ด้วยปัจจัยความเปลี่ยนแปลงจากกระแสแห่งโลกาภิวัฒน์และเงื่อนไขการเปิดการค้าเสรีระหว่างประเทศได้ส่งผลกระทบต่อสภาวะการแข่งขันทางธุรกิจ โดยเฉพาะแรงกดดันต่อการดำเนินงานทางธุรกิจที่ต้องมุ่งสร้างมูลค่าเพิ่ม (Value-added) ด้วยการปรับปรุงผลิตภาพภาพกระบวนการ ซึ่งแนวคิดการสร้างมูลค่าเพิ่มเป็นการสร้างความมั่งคั่งให้กับธุรกิจโดยผ่านกระบวนการแปรรูป
การส่งจ่ายไฟฟ้าด้วยระบบไฟฟ้ากระแสสลับสามเฟสจะทำให้เกิดประสิทธิภาพที่ดีมาก โดยการใช้สายส่งไฟฟ้าเพียง 3 เส้นเป็นทางผ่านของกระแสไฟฟ้าที่สมดุลกันทั้งสามเฟส Three-Phase Powers จะถูกส่งออกจากโรงไฟฟ้าโดยผ่านหม้อแปลงไฟฟ้าเพื่อเพิ่มระดับแรงดันไฟฟ้าให้สูงขึ้นมาก และจะทำให้ค่ากระแสไฟฟ้าในสายส่งลดน้อยลง ซึ่งจะทำให้เกิดความสูญเสียที่เกิดจาก Watt Loss (I2R) ในรูปความร้อนของสายส่งไฟฟ้าที่ลดน้อยลงด้วย เมื่อกระแสไฟฟ้าไหลไปยังพื้นที่ที่มีการใช้ไฟฟ้า ก็จะผ่านหม้อแปลงไฟฟ้าเพื่อลดระดับแรงดันไฟฟ้าให้ต่ำลง และส่งกระแสไฟฟ้าผ่านสายส่งระบบจำหน่ายไฟฟ้าไปยังผู้ใช้ไฟฟ้าต่อไป
จากบทความที่ผ่านมาได้กล่าวเกี่ยวกับฟังก์ชันชุดรับส่งสัญญาณดิจิตอล (Digital Input/Output: Digital I/O) ที่ใช้ในการรับค่าสถานะและควบคุมอุปกรณ์ไฟฟ้าในระบบสถานีย่อยอัตโนมัติ (SAS: Substation Automation System) แต่อย่างไรก็ตามยังมีอีกฟังก์ชันที่สามารถรับค่าสถานะและควบคุมอุปกรณ์ไฟฟ้าได้คือฟังก์ชันชุดรับส่งสัญญาณอะนาลอก (Analog Input/Output: Analog I/O) สัญญาณอะนาลอกเป็นสัญญาณในลักษณะธรรมชาติมีค่าต่อเนื่องหลายระดับค่าและสามารถถูกอธิบายในรูปสมการทั่วไปของฟูเรียร์ (Fourier Equation) เช่น แรงดันไฟฟ้าหรือกระแสไฟฟ้าเป็นต้น การรับส่งค่าวัดโดยสัญญาณแบบอะนาลอกระหว่างอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์อัจฉริยะ (IED: Intelligent Electronic Device) เช่น รีเลย์ป้องกัน (Protective Relay) กับตัวอุปกรณ์ไฟฟ้าหรือตัวเครื่องจักร หรือ ระหว่าง IED ด้วยกันเองมีความสำคัญมากเนื่องจากค่าที่วัดได้บางค่าเป็นข้อมูลที่ใช้ในการตัดสินใจในการควบคุมอุปกรณ์หรือเครื่องจักรเมื่อตกอยู่ในสภาพวิกฤติ เช่น แรงดันไอน้ำในหม้อต้มน้ำมีค่าสูงผิดปกติ หรือมีกระแสไฟฟ้าลัดวงจรในอุปกรณ์ไฟฟ้า สำหรับในปัจจุบันมีอุปกรณ์ไฟฟ้าประเภทอัจฉริยะ เช่น สวิตช์เกียร์ (Switchgear) ที่มีอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์เซนเซอร์ฝังอยู่ภายในสำหรับตรวจค่าวัดและส่งค่าวัดที่ได้ผ่านระบบสื่อสารข้อมูล
จากบทความที่ผ่านมาสำหรับระบบสถานีย่อยอัตโนมัติ (Substation Automation: SAS) ได้กล่าวเกี่ยวกับฟังก์ชั่นของชุดรับส่งสัญญาณอะนาลอก (Analog Input/Output: Analog I/O) รวมทั้งฟังก์ชั่นของชุดรับส่งสัญญาณดิจิตอล (Digital Input/Output: Digital I/O) ค่าหรือสัญญาณที่ได้รับจากระดับโปรเซส (Process Level) หรือระดับกระบวนการของการทำงานของอุปกรณ์ไฟฟ้าหรือเครื่องจักรจริงซึ่งจะถูกนำมาประมวลผล และแสดงผลในรูปแบบกราฟิก (Graphical Display)
จากบทความตอนที่แล้วนั้นได้กล่าวถึงโปรแกรมสำหรับพัฒนาและเขียนโปรแกรมพีแอลซี Allen Bradley ตระกูล SLC500 และตระกูล MicroLogix ซึ่งประกอบด้วยโปรแกรม RSLinx Classic ซึ่งเป็นโปรแกรมที่ใช้สำหรับการเชื่อมต่อการสื่อสารระหว่างคอมพิวเตอร์กับพีแอลซีและโปรแกรม RSLogix 500 นั้นเป็นซอฟต์แวร์สำหรับเขียนโปรแกรมพีแอลซี โดยที่ได้อธิบายขั้นตอนการติดตั้งโปรแกรมลงคอมพิวเตอร์ สำหรับบทความตอนนี้จะกล่าวถึงการใช้งานโปรแกรม RSLogix 500 เบื้องต้นสำหรับสร้างโปรเจกต์โดยจะแบ่งเป็นลำดับขั้นตอนการทำงาน
จากตอนที่แล้วนั้นเราได้กล่าวถึงการจัดการหน่วยความจำและคำสั่งพื้นฐานของพีแอลซี Allen Bradley สำหรับตอนนี้เราจะเริ่มต้นสำหรับเขียนโปรแกรมกัน การที่จะทำงานกับพีแอลซีเพื่อควบคุมการทำงานของเครื่องจักรหรือควบคุมกระบวนการนั้นจำเป็นจะต้องมีองค์ประกอบหลักสองส่วนคือฮาร์ดแวร์และซอฟต์แวร์
ในปัจจุบันปัญหาทางด้านพลังงานนับวันจะทวีความรุนแรงเพิ่มมากขึ้น ไม่เฉพาะกับประเทศไทยเท่านั้น แต่เกิดขึ้นไปทั่วทั้งโลก มีการใช้พลังงานเพิ่มขึ้นอย่างมาก ในขณะที่ทรัพยากรทางด้านพลังงานกลับลดน้อยลงอย่างรวดเร็ว เกิดปัญหาการขาดแคลนพลังงานในหลาย ๆ พื้นที่ รวมถึงการสร้างผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมจากการใช้พลังงาน การแย่งชิงทรัพยากรธรรมชาติ หรือแม้แต่สงครามเพื่อแย่งชิงแหล่งพลังงาน สิ่งต่าง ๆ เหล่านี้ ได้สร้างปัญหาให้เกิดขึ้นอีกมากมาย ทั้งในด้านสังคม เศรษฐกิจ และการเมือง ส่งผลให้ทุก ๆ ภาคส่วน ไม่ว่าจะเป็นภาคธุรกิจ ภาครัฐ ภาคอุตสาหกรรม ภาคบริการ ภาคการศึกษา และอื่น ๆ อีกมากมาย ต่างเล็งเห็นถึงความสำคัญของการจัดการ และการอนุรักษ์พลังงานต่อการดำเนินกิจกรรมต่าง ๆ อย่างมีประสิทธิภาพ