เนื้อหาวันที่ : 2009-05-29 17:19:14 จำนวนผู้เข้าชมแล้ว : 2580 views

การเยียวยาวิกฤตเศรษฐกิจของรัฐบาลไต้หวัน

ทุกประเทศทั่วโลกขณะนี้กำลังเผชิญกับปัญหาเศรษฐกิจถดถอยและปัญหาปากท้องของประชาชนภายในประเทศ ทุกรัฐบาลเกือบทุกประเทศกำลังหามาตรการต่างๆนำมาใช้ทุกรูปแบบเพื่อบรรเทาความเดือดร้อนจากพิษเศรษฐกิจถดถอย ไต้หวันเองก็ประสบกับสภาวะเศรษฐกิจที่ถดถอยทั้งภายในและภายนอกประเทศไม่น้อยไปกว่าประเทศอื่น ๆ

สมาน เหล่าดำรงชัย
ศูนย์วิจัยการย้ายถิ่นแห่งเอเชีย สถาบันเอเชียศึกษา จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

.

ทุกประเทศทั่วโลกขณะนี้กำลังเผชิญกับปัญหาเศรษฐกิจถดถอยและปัญหาปากท้องของประชาชนภายในประเทศ ซึ่งทุกรัฐบาลเกือบทุกประเทศกำลังหามาตรการต่างๆนำมาใช้ทุกรูปแบบเพื่อบรรเทาความเดือดร้อนจากพิษเศรษฐกิจถดถอย โดยเฉพาะการแก้ไขปัญหาเศรษฐกิจไต้หวันเองก็ประสบกับสภาวะเศรษฐกิจที่ถดถอยทั้งภายในและภายนอกประเทศ    

.

รัฐบาลไต้หวันพยายามหามาตรการในการแก้ไขปัญหาทั้งเฉพาะหน้าและวางแผนระยะยาว อย่างไรก็ตาม สิ่งแรกที่รัฐบาลไต้หวันซึ่งนำโดยประธานาธิบดีหม่า อิง จิ่ว ได้กำกับการนำมาตรการแก้ไขปัญหาเศรษฐกิจเฉพาะหน้าภายในประเทศ ด้วยการแจกคูปองสำหรับซื้อสินค้ามีมูลค่าทั้งสิ้น 3,600 ดอลลาร์ไต้หวัน หรือเท่ากับ 109 ดอลลาร์สหรัฐ และคูปองนี้ไม่สามารถแลกเป็นเงินสดได้  

.

นอกจากนั้นคูปองนี้ได้แจกจ่ายให้กับประชาชนทั่วทั้งเกาะไต้หวัน ซึ่งรัฐบาลไต้หวันคาดหวังว่าการแก้ปัญหาเศรษฐกิจเฉพาะหน้านี้จะช่วยบรรเทาความเดือดร้อน กระตุ้นและฟื้นฟูเศรษฐกิจภายในไต้หวันให้ดีขึ้นกว่าเดิม และนอกจากการออกมาตรการเฉพาะหน้านี้แล้ว หลายๆ กระทรวงของไต้หวันยังได้มีแผนการดำเนินการต่างๆ ที่จะฟื้นฟูเศรษฐกิจเช่นกัน ซึ่งมีทั้งแผนระยะสั้นและระยะยาว ดังต่อไปนี้

.

สภาแรงงานไต้หวัน มีแผนงานที่จะลดอัตราการว่างงานที่กำลังทวีเพิ่มสูงขึ้นโดยได้เริ่มโครงการสร้างงานระยะสั้น จำนวน 117,000 ตำแหน่งโปรแกรมนี้มีกำหนดที่จะดำเนินงานในเดือนสิงหาคม 2552 รัฐบาลไต้หวันจะใช้เงินลงทุนเพื่อโปรแกรมนี้ราว 9,062 พันล้านดอลลาร์ไต้หวันหรือเท่ากับ 292 ล้านดอลลร์สหรัฐ เพื่อสร้างงานและฝึกอบรมแรงงานด้วย

.

นอกจากนี้สภาแรงงานยังมีแผนเร่งด่วนที่จะอนุญาตให้บริษัทที่ได้รับการจดทะเบียนถูกต้องตามกฏหมายได้รับค่าตอบแทน โดยมีเงื่อนไขคือเมื่อบริษัทเหล่านี้ได้ดำเนินการว่าจ้างแรงงานท้องถิ่นชาวไต้หวันเข้ามาทำงานมาแล้วเป็นเวลา 90 วันเพียงแต่ขณะนี้สภาแรงงานไต้หวันยังไม่ได้ระบุค่าตอบแทนที่บริษัทเหล่านี้จะได้รับ นอกจากนั้น สภาแรงงานจะให้ความสนุบสนุนเงินกู้จำนวน 100,000 ดอลลาร์ไต้หวัน หรือเท่ากับ 3,030 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ให้กับคนงานท้องถิ่นชาวไต้หวันที่ต้องการความช่วยเหลือจากโปรแกรมนี้อีกด้วย

.

อย่างไรก็ตาม โปรแกรมนี้เริ่มมาตั้งแต่เดือนธันวาคม 2551 ที่ผ่านมากระทรวงมหาดไทยไต้หวัน มีแผนงานช่วยเหลือครัวเรือนที่มีรายได้ต่ำที่ได้รับผลกระทบจากพิษเศรษฐกิจถดถอย โดยตั้งแต่เดือนสิ่งหาคม 2552 เป็นต้นไป

.

กระทรวงมหาดไทยไต้หวันได้จัดตั้งโปรแกรมสำหรับดูแลและให้ความสนับสนุนการช่วยเหลืออุดหนุนเร่งด่วน ด้านการเงินกับครอบครัวที่มีความเป็นอยู่ยากจน แต่ยังไม่ได้รับความช่วยเหลือจากรัฐบาล

.

ซึ่งผลปรากฏว่ามีประชาชนจำนวน 290,000 คน จาก 96,000 ครอบครัว ทั่วไต้หวันได้มาขอรับเงินอุดหนุนจำนวน 10,000-30,000 ดอลลาร์ไต้หวัน (ราว 303-909 ดอลลาร์สหรัฐ) ต่อครัวเรือนต่อเดือน

.

อย่างไรก็ตาม รัฐบาลไต้หวันได้เสนอเงินอุดหนุนนี้เป็นจำนวนเงินทั้งสิ้น 13.5 พันล้านดอลลาร์ไต้หวัน (409 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ) เพื่อนำมาช่วยเหลือคนงานชาวไต้หวันที่มีความเป็นอยู่ยากจนทั้งสิ้นจำนวน 450,000 คน

.

นอกจากนั้นเศรษฐกิจถดถอยยังได้ส่งผลให้หญิงชราไต้หวันออกมาหางานทำมากขึ้น เพื่อรองรับจำนวนผู้ว่างงานที่มีอัตราสูงขึ้นเรื่อยๆ ในปี 2552 นี้ กรมฝึกอาชีพคณะกรรมการแรงงาน (Council of Labour Affaires) ของไต้หวัน ได้เพิ่มปริมาณการฝึกอบรมอาชีพเพิ่มขึ้นร้อยละ 25
 ในช่วงที่ผ่านมา ซึ่งพบว่า นโยบายนี้ได้ดึงดูดให้แม่บ้านที่แต่เดิมไม่คิดจะหางานทำสมัครเข้ารับการฝึกอบรมมากขึ้น เพราะคิดอาศัยการช่วยเหลือของรัฐบาลกลับเข้าสู่ตลาดงานใหม่อีกครั้ง

.

จากสถิติ ในปี 2002 ตลาดงานของไต้หวันมีสัดส่วนของสตรีร้อยละ 46.6 จากความพยายามในช่วง 6 ปีที่ผ่านมา ทำให้สัดส่วนของสตรีในตลาดงานเพิ่มมากขึ้นทุกปี โดยมีสัดส่วนร้อยละ 49.7 ในปี 2551

.

อย่างไรก็ตาม แม้ว่าตลาดงานในไต้หวันมีสัดส่วนของสตรีเพิ่มากขึ้นแต่ยังมีสัดส่วนต่ำกว่าประเทศต่างๆ ในภูมิภาคเอเชีย เช่น เกาหลีใต้ สิงคโปร์ ฮ่องกง ซึ่งสูงกว่าญี่ปุ่นเท่านั้นเมื่อเทียบกับประเทศยุโรปและอเมริกา ที่สตรีมีสัดส่วนในตลาดงานสูงถึงร้อยละ 60-70 นั้น ซึ่งยังนับได้ว่าเป็นสัดส่วนที่ค่อนข้างต่ำ

.

นอกจากนั้นจากสถิติของกรมประกันสังคม คณะกรรมการแรงงานระบุว่า ที่ผ่านมาจำนวนผู้ขอรับเงินช่วยเหลือเนื่องจากว่างงานมีจำนวนประมาณเดือนละ 27,000 คน และเดือนกันยายน 2551 เพิ่มขึ้นถึง 29,000 คน เดือนธันวาคม เพิ่มเป็น 67,000 คน เดือนมกราคม 2552 เพิ่มเป็น 72,000 คน เดือนกุมภาพันธ์เพิ่มเป็น 120,000 คน และเดือนมีนาคม 124,000 คน

.

อย่างไรก็ตาม ในเดือนเมษายน 2552 ได้ลดลงเหลือ 114,000 คน ซึ่งแสดงให้เห็นว่าอัตราการว่างงานภายในไต้หวันมีแนวโน้มลดลง ในขณะเดียวกันรัฐบาลไต้หวันก็ได้ดำเนินการด้านต่างประเทศ เพื่อช่วยกระตุ้นเศรษฐกิจภายนประเทศ ดังนี้คือ ด้านความสะมพันธ์ทางด้านการค้าการลงทุนกับประเทศจีน เมื่อนายหม่า อิง จิ่ว ขึ้นตำราตำแหน่งประธานาธิบดี ได้มีการเชื่อมความสัมพันธ์กับจียมากขึ้น ถึงแม้จะขัดกับนโยบายในขณะที่หาเสียงก็ตาม แต่เพื่อการแก้ไขปัญหาทางด้านเศรษฐกิจและเห็นประโยชน์จากการกระชับความสัมพันธ์กับจีนในการกระตุ้นภาวะเศรษฐกิจถดถอยในไต้หวัน

.

ซึ่งการกระตุ้นเศรษฐกิจประการแรกคือ มูลนิธิการแลกเปลี่ยนและความสัมพันธ์ช่องแคบไต้หวัน (ของไต้หวัน) และสมาคมความสัมพันธ์ในช่องแคบไต้หวัน (ของจีน) ลงนามข้อตกลงเปิดสายการบินตรงจากไต้หวันไปจีน และจีนไปไต้หวันโดยไม่ต้องบินแวะที่ฮ่องกงอีก

.

ซึ่งสายการบินและเรือสินค้าที่ข้ามตรงต่อกันระหว่างจีนและไต้หวันเริ่มขึ้นเมื่อวันที่ 15 ธันวาคม 2551 ที่ผ่านมา และได้รับกระแสการตอบรับที่ดีจากนักธุรกิจของทั้งสองฝ่าย เนื่องจากสามารถลดต้นทุนในการขนส่งและระยะเวลาในการเดินทางสั้นและสะดวกขึ้น ซึ่งจากสถิติของกระทรวงคมนาคมไต้หวันรายงานว่า จากการที่เปิดเส้นทางโดยตรงเป็นการลดต้นทุนด้านคมนาคมและขนส่งได้อย่างน้อยเป็นมูลค่า 4.53 พันล้านดอลลาร์ไต้หวัน (137 ล้านดอลลาร์สหรัฐ)        

.

ทั้งนี้ นโยบายขยายความสัมพันธ์ด้านการค้าการท่องเที่ยว และการขนส่งกับจีนเป็นหนึ่งในนโยบายที่มีขึ้นมาสมัยประธานาธิบดี เฉิน สุย เปี่ยน ก่อนหน้านี้แล้ว แต่ไม่ได้ดำเนินการอย่างเป็นรูปธรรมมากนัก เนื่องจากอดีตประธานธิบดีเฉินมีนโยบายต้องการให้ไต้หวันแยกตัวเป็นเอกราชจากจีน ทำให้ดำเนินการสมัยนั้นไม่ต่อเนื่องและนโยบายความสัมพันธ์ขาดความไว้เนื้อเชื่อใจกัน

.

นอกจากนั้นรัฐบาลไต้หวันมีนโยบายเปิดให้นักท่องเที่ยวจีนเดินทางเข้ามาไต้หวันท่องเที่ยวได้ ซึ่งเป็นครั้งแรกในประวัติศาสตร์ หลังจากไต้หวันกับจีนปิดกั้นการไปมาหาสู่กันเป็นระยะเวลานานถึง 50 ปี

.

ในอดีตนั้นนักท่องเที่ยวส่วนใหญ่จะเป็นชาวไต้หวันที่เป็นฝ่ายเดินทางเข้าไปท่องเที่ยวในจีนมากกว่า เนื่องจากต้องการไปเยี่ยมเยียนญาติพี่น้อง และกลับสู่ภูมิลำเนาเดิมที่ประเทศจีน เพื่อกราบไหว้บรรพบุรุษ

.

อย่างไรก็ตาม จากประวัติศาสตร์ของจีนพบว่าไต้หวันกับจีนไม่ได้ติดต่อกันโดยตรงมานานนับตั้งแต่ปี 2490 เป็นต้นมาหลังสงครามกลางเมืองสิ้นสุดลง และรัฐบาลจีนคณะชาติได้ถอยร่นมาตั้งรัฐบาลสาธารณรัฐจีนขึ้นที่ไต้หวัน โดยการนำของนายพลเจียง เจี้ย สือ (หรือที่เราคุ้นเคยกับชื่อเรียกว่า นายพลเจียงไคเช็ค)

.

นับตั้งแต่ปี 2007 เป็นต้นมา หลังจากที่ประเทศจีนได้ออกกฎหมายด้นภาษีนำเข้าส่งออกและกฎหมายแรงงานฉบับใหม่ ซึ่งกฎหมายสองฉบับนี้สร้างความไม่พอใจกับนักลงทุนไต้หวันเป็นอย่างมาก เพราะเป็นการปรับเพื่อเอื้อให้นักลงทุนชาวจีนท้องถิ่นมากกว่านักลงทุนต่างชาติและกอปรกับมีการแข่งขันทางการค้าในประเทศจีนมากขึ้นทำให้นักลงทุนชาวไต้หวันในมณฑลต่างๆ เริ่มไม่มั่นใจและขาดเสถียรภาพทางการค้าทางลงทุน

.

ซึ่งนักธุรกิจชาวไต้หวันบางส่วนหันไปลงทุนในประเทศอื่นเช่น ประเทศเวียดนาม และนักธุรกิจชาวไต้หวันบางส่วนเดินทางกลับไต้หวัน นโยบายนี้ที่เริ่มมีขึ้นตั้งแต่มีการหลั่งไหลของนักลงทุนไต้หวันไปสู่ต่างประเทศจำนวนมากและรัฐบาลต้องการให้นักลงทุนไต้หวันได้กลับมาพัฒนาธุรกิจไต้หวันมากยิ่งขึ้น

.

แต่ถึงกระนั้นนโยบายนี้ไม่ได้ผลมากเท่าที่ควร และถึงแม้ว่ารัฐบาลไต้หวันจะให้การสนับสนุนทั้งเงินทุนและผลประโยชน์ต่างๆ ที่จะได้รับ แต่เนื่องจากตลาดในไต้หวันไม่ใหญ่เท่าจีน กอปรกับข้อจำกัดของวัตถุดิบภายในประเทศและแรงงานจีนหรือแรงงานในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ทำให้นักลงทุนไต้หวันยังคงนิยมไปลงทุนในจีนอยู่ 

.

แม้ว่าการเยียวยาเศรษฐกิจของรัฐบาลไต้หวันด้วยการกระชับความสัมพันธ์กับจีนก็ไม่ได้เป็นไปอย่างราบรื่นนัก เนื่องจากพรรคฝ่ายค้านคือพรรคดีพีพีหรือพรรคประชาธิปไตยก้าวหน้ายังคงเดินหน้าประท้วงด้วยเหตุผล 3 ประการคือ ปกป้องอธิปไตยของไต้หวัน แก้ไขปัญหาว่างงานและปกป้องผู้อ่อนแอ การชุมนุมประท้วงครั้งนี้เริ่มขึ้นในวันที่ 17 พฤษภาคมที่ผ่านมา นำโดยหัวหน้าพรรคดีพีพีนาง ไช่ อิง เหวิน

.

แต่การชุมนุมประท้วงไม่ได้ส่งผลกระทบต่อการดำเนินงานของรัฐบาลแต่อย่างไร เนื่องจากรัฐบาลไต้หวันชุดนี้ยังสามารถทำให้ประชาชนไต้หวันเห็นว่ามีศักยภาพในการแก้ไขเยียวยาเศรษฐกิจภายในและภายนอกไต้หวันได้ และยังไม่เกิดปัญหาของการคอร์รัปชั่นภายในรัฐบาลอีกด้วย

.

ในส่วนของการท่องเที่ยวพบว่า ผลกระทบมาจากโรคไข้หวัดใหญ่สายพันธ์ใหม่ นายจาง ผิง เจ่า ประธานหอการค้าไต้หวันระบุว่า หลังจากการระบาดของโรคซาร์สในปี 2546 ทำให้ขณะนั้นธุรกิจโรงแรมที่พัก ก่อสร้างและอสังหาริมทรัพย์ และธุรกิจอื่นๆ อีกจำนวนมาก ประสบกับภาวะซบเซาอย่างหนัก

.

ขณะนี้ทั่วโลกจ่างกังวลว่า หากโรคไข้หวัดใหญ่ H1N1 เกิดการระบาดขยายวงกว้างออไปมากยิ่งขึ้น จะทำให้เศรษฐกิจโลกที่กำลังฟื้นตัว ได้รับผลกระทบไม่มากก็น้อย อย่างไรก็ตาม เชื่อว่าจากประสบการณ์ของไต้หวันในเรื่องโรคซาร์สครั้งที่แล้ว จะทำให้ไต้หวันเตรียมความพร้อมรับมือและป้องกันได้ดีกว่าเดิม 

.

นายซิว เจิ้ง โสง รองนายกรัฐมนตรีสภาบริหารไต้หวัน มีความเห็นว่า ขณะนี้ไต้หวันมีรายงานว่าพบผู้ต้องสงสัยว่าจะติดเชื้อไข้หวัดดังกล่าวแล้วจำนวน 3 ราย โดยทั้งสามรายนี้เป็นชาวไต้หวันที่เดินทางมาจากประเทศสหรัฐอเมริกา

.

อย่างไรก็ตาม การระบาดของไข้หวัดใหญ่ H1N1 นี้ไม่ได้ส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจภายในไต้หวันมากนัก เนื่องจากเคยมีประสบการณ์การระบาดจากโรคซาร์สเมื่อ 6 ปีก่องมาแล้ว (ข้อมูลจากเว็บไซต์ของสถานีวิทยุ Radio Taiwan International) และเมื่อวันที่ 8 พฤษภาคม 2552 ที่ผ่านมาไต้หวันได้รับเชิญเข้าร่วมประชุมของสมัชชาใหญ่องค์การอนามัยโลก World Health Assembly (WHA) ครั้งที่ 62 ในฐานะผู้สังเกตการณ์เท่านั้น ซึ่งประเด็นการประชุมเพื่อเพิ่มศักยภาพในการต่อสู่กับภาวะฉุกเฉินทางสาธารณสุขของโลกได้

.
ที่มา : หนังสือพิมพ์มติชนรายวัน