทางด้านสิ่งแวดล้อม หรือการประเมินวัฏจักรชีวิต (Life Cycle Assessment) เพื่อช่วยในการทำความเข้าใจถึงผลกระทบทางด้านสิ่งแวดล้อมที่เกิดขึ้น |
. |
แนวทางที่นำมาใช้ จะต้องช่วยให้สามารถรับรู้และเข้าใจได้ถึง |
. |
การกำหนดลักษณะปัญหาด้านสิ่งแวดล้อมที่สำคัญ |
การพิจาณาถึงความสำคัญ จะเป็นแนวคิดในเชิงเปรียบเทียบ (Relative Concept) ที่ไม่สามารถแสดงในรูปแบบที่ชัดเจนได้ สิ่งที่สำคัญสำหรับองค์กรหนึ่ง อาจจะไม่สำคัญเลยสำหรับอีกองค์กรหนึ่ง ดังนั้น การประเมินความสำคัญ จะเป็นการประยุกต์ใช้ทั้งการวิเคราะห์เชิงเทคนิค และการตัดสินใจโดยองค์กรเอง ซึ่งการใช้เกณฑ์การประเมินจะช่วยองค์กรในการกำหนดลักษณะของปัญหาทางด้านสิ่งแวดล้อม และผลกระทบที่สำคัญได้ รวมถึงช่วยให้เกิดความสม่ำเสมอ และความสามารถในการทำซ้ำในการประเมินความสำคัญ |
. |
ในการกำหนดเกณฑ์เพื่อระบุถึงความสำคัญ องค์กรควรจะพิจารณาถึง |
. |
เกณฑ์การประเมินความสำคัญ (Significance Criteria) จะถูกนำมาใช้ทั้งกับลักษณะปัญหาทางด้านสิ่งแวดล้อมขององค์กร และกับผลกระทบที่เกี่ยวข้อง โดยส่วนใหญ่มักจะนำมาใช้กับผลกระทบทางด้านสิ่งแวดล้อมมากกว่า ทั้งนี้ องค์กรจะต้องมีการกำหนดระดับ (หรือมูลค่า) ของความสำคัญที่เกี่ยวข้องกับแต่ละเกณฑ์ ตัวอย่างเช่น ในรูปของเชิงปริมาณ โดยจะแสดงเป็นตัวเลขที่มีมูลค่าชัดเจน ส่วนในรูปของเชิงคุณภาพ จะแสดงในรูปของระดับขั้น เช่น สูง กลาง หรือต่ำ |
สงวนลิขสิทธิ์ ตามพระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ พ.ศ. 2539 www.thailandindustry.com
Copyright (C) 2009 www.thailandindustry.com All rights reserved.
ขอสงวนสิทธิ์ ข้อมูล เนื้อหา บทความ และรูปภาพ (ในส่วนที่ทำขึ้นเอง) ทั้งหมดที่ปรากฎอยู่ในเว็บไซต์ www.thailandindustry.com ห้ามมิให้บุคคลใด คัดลอก หรือ ทำสำเนา หรือ ดัดแปลง ข้อความหรือบทความใดๆ ของเว็บไซต์ หากผู้ใดละเมิด ไม่ว่าการลอกเลียน หรือนำส่วนหนึ่งส่วนใดของบทความนี้ไปใช้ ดัดแปลง โดยไม่ได้รับอนุญาตเป็นลายลักษณ์อักษร จะถูกดำเนินคดี ตามที่กฏหมายบัญญัติไว้สูงสุด