การบริหารจัดการเป็นส่วนที่สำคัญมากที่สุดในกระบวนการจัดการด้านพลังงาน และการประหยัดพลังงานนับเป็นผลลัพธ์ของการจัดการด้านพลังงาน โดยทั่วไปการบริหารจัดการด้านพลังงานต้องได้รับความร่วมมือจากทุก ๆ ฝ่าย ตั้งแต่เจ้าของ ผู้บริหาร ระดับหัวหน้า และระดับผู้ปฏิบัติการ หรือที่เรียกว่าเป็นการบริหารแบบทุกคนมีส่วนร่วม (Participative Management) ในเมื่อเป็นเรื่องของการมีส่วนร่วมของทุกคน เราควรเริ่มต้นพิจารณาความสำคัญของพลังงาน
สนั่น เถาชารี |
. |
. |
การบริหารจัดการเป็นส่วนที่สำคัญมากที่สุดในกระบวนการจัดการด้านพลังงาน และการประหยัดพลังงานนับเป็นผลลัพธ์ของการจัดการด้านพลังงาน โดยทั่วไปการบริหารจัดการด้านพลังงานต้องได้รับความร่วมมือจากทุก ๆ ฝ่าย ตั้งแต่เจ้าของ ผู้บริหาร ระดับหัวหน้า และระดับผู้ปฏิบัติการ หรือที่เรียกว่าเป็นการบริหารแบบทุกคนมีส่วนร่วม (Participative Management) ในเมื่อเป็นเรื่องของการมีส่วนร่วมของทุกคน เราควรเริ่มต้นพิจารณาความสำคัญของพลังงาน |
. |
โดยสัดส่วนของพนักงานในองค์กรพบว่า ร้อยละ 5 จะเป็นสัดส่วนของผู้บริหาร ร้อยละ 25 เป็นสัดส่วนระดับหัวหน้า และอีกร้อยละ 70 จะเป็นสัดส่วนของระดับปฏิบัติการ ในทางปฏิบัติพบว่าผู้ปฏิบัติการจะเป็นกำลังสำคัญภายใต้การสนับสนุนจากระดับผู้บริหาร แล้วทำอย่างไรจึงจะให้ผู้ปฏิบัติการซึ่งมีประมาณร้อยละ 70 ของคนในองค์กรเต็มใจให้ความร่วมมือในกิจกรรมต่าง ๆ ขององค์กรโดยไม่ต้องคอยควบคุมและตรวจสอบ |
. |
มีความน่าสนใจจากการที่ อับลาฮัม เอช มาสโลว์ (Abraham H. Maslow) ได้ลำดับความต้องการของมนุษย์ไว้ 5 ระดับ โดยเริ่มต้นจากระดับพื้นฐานจนถึงระดับสูงสุด ดังนี้ |
. |
1. ปัจจัย 4 2. ความมั่นคงและความปลอดภัย 3. การมีส่วนร่วมในสังคม 4. เกียรติ และศักดิ์ศรี 5. การพิสูจน์ความสำเร็จของตนเอง |
. |
เมื่อมองลำดับความต้องการของมนุษย์ขนานไปกับกิจกรรมการจัดการด้านพลังงานซึ่งเป็นกิจกรรมประเภทการมีส่วนร่วมในสังคม ดังนั้นการที่ผู้ปฏิบัติการจะมีส่วนร่วมซึ่งเป็นลำดับที่ 3 พวกเขาต้องผ่านลำดับการมีปัจจัย 4 และลำดับความมั่นคงและความปลอดภัยก่อน ลำดับเหล่านี้เป็นเรื่องจริง |
. |
หากใครก็ตามที่เข้าไปเป็นที่ปรึกษาในโรงงานบ่อย ๆ จะพบว่า โรงงานใดก็ตามที่เจ้าของหรือผู้บริหารดูแลพนักงาน จนทำให้พนักงานรักองค์กรและรู้สึกว่าตนเองเป็นส่วนหนึ่งขององค์กร มักจะได้รับความร่วมมือสูงกว่ากลุ่มโรงงานที่ใช้แต่การบังคับหรือออกคำสั่ง ดังนั้น โรงงานที่ต้องการให้เกิดการอนุรักษ์พลังงานอย่างยั่งยืน ควรพิจารณาว่าเรามี 2 ลำดับแรกให้กับพนักงานแล้วหรือยัง |
.. |
หากองค์กรได้รับความร่วมมือจากพนักงานแล้ว ก็ไม่ใช่เรื่องยากในการจะทำให้เกิดการอนุรักษ์พลังงานอย่างยั่งยืน โดยองค์กรควรดำเนินการตามลำดับขั้นตอน ดังนี้ |
. |
1. ผู้บริหารสูงสุดออกนโยบายและตั้งเป้าหมายให้ทุกคนรับทราบและปฏิบัติ การออกนโยบายเป็นเครื่องชี้ชัดว่า ผู้บริหารเห็นชอบในหลักการ พนักงานสามารถดำเนินกิจกรรมได้ |
. |
4. ทีมงานอนุรักษ์พลังงานหาดัชนีการใช้พลังงานแต่ละเดือน และเปรียบเทียบกับค่าดัชนีการใช้พลังงานของธุรกิจประเภทนั้น ซึ่งจะทำให้ทราบศักยภาพว่าจะสามารถลดการใช้พลังงานได้มาก-น้อยเพียงไร |
. |
5. ทีมงานอนุรักษ์พลังงานของแต่ละแผนกต้องทำการรวบรวมชนิด ขนาด และจำนวนของอุปกรณ์ที่มีในแผนกของตนเอง เพื่อจะได้วางแผนให้สอดคล้องกับชนิดอุปกรณ์ที่มีในแต่ละแผนก |
. |
6. ทีมงานอนุรักษ์พลังงานแต่ละแผนก นำความรู้ที่ได้รับจากการอบรมในข้อ (3) ประสานกับประสบการณ์ในการทำงานหามาตรการอนุรักษ์พลังงาน ในการหามาตรการต่าง ๆ อาจเริ่มต้นจากอุปกรณ์ที่ใช้พลังงานมาก ๆ ก่อน และ/หรือเป็นมาตรการที่สามารถดำเนินการได้ทันทีโดยไม่ต้องลงทุน ซึ่งแต่ละอุปกรณ์อาจมีหลายมาตรการขึ้นอยู่กับสภาพการใช้งาน |
. |
7. รวบรวมจัดทำแผนอนุรักษ์พลังงาน ซึ่งต้องประกอบด้วยชื่อแผน ผู้ปฏิบัติ ผู้ตรวจสอบ และระยะเวลาการทำงาน การกำหนดผู้ปฏิบัติ ผู้ตรวจสอบ และระยะเวลา จะทำให้การทำงานมีทิศทางแน่นอนมากขึ้น |
. |
9. ติดตามผลการดำเนินการ หากพบว่ามีปัญหา ข้อขัดข้อง หรือมีความผิดพลาดในจุดใด ควรทำการแก้ไขปรับปรุง 10. ประเมินผลการประหยัดพลังงาน โดยใช้ดัชนีการใช้พลังงานเป็นตัวพิจารณา 11. นำแผนอนุรักษ์พลังงานที่เกิดการปฏิบัติโดยไม่มีข้อขัดข้องมาเป็นมาตรฐานการทำงาน หรือกำหนดเป็นวิธีปฏิบัติที่ดีของแผนกนั้น ๆ 12. ดำเนินการอย่างต่อเนื่อง จริงจัง |
. |
ขั้นตอนการดำเนินงานอนุรักษ์พลังงานอย่างยั่งยืน |
นอกจากขั้นตอนการดำเนินงานอนุรักษ์พลังงานอย่างยั่งยืนแล้ว ยังมีหลักการ 5 ร. ที่สามารถใช้เป็นเครื่องมือในการอนุรักษ์พลังงานแบบมีส่วนร่วมที่ยั่งยืน ดังนี้ |
. |
ร.1 = รวมคน ทีมงานอนุรักษ์พลังงานจะต้องหาวิธีการ กิจกรรม และแรงจูงใจต่าง ๆ เพื่อให้ทุกคนในองค์กรเข้ามาร่วมกันดำเนินการอนุรักษ์พลังงาน อันดับแรกคือ นโยบายและเป้าหมายจากผู้บริหารระดับสูง นอกจากนั้นอาจเป็นกิจกรรม เช่น ประกวดคำขวัญ ตอบปัญหา กิจกรรมข้อเสนอแนะ กิจกรรมวันอนุรักษ์พลังงาน รายการเสียงตามสาย บอร์ดอนุรักษ์พลังงาน เป็นต้น |
. |
ร.2 = ร่วมคิด ต้องมีกิจกรรมกลุ่มย่อยต่าง ๆ กระจายไปทุกพื้นที่ เพื่อให้ทุกคนมีส่วนร่วมในการคิดวิธีการในการประหยัดพลังงานในพื้นที่ของตนเอง โดยทีมงานอนุรักษ์พลังงานจะต้องให้ความรู้ถึงวิธีการต่าง ๆ ที่จะทำให้เกิดการประหยัดพลังงาน รวมทั้งทำกิจกรรมง่าย ๆ เพื่อเป็นแนวทางหรือชี้นำ |
. |
ร.3 = ร่วมทำ แต่ละพื้นที่นำวิธีการปฏิบัติที่ดีต่าง ๆ มาจัดทำแผนปฏิบัติของพื้นที่ โดยมีการกำหนดเวลาและผู้รับผิดชอบในแต่ละเรื่อง แล้วเริ่มปฏิบัติตามแผน (ผู้คิดควรมีส่วนร่วมในมาตรการที่นำเสนอจึงจะสามารถปฏิบัติได้แน่นอน และมีความยั่งยืน) |
. |
ร.4 = ร่วมประเมินผล การประเมินผลในส่วนของแผน ทุกคนจะต้องมีส่วนร่วมในการประเมินผลในแผนที่จัดทำขึ้น เพื่อให้ทราบว่าพื้นที่ใดที่สามารถปฏิบัติได้และมีระดับที่มากน้อยเพียงใด รวมทั้งควรจะเพิ่มเติมหรือแก้ไขอะไรบ้าง สำหรับการประเมินผลส่วนผู้ปฏิบัติ ต้องมีการสอบวัดผลเพื่อให้ทราบว่ามีความรู้เพิ่มขึ้นมากน้อยเพียงใด |
. |
ร.5 = ร่วมยินดี ผลสำเร็จที่ทุกคนในองค์กรช่วยกันปฏิบัติจะต้องกลับคืนสู่พนักงานทุกคน เพื่อเป็นกำลังใจในการทำงาน และจะทำให้เกิดการดำเนินการที่ต่อเนื่องได้ โดยสิ่งที่ตอบแทนอาจเป็นรางวัลเล็ก ๆ น้อย ๆ หรือเป็นสิ่งที่สามารถเชิดชูความดีได้ ซึ่งสิ่งเหล่านี้จะเป็นผลทางด้านจิตใจ |
. |
"ถ้าองค์กรใดสามารถทำ 5 ร. ได้สำเร็จและดำเนินการอย่างต่อเนื่องจะเกิดการอนุรักษ์พลังงานที่ยั่งยืนได้" |
. |
อย่างไรก็ตาม ในช่วงการจัดทำแผนอนุรักษ์พลังงานนั้น อาจมีจุดสะดุดหลาย ๆ อย่าง ซึ่งส่วนหนึ่งมักเกิดจากวัฒนธรรมองค์กร เช่น วัฒนธรรมของนักอนุรักษ์นิยม สังคมของการแยกกันคิดแยกกันทำ หรือสังคมของการยอมแพ้ง่าย ๆ นอกจากนั้นจะมีเรื่องของความเคยชินส่วนบุคคล เช่น |
. |
1. ไม่ชำนาญในการทำงานเป็นทีม |
. |
อย่างไรก็ตาม แม้จะมีจุดสะดุดบ้างก็สามารถค่อย ๆ แก้ไข โดยวิธีหนึ่งที่ใช้ได้ผลคือ การหาแนวร่วม ซึ่งมีวิธีการดังนี้ |
- การสร้างความหวังในแผนงานอนาคต |
. |
เอกสารอ้างอิง |
* ศุภชัย ปัญญาวีร์ และจตุพร สถากุลเจริญ. (2549). คู่มือการลดต้นทุนผลิตด้านพลังงาน. กรุงเทพฯ : สมาคมส่งเสริมเทคโนโลยี (ไทย-ญี่ปุ่น). |
สงวนลิขสิทธิ์ ตามพระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ พ.ศ. 2539 www.thailandindustry.com
Copyright (C) 2009 www.thailandindustry.com All rights reserved.
ขอสงวนสิทธิ์ ข้อมูล เนื้อหา บทความ และรูปภาพ (ในส่วนที่ทำขึ้นเอง) ทั้งหมดที่ปรากฎอยู่ในเว็บไซต์ www.thailandindustry.com ห้ามมิให้บุคคลใด คัดลอก หรือ ทำสำเนา หรือ ดัดแปลง ข้อความหรือบทความใดๆ ของเว็บไซต์ หากผู้ใดละเมิด ไม่ว่าการลอกเลียน หรือนำส่วนหนึ่งส่วนใดของบทความนี้ไปใช้ ดัดแปลง โดยไม่ได้รับอนุญาตเป็นลายลักษณ์อักษร จะถูกดำเนินคดี ตามที่กฏหมายบัญญัติไว้สูงสุด