เนื้อหาวันที่ : 2013-05-03 16:55:31 จำนวนผู้เข้าชมแล้ว : 11012 views

กว่าจะมาเป็นถุงมือยางทางการแพทย์ (Medical Latex Glove) รู้จักชนิด การใช้งาน กระบวนการ และจักรกลผลิตถุงมือยางของไทย (ตอนที่ 2)

กระบวนการผลิตถุงมือยางของไทย มีหลายขั้นตอน เริ่มตั้งแต่การเตรียมวัตถุดิบ หรือปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับการผลิต รวมถึงในขั้นตอนการผลิตในสายการผลิตต้องมีการควบคุมตัวแปรต่าง

กว่าจะมาเป็นถุงมือยางทางการแพทย์ (Medical Latex Glove)
รู้จักชนิด การใช้งาน กระบวนการ และจักรกลผลิตถุงมือยางของไทย (ตอนที่ 2)


ทนงศักดิ์ วัฒนา, ศุภัสชกรณ์ หลิมเฮงฮะ


รู้จัก จักรกลและอุปกรณ์ในอุตสาหกรรมการผลิตถุงมือยางของไทย

   กระบวนการผลิตถุงมือยางของไทย มีหลายขั้นตอน เริ่มตั้งแต่การเตรียมวัตถุดิบ หรือปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับการผลิต รวมถึงในขั้นตอนการผลิตในสายการผลิตต้องมีการควบคุมตัวแปรต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องต่อคุณภาพถุงมือเป็นอย่างดี และเมื่อถุงมือผ่านกระบวนการผลิตออกจากสายการผลิต ยังต้องผ่านกระบวนการตรวจสอบคุณภาพตามมาตรฐานของสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา (อย.) กระทรวงสาธารณสุข อย่างเคร่งครัด และสุดท้ายกระบวนการบรรจุถุงมือ เพื่อรอการจำหน่ายยังมีความสำคัญที่ต้องคำนึงอีกด้วย แต่ในส่วนหัวข้อนี้จะกล่าวถึงเครื่องจักร อุปกรณ์และเครื่องมือที่เกี่ยวข้องกับการผลิตถุงมือยางของไทย ในขั้นตอนที่สำคัญ โดยพิจารณาตามกระบวนการผลิต ดังนี้

รูปที่ 20 แสดงแผนภูมิการผลิตถุงมือยางของไทย



     1. เครื่องจักรกระบวนการเตรียมน้ำยางคอมพาวด์ (Latex Compound) เครื่องจักรและอุปกรณ์ในส่วนนี้ จะมี 2 ส่วน คือ เครื่องจักรที่เกี่ยวข้องกับการเตรียมสารเคมีผสมน้ำยางข้น เพื่อเตรียมน้ำยางผสม (Latex Compound) และถังเก็บน้ำยางข้นพร้อมเครื่องกวนถังน้ำยาง กระบวนการเตรียมน้ำยางคอมพาวด์ มีกระบวนอย่างง่าย ดังแสดงในรูปที่ 21


รูปที่ 21 แสดงกระบวนการเตรียมน้ำยางคอมพาวด์ สำหรับการผลิตถุงมือยาง




     1.1 เครื่องจักรและอุปกรณ์ในการเตรียมสารเคมี ผสมในน้ำยางสดเพื่อเตรียมน้ำยางคอมปาวด์ ส่วนใหญ่จะเป็นเครื่องจักรในการทำให้ขนาดของสารเคมีมีขนาดเล็กลงจนเป็นสารเนื้อเดียวกัน หรือเรียกว่า การโฮโมจิไนส์ ซึ่งในการเลือกใช้งานของอุปกรณ์แต่ละชนิดขึ้นอยู่กับการใช้งานของสารเคมี หรือขึ้นอยู่กับขนาดและความละเอียดของสารเคมีที่ต้องการ เช่น 

       เครื่องผสมความเร็วสูง (Homogenizer) เป็นเครื่องที่ทำให้สารเป็นเนื้อเดียวกัน โดยใบมีดที่หมุนด้วยความเร็วสูง การโฮโมจิไนส์ เป็นการทำให้อนุภาคเล็กลง โดยใช้แรงเค้นเฉือนอย่างรุนแรง (High Shear Homogenizer) เพื่อเพิ่มความคงตัวของสารผสม การโฮโมจิไนส์เซอร์ชนิดแรงเค้นรุนแรง (High Shear Homogenizer) แบ่งได้เป็น 3 แบบ คือ Mesh Stator, Long-hold และ Round-Hold ดังแสดงในรูปที่ 22

     ส่วนใหญ่จะเป็นเครื่องจักรในการทำให้ขนาดของสารเคมีมีขนาดเล็กลงจนเป็นสารเนื้อเดียวกัน หรือเรียกว่า การโฮโมจิไนส์ ซึ่งในการเลือกใช้งานของอุปกรณ์แต่ละชนิดขึ้นอยู่กับการใช้งานของสารเคมี หรือขึ้นอยู่กับขนาดและความละเอียดของสารเคมีที่ต้องการ เช่น        เครื่องผสมความเร็วสูง (Homogenizer) เป็นเครื่องที่ทำให้สารเป็นเนื้อเดียวกัน โดยใบมีดที่หมุนด้วยความเร็วสูง การโฮโมจิไนส์ เป็นการทำให้อนุภาคเล็กลง โดยใช้แรงเค้นเฉือนอย่างรุนแรง (High Shear Homogenizer) เพื่อเพิ่มความคงตัวของสารผสม การโฮโมจิไนส์เซอร์ชนิดแรงเค้นรุนแรง (High Shear Homogenizer) แบ่งได้เป็น 3 แบบ คือ Mesh Stator, Long-hold และ Round-Hold ดังแสดงในรูปที่ 22


รูปที่ 22 เครื่องผสมความเร็วสูง (High Shear Homogenizer)

 
  เครื่อง Vertical Type Bead Mills เป็นเครื่องย่อยชนิดหนึ่งที่ใช้ใบมีดหมุนตัดสารเคมี ด้วยความเร็วสูง


รูปที่ 23 แสดงเครื่อง Vertical Type Bead Mills



  • เครื่อง Ball Mills เป็นอุปกรณ์ในการลดขนาดของสารเคมี โดยการกระแทก หรือเสียดสีของลูกบอล ซึ่งบรรจุอยู่ภายในทรงกระบอก ลักษณะของบอลมิลล์ ดังแสดงในรูป

 รูปที่ 24 แสดงลักษณะของ Ball Mill ที่ใช้อุตสาหกรรมถุงมือ



        1.2 ถังผสมน้ำยาง (Fixed Mixing Tank Type) เป็นถังผสมส่วนผสมต่าง ๆ ในการผลิตน้ำยางคอมพาวด์ รวมถึงเป็นถังเก็บและบ่มน้ำยางคอมพาวด์ (Mixing & Storage of Latex and Chemical Compound) โดยปกติถังน้ำยางคอมพาวด์ จะประกอบด้วย ตัวถัง ทำด้วยเหล็กกล้าไร้สนิม และมีเครื่องกวนติดตั้งอยู่ เพื่อกวนผสม น้ำยาง สารเคมี ให้เข้ากันเป็นเนื้อเดียว ขนาดถังจะขึ้นอยู่กับกำลังการผลิตของโรงงาน หรือสายการผลิต ลักษณะของถังแสดงในรูปที่ 25 
        เป็นถังผสมส่วนผสมต่าง ๆ ในการผลิตน้ำยางคอมพาวด์ รวมถึงเป็นถังเก็บและบ่มน้ำยางคอมพาวด์ (Mixing & Storage of Latex and Chemical Compound) โดยปกติถังน้ำยางคอมพาวด์ จะประกอบด้วย ตัวถัง ทำด้วยเหล็กกล้าไร้สนิม และมีเครื่องกวนติดตั้งอยู่ เพื่อกวนผสม น้ำยาง สารเคมี ให้เข้ากันเป็นเนื้อเดียว ขนาดถังจะขึ้นอยู่กับกำลังการผลิตของโรงงาน หรือสายการผลิต ลักษณะของถังแสดงในรูปที่ 25

        เป็นถังผสมส่วนผสมต่าง ๆ ในการผลิตน้ำยางคอมพาวด์ รวมถึงเป็นถังเก็บและบ่มน้ำยางคอมพาวด์ (Mixing & Storage of Latex and Chemical Compound) โดยปกติถังน้ำยางคอมพาวด์ จะประกอบด้วย ตัวถัง ทำด้วยเหล็กกล้าไร้สนิม และมีเครื่องกวนติดตั้งอยู่ เพื่อกวนผสม น้ำยาง สารเคมี ให้เข้ากันเป็นเนื้อเดียว ขนาดถังจะขึ้นอยู่กับกำลังการผลิตของโรงงาน หรือสายการผลิต ลักษณะของถังแสดงในรูปที่ 25

 รูปที่ 25 ลักษณะถังคอมพาวด์ที่มีใช้ในอุตสาหกรรมถุงมือยาง



       1.3 ถังเก็บน้ำยางข้น (Latex Storage Tank) ถังเก็บน้ำยางเป็นอุปกรณ์ที่สำคัญอีกอย่างหนึ่งเพราะน้ำยางสดที่ออกตามฤดูกาลจะมีไม่แน่นอน โดยเฉพาะอย่างยิ่งในเดือนมีนาคม-พฤษภาคม ของทุกปี จะมีน้ำยางออกน้อยเพราะเป็นช่วงยางผลัดใบ การเก็บสต็อกน้ำยางสด จึงเป็นเรื่องสำคัญมากสำหรับอุตสาหกรรมผลิตถุงมือยาง ถังเก็บน้ำยาง มักจะทำด้วยเหล็กกล้า และมีเครื่องกวน ลักษณะของถังเก็บน้ำยางมักออกแบบเป็นทรงกระบอก อาจวางแนวตั้ง หรือแนวนอนก็ได้ตามรูปที่ 26 
      ถังเก็บน้ำยางเป็นอุปกรณ์ที่สำคัญอีกอย่างหนึ่งเพราะน้ำยางสดที่ออกตามฤดูกาลจะมีไม่แน่นอน โดยเฉพาะอย่างยิ่งในเดือนมีนาคม-พฤษภาคม ของทุกปี จะมีน้ำยางออกน้อยเพราะเป็นช่วงยางผลัดใบ การเก็บสต็อกน้ำยางสด จึงเป็นเรื่องสำคัญมากสำหรับอุตสาหกรรมผลิตถุงมือยาง ถังเก็บน้ำยาง มักจะทำด้วยเหล็กกล้า และมีเครื่องกวน ลักษณะของถังเก็บน้ำยางมักออกแบบเป็นทรงกระบอก อาจวางแนวตั้ง หรือแนวนอนก็ได้ตามรูปที่ 26

      ถังเก็บน้ำยางเป็นอุปกรณ์ที่สำคัญอีกอย่างหนึ่งเพราะน้ำยางสดที่ออกตามฤดูกาลจะมีไม่แน่นอน โดยเฉพาะอย่างยิ่งในเดือนมีนาคม-พฤษภาคม ของทุกปี จะมีน้ำยางออกน้อยเพราะเป็นช่วงยางผลัดใบ การเก็บสต็อกน้ำยางสด จึงเป็นเรื่องสำคัญมากสำหรับอุตสาหกรรมผลิตถุงมือยาง ถังเก็บน้ำยาง มักจะทำด้วยเหล็กกล้า และมีเครื่องกวน ลักษณะของถังเก็บน้ำยางมักออกแบบเป็นทรงกระบอก อาจวางแนวตั้ง หรือแนวนอนก็ได้ตามรูปที่ 26



 รูปที่ 26 ลักษณะของถังเก็บน้ำยาง


 
    2. เครื่องจักรในส่วนสนับสนุนในสายการผลิต
 ในส่วนเครื่องจักรที่สนับสนุนสายการผลิต จะเกี่ยวกับการผลิตสิ่งที่จำเป็นที่ต้องใช้ในสายการผลิต เช่น ความร้อนในการอบถุงมือ น้ำเย็นสำหรับหล่อเย็นถังน้ำยาง ระบบผลิตน้ำประปาเพื่อใช้ในสายการผลิต หรือในบางสายการผลิตอาจมีการใช้ลมอัด (Air Compressor) เพื่อใช้กับอุปกรณ์สำหรับสายการผลิต ซึ่งอาจกล่าวพอสังเขปได้ดังนี้



รูปที่ 27 แสดงแผนภาพการใช้ระบบสนับสนุนในสายการผลิตถุงมือ

 2.1) ส่วนผลิตความร้อนเพื่อการอบแห้งถุงมือยาง ในส่วนความร้อนที่นิยมใช้ในการอบแห้งถุงมือยางจะแบ่งออกเป็น 2 ประเภท คือ การให้ความร้อนโดยตรง เช่น การใช้หัวเผาแก๊ส (Burner Gas) โดยทั่วไปจะใช้แก๊ส LPG เป็นแหล่งเชื้อเพลิง และประเภทที่ 2 คือ การใช้ลมร้อนในการอบแห้ง โดยใช้อุปกรณ์แลกเปลี่ยนความร้อนเพื่อถ่ายเทพลังงานความร้อนจากแหล่งผลิตความร้อน เช่น หม้อไอน้ำ ซึ่งการอบแห้งถุงมือแบบลมร้อนจะมีประสิทธิภาพทางความร้อนสูงกว่าแบบแรก



         รูปที่ 28 หัวเผาแก๊สชนิด อินฟาเรด มักนิยมใช้สำหรับการอบแห้งถุงมือ

      
         


  รูปที่ 29 อุปกรณ์แลกเปลี่ยนความร้อน (Heat Exchanger)


 

 รูปที่ 30 หม้อต้มไอน้ำ (Boiler) หรืออุปกรณ์ผลิตความร้อน



     2.2) ส่วนผลิตน้ำเย็นหรือชีลเลอร์ (Chiller) สำหรับถังจุ่มน้ำยาง น้ำเย็นที่ผลิตจากเครื่องทำน้ำเย็นจะถูกส่งไปหล่อเย็นถังจุ่มน้ำยาง (Latex Dipping Tank) ในสายการผลิต เพื่อรักษาสภาพของน้ำยางไม่ให้เสียสภาพจากการเพิ่มขึ้นของอุณหภูมิของน้ำยาง เนื่องจากแบบมือที่ลงจุ่มมีอุณหภูมิสูงและจะถ่ายเทไปยังน้ำยางทำให้น้ำยางมีอุณหภูมิสูงขึ้น เพื่อรักษาอุณหภูมิของน้ำยาง จึงต้องใช้น้ำเย็นเพื่อลดอุณหภูมิของน้ำยาง เครื่องทำน้ำเย็นมีหลายชนิดแล้วแต่ผู้ออกแบบจะทำการออกแบบและเลือกใช้ โดยทั่วไปจะแบ่งได้เป็น 2 ชนิด คือ แบบระบายความร้อนด้วยอากาศ (Air Cool) และระบายความร้อนด้วยน้ำ (Water Cool) ลักษณะของเครื่องผลิตน้ำเย็น ดังแสดงในรูปที่ 31
    สำหรับถังจุ่มน้ำยาง น้ำเย็นที่ผลิตจากเครื่องทำน้ำเย็นจะถูกส่งไปหล่อเย็นถังจุ่มน้ำยาง (Latex Dipping Tank) ในสายการผลิต เพื่อรักษาสภาพของน้ำยางไม่ให้เสียสภาพจากการเพิ่มขึ้นของอุณหภูมิของน้ำยาง เนื่องจากแบบมือที่ลงจุ่มมีอุณหภูมิสูงและจะถ่ายเทไปยังน้ำยางทำให้น้ำยางมีอุณหภูมิสูงขึ้น เพื่อรักษาอุณหภูมิของน้ำยาง จึงต้องใช้น้ำเย็นเพื่อลดอุณหภูมิของน้ำยาง เครื่องทำน้ำเย็นมีหลายชนิดแล้วแต่ผู้ออกแบบจะทำการออกแบบและเลือกใช้ โดยทั่วไปจะแบ่งได้เป็น 2 ชนิด คือ แบบระบายความร้อนด้วยอากาศ (Air Cool) และระบายความร้อนด้วยน้ำ (Water Cool) ลักษณะของเครื่องผลิตน้ำเย็น ดังแสดงในรูปที่ 31

    สำหรับถังจุ่มน้ำยาง น้ำเย็นที่ผลิตจากเครื่องทำน้ำเย็นจะถูกส่งไปหล่อเย็นถังจุ่มน้ำยาง (Latex Dipping Tank) ในสายการผลิต เพื่อรักษาสภาพของน้ำยางไม่ให้เสียสภาพจากการเพิ่มขึ้นของอุณหภูมิของน้ำยาง เนื่องจากแบบมือที่ลงจุ่มมีอุณหภูมิสูงและจะถ่ายเทไปยังน้ำยางทำให้น้ำยางมีอุณหภูมิสูงขึ้น เพื่อรักษาอุณหภูมิของน้ำยาง จึงต้องใช้น้ำเย็นเพื่อลดอุณหภูมิของน้ำยาง เครื่องทำน้ำเย็นมีหลายชนิดแล้วแต่ผู้ออกแบบจะทำการออกแบบและเลือกใช้ โดยทั่วไปจะแบ่งได้เป็น 2 ชนิด คือ แบบระบายความร้อนด้วยอากาศ (Air Cool) และระบายความร้อนด้วยน้ำ (Water Cool) ลักษณะของเครื่องผลิตน้ำเย็น ดังแสดงในรูปที่ 31



ก) เครื่องทำน้ำเย็นชนิดระบายความร้อนด้วยอากาศ  ข) เครื่องผลิตน้ำเย็นชนิดระบายความร้อนด้วยน้ำ
           รูปที่ 31 แสดงลักษณะของเครื่องผลิตน้ำเย็นที่ใช้ในอุตสาหกรรมถุงมือยาง



 เครื่องจักรในส่วนสนับสนุนสายการผลิต นอกจากที่กล่าวมาแล้ว ยังมีส่วนของระบบผลิตน้ำประปาเพื่อใช้ในสายการผลิต โดยทั่วไปจะใช้สารเคมีช่วยการจับตัวของตะกอนใส่ลงไปในน้ำดิบ และรอให้ตะกอนเกิดการตกและกรองเอาน้ำใสไปใช้งาน ซึ่งจะไม่ขอกล่าวในบทความนี้

     3. สายการผลิตถุงมือยาง (Production Line)
     เครื่องจักรในสายการผลิตเป็นส่วนสำคัญมากในการผลิตถุงมือยาง เพราะเป็นเครื่องจักรหลักในการผลิต และยังเป็นส่วนที่มีผลต่อกำลังการผลิต คุณภาพถุงมือที่ผลิต รวมถึงชนิดของถุงมือที่ผลิตด้วย ซึ่งแสดงในรูปที่ 11 และรูปที่ 12 ส่วนประกอบของเครื่องจักรผลิตถุงมือสามารถแสดงได้ในรูปที่ 32

รูปที่ 32 แสดงส่วนประกอบของสายการผลิตถุงมือยางหรือถุงมือแพทย์



 ส่วนประกอบของเครื่องผลิตถุงมือยาง จะประกอบด้วยส่วนสำคัญ ดังนี้

 3.1) ส่วนโครงสร้างของเครื่องจักรผลิต ในส่วนโครงสร้างของเครื่องส่วนใหญ่จะใช้เหล็กเหนียวรูปพรรณ ซึ่งจะใช้เหล็กรูปพรรณรูปแบบไหน ผู้ออกแบบต้องพิจารณาคำนวณออกแบบเป็นอย่างดี เพื่อให้สามารถรับน้ำหนัก และภาระจากการทำงานของเครื่อง รวมถึงอุปกรณ์ต่าง ๆ ที่บรรจุลงไปในเครื่องจักรผลิต ส่วนรูปแบบหน้าตา รวมถึงความยาว และความสูงก็ขึ้นอยู่กับกำลังการผลิตที่ต้องการ เป็นต้น ซึ่งจะไม่มีรูปแบบตายตัว

 ส่วนประกอบของเครื่องผลิตถุงมือยาง จะประกอบด้วยส่วนสำคัญ ดังนี้ ในส่วนโครงสร้างของเครื่องส่วนใหญ่จะใช้เหล็กเหนียวรูปพรรณ ซึ่งจะใช้เหล็กรูปพรรณรูปแบบไหน ผู้ออกแบบต้องพิจารณาคำนวณออกแบบเป็นอย่างดี เพื่อให้สามารถรับน้ำหนัก และภาระจากการทำงานของเครื่อง รวมถึงอุปกรณ์ต่าง ๆ ที่บรรจุลงไปในเครื่องจักรผลิต ส่วนรูปแบบหน้าตา รวมถึงความยาว และความสูงก็ขึ้นอยู่กับกำลังการผลิตที่ต้องการ เป็นต้น ซึ่งจะไม่มีรูปแบบตายตัว

 รูปที่ 33 แสดงลักษณะของโครงสร้างเหล็กของสายการผลิตถุงมือยาง



     3.2) ส่วนอุปกรณ์ลำเลียงสำหรับพาแบบมือ อุปกรณ์ในส่วนนี้จะทำหน้าที่ในการพาแบบมือให้เคลื่อนที่ไปยังกระบวนการต่าง ๆ ในสายการผลิต โดยอาศัยกำลังในการขับเคลื่อนจากมอเตอร์ อุปกรณ์ในส่วนนี้สามารถแยกได้ ดังแสดงในรูปที่ 34 และรูปที่ 35 ซึ่งประกอบด้วยอุปกรณ์หลัก ๆ คือ โซ่ลำเลียง (Chain Conveyor) ชุดต้นกำลัง (Power Unit) เฟืองโซ่ (Sprocket) ชุดยึดแบบจับแบบมือ (Holder Set) และแบบมือ (Former) สามารถอธิบายรูปร่างและการใช้งาน พอสังเขปได้ดังนี้ 
    อุปกรณ์ในส่วนนี้จะทำหน้าที่ในการพาแบบมือให้เคลื่อนที่ไปยังกระบวนการต่าง ๆ ในสายการผลิต โดยอาศัยกำลังในการขับเคลื่อนจากมอเตอร์ อุปกรณ์ในส่วนนี้สามารถแยกได้ ดังแสดงในรูปที่ 34 และรูปที่ 35 ซึ่งประกอบด้วยอุปกรณ์หลัก ๆ คือ โซ่ลำเลียง (Chain Conveyor) ชุดต้นกำลัง (Power Unit) เฟืองโซ่ (Sprocket) ชุดยึดแบบจับแบบมือ (Holder Set) และแบบมือ (Former) สามารถอธิบายรูปร่างและการใช้งาน พอสังเขปได้ดังนี้

    อุปกรณ์ในส่วนนี้จะทำหน้าที่ในการพาแบบมือให้เคลื่อนที่ไปยังกระบวนการต่าง ๆ ในสายการผลิต โดยอาศัยกำลังในการขับเคลื่อนจากมอเตอร์ อุปกรณ์ในส่วนนี้สามารถแยกได้ ดังแสดงในรูปที่ 34 และรูปที่ 35 ซึ่งประกอบด้วยอุปกรณ์หลัก ๆ คือ โซ่ลำเลียง (Chain Conveyor) ชุดต้นกำลัง (Power Unit) เฟืองโซ่ (Sprocket) ชุดยึดแบบจับแบบมือ (Holder Set) และแบบมือ (Former) สามารถอธิบายรูปร่างและการใช้งาน พอสังเขปได้ดังนี้

รูปที่ 34 แสดงส่วนประกอบของอุปกรณ์ลำเลียงพาแบบมือ อย่างง่าย

รูปที่ 35 แสดงส่วนประกอบของอุปกรณ์ลำเลียงพาแบบมือในสายการผลิตจริง

     ก) โซ่ลำเลียง (Chain Conveyor) โซ่ลำเลียงเป็นอุปกรณ์ที่ทำหน้าที่พาแบบมือให้เคลื่อนที่ไปยังกระบวนการต่าง ๆ ในสายการผลิต ตั้งแต่แบบมือเปล่าจนออกจากตู้อบแห้ง และถอดถุงมือ โซ่ลำเลียงที่ใช้ในอุตสาหกรรมถุงมือ มีหลายแบบ แล้วแต่ผู้ออกแบบจะเลือกใช้แบบใด โซ่ลำเลียงที่มีการใช้ในสายการผลิตถุงมือยาง สามารถแสดงได้ในรูปที่ 36 การเลือกรูปแบบของโซ่ลำเลียงจะส่งผลทำให้รูปแบบของ Holder Set ที่ยึดจับแบบมือ (Former)

แตกต่างกันออกไปด้วย ตามลักษณะปีกของโซ่ที่เลือกใช้งาน ในการออกแบบว่าต้องใช้โซ่เบอร์อะไรนั้น วิศวกรจะต้องคำนวณออกแบบอย่างละเอียด โดยพิจารณาแรงดึงในโซ่ พิจารณาเทียบกับลักษณะเฉพาะของโซ่จากผู้ผลิต และต้องเผื่อค่าความปลอดภัยเพื่อป้องกันโซ่ขาดจากการใช้งานจริง และนอกจากนี้ ต้องพิจารณาการยืด หรืออายุการใช้งาน ของโซ่อย่างดี เนื่องจากในกระบวนการผลิตจะมีอุณหภูมิสูงตลอดเวลาในขณะอยู่ในตู้อบ


                รูปที่ 36 แสดงลักษณะของโซ่ลำเลียงที่ใช้ในอุตสาหกรรมถุงมือยาง



     ข) ชุดต้นกำลัง (Power Unit) มักใช้มอเตอร์เกียร์ เป็นต้นกำลัง ในการขับเฟืองโซ่ของโซ่ลำเลียง โดยปกติแล้วการขับโซ่ลำเลียงมักจะมีการปรับเปลี่ยนความเร็ว เพื่อหยุดสายการผลิต หรือใช้เพื่อซ่อมบำรุงสายการผลิต มักจะติดตัวปรับความเร็วของมอเตอร์เกียร์ (Inverter) เพื่อวัตถุประสงค์ดังกล่าว กำลังและความเร็ว ของมอเตอร์เกียร์ต้องอาศัยการออกแบบของวิศวกร โดยพิจารณาจากกำลังการผลิตของสายการผลิต
    มักใช้มอเตอร์เกียร์ เป็นต้นกำลัง ในการขับเฟืองโซ่ของโซ่ลำเลียง โดยปกติแล้วการขับโซ่ลำเลียงมักจะมีการปรับเปลี่ยนความเร็ว เพื่อหยุดสายการผลิต หรือใช้เพื่อซ่อมบำรุงสายการผลิต มักจะติดตัวปรับความเร็วของมอเตอร์เกียร์ (Inverter) เพื่อวัตถุประสงค์ดังกล่าว กำลังและความเร็ว ของมอเตอร์เกียร์ต้องอาศัยการออกแบบของวิศวกร โดยพิจารณาจากกำลังการผลิตของสายการผลิต

    มักใช้มอเตอร์เกียร์ เป็นต้นกำลัง ในการขับเฟืองโซ่ของโซ่ลำเลียง โดยปกติแล้วการขับโซ่ลำเลียงมักจะมีการปรับเปลี่ยนความเร็ว เพื่อหยุดสายการผลิต หรือใช้เพื่อซ่อมบำรุงสายการผลิต มักจะติดตัวปรับความเร็วของมอเตอร์เกียร์ (Inverter) เพื่อวัตถุประสงค์ดังกล่าว กำลังและความเร็ว ของมอเตอร์เกียร์ต้องอาศัยการออกแบบของวิศวกร โดยพิจารณาจากกำลังการผลิตของสายการผลิต


            
                              รูปที่ 37 ชุดต้นกำลัง ที่ใช้ในการขับเคลื่อนโซ่ลำเลียงในสายการผลิต



     ค) เฟืองโซ่ (Sprocket) เฟืองโซ่ในสายพานการผลิตถุงมือ จะทำหน้าที่แตกต่างกันออกไปตามตำแหน่งต่าง ๆ ในสายพานการผลิต
     a. เฟืองโซ่ขับ ซึ่งจะถูกขับโดยตรงจากชุดต้นกำลัง จะทำหน้าที่ในการถ่ายทอดพลังงานจากชุดต้นกำลังไปยังโซ่ลำเลียง เพื่อให้โซ่ลำเลียงเกิดการเคลื่อนที่ไปยังตำแหน่งต่าง ๆ ในสายการผลิต



                        รูปที่ 38 เฟืองโซ่ขับ ในการส่งกำลังไปยังเฟืองโซ่ลำเลียงพาแบบมือ



     b. เฟืองโซ่ที่ตำแหน่งปลายสุดของสายการผลิต จะทำหน้าที่กลับทิศการเคลื่อนที่ของโซ่ลำเลียง เพื่อให้โซ่สามารถเคลื่อนที่แบบกลับไป กลับมาได้


               รูปที่ 39 เฟืองโซ่ขับ สำหรับพาโซ่ลำเลียงพาแบบในสายการผลิต



     c. เฟืองโซ่ทำหน้าที่เป็น Idle Sprocket เนื่องจากโซ่ลำเลียงซึ่งมีแบบมือยึดติดอยู่ จำเป็นต้องเคลื่อนที่ไปยังตำแหน่งถังจุ่มต่าง ๆ ทำให้โซ่ต้องเคลื่อนที่ขึ้นลงถังในกระบวนการ เฟืองโซ่จึงต้องทำหน้าที่ในการกดโซ่ให้เคลื่อนที่ไปยังตำแหน่งที่ต้องการ ดังแสดงในรูปที่ 34 และรูปที่ 40

รูปที่ 40 เฟืองโซ่ทำหน้าที่เป็น Idle Sprocket ในสายการผลิต



     ง) ชุดยึดแบบจับแบบมือ (Holder Set) ชุดยึดจับแบบมือทำหน้าที่ยึดจับแบบมือ (Former) กับโซ่ลำเลียง การเลือกใช้รูปแบบของชุดยึดจับแบบมือขึ้นอยู่กับโซ่ที่ใช้ในสายการผลิต มักทำด้วยเหล็กหล่อ หรือสแตนเลส รูปแบบของชุดยึดแบบมือสามารถแสดงในรูปที่ 41

     ชุดยึดจับแบบมือทำหน้าที่ยึดจับแบบมือ (Former) กับโซ่ลำเลียง การเลือกใช้รูปแบบของชุดยึดจับแบบมือขึ้นอยู่กับโซ่ที่ใช้ในสายการผลิต มักทำด้วยเหล็กหล่อ หรือสแตนเลส รูปแบบของชุดยึดแบบมือสามารถแสดงในรูปที่ 41

รูปที่ 41 รูปแบบของชุดยึดจับแบบมือ (Holder Set) ที่ใช้ในปัจจุบัน



     จ) แบบมือ (Former) เป็นโมลสำหรับใช้ในการจุ่มในถังน้ำยางเพื่อให้น้ำยางเกาะเป็นฟิล์มบาง โดยทั่วไปจะทำจากเซรามิก รูปแบบของแบบมือขึ้นอยู่กับรูปแบบของถุงมือยางที่ต้องการผลิต รูปแบบของแบบมือ (Former) ดังแสดงในรูปที่ 42





รูปที่ 42 แบบมือเซรามิกสำหรับผลิตถุงมือยาง

เอกสารอ้างอิง
- คู่มือการปฏิบัติตามกฎหมายเกี่ยวกับถุงมือทางการแพทย์, กองควบคุมเครื่องมือแพทย์, สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา กระทรวงสาธารณสุข: พ.ศ.2547

 

สงวนลิขสิทธิ์ ตามพระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ พ.ศ. 2539 www.thailandindustry.com
Copyright (C) 2009 www.thailandindustry.com All rights reserved.

ขอสงวนสิทธิ์ ข้อมูล เนื้อหา บทความ และรูปภาพ (ในส่วนที่ทำขึ้นเอง) ทั้งหมดที่ปรากฎอยู่ในเว็บไซต์ www.thailandindustry.com ห้ามมิให้บุคคลใด คัดลอก หรือ ทำสำเนา หรือ ดัดแปลง ข้อความหรือบทความใดๆ ของเว็บไซต์ หากผู้ใดละเมิด ไม่ว่าการลอกเลียน หรือนำส่วนหนึ่งส่วนใดของบทความนี้ไปใช้ ดัดแปลง โดยไม่ได้รับอนุญาตเป็นลายลักษณ์อักษร จะถูกดำเนินคดี ตามที่กฏหมายบัญญัติไว้สูงสุด