ตรวจติดตาม เรื่องดี ๆ ที่ควรทำนานแล้ว คงเคยได้ยินกันมาแล้วบ้างว่า การเป็นที่หนึ่งนั้นไม่ยาก แต่การรักษาที่หนึ่งให้นานที่สุดนั้นยากกว่า ที่เห็นด้วยไม่ใช่ตรงที่การจะเป็นที่หนึ่ง แต่ตรงที่การรักษาสิ่งที่ทำไว้แล้วให้คงที่สม่ำเสมอ นี่สิครับยากมาก สิ่งหนึ่งที่ในข้อกำหนดมาตรฐานระบบต่าง ๆ ที่ผู้เขียนเห็นว่าเป็นหัวใจและถ้ามาตรฐานเหล่านั้นไม่ได้กำหนดไว้มาตรฐานเหล่านั้นจะไม่มีประโยชน์อะไรเลยก็คือเรื่องการตรวจติดตามภายในนี่เอง
มีวิธีการหลายวิธีที่ใช้ในการแก้ปัญหา Markov Model เพื่อหาคำตอบค่าความน่าจะเป็นในการเปลี่ยนสถานะจากการทำงานปกติไปยังสถานะที่ต้องการ แต่สำหรับการแก้ปัญหาในบางวิธีอาจไม่เหมาะสมสำหรับการตรวจสอบฟังก์ชันนิรภัย เมื่อมีการจัดเตรียมช่วงเวลาตรวจสอบและซ่อมแซมถูกรวมเข้าไปในฟังก์ชันนิรภัย วิธีการหนึ่งที่เหมาะสมสำหรับการแก้ปัญหาของแผนภาพ Markov Model โดยใช้วิธีการทางตารางตัวเลขเป็นการคูณเมตริกของจำนวนเวลาที่ทำการพิจารณา ช่วงเวลาการพิจารณาที่ถูกเลือกและอัตราความผิดพลาดจะเป็นมาตราส่วนสำหรับช่วงเวลานั้น ความน่าจะเป็นของการเปลี่ยนสถานะบนเส้นโค้งที่กำหนดโดยอัตราความผิดพลาด คูณด้วยช่วงเวลา การเลือกช่วงเวลาสั้น ๆ ทำให้การแก้ปัญหาด้วย Markov Model มีความแม่นยำมาก มาตราส่วนอัตราความผิดพลาดถูกแสดงอยู่บนทุกเส้นโค้งแทนที่ความน่าจะเป็น ซึ่งรวมไปด้วยอัตราความผิดพลาดและช่วงระยะเวลาMarkov Model สามารถถูกแทนโดยเมตริกที่แสดงเส้นทางความน่าจะเป็นระหว่างแต่ละสถานะ เมตริกเส้นทางสามารถถูกคูณด้วยเมตริกแนวนอนแทนที่สถานะเริ่มต้น ผลลัพธ์เมตริกแนวนอนให้เวลาขึ้นอยู่กับความน่าจะเป็นสำหรับแต่ละสถานะ ตัวอย่างฟังก์ชันนิรภัยที่ประกอบด้วยเครื่องมือวัด 3 ตัวในรูปแบบ 2oo3 (Two out of Three Voting) แสดงแผนภาพกระบวนการผลิตและ Fault Tree Analysis ได้ดังรูปที่ 9 และ 10
มื่อไม่กี่วันก่อนหน้านี้ ผู้เขียนนึกครึ้มอกครึ้มใจอย่างไรขึ้นมาก็ไม่ทราบ ไปหยิบเอาแฟ้มบทความก่อนหน้านี้ขึ้นมาอ่านดู เลยนึกขึ้นมาได้ว่า ในระยะหลัง ๆ นี้ ไม่ค่อยได้พูดถึงเรื่องของเออร์โกโนมิกเลย ดังนั้น จึงถือโอกาสนี้มานำเสนอเรื่องการใช้โปรแกรมเออร์โกโมิกในการป้องกันความผิดปกติของกล้ามเนื้อ