ถึงแม้ว่าทุกวันนี้ อุตสาหกรรมจะพัฒนารุดหน้าไปอย่างรวดเร็ว โดยได้รับการเกื้อหนุนของเทคโนโลยีใหม่ ๆ ที่ก้าวหน้าขึ้น ซึ่งถ้ามองในแง่ของเศรษฐศาสตร์ก็นับเป็นเรื่องที่น่ายินดี แต่ในอีกด้านหนึ่ง อุตสาหกรรมก็ยังถูกท้าทายจากคำถามสำคัญ 2 ประการ คำถามแรกคือ ในอนาคตจะยังมีทรัพยากรธรรมชาติที่เพียงพอสำหรับการผลิตหรือแปรรูปทางอุตสาหกรรมหรือไม่ ? และอุตสาหกรรมจะจัดการกับปัญหาสิ่งแวดล้อมที่รุนแรงและซับซ้อนมากขึ้นอย่างไร ?
ด้วยสภาวะการแข่งขันแห่งศตวรรษใหม่นี้ได้ส่งผลให้ผู้นำองค์กรต้องคิดใหม่ทำใหม่ (Rethinking) ด้วยการทบทวนกลยุทธ์เพื่อนำพาให้ธุรกิจสามารถแข่งขันกับองค์กรอื่นได้อย่างยั่งยืน การสร้างศักยภาพให้กับองค์กรยุคใหม่นี้จึงไม่ใช่เพียงแค่การตัดลดต้นทุนหรือมุ่งการปรับโครงสร้างองค์กร แต่ผู้บริหารจะต้องกำหนดขอบเขตและแนวทางกลยุทธ์อย่างชัดเจนด้วยการจำแนกเป้าหมายทั้งในระยะสั้นและระยะยาว การควบคุมเชิงกลยุทธ์จึงไม่ใช่เพียงแค่การติดตามผลการดำเนินงาน แต่ยังสนับสนุนให้พนักงานสามารถดำเนินการแก้ปัญหาและกำหนดแนวทางปรับปรุงการดำเนินงานอย่างต่อเนื่อง ด้วยเหตุนี้การควบคุมเชิงกลยุทธ์จึงได้มีบทบาทสนับสนุนการสร้างความได้เปรียบในการแข่งขัน (Competitive Advantage)
ลอจิสติกส์ไม่ได้ครอบคุลมแค่การนำส่งคุณค่าแก่ลูกค้าเท่านั้น แต่ประเด็นที่หลายคนมองข้ามไปคือ การบำรุงรักษาทรัพยากรให้ใช้งานได้ตลอดวงจรชีวิตของทรัพยากร และทำให้มีความพร้อมใช้งานอยู่เสมอ มุมมองนี้เป็นมุมมองที่ประเทศเรายังขาดการให้ความสนใจอยู่มาก ในหลาย ๆ ครั้งเราพลาดท่าเสียโอกาสที่เพราะความไม่พร้อมของทรัพยากรนั่นเอง จึงดำเนินการส่งคุณค่าให้กับลูกค้าไม่ได้
ทุกวันนี้ GIS และ GIS-T ได้เข้ามามีบทบาทในชีวิตและการทำงานทั้งในภาครัฐและธุรกิจอุตสาหกรรมโดยหลาย ๆ คนไม่รู้ตัว งานสารพัดแขนง ศาสตร์สารพัดสาขาได้ใช้ประโยชน์จากเครื่องมือและเทคนิคของ GIS กันอย่างกว้างขวาง การวิจัยและพัฒนาทำให้ทั่วโลกเริ่มได้ใช้ฮาร์ดแวร์ ซอฟต์แวร์ และข้อมูลสารสนเทศ GIS ในราคาที่ต่ำลง ซึ่งจะทำให้การใช้งานแพร่หลายยิ่งขึ้นไปอีก
บางคนคิดว่า JIT คือ ระบบการทำงานหรือระบบการผลิต ในมุมมองของผู้เขียน JIT ไม่ใช่ระบบ แต่เป็นคุณลักษณะเชิงลอจิสติกส์ที่สำคัญอย่างหนึ่งของระบบการดำเนินงานทั่วไปคือ ถูกเวลา ถูกสถานที่ ถูกจำนวน และคุณภาพ การที่จะทำให้ระบบการผลิตหรือระบบการทำงานมีลักษณะเป็น JIT นั้น ไม่ได้มีวิธีการเดียว แต่อาจจะมีหลายวิธีการ ขึ้นอยู่กับลักษณะของผลิตภัณฑ์และการบริการ และที่สำคัญคือ อยู่ที่ความต้องการของลูกค้าด้วย เมื่อพิจารณาแล้วระบบ JIT ที่กล่าวถึงกันก็คือ ระบบลีนดี ๆ นี่เอง แล้วทำไมจึงจะต้องมีชื่อหลาย ๆ ชื่อ ทำให้การสื่อความหมายไม่ตรงกัน
รู้เขา-รู้เรา รบร้อยครั้ง ชนะร้อยครั้ง เป็นหลักสุภาษิตจีนที่เป็นประโยคสำคัญในพิชัยสงคราม 13 บทของซุนวู ซึ่งเป็นภูมิปัญญาที่องค์กรในปัจจุบันยังคงนำมาใช้กำหนดกลยุทธ์การบริหาร ไม่เว้นแม้แต่ในแวดวงของ "คนบริหารคน" เพราะองค์กรสามารถเรียนรู้วิธีการจัดการทรัพยากรบุคคลขององค์กรอื่น และนำมาพัฒนาองค์กรของตนไปสู่การเป็นนายจ้างที่คนอยากเข้าทำงานด้วย (Employer of Choice) ปัจจุบันเราเรียกกระบวนการดังกล่าวว่า การเทียบเคียงมาตรฐานการบริหารทรัพยากรบุคคล (HRM Benchmarking)
การบริหารจัดการเป็นส่วนที่สำคัญมากที่สุดในกระบวนการจัดการด้านพลังงาน และการประหยัดพลังงานนับเป็นผลลัพธ์ของการจัดการด้านพลังงาน โดยทั่วไปการบริหารจัดการด้านพลังงานต้องได้รับความร่วมมือจากทุก ๆ ฝ่าย ตั้งแต่เจ้าของ ผู้บริหาร ระดับหัวหน้า และระดับผู้ปฏิบัติการ หรือที่เรียกว่าเป็นการบริหารแบบทุกคนมีส่วนร่วม (Participative Management) ในเมื่อเป็นเรื่องของการมีส่วนร่วมของทุกคน เราควรเริ่มต้นพิจารณาความสำคัญของพลังงาน
เมื่อพูดถึงความเสี่ยง (Risk) เรามักจะคิดถึงความไม่แน่นอนในอนาคตต่าง ๆ ที่ทั้งที่เราคาดหวังไว้และที่เราไม่ได้คาดหวัง และเรามักจะได้ยินคำว่า "ความแน่นอน คือความไม่แน่นอน" นั่นหมายความว่า สิ่งที่มันไม่แน่นอน มันจะเกิดขึ้นแน่ ๆ อย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ แต่ไม่รู้ว่าจะเกิดขึ้นเมื่อไรและบ่อยครั้งแค่ไหน แต่ก็ขึ้นอยู่กับความน่าจะเป็น (Probability) หรือความเป็นไปได้ (Possibility) ที่จะเกิดขึ้นด้วย ยิ่งเหตุการณ์ใดมีความน่าจะเป็นสูงเท่าไร ก็มีโอกาสที่เหตุการณ์นั้นจะเกิดขึ้นมากเท่านั้น
โดยทั่วไปวัตถุประสงค์หลักของการบัญชีบริหารได้ถูกใช้เป็นเครื่องมือสนับสนุนการตัดสินใจให้กับผู้บริหารที่เชื่อมโยงกับกลยุทธ์ระดับองค์กร ซึ่งแนวทางระบบบัญชีบริหารได้แตกต่างจากบัญชีการเงินที่มุ่งจัดทำรายงานทางภาษี จึงทำให้เกิดข้อจำกัดในการวัดประสิทธิภาพและผลประกอบการ ด้วยเหตุนี้ผู้บริหารองค์กรญี่ปุ่นจึงมุ่งปัจจัยอันนำไปสู่การปรับปรุงอย่างต่อเนื่อง
Thomas Pyzdex ผู้เชี่ยวชาญทางด้านคุณภาพ เคยกล่าวไว้ว่า ในการส่งมอบผลิตภัณฑ์หรือบริการที่มีคุณภาพให้กับลูกค้า จะประกอบด้วยองค์ประกอบที่สำคัญ 2 ประการหรือที่เรียกว่า สมการคุณภาพ (Quality การทำในสิ่งที่ถูกต้อง จะหมายถึงการผลิตสินค้าหรือบริการที่ทำให้ลูกค้าเกิดความพึงพอใจหรือประทับใจต่อผลิตภัณฑ์หรือบริการนั้น ๆ ในทางกลับกัน การไม่ทำในสิ่งที่ผิด จะหมายถึงการไม่ทำให้เกิดสิ่งบกพร่องหรือหลีกเลี่ยงการเกิดสิ่งบกพร่อง ที่จะทำให้ลูกค้าเกิดความไม่พึงพอใจ
ชุดอากาศบริการ (Service Unit, FRL) เป็นอุปกรณ์ตัวหนึ่งที่ติดตั้งอยู่กับเครื่องจักรเกือบทุกเครื่องที่ใช้ระบบลมอัด (Pneumatic) เป็นแหล่งกำลังงาน และเป็นอุปกรณ์ที่มีความสำคัญมากกับอุปกรณ์หลายอย่างของเครื่องจักร สภาพการทำงานของเครื่องจักรและอุปกรณ์เหล่านี้เกี่ยวข้องโดยตรงกับชุดอากาศบริการ แต่หลายคนกลับมองไม่เห็นถึงความสำคัญของอุปกรณ์ตัวเล็ก ๆ ตัวนี้
ถึงแม้จะอยู่ในอุตสาหกรรมต่างสาขากัน แต่ Dow Chemical และ 3M ก็มีแนวทางการบริหารสิ่งแวดล้อมที่คล้ายคลึงกันหลายประการ ที่โดดเด่นที่สุดคือ การมุ่งความสนใจกับการจัดการกากของเสีย (Waste) และมลพิษ (Pollution) โดยพยายามลดการเกิดของเสียหรือมลพิษตั้งแต่แหล่งกำเนิด จนสามารถลดการระบายของเสียและมลพิษสู่สิ่งแวดล้อมได้จำนวนมหาศาล ทั้งยังสามารถประหยัดต้นทุนด้านสิ่งแวดล้อมได้นับพันล้านเหรียญสหรัฐฯ
อุปกรณ์สำคัญในการส่งถ่ายกำลังเพื่อให้เกิดงานนั้น มีหลากหลายรูปแบบ สายพานแบน เป็นอุปกรณ์อีกชนิดที่นิยมใช้กันอย่างแพร่หลาย ทำความรู้จักกับสายพานแบน อุปกรณ์ส่งผ่านกำลัง เส้นสายแห่งพลังงาน สายพานเป็นอุปกรณ์ที่ใช้ในการส่งถ่ายกำลังจาก Pulley ของเพลาขับ ไปยัง Pulley ของเพลาตาม (เป็นอุปกรณ์หรือเครื่องจักรที่เราต้องการให้เกิดการทำงาน เช่น ปั๊มน้ำ หรือ Blower เป็นต้น) โดยกำลังที่ส่งถ่ายจะขึ้นอยู่กับตัวแปรต่างๆ
Six Sigma สามารถจำแนกได้เป็นสองแนวทาง นั่นคือ กระบวนการ DMAIC ใช้ระบุสาเหตุหลักเพื่อลดความสูญเสียจากการดำเนินงาน และกระบวนการ DMADV (Define-Measure-Analyze-Design-Verify) สนับสนุนการออกแบบผลิตภัณฑ์ที่คุณภาพระดับ Six Sigma ซึ่งทั้งสองแนวทางต่างสนับสนุนการสร้างความสามารถการแข่งขันให้กับธุรกิจตามหลักการ Six Sigma นั่นเอง
การเดินทางในอนาคตไม่ไกลนี้ จะเต็มไปด้วยความปลอดภัยอย่างสูงสุด ด้วยเทคโนโลยีรถยนต์อัจฉริยะ ที่ไม่ต้องการคนขับ โดยรถอัจฉริยะจะมีระบบตรวจวัดหลายประเภทติดที่ตัวรถ และส่งผ่านไปเครื่องสื่อสาร แล้วนำมาประมวลผลคำนวณเส้นทางและควบคุมการเคลื่อนที่ของรถยนต์อัจฉริยะ ซึ่งได้พัฒนามาจาก Artificial Intelligence หรือ AI
การสั่งซื้อมีค่าใช้จ่ายที่แอบแฝงอยู่อย่างคาดไม่ถึง เช่น ค่าเครื่องเขียน แบบพิมพ์ ค่าจ้างแรงงานในส่วนของงานจัดซื้อ ค่าใช้จ่ายในการติดต่อและสานงานกับพ่อค้า ผู้จัดส่ง เป็นต้น ค่าของการสั่งซื้อจึงเป็นส่วนที่ควรคำนึงถึงในการสั่งซื้อแต่ละใบสั่งและรายการ ซึ่งไม่ยากอย่างที่คิด
ความร้อนจากรังสีของดวงอาทิตย์เป็นสาเหตุสำคัญให้อาคารบ้านเรือนมีความร้อนเข้าสู่ภายในและเกิดความไม่สบายในการพักอาศัย การใช้กระจกสองชั้นเพื่อลดความร้อนและให้เกิดความถ่ายเทของอากาศก็เป็นอีกวิธีหนึ่งที่ช่วยให้ความร้อนที่เข้ามาได้มีการระบายออกและมีอากาศหมุนเวียนที่ดีขึ้นจริงหรือ พิสูจน์ได้จากการคำนวณ
การขึ้นรูปงานโลหะทางวิศวกรรมสามารถแบ่งลักษณะงานออกได้ 2 รูปแบบ คือ การขึ้นรูปร้อนและการขึ้นรูปเย็น และมีกระบวนการขึ้นรูปหลายรูปแบบ ได้แก่ การรีด, การกดอัด, การดึง, การตัดเฉือนและการขึ้นรูปลึก, การหมุนขึ้นรูป, การดัด และการตี ซึ่งแต่ละวิธีจะได้ชิ้นงานที่มีรูปทรงและคุณสมบัติแตกต่างกันตามความต้องการในการผลิต
ปัจจุบันงานเขียนแบบที่เคยอยู่ในกระดาษถูกพัฒนาผ่านโปรแกรมเขียนแบบสามมิติ ทำให้การออกแบบเชิงวิศวกรรมหรือออกแบบผลิตภัณฑ์ง่ายขึ้นมาทันที สามารถเห็นถึงรูปทรงสามมิติ และตรวจสอบโครงสร้างการทำงานได้เบื้องต้น แต่ปัญหาของการออกแบบมันยังไม่จบ เนื่องจากปัญหามันถูกผลักดันให้ฝ่ายผลิตแทน เช่น ออกแบบแล้วไม่สามารถผลิตได้ ผลิตแล้วไม่สามารถใช้งานได้ ชิ้นงานประกบกันได้ไม่สนิท เป็นต้น ความผิดพลาดทุกอย่างไม่ได้เกิดจากผู้ออกแบบ แต่เกิดจากความไม่รู้ว่า "3D CAD ที่อยู่บนหน้าจอคอมพิวเตอร์ จะสามารถผลิตแล้วใช้งานได้จริงหรือไม่"
โรงงานผลิตไฟฟ้า (Power Plants) ส่วนใหญ่ที่ใช้กังหันไอน้ำจะใช้ระบบ Bypass กังหันไอน้ำ เพื่อช่วยลดการกระทบอย่างแรงจากความร้อน (Thermal Shocks) บนตัวกังหันไอน้ำ (Steam Turbine) และระบบท่อให้ต่ำที่สุด และยังอนุญาตให้ระบบเริ่มทำงานได้อย่างรวดเร็วในช่วงการเริ่มต้นทำงาน (Start Up) และหลังจากหยุดทำงาน (Shut Down)
สินค้าคงคลังที่เป็นพัสดุคงเหลือ มีรายจ่ายแอบแฝงอย่างคาดไม่ถึง ทำอย่างไรถึงจะรู้ว่าอะไรคือรายจ่ายที่แอบแฝง และทำอย่างไรจึงจะรู้ได้ถึงมูลค่าของการเก็บ และได้จำนวนเปอร์เซ็นต์ เพื่อนำไปเปรียบเทียบกับจำนวนพัสดุคงเหลือเฉลี่ยในปีต่อๆ ไป เพื่อให้รู้ถึงการลดค่าของการเก็บของท่านว่าดีขึ้นเพียงไร