ไม่ว่าใครจะมอง "กองทุนพัฒนาชุมชนรอบโรงไฟฟ้า" อย่างไร มันก็ได้ดำเนินการอย่างเป็นทางการแล้วตั้งแต่เดือนกรกฎาคม 2550 ปัจจุบันมีกองทุนที่ดำเนินการแล้วทั้งหมด 72 กองทุน การตั้งเงินกองทุนเป็นสิ่งที่โรงไฟฟ้าทำเพื่อตอบสนองต่อความต้องการด้านสุขภาพและสิ่งแวดล้อมของชาวบ้าน แต่นั่นจะเป็นทางออกที่ช่วยแก้ปัญหาได้จริงหรือ
เป็นเวลาร่วม 1 เดือนเต็มที่ชาวบ้านนับพันคนจากกลุ่มสมัชชาคนจน ที่ได้รับผลกระทบจากกรณีปัญหาเขื่อนหัวนา เขื่อนราษีไศล ได้ยึดสันเขื่อนเป็นที่กินอยู่หลับนอน เพื่อทวงถามความจริงใจจากรัฐบาลในการแก้ปัญหาที่ยืดเยื้อยาวนานกว่า 16 ปี การต่อสู้ครั้งนี้จะเป็นครั้งสุดท้ายหรือไม่?
ทุกวันนี้เว็บไซต์ประเภท Search Engine ที่ได้รับความนิยมมากที่สุดเห็นจะหนีไม่พ้นเว็บของกูเกิล "กูเกิล" นับเป็นบริษัทที่ทรงอิทธิพลมากที่สุดแห่งหนึ่งในเศรษฐกิจแบบดิจิตอล (Digital Economy) ตลอดเวลาสิบปีที่ผ่านมา "กูเกิล" ได้กลายเป็นหนึ่งในสามบริษัทชั้นนำของโลกอุตสาหกรรมซอฟต์แวร์คอมพิวเตอร์และอินเตอร์เน็ต
ข่าว สวทช.จดสิทธิบัตรยีนข้าวหอมมะลิในอเมริกาสำเร็จ ทำให้คนเข้าใจว่าข้าวหอมมะลิจะเป็นของคนไทยตลอดไป จากนั้นอลงกรณ์ พลบุตร รีบสั่งให้รับจดสิทธิบัตรยีนข้าวหอมมะลิในไทย และรับจดสิทธิบัตรพันธุ์พืชพันธุ์สัตว์ทุกชนิด ดูเหมือนจะเป็นเรื่องดี....แต่นี่คืออีกด้านหนึ่งของเหรียญ
ผลประโยชน์ทับซ้อนของเจ้าที่ดินรายใหญ่ซึ่งในขณะเดียวกันก็ทำหน้าที่เป็นนักการเมืองผู้พิจารณากฎหมายไปด้วย ทำให้ในขณะนี้เส้นทางของการออกกฎหมายใหม่เพื่อการจัดเก็บภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้างดูจะไม่ราบลื่นนัก และคงต้องติดตามกันต่อไปถึงแผนที่ รมว.คลัง จะชงกฎหมายเข้า ครม. และสภาฯ ส.ค. นี้ ต้องลุ้นว่ากฎหมายนี้จะออกหัว-ออกก้อย
ข้อความเชิญร่วมฉลอง "2,000,000 ชั่วโมง กับการทำงานอย่างปลอดภัย" ของบริษัททรานส์ไทย - มาเลเซีย ประเทศไทยซึ่งเป็นบริษัทเจ้าของโครงการโรงแยกก๊าซไทย-มาเลเซีย พยายามบอกเล่าถึงความรับผิดชอบ ตระหนักถึงความปลอดภัย ใส่ใจสุขภาพและสิ่งแวดล้อม หากแต่ในความเป็นจริงชาวจะนะยังคงเป็นทุกข์ และวิตกกังวลต่อการดำเนินงานของโรงแยกก๊าซที่ไม่ได้เป็นดั่งคำโฆษณาที่สวยหรู
นับตั้งแต่ปี ค.ศ.2000 เป็นต้นมา ดูเหมือนว่าโลกของเราได้เผชิญมหันตภัยหลายต่อหลายเรื่อง ไม่ว่าจะเป็นมหันตภัยทางธรรมชาติ วิกฤตการณ์ทางเศรษฐกิจ ซึ่งหากเราพิจารณาให้ดีแล้วจะรู้ว่ามหันตภัยต่าง ๆ ที่กำลังเกิดขึ้นอยู่นี้ล้วนแล้วแต่มีเหตุปัจจัยมาจากการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมที่ไม่สมดุลทั้งสิ้น "Green New Deal" คำศัพท์ที่จะมีส่วนช่วยกู้วิกฤตเศรษฐกิจโลกครั้งนี้ได้ภายใต้แนวคิดของการพัฒนาแบบยั่งยืน (ตอนที่ 5)
เราเคยสงสัยและตั้งคำถามเสมอมาว่า ทำไมราคาน้ำมันสำเร็จรูป ในภูมิภาคเอเซียจึงถูกกำหนดจากประเทศสิงคโปร์ คำตอบส่วนหนึ่งเพราะประเทศสิงคโปร์สามารถกลั่นน้ำมันได้เท่าๆ กับประเทศไทยแต่การบริโภคเพียงนิดเดียวจึงสามารถส่งออกน้ำมันได้มากกว่าประเทศอื่นๆ ในภูมิภาค วันนี้คนไทยควรเปลี่ยนคำถามใหม่ "ทำไมโรงกลั่นไทยจึงขายน้ำมันแพงกว่าสิงคโปร์?"
ด้วยสภาวะเศรษฐกิจถดถอยในปัจจุบัน องค์กรต่าง ๆ จำต้องหากลยุทธ์ในการประคับประคองบริษัททุกรูปแบบ วิธีการอย่างหนึ่งที่หลายบริษัทเลือกทำก็คือ พยายามเก็บรักษาเงินสดและสภาพคล่อง หาทางลดค่าใช้จ่ายด้วยมาตรการต่าง ๆ ไม่เว้นแม้กระทั่งการลดงบประมาณด้านไอที ซึ่งถือว่าเป็นเครื่องมือสำคัญในการช่วยองค์กรลดค่าใช้จ่ายและเพิ่มผลผลิตรวมทั้งประสิทธิภาพการทำงานโดยรวมในระยะยาว
รัฐไทยมีความพยายามที่จะออกกฎหมายเพื่อการปฏิรูปที่ดิน เพื่อการจำกัดการถือครองที่ดินให้เหมาะสมกับสภาพการใช้งานมาหลายยุคหลายสมัย ถือเป็นกฎหมายที่เป็นความหวังของชาวบ้านที่จะได้มีที่ดินทำกินอย่างเท่าเทียมกัน แต่แรงสนับสนุนของชาวบ้านหรือจะสู้แรงเงินและแรงอำนาจของนายทุนและนักการเมือง
กล่าวกันว่ากระแสโลกาภิวัฒน์ได้เปลี่ยนแปลงโลกของเราให้กลายเป็นโลกที่เล็กลงนะครับ แต่ละประเทศเปรียบเสมือน "หมู่บ้านหนึ่ง" บนแผนที่โลกที่สามารถเชื่อมโยง ติดต่อสื่อสารกันได้อย่างรวดเร็ว โลกาภิวัฒน์เติบโตได้ก็ด้วยแรงหนุนเนื่องจากการพัฒนาเทคโนโลยีสารสนเทศ ด้วยเหตุนี้เองคอมพิวเตอร์จึงกลายเป็นปัจจัยที่หกของชีวิตในศตวรรษที่ 21 ไปแล้ว (ตอนที่ 4)
ท่ามกลางความขัดแย้งอมตะระหว่าง "โรงไฟฟ้า" และ "ชาวบ้าน" ในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมา นอกจากการรวมกลุ่มของประชาชนเจ้าของพื้นที่ประท้วงต่อรองกับรัฐและเอกชนแล้ว เราจะเห็นเครื่องมือใหม่ ๆ ที่รัฐผลักดันออกมาแก้ปัญหาคือ "กองทุนพัฒนาชุมชนรอบโรงไฟฟ้า"
ทุกประเทศทั่วโลกขณะนี้กำลังเผชิญกับปัญหาเศรษฐกิจถดถอยและปัญหาปากท้องของประชาชนภายในประเทศ ทุกรัฐบาลเกือบทุกประเทศกำลังหามาตรการต่างๆนำมาใช้ทุกรูปแบบเพื่อบรรเทาความเดือดร้อนจากพิษเศรษฐกิจถดถอย ไต้หวันเองก็ประสบกับสภาวะเศรษฐกิจที่ถดถอยทั้งภายในและภายนอกประเทศไม่น้อยไปกว่าประเทศอื่น ๆ
กว่า 2 ปีแล้วที่สถานการณ์ความขัดแย้งในพื้นที่ป่าพรุแม่รำพึงยังไม่มีทีท่าว่าจะจบลงด้วยดี ระหว่างคน 2 กลุ่มที่มีความเห็นต่างกันอย่างสิ้นเชิงต่อโครงการ "โรงถลุงเหล็ก" กลุ่มหนึ่งคือชาวบ้าน นักวิชาการ และองค์กรพัฒนาเอกชนที่ยืนหยัดคัดค้าน เพราะปัญหาต่างๆ ล้วนเกิดขึ้นเป็นที่ประจักษ์มาตั้งแต่ปี 2532 อีกกลุ่มเป็นกลุ่มทุนโลกาภิวัตน์ ที่พยายามเดินหน้าโครงการ สร้างผลกำไรสูงสุดโดยการใช้ทรัพยากรในท้องถิ่นเป็นฐานการผลิต
ความเปลี่ยนแปลงของระบบการผลิตภายหลังการยุคปฏิวัติเขียว และการปฏิวัติอุตสาหกรรมทำให้จังหวะชีวิตในการบริโภคของมนุษย์ได้เปลี่ยนแปลงไปอย่างมาก นานมาแล้วที่วิธีการผลิตกับวิธีการบริโภค รวมถึงกลไกทางการตลาด -.อุปสงค์อุปทานไม่ได้ทำหน้าที่อย่างสมดุล และเป็นไปตามธรรมชาติอีกต่อไป
วิกฤตโลกเกิดขึ้นและเข้าสู่วิกฤตร้ายแรง อย่างที่ไม่เคยเห็นมาตั้งแต่ยุค 2475 วิกฤตนี้พัฒนาไปภายในโครงสร้างและนโยบายเศรษฐกิจตลาดเสรีที่รัฐต่างๆ นำมาใช้ตั้งแต่คริสต์ทศวรรษที่ 70 และ 80 โดยเฉพาะในเรื่องการลดการควบคุมตลาดโดยรัฐ และการเปิดโอกาสให้มีการพนันหุ้นและราคาสินค้าข้ามพรมแดน
นิคมอุตสาหกรรม จ.นครศรีธรรมราช เป็นอีกหนึ่งโครงการใหญ่ยักษ์ภายใต้กรอบเซาเทิร์นซีบอร์ด และแลนบริดจ์ ทว่าโครงการใหญ่ยักษ์นี้ กำลังจะเดินหน้าต่อไปท่ามกลางความข้องใจและกังวลใจของชาวบ้านในพื้นที่จำนวนมากว่าการมีส่วนร่วมของคนในท้องถิ่น ในการกำหนดอนาคตและทิศทางการพัฒนาเพื่อท้องถิ่นและเพื่อประเทศนี้อยู่ตรงไหน?