มื่อไม่กี่วันก่อนหน้านี้ ผู้เขียนนึกครึ้มอกครึ้มใจอย่างไรขึ้นมาก็ไม่ทราบ ไปหยิบเอาแฟ้มบทความก่อนหน้านี้ขึ้นมาอ่านดู เลยนึกขึ้นมาได้ว่า ในระยะหลัง ๆ นี้ ไม่ค่อยได้พูดถึงเรื่องของเออร์โกโนมิกเลย ดังนั้น จึงถือโอกาสนี้มานำเสนอเรื่องการใช้โปรแกรมเออร์โกโมิกในการป้องกันความผิดปกติของกล้ามเนื้อ
ชื่อเรื่อง การป้องกันการบาดเจ็บของกล้ามเนื้อและโครงกระดูกด้วยโปรแกรมเออร์โกโนมิก
ตอนที่ 1
ผู้เขียน ศิริพร วันฟั่น
เมื่อไม่กี่วันก่อนหน้านี้ ผู้เขียนนึกครึ้มอกครึ้มใจอย่างไรขึ้นมาก็ไม่ทราบ ไปหยิบเอาแฟ้มบทความก่อนหน้านี้ขึ้นมาอ่านดู เลยนึกขึ้นมาได้ว่า ในระยะหลัง ๆ นี้ ไม่ค่อยได้พูดถึงเรื่องของเออร์โกโนมิกเลย ดังนั้น จึงถือโอกาสนี้มานำเสนอเรื่องการใช้โปรแกรมเออร์โกโมิกในการป้องกันความผิดปกติของกล้ามเนื้อและโครงกระดูกจากการทำงาน หรือ Work - Related Musculoskeletal Disorders (WMSDs) และก่อนที่จะไปพูดถึงรายละเอียดของโปรแกรมดังกล่าว ก็ขออนุญาตทบทวนความจำเกี่ยวกับเออร์โกโนมิกซักเล็กน้อย
โดย เออร์โกโนมิก (Ergonomics) นี้ เป็นศาสตร์ที่ว่าด้วยเรื่องของการศึกษาความสัมพันธ์ ที่เหมาะสมระหว่างคนกับงานที่ทำรวมไปจนถึงเครื่องมือ อุปกรณ์และเงื่อนไขต่าง ๆ ตลอดจนสภาวะแวดล้อมในการทำงาน ที่จะช่วยให้ผู้ปฏิบัติงานสามารถทำงานได้อย่างเต็มประสิทธิภาพและปลอดภัยยิ่งขึ้น ในปัจจุบันได้มีการนำเอาเออร์โกโนมิกมาประยุกต์ใช้กันในเกือบทุกสายงาน ไม่ว่าจะเป็นวิศวกรการออกแบบ วิศวกรการผลิต นักออกแบบอุตสาหกรรมและผู้เชี่ยวชาญด้านคอมพิวเตอร์ เป็นต้น
ส่วนเรื่องที่จะพูดถึงต่อไปนี้จะเกี่ยวข้องกับการใช้โปรแกรมเออร์โกโนมิก ในการประเมินพื้นที่ปฏิบัติงานในแง่มุมของการก่อให้เกิดความผิดปกติของกล้ามเนื้อ และโครงกระดูกของผู้ปฏิบัติงาน นั่นคือเราจะมาประเมินกันดูว่าลักษณะงานที่ทำเครื่องมือ เครื่องจักรที่ใช้ตลอดจนสภาวะแวดล้อมในการปฏิบัติงานนั้น ๆ จะส่งผลให้ผู้ปฏิบัติงานเกิดความผิดปกติของกล้ามเนื้อ กระดูกข้อต่อและเส้นเอ็นต่าง ๆ หรือไม่ ซึ่งการประเมินนี้จะทำให้ได้ข้อมูลที่เป็นประโยชน์ทั้งต่อตัวผู้ประกอบการเอง ผู้ปฏิบัติงานและผู้ที่เกี่ยวข้องในพื้นที่ปฏิบัติงาน เพื่อที่จะได้ทำการออกแบบแผนงานที่มีประสิทธิภาพ ในการป้องกันอาการบาดเจ็บหรือผิดปกติของกล้ามเนื้อและโครงกระดูกอันเนื่องมาจากการทำงาน
อาการบาดเจ็บของกล้ามเนื้อและโครงกระดูก เป็นอีกสิ่งหนึ่งที่ผู้ปฏิบัติงานมักจะประสบอยู่เสมอ ซึ่งจะรบกวนทั้งสุขภาพกายและสุขภาพจิต ทำให้ปฏิบัติงานได้อย่างไม่เต็มประสิทธิภาพเท่าที่ควร และเป็นสาเหตุหลักประการหนึ่งที่ทำให้ขาดงานและบางทีอาจถึงขั้นลาออก เพราะทนต่อการสะสมของอาการบาดเจ็บต่อไปไม่ได้ โดยอาการบาดเจ็บนั้นมาจากอาการตึง ยึด ปวด เกร็งหรือความเครียด ที่มีต่อส่วนต่าง ๆ ของร่างกาย อันเนื่องมาจากการทำงานร่วมกับเครื่องจักร เครื่องมือ รวมถึงลักษณะการวางท่าทาง การเคลื่อนไหวและการออกแรงที่มากเกินไปหรือไม่ถูกวิธี ลักษณะอาการจะปรากฏออกมาในรูปแบบต่าง ๆ เช่น เจ็บหลัง การตึงของข้อต่อ อาการเคล็ดขัดยอก ความเครียดทางสายตา อาการที่เกี่ยวกับโพรงกระดูกข้อมือ เอ็นอักเสบ การบาดเจ็บสะสม เป็นต้น
อาการบาดเจ็บของกล้ามเนื้อและโครงกระดูกแบบเฉียบพลันนี้ ถ้าไม่ได้รับการดูแลรักษาตั้งแต่เริ่มต้นก็สามารถที่จะลุกลามจนเป็นปัญหาเรื้อรังหรืออาจถึงขั้นพิการได้เลยทีเดียว
องค์ประกอบของโปรแกรมเออร์โกโนมิก มีอยู่ 7 ขั้นตอนด้วยกัน ดังนี้
ขั้นตอนที่ 1 มองหาสัญญาณที่แสดงถึงปัญหา WMSDs ในพื้นที่ปฏิบัติงาน
ขั้นตอนที่ 2 การจัดเตรียมขั้นตอนสำหรับปฏิบัติการป้องกัน
ขั้นตอนที่ 3 การฝึกอบรมและให้ความรู้กับผู้ปฏิบัติงาน
ขั้นตอนที่ 4 การเก็บรวบรวมข้อมูลและตรวจสอบเหตุการณ์ที่แสดงว่าเกิดปัญหา WMSDs ในพื้นที่ปฏิบัติงาน
ขั้นตอนที่ 5 พัฒนามาตรการควบคุมปัญหา
ขั้นตอนที่ 6 การบริหารจัดการด้านสุขภาพ
ขั้นตอนที่ 7 ปฏิบัติการเออร์โกโนมิกเชิงรุก
ขั้นตอนที่ 1: มองหาสัญญาณที่แสดงถึงปัญหา WMSDs ในพื้นที่ปฏิบัติงาน
1.การสังเกตสัญญาณที่อาจบ่งชี้ว่าเกิดปัญหาขึ้น โดยสัญญาณประเภทนี้ ได้แก่
- ข้อมูลที่แสดงความถี่ของพนักงานประจำที่ร้องเรียน บ่นหรือขาดงาน จากสาเหตุการเคล็ดขัดยอก การล้า การปวดตึง ความรู้สึกไม่สะดวกกาย อันเนื่องมาจากงานต่าง ๆ ที่ทำหรืองานที่มีกระบวนการทำงานในลักษณะซ้ำ ๆ และมีความถี่สูงเป็นเวลานานหรืองานที่ต้องใช้แรงมากและอาการบาดเจ็บ เหล่านั้นยังคงอยู่แม้ว่าจะข้ามคืนแล้วก็ตาม
- ข้อมูลความถี่การไปพบแพทย์ของพนักงานที่แสดงถึง WMSDs
- งานในพื้นที่ปฏิบัติงานที่เกี่ยวข้องกับความเสี่ยงที่จะเกิด WMSDs เช่น งานที่เกี่ยวข้องกับกิจกรรมที่ต้องทำซ้ำ ๆ งานที่ต้องใช้แรงมาก งานที่ต้องยก ถือ หิ้ว ลากหรือดันสิ่งของหนัก งานที่ต้องทำในลักษณะเอื้อมเหนือศีรษะ งานที่ทำให้พนักงานวางลักษณะท่าทางที่ไม่ถูกต้อง หรืองานที่เกี่ยวข้องกับอุปกรณ์สั่นสะเทือน เป็นต้น
- ข้อมูลจากแหล่งอื่น ๆ เช่น วารสารด้านสุขภาพ หรือบริษัทประกันสุขภาพที่ใช้บริการอยู่ ซึ่งได้กล่าวถึงความเสี่ยงของ WMSDs ที่สัมพันธ์กับการปฏิบัติงานในธุรกิจนั้น ๆ ของผู้ประกอบการ
- ข้อมูลที่บอกถึงกรณีการพบ WMSDs ในคู่แข่งหรือธุรกิจที่คล้ายคลึงกัน
- มีการเสนอความเห็นต่อผู้บริหารถึงเรื่องการปรับปรุงเครื่องมือ เครื่องใช้ ตลอดจนลักษณะงานที่ทำอยู่ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการทำงานของผู้ปฏิบัติงาน เพิ่มผลผลิตและมาตรฐานให้มากกว่าที่เป็นอยู่
โดยปกติแล้ว WMSDs ที่เกิดขึ้นในสถานที่ปฏิบัติงานประเภทต่าง ๆ จะมีความแตกต่างกันออกไป เช่น
- สายงานผลิต สถิติที่พบมากที่สุด คือ อาการปวดหลัง
- สำนักงาน โดยเฉพาะแผนกที่ต้องใช้คอมพิวเตอร์ มักพบอาการปวดหัว หลัง อาการเครียดทางสายตา ส่งผลให้เกิดปัญหาด้านการมองเห็น
- โกดังสินค้า มักพบอาการตึงหรือปวดบริเวณคอ หัวไหล่ มือ แขน ไหล่ และหลัง เนื่องจากการยก ถือ หิ้ว ลาก หรือ ดันสิ่งของหนัก เป็นต้น
2.กำหนดระดับความเข้มของโปรแกรมเออร์โกโนมิก โดยดูจากสัญญาณที่แสดงถึงปัญหา WMSDs ที่พบในพื้นที่ปฏิบัติงาน เช่น ถ้าสัญญาณที่พบมาจากหลายสายงาน หรือหลายจุดปฏิบัติงาน และเกี่ยวข้องกับพนักงานส่วนใหญ่ ก็ควรที่จะใช้โปรแกรมเออร์โกโนมิกอย่างเต็มรูปแบบ ในทางกลับกันถ้าสัญญาณที่สงสัย หรือคาดว่าจะเป็นปัญหามีจำนวนจำกัด และเกี่ยวข้องกับพนักงานเพียงเล็กน้อย ก็สามารถเลือกใช้โปรแกรมเออร์โกโนมิกเพียงบางส่วนได้ ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับขนาดของปัญหาที่เกิดขึ้น
ขั้นตอนที่ 2: การจัดเตรียมขั้นตอนสำหรับปฏิบัติการป้องกัน
1.กำหนดโปรแกรมเออร์โกโนมิกให้เป็นส่วนหนึ่ง ของโปรแกรมด้านความปลอดภัยและสุขอนามัยของบริษัท ควรมีการพิจารณาและกำหนดให้โปรแกรมเออร์โกโนมิก เป็นส่วนหนึ่งในการชี้บ่งถึงอันตรายในพื้นที่ปฏิบัติงาน แม้ว่าหลักเกณฑ์ต่าง ๆ ในการแจกแจงอันตราย การบันทึกเหตุการณ์ การตรวจประเมิน มาตรการควบคุม และเทคนิคในการบริหารจัดการด้านสุขภาพของโปรแกรมเออร์โกโนมิกนั้น จะเน้นเฉพาะเจาะจงไปที่ปัจจัยเสี่ยงด้านเออร์โกโนมิก และ WMSDs ก็ตาม แต่โดยรวม ๆ แล้วหลักการพื้นฐานก็คือ การประเมินความเสี่ยงในการเกิดอุบัติเหตุ และการควบคุมอันตรายต่าง ๆ ในพื้นที่ปฏิบัติงาน เช่นเดียวกับโปรแกรมด้านความปลอดภัยและสุขอนามัยนั่นเอง และเมื่อพื้นที่ปฏิบัติงานมีความปลอดภัย เราก็สามารถที่จะลดต้นทุนด้านการเสียเวลา การขาดงาน ค่าชดเชยต่าง ๆ ฯลฯ นอกจากนี้ ยังช่วยให้เราสามารถที่จะพัฒนาประสิทธิภาพการทำงานของพนักงาน ให้มีการปฏิบัติงานได้อย่างเต็มที่อีกด้วย
2.การแสดงออกถึงพันธะกิจของฝ่ายบริหารถือว่าเป็นส่วนสำคัญที่จะทำให้โปรแกรมเออร์โกโนมิก ประสบผลสำเร็จ โดยผู้บริหารจะต้องให้ความสำคัญกับโปรแกรมเออร์โกโนมิก ในฐานะที่เป็นเครื่องมือ ซึ่งช่วยให้องค์กรสามารถดำรงไว้ซึ่งความปลอดภัย และสุขอนามัยของสภาพแวดล้อมในการทำงานของผู้ปฏิบัติงานทั้งหมด มีการกำหนดบทบาทของผู้ที่เกี่ยวข้องกับโปรแกรมเออร์โกโนมิก จัดลำดับขั้นตอนของโปรแกรมเออร์โกโนมิกที่จะช่วยพัฒนาประสิทธิภาพขององค์กร ให้คำปรึกษาและสนับสนุนในทุก ๆ ด้านที่จำเป็น ประชุมร่วมกับพนักงานผู้ปฏิบัติงาน หัวหน้างาน และผู้ที่เกี่ยวข้องทุกฝ่าย เพื่อให้เข้าใจตรงกันถึงนโยบายและแผนงานสำหรับการปฏิบัติงานด้านเออร์โกโนมิก ตั้งเป้าหมายและระยะเวลาในการดำเนินโปรแกรมเออร์โกโนมิกเพื่อที่จะลดปํญหา WMSDs
3.จัดตั้งทีมงานที่เกี่ยวข้องกับโปรแกรมเออร์โกโนมิก โดยทีมงานจะต้องประกอบด้วยตัวแทนจากทุกแผนก ๆ ละ 1-2 คน รวมถึงวิศวกร ช่างซ่อมบำรุง ฝ่ายจัดซื้อ ซึ่งมีความจำเป็นในกรณีที่ต้องจัดซื้ออุปกรณ์หรือเครื่องมือใหม่ และบุคลากรด้านความปลอดภัยและสุขอนามัย โดยมีที่ปรึกษาเป็นผู้จัดการในแต่ละแผนก และเลือกหัวหน้าทีมหรือตัวแทนที่มีวุฒิภาวะและความสามารถเพียงพอในการรวบรวมข้อมูล มีความเข้าใจในปัญหา ประสานงานได้ดีกับทุกฝ่าย และสามารถเป็นตัวแทนในการสรุปรายงานถึงเนื้อหาทั้งหมด ตลอดจนความคืบหน้าให้ฝ่ายบริหารได้รับทราบและเข้าใจตรงกันได้
ขั้นตอนที่ 3: การฝึกอบรมและให้ความรู้กับผู้ปฏิบัติงาน
ในการแจกแจงและแก้ไขปัญหา WMSDs ในพื้นที่ปฏิบัติงาน ผู้ปฏิบัติงานต้องมีระดับความรู้ และทักษะเกี่ยวกับเออร์โกโนมิก จึงจำเป็นต้องมีการฝึกอบรม ซึ่งถือเป็นขั้นตอนที่สำคัญประการหนึ่งที่จะทำให้โปรแกรมเออร์โกโนมิก ประสบผลสำเร็จ เป้าหมายโดยรวมของการฝึกอบรม ก็คือ เพื่อให้ผู้จัดการ หัวหน้างาน และผู้ปฏิบัติงาน สามารถที่จะแจกแจง ถึงลักษณะกิจกรรมในงาน ซึ่งอาจมีโอกาสเสี่ยงต่อการเกิด WMSDs สามารถที่จะสังเกตสัญญาณและลักษณะอาการของ WMSDs ได้ และมีส่วนร่วมในการพัฒนายุทธศาสตร์ที่จะควบคุมหรือป้องกัน WMSDs ได้ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง เพื่อให้มั่นใจได้ว่า ผู้ปฏิบัติงานมีความเข้าใจเป็นอย่างดีถึงอันตราย และสามารถที่จะช่วยแจกแจงและควบคุมปัญหา WMSDs ได้
โดยทีมงานจะต้องประกอบด้วยตัวแทนจากทุกแผนก ๆ ละ 1-2 คน รวมถึงวิศวกร ช่างซ่อมบำรุง ฝ่ายจัดซื้อ ซึ่งมีความจำเป็นในกรณีที่ต้องจัดซื้ออุปกรณ์หรือเครื่องมือใหม่ และบุคลากรด้านความปลอดภัยและสุขอนามัย โดยมีที่ปรึกษาเป็นผู้จัดการในแต่ละแผนก และเลือกหัวหน้าทีมหรือตัวแทนที่มีวุฒิภาวะและความสามารถเพียงพอในการรวบรวมข้อมูล มีความเข้าใจในปัญหา ประสานงานได้ดีกับทุกฝ่าย และสามารถเป็นตัวแทนในการสรุปรายงานถึงเนื้อหาทั้งหมด ตลอดจนความคืบหน้าให้ฝ่ายบริหารได้รับทราบและเข้าใจตรงกันได้
ในการแจกแจงและแก้ไขปัญหา WMSDs ในพื้นที่ปฏิบัติงาน ผู้ปฏิบัติงานต้องมีระดับความรู้ และทักษะเกี่ยวกับเออร์โกโนมิก จึงจำเป็นต้องมีการฝึกอบรม ซึ่งถือเป็นขั้นตอนที่สำคัญประการหนึ่งที่จะทำให้โปรแกรมเออร์โกโนมิก ประสบผลสำเร็จ เป้าหมายโดยรวมของการฝึกอบรม ก็คือ เพื่อให้ผู้จัดการ หัวหน้างาน และผู้ปฏิบัติงาน สามารถที่จะแจกแจง ถึงลักษณะกิจกรรมในงาน ซึ่งอาจมีโอกาสเสี่ยงต่อการเกิด WMSDs สามารถที่จะสังเกตสัญญาณและลักษณะอาการของ WMSDs ได้ และมีส่วนร่วมในการพัฒนายุทธศาสตร์ที่จะควบคุมหรือป้องกัน WMSDs ได้ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง เพื่อให้มั่นใจได้ว่า ผู้ปฏิบัติงานมีความเข้าใจเป็นอย่างดีถึงอันตราย และสามารถที่จะช่วยแจกแจงและควบคุมปัญหา WMSDs ได้
1.องค์ประกอบของการฝึกอบรม
- กำหนดให้การฝึกอบรมเป็นสิ่งที่จำเป็น ในกรณีที่มีหลักฐานหรือเหตุการณ์ ที่ได้จากการเก็บสถิติและตรวจสอบข้อมูลด้านสุขภาพ รวมถึงผลจากการวิเคราะห์งานที่ทำ ซึ่งชี้บ่งว่ามีความจำเป็นที่จะต้องทำการควบคุมปัจจัยเสี่ยงด้านเออร์โกโนมิก ดังนั้น ผู้ปฏิบัติงานจะต้องได้รับการฝึกอบรม เพื่อที่จะได้เข้าใจ และสามารถสนับสนุนมาตรการควบคุมได้อย่างถูกต้อง
- แจกแจงความจำเป็นของหัวข้อการฝึกอบรม โดยผู้เข้ารับการฝึกอบรม จะถูกแบ่งออกเป็นลำดับชั้นของการฝึกอบรม ซึ่งจะได้รับคำแนะนำด้านเออร์โกโนมิกที่เข้มข้นแตกต่างกันออกไป
- แจกแจงเป้าหมายและวัตถุประสงค์ ซึ่งสิ่งที่สำคัญที่สุด ก็คือ วัตถุประสงค์ของการฝึกอบรม ต้องชัดเจน ถูกต้อง สังเกตได้ และใส่ใจในภาคปฏิบัติ
- พัฒนารูปแบบหรือกิจกรรมการเรียนรู้ เช่น การใช้สื่อทางเทคโนโลยีที่ทันสมัยต่าง ๆ
- การดำเนินการฝึกอบรม ต้องคำนึงถึงภาษาและระดับความรู้ของผู้ปฏิบัติงาน ควรมีการกระตุ้นให้ผู้เข้ารับการฝึกอบรมได้แสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับงานที่พวกเขาทำ
- ประเมินประสิทธิภาพของการฝึกอบรม ซึ่งวิธีที่ใช้กันโดยทั่วไปคือ การตั้งคำถามเกี่ยวกับเนื้อหาที่ฝึกอบรม และสิ่งที่เป็นประโยชน์ต่องานที่ทำ ซึ่งการวัดความรู้ที่ได้รับจากการฝึกอบรม หรือการพัฒนาทักษะนั้นเป็นเรื่องที่จำเป็น ส่วนการติดตามประเมินผล จากการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมของผู้ปฏิบัติงาน หรือการพัฒนางานนั้นอาจต้องใช้เวลาพอสมควร
- พัฒนาโปรแกรมการฝึกอบรม ถ้าผลการประเมินพบว่าวัตถุประสงค์ของการฝึกอบรมไม่ประสบผลสำเร็จ ควรมีการทบทวนองค์ประกอบของแผนการฝึกอบรมเสียใหม่ ซึ่งต้องมีการแก้ไขข้อบกพร่องที่พบในการฝึกอบรมที่ผ่านมาด้วย
2.การฝึกอบรมเพื่อปลูกฝังจิตสำนึกด้านเออร์โกโนมิก มีจุดประสงค์เพื่อให้ผู้ปฏิบัติงาน
- สามารถที่จะตระหนักถึงปัจจัยเสี่ยงต่าง ๆ ที่ก่อให้เกิด WMSDs และเข้าใจวิธีการโดยทั่วไปในการควบคุมสิ่งเหล่านั้น
- แจกแจงถึงสัญญาณและลักษณะอาการของ WMSDs ซึ่งเป็นผลมาจากการเผชิญกับปัจจัยเสี่ยงเหล่านั้น
- รับทราบถึงกระบวนการต่าง ๆ ที่ผู้ประกอบการได้ใช้ในการควบคุมปัจจัยเสี่ยงเหล่านั้น และรู้ถึงบทบาทของผู้ปฏิบัติงานและการมีส่วนร่วมในกระบวนการนั้น ๆ
- รับทราบถึงขั้นตอนและวิธีในการรายงานถึงปัจจัยเสี่ยงและ WMSDs ที่พบในระหว่างการปฏิบัติงาน รวมถึงทราบรายชื่อของบุคคลในทีมงานเออร์โกโนมิกที่ถูกกำหนดขึ้นมาเพื่อแก้ปัญหา โดยผู้ปฏิบัติงานจะได้รายงานต่อบุคคลเหล่านั้นได้อย่างถูกต้องและรวดเร็ว
3.การฝึกอบรมในการวิเคราะห์งานและมาตรการควบคุม มีจุดประสงค์เพื่อ
- สาธิตวิธีการวิเคราะห์งานที่ทำอยู่ เพื่อที่จะได้แจกแจงถึงปัจจัยเสี่ยงสำหรับ WMSDs ได้อย่างถูกต้อง
- เลือกวิธีที่จะปฏิบัติและประเมินมาตรการควบคุม
4.การฝึกอบรมในการแก้ปัญหา มีจุดประสงค์เพื่อ
- แจกแจงฝ่าย พื้นที่ และงานที่เกี่ยวข้องกับปัจจัยเสี่ยง ผ่านทางการทบทวนรายงานประจำปีของบริษัท ข้อมูลจดบันทึกต่าง ๆ การเดินสังเกต และการสำรวจเป็นกรณีพิเศษ
- แจกแจงเครื่องมือและเทคนิคที่จะใช้ในการวิเคราะห์งาน และจัดเป็นพื้นฐานสำหรับการให้ข้อเสนอแนะ
- พัฒนาทักษะแก่ทีมที่ตั้งขึ้นมาในการแก้ปัญหา
- แนะนำหนทางในการควบคุมอันตรายจากเออร์โกโนมิก บนพื้นฐานของการวิเคราะห์งานและรับฟังข้อคิดเห็นจากผู้ปฏิบัติงาน ฝ่ายบริหาร และฝ่ายอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง
5.ข้อที่ควรพิจารณาเป็นพิเศษและการระวังล่วงหน้า
- ผู้ประกอบการควรใช้ข้อมูลและวิธีการเพื่อปรับให้เข้ากับงานที่มีลักษณะเฉพาะบุคคลหรือกลุ่มที่ถูกกำหนดให้มีบทบาทในการควบคุมอันตรายด้านเออร์โกโนมิก ควรที่จะได้รับข้อแนะนำหรือวิธีในการแจกแจงปัญหา การวิเคราะห์งานและเทคนิคในการแก้ปัญหา จากผู้เชี่ยวชาญที่เป็นคนฝึกอบรม
- จุดประสงค์ของการฝึกอบรมไม่ได้คาดหวังให้ผู้ปฏิบัติงาน หัวหน้างานหรือผู้จัดการ สามารถวินิจฉัยโรคหรือรักษา WMSDs เพียงแต่ต้องการปลูกฝังความเข้าใจว่า ปัญหาด้านสุขภาพประเภทใดที่จะเกี่ยวข้องกับงานที่ทำ และสามารถที่จะประเมินสถานการณ์ด้านสุขภาพได้ การฝึกอบรมควรรวมไปถึงการทำให้ทราบว่างาน หรือกิจกรรมประเภทใด ที่นอกเหนือจากงานที่ทำ เป็นเหตุให้เกิดอาการบาดเจ็บด้านกล้ามเนื้อและโครงกระดูกได้
- การฝึกอบรมควรคำนึงถึงกลุ่มเป้าหมาย คือผู้เข้ารับการฝึกอบรม โดยอุปกรณ์ต่าง ๆ ที่ใช้ในการฝึกอบรม ควรที่จะพิจารณาให้เหมาะสมกับระดับความรู้ของผู้เข้ารับการฝึกอบรม และภาษาที่ใช้ในการฝึกอบรมควรที่จะเข้าใจได้ง่าย
- ผู้ที่ทำการฝึกอบรมหรือวิทยากรมีส่วนสำคัญอย่างมาก ที่จะทำให้การฝึกอบรมสำเร็จตามวัตถุประสงค์ที่วางไว้ ควรเป็นบุคคลที่มีความรู้ความสามารถเพียงพอ กรณีเป็นบุคคลภายในองค์กร ควรเป็นผู้ที่มีความรู้ด้านเออร์โกโนมิกโซลูชัน และเข้าใจดีถึงรายละเอียดลักษณะของกิจกรรมในพื้นที่ปฏิบัติงาน แต่ถ้าเป็นผู้เชี่ยวชาญจากภายนอกองค์กร นอกจากจะมีความรู้ด้านเออร์โกโนมิกโซลูชัน แล้วก่อนทำการฝึกอบรมควรมีการทำความคุ้นเคย หรือรับทราบลักษณะงานในพื้นที่ รวมถึงสิ่งต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับนโยบายของบริษัท เพื่อที่จะได้ปรับเนื้อหาหรือข้อแนะนำในการฝึกอบรมให้เหมาะสมและสัมพันธ์กัน
ขั้นตอนที่ 4: การเก็บรวบรวมข้อมูลและตรวจสอบเหตุการณ์ที่แสดงว่าเกิดปัญหา WMSDs ในพื้นที่ปฏิบัติงาน
เมื่อตัดสินใจที่จะเริ่มต้นโปรแกรมเออร์โกโนมิก ขั้นตอนที่จำเป็น ก็คือ การเก็บรวบรวมข้อมูลเพื่อใช้ในการกำหนดขอบเขตและลักษณะของปัญหาหรือที่คาดว่าจะเป็นปัญหา รวมไปถึงการเลือกใช้เทคนิคและเครื่องมือต่าง ๆ ในการพัฒนาวิธีสำหรับการแจกแจงปัญหา
เครื่องชี้บ่งด้านสุขภาพและการแพทย์ มีดังนี้ คือ
1.การติดตามรายงานของผู้ปฏิบัติงาน
- ต้องมั่นใจได้ว่าผู้ปฏิบัติงานมีอิสระ ในการรายงานลักษณะอาการของความเครียดทางด้านร่างกาย ซึ่งถือว่าเป็นกุญแจสำคัญของโปรแกรมเออร์โกโนมิก ผลการรายงานในระยะเริ่มแรกควรเริ่มพิจารณาแก้ไขมาตรการที่บกพร่อง ก่อนที่จะเกิดผลกระทบอย่างรุนแรงกับงานที่ทำ ความใส่ใจในระยะเริ่มแรกต่อการร้องเรียนของผู้ปฏิบัติงานเกี่ยวกับงานที่ทำ ในส่วนที่มีผลจากความเมื่อยล้าทางด้านร่างกายมากเกินไป ความเครียด และความไม่สะดวกกาย อาจเป็นสัญญาณที่ชี้บ่งถึงปัญหาด้านเออร์โกโนมิก ควรที่จะติดตามรายงานเหล่านี้ โดยเฉพาะอย่างยิ่งรายงานที่เกี่ยวข้องกับ WMSDs ซึ่งเป็นสิ่งที่จำเป็น รายงานเหล่านี้จะชี้บ่งถึงความจำเป็นในการประเมินงานที่ทำ เพื่อที่จะระบุถึงปัจจัยเสี่ยงด้านเออร์โกโนมิก ซึ่งอาจนำไปสู่ปัญหาของ WMSDs โดยเทคนิคในการประเมินงานที่ทำนี้ จะมีการกล่าวถึงในภายหลัง
2 ทบทวนบันทึกข้อมูลที่มีอยู่
- ตรวจสอบข้อมูลด้านการบาดเจ็บและการป่วยจากบันทึกข้อมูลที่มีอยู่ เช่น ค่าชดเชยพนักงานที่บาดเจ็บ ค่าประกัน การลาป่วย และการขอย้ายแผนก หรือรายงานการตรวจสุขภาพประจำปีของบริษัท ซึ่งจะทำให้ทราบถึงลักษณะของปัญหา WMSDs เพื่อที่จะได้เข้าไปศึกษาถึงปัจจัยเสี่ยงเหล่านั้นอย่างทันท่วงที
3 การสำรวจอาการ
- การสำรวจอาการหรือการสัมภาษณ์จะช่วยในการระบุความเป็นไปได้ของปัญหา WMSDs ซึ่งบางทีก็ไม่ทันสังเกตเห็น ในส่วนของการสัมภาษณ์ ควรเพิ่มคำถามเกี่ยวกับชนิด การเริ่มมีอาการและระยะเวลาของอาการ แบบฟอร์มสำรวจอาการ ควรที่จะรวมส่วนต่าง ๆ ของร่างกายที่จะชี้ความเชื่อมโยงถึงตำแหน่งและอัตราของระดับความรู้สึกไม่สะดวกกายจากการทำงานที่ได้ประสบมาบนส่วนที่แตกต่างกันของร่างกายผู้ปฏิบัติงาน โดยมีข้อสันนิษฐานว่า ความรู้สึกไม่สะดวกกาย หรืออาการเหล่านั้น น่าจะเชื่อมโยงกับการเพิ่มความเสี่ยงของ WMSDs
- ข้อด้อยของแบบสอบถามสำรวจอาการ คือ ความเชื่อมั่นในผลการรายงาน ปัจจัยอื่น ๆ นอกเหนือจากการปรากฏหรือไม่ปรากฏของ WMSDs อาจมีอิทธิพลต่อการรายงาน รวมถึงการวิเคราะห์และการแปลความหมายของแบบสอบถาม ซึ่งอาจทำให้สับสนได้ ดังนั้น ควรใช้คำถามที่ชัดเจนและเกี่ยวข้องโดยตรงกับลักษณะเฉพาะของงานที่ทำ การได้ข้อมูลจากการสำรวจอาการ จะช่วยในการแจกแจงลักษณะงาน หรือองค์ประกอบของงานที่ทำอยู่ สามารถนำไปวิเคราะห์เออร์โกโนมิกได้อย่างถูกต้อง
แบบฟอร์มการสำรวจอาการ จะทำให้ได้ข้อมูลที่จะแจกแจงส่วนต่าง ๆ ของร่างกาย ที่มีแนวโน้มจะเพิ่มระดับความไม่สะดวกกาย อันเป็นผลมาจากการออกแบบสภาพแวดล้อมการทำงานที่ไม่เหมาะสม โดยวิธีการกรอกแบบฟอร์มนั้นต้องไม่ระบุชื่อของผู้ให้ข้อมูล และไม่มีการบังคับให้ทำแบบสำรวจ นอกจากนี้ผู้ปฏิบัติงานควรที่จะกรอกแบบฟอร์มด้วยตัวเอง แต่ถ้าผู้ปฏิบัติงานไม่เข้าใจ ผู้รับผิดชอบในการสำรวจจึงค่อยทำการจัดกลุ่มผู้ปฏิบัติงาน แล้วอธิบายถึงรายละเอียดของแบบฟอร์มนั้น ๆ
สิ่งที่ยากอีกประการหนึ่ง ในการวิเคราะห์ข้อมูลที่ได้จากการสำรวจอาการ ก็คือ การเลือกว่าการตอบสนองใดบนแบบสอบถาม ที่จะบ่งชี้ถึงปัญหาซึ่งต้องทำการประเมินต่อไป วิธีหนึ่งที่ใช้คือการตรวจนับคะแนนในแต่ละหัวข้อจากแบบสอบถาม โดยเรียงลำดับจากมากที่สุดจนถึงน้อยที่สุด
จากจำนวนและความรุนแรงของการร้องเรียนที่เกี่ยวข้องกับส่วนต่าง ๆ ของร่างกายของผู้ปฏิบัติงาน ผลจากคะแนนหรือลำดับจำนวนและความรุนแรงที่มีการร้องเรียนมากที่สุด จะถือว่าเป็นหัวข้อแรกที่ต้องมีการวิเคราะห์ปัจจัยเสี่ยงในงานที่ทำ และพิจารณากำหนดมาตรการลดความเสี่ยงนั้น นอกจากนั้นยังต้องมีการสำรวจอาการซ้ำโดยใช้แบบฟอร์มเดิม เพื่อที่จะตรวจสอบดูว่ามาตรการที่ใช้แก้ปัญหาได้ผลหรือไม่ โดยทำการสำรวจ 1 เดือนให้หลังจากการสำรวจในครั้งแรก และควรที่จะทำการสำรวจในวัน เวลา ของเดือนที่พ้องกันกับการสำรวจในครั้งแรก เช่น สำรวจครั้งแรกในเวลาเช้าวันจันทร์ต้นเดือน การสำรวจในครั้งต่อมาต้องเหมือนกัน เพราะการสำรวจในเวลาเช้าวันจันทร์เทียบกับเวลาบ่ายวันศุกร์อาจให้ข้อมูลที่ผิดเพี้ยน เนื่องจากแรงจูงใจของผู้ปฏิบัติงานจะต่างกัน
ดัชชนีอีกตัวหนึ่งที่จะชี้บ่งได้ว่าเกิดปัญหา WMSDs ขึ้นแล้ว ก็คือ
(เป็นตัวเลขจำนวนชั่วโมงทั้งหมดของการปฏิบัติงานของผู้ปฏิบัติงาน 100 คน/ ปี โดยประมาณว่าผู้ปฏิบัติงาน 1 คน มีจำนวนชั่วโมงการทำงานทั้งหมด 2,000 ชั่งโมง / ปี)
ตัวอย่างการคำนวณ เช่น
A. โรงงานผลิตผลิตภัณฑ์อิเล็กทรอนิกขนาดเล็กแห่งหนึ่ง มีพนักงานฝ่ายผลิตที่ทำงานเต็มเวลาโดยเฉลี่ยประมาณ 125 คน ในจำนวนนี้แยกเป็นแผนกประกอบแผงวงจร 75 คน และประกอบผลิตภัณฑ์ 50 คน จากการตรวจสอบข้อมูลบันทึกด้านการแพทย์ของบริษัทพบว่า ในปี 2003 ระบุว่ามีพนักงานจำนวน 20 คน มีอาการปวดบริเวณมือและข้อมือ โดยแยกเป็นผู้ที่ทำงานด้านการเดินสายแผงวงจร จำนวน 14 คน และอีก 6 คน ทำด้านการประกอบแผงวงจร จากข้อมูลบันทึกด้านการแพทย์ของบริษัท ในปี 2004 ระบุว่าพบเหตุการณ์เช่นเดียวกันซึ่งเกิดขึ้นใหม่ 5 กรณี โดยเป็นการทำงานเดินสายแผงวงจร 4 และอีก 1 เป็นการทำงานด้านประกอบผลิตภัณฑ์
B. จากข้อมูลเบื้องต้นในปี 2003 ระบุว่ามีเหตุการณ์ 20 กรณีของ WMSDs และเกิดเหตุการณ์ใหม่ 5 กรณี ในปี 2004 ดังนั้นในระยะเวลา 2 ปี มีเหตุการณ์รวม 25 กรณี
จากตัวอย่างข้อมูล A และ B แสดงให้เห็นว่ามีงานมากกว่า 1 งานที่เกี่ยวข้องกับสาเหตุการเกิด WMSDs และจากการคำนวณพบว่าส่วนต่างของ IR และ PR มากกว่า 2 เท่า เป็นการระบุหรือชี้บ่งว่าควรที่จะมีการประเมินเพื่อกำหนดมาตรการแก้ปัญหาที่เกิดขึ้น
เอกสารอ้างอิง
Elements of Ergonomics Programs : A primer Based on Workplace Evaluations of Musculoskeletal Disorders by Alexander L.Cohen,Christopher C.Gjessing,Lawrence J.Fine,Bruce P.Bernard,James d.McGlothlin;U.S.Department of Health and Human Services,Public Health Service,Centers for Disease Control and Prevention,National Institute for Occupational Safety and Health.
สงวนลิขสิทธิ์ ตามพระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ พ.ศ. 2539 www.thailandindustry.com
Copyright (C) 2009 www.thailandindustry.com All rights reserved.
ขอสงวนสิทธิ์ ข้อมูล เนื้อหา บทความ และรูปภาพ (ในส่วนที่ทำขึ้นเอง) ทั้งหมดที่ปรากฎอยู่ในเว็บไซต์ www.thailandindustry.com ห้ามมิให้บุคคลใด คัดลอก หรือ ทำสำเนา หรือ ดัดแปลง ข้อความหรือบทความใดๆ ของเว็บไซต์ หากผู้ใดละเมิด ไม่ว่าการลอกเลียน หรือนำส่วนหนึ่งส่วนใดของบทความนี้ไปใช้ ดัดแปลง โดยไม่ได้รับอนุญาตเป็นลายลักษณ์อักษร จะถูกดำเนินคดี ตามที่กฏหมายบัญญัติไว้สูงสุด