วิศวกรหรือช่างเทคนิคที่ทำงานด้านบำรุงรักษาอยู่ในโรงงานอุตสาหกรรมต่าง ๆ คงจะประสบปัญหาว่าแรงดันไฟฟ้าระบบ 3 เฟสภายในโรงงานของท่านมีความแตกต่างของแรงดันไฟฟ้าระหว่างเฟสทั้ง 3 ซึ่งสาเหตุเกิดจากมีการใช้ไฟฟ้าเฟสใดเฟสหนึ่งมากจนเกินไป
ในอุตสาหกรรมที่มีเครื่องจักรแบบหมุน (Rotation Machine) ติดตั้งใช้งานและต้องทำงานอย่างต่อเนื่องเป็นเวลาติดต่อกันยาวนาน การตรวจสอบดูแลการทำงานของเครื่องจักรเหล่านี้มีความจำเป็นอย่างยิ่ง เพื่อให้การผลิตเป็นไปอย่างต่อเนื่อง การตรวจสอบดูแลการทำงานของเครื่องจักรจำเป็นต้องใช้เครื่องมือวัด (Instrument)ประเภทต่าง ๆ ในการตรวจวัดและรายงานผลตลอดจนสามารถวิเคราะห์ผลจากสภาวะการทำงานของเครื่องจักรให้ได้ด้วย
เครื่องแลกเปลี่ยนความร้อนชนิดเปลือกและท่อเป็นอุปกรณ์เชิงกลชนิดหนึ่งที่นิยมนำมาใช้งานกันอย่างกว้างขวาง ส่วนใหญ่แล้วจะนิยมนำมาใช้งานในระบบของการถ่ายโอนความร้อนในอุตสาหกรรมทั่ว ๆ ไป ซึ่งจากความสามารถในการถ่ายโอนความร้อนที่ดีเยี่ยมจากอุปกรณ์เชิงกลชนิดนี้ จึงได้มีการนำไปประยุกต์ใช้งานภายในงานอุตสาหกรรมได้หลากหลาย
บทความนี้จะนำเสนอรายละเอียดของเครื่องแลกเปลี่ยนความร้อนที่ใช้กันอย่างแพร่หลายทั้งสามชนิดคือ เครื่องแลกเปลี่ยนความร้อนแบบท่อและเชลล์ (Shell & Tube Heat Exchanger) ซึ่งเราพบมากที่สุดสำหรับเครื่องจักรในงานอุตสาหกรรม, เครื่องแลกเปลี่ยนความร้อนแบบแผ่น (Plate Heat Exchanger, PHE) และคูลลิ่งทาวเวอร์ (Cooling Tower)
ในช่วงเวลาที่เศรษฐกิจไม่ดี บริษัทฯส่วนใหญ่จะลดค่าใช้จ่ายในทุกด้าน รัดเข็มขัดจนเอวกิ่วเท่าที่จะทำได้ รวมถึงการชะลอการซื้ออุปกรณ์ใหม่และเลื่อนเวลาการบำรุงรักษาออกไปให้นานที่สุด ถึงแม้ว่าความคิดนี้จะเข้าใจได้ แต่การเลื่อนเวลาการบำรุงรักษาออกไปมีโอกาสสูงที่จะต้องเสียค่าใช้จ่ายเพิ่มขึ้นในภายหลังโดยเฉพาะอย่างยิ่งหากเป็นอุปกรณ์ UPS (Uninterruptible Power Supply)
ถ้าหากจะประหยัดพลังงานไฟฟ้าในโรงงานอุตสาหกรรมแล้ว มอเตอร์ไฟฟ้าเป็นเรื่องที่ต้องดำเนินการเป็นอันดับต้น ๆ ของการประหยัดพลังงานในโรงงานอุตสาหกรรม เพราะโดยภาพรวมของค่ากระแสไฟฟ้าที่เกิดขึ้นในโรงงานอุตสาหกรรมประมาณเกือบ 70% เกิดจากการใช้พลังงานในมอเตอร์ไฟฟ้า
ในการทำงานของเครื่องจักรและอุปกรณ์ที่เป็นส่วนประกอบของเครื่องจักรนั้น สิ่งที่เกิดมาพร้อมกับการทำงานของเครื่องจักรคือความร้อน ดังนั้นสิ่งที่ต้องมีควบคู่กันกับเครื่องจักรก็คือการระบายความร้อน เพื่อที่จะควบคุมและรักษาระดับความร้อนไม่ให้มากเกินไปจนเป็นอันตรายต่อเครื่องจักรซึ่งนำมาสู่ความเสียหายต่อการผลิตอันเนื่องมาจากต้องหยุดเครื่องจักรที่เสียหายดังกล่าวเพื่อซ่อมแซม
ในช่วงเวลาที่เศรษฐกิจไม่ดี บริษัทฯส่วนใหญ่จะลดค่าใช้จ่ายในทุกด้าน รัดเข็มขัดจนเอวกิ่ว เท่าที่จะทำได้ รวมถึงการชะลอการซื้ออุปกรณ์ใหม่และเลื่อนเวลาการบำรุงรักษาออกไปให้นานที่สุด ถึงแม้ว่าความคิดนี้จะเข้าใจได้ แต่การเลื่อนเวลาการบำรุงรักษาออกไปมีโอกาสสูงที่จะต้องเสียค่าใช้จ่ายเพิ่มขึ้นในภายหลัง
โรงงานอุตสาหกรรมโดยทั่วไปในปัจจุบันจะต้องมีระบบควบคุมอัตโนมัติเป็นส่วนหนึ่งในกระบวนการผลิต เช่นระบบควบคุมอุณหภูมิ ระบบควบคุมความดัน หรือระบบควบคุมระดับของเหลว เป็นต้น ส่วนประกอบหนึ่งที่ถือว่าเป็นหัวใจสำคัญของระบบควบคุมอัตโนมัติ คือ ตัวควบคุม (Controller) ซึ่งก็มีมากมายหลายชนิดให้เลือกใช้งาน แต่ตัวควบคุมที่ยังคงได้รับความนิยมอย่างสูงนับจากอดีตจนถึงปัจจุบันก็คือตัวควบคุมแบบ พี ไอ ดี (PID Controller) สาเหตุที่ทำให้ตัวควบคุมชนิดนี้เป็นที่นิยมใช้ก็เนื่องจากความเรียบง่ายของโครงสร้างตัวควบคุม และความสามารถในการลดค่าความผิดพลาดได้หลายชนิดในตัวควบคุมเดียว
อุตสาหกรรมผลิตชิ้นส่วนทางวิศวกรรมจากกระบวนการขึ้นรูปโลหะและวัสดุต่าง ๆ แม่พิมพ์นับเป็นส่วนที่มีความสำคัญยิ่งในอุตสาหกรรมไดคาสติ้ง นอกเหนือจากการออกแบบแม่พิมพ์ให้สามารถผลิตชิ้นงานได้อย่างมีประสิทธิภาพแล้ว ประเด็นสำคัญอีกประการหนึ่งที่เราจะต้องคำนึงถึงคือความทนทานหรืออายุการใช้งานของแม่พิมพ์ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในการหล่อชิ้นส่วนโลหะผสมอะลูมิเนียมและโลหะผสมแมกนีเซียมในปริมาณมาก ๆ โดยกระบวนการไดคาสติ้งที่ต้องใช้ระดับแรงดันสูงมาก
หากมองด้วยตาเปล่าเมื่อเกิดปรากฏการณ์ฟ้าผ่าขึ้นมา สิ่งที่สามารถสังเกตเห็น นั่นก็คือ ลำแสงกระแสฟ้าผ่าพุ่งลงสู่วัตถุที่มีความสูง (มากที่สุด) หรือลงสู่พื้นดินที่ราบโล่ง ทั้งนี้ทั้งนั้นก็จะขึ้นอยู่กับสภาพแวดล้อมและแฟกเตอร์บังคับเป็นอย่างไร ผลกระทบจากฟ้าผ่ามิได้จำกัดอยู่แค่ความเสียหายที่เกิดขึ้นกับชีวิตและทรัพย์สินอย่างตรง ๆ เพียงเท่านั้น แต่ผลกระทบจากปรากฏการณ์ฟ้าผ่ายังแพร่วงกว้างไปมากกว่าที่เราสามารถเห็นได้ด้วยตาเปล่า บทความฉบับนี้จะพุ่งไปสู่การทำความเข้าใจในเรื่องผลกระทบจากปรากฏการณ์ฟ้าผ่าต่อคุณภาพกำลังไฟฟ้าในระบบงาน (ผลกระทบทางอ้อม)
ในช่วงกลางปี พ.ศ. 2546 ถึงกลางปี พ.ศ. 2547 ที่ผ่านมา ตัวแทนจากศูนย์เทคโนโลยีโลหะและวัสดุแห่งชาติ หรือ เอ็มเทค ในโปรแกรมวิจัยที่เกี่ยวข้องกับเทคโนโลยีการออกแบบ ผลิตและขึ้นรูปด้านโลหะ ได้มีส่วนร่วมในการดำเนินงานวิจัยเชิงสำรวจสภาวะและศักยภาพทางอุตสาหรรมแม่พิมพ์ หรือโครงการแผนแม่บทอุตสาหกรรมแม่พิมพ์ (Masterplan of mold and die industry) ซึ่งเป็นการศึกษาอุตสาหกรรมเพื่อการนำเสนอแผนงานในการพัฒนาอุตสาหกรรม อันเป็นยุทธศาสตร์ในระดับประเทศเพื่อการเชื่อมโยงแผนงานจากรายอุตสาหกรรมสู่ภาพรวมในเชิงการผลิตของประเทศต่อไป
อุตสาหกรรมไม่ว่าจะมีขนาดเล็กหรือใหญ่นั้น ส่วนใหญ่ก็จะมีการใช้มอเตอร์ในส่วนของกระบวนการผลิตเสมอ ในกรณีที่บริษัทหรือโรงงานอุตสาหกรรมที่ท่านทำงานตั้งอยู่ในพื้นที่ของนิคมอุตสาหกรรมก็คงจะได้รับผลกระทบน้อยในเรื่องของความเปลี่ยนแปลงของแรงดันไฟฟ้าและความถี่ เนื่องจากพื้นที่ดังกล่าวได้ออกแบบระบบไฟฟ้าสำหรับรองรับภาคอุตสาหกรรมไว้แล้วซึ่งจะมีความเชื่อถือได้ของระบบไฟฟ้าอยู่ในเกณฑ์สูงกว่าพื้นที่ทั่วไป แต่ถ้าในกรณีโรงงานที่ท่านทำงานอยู่ไม่ได้ตั้งในเขตอุตสาหกรรมล่ะ
โรงงานอุตสาหกรรมจะใช้มอเตอร์ไฟฟ้าเป็นเครื่องกลไฟฟ้าหลัก ในระบบจักรกลการผลิต ต้นทุนของพลังงานไฟฟ้าจึงมีมอเตอร์ไฟฟ้าเป็นตัวกำหนด รวมทั้งตัวเลขบนใบเรียกเก็บเงินค่าใช้ไฟฟ้าด้วย การใช้งานมอเตอร์ไฟฟ้าให้เกิดประโยชน์สูงสุดตามระดับประสิทธิภาพของตัวมอเตอร์จะเป็นหนทางหนึ่งที่จะช่วยลดปริมาณการสูญเสียพลังงานไฟฟ้า และลดค่าใช้จ่าย บทความนี้จะขอนำเสนอวิธีการคำนวณเพื่อกำหนดขนาดของมอเตอร์ให้เหมาะสมกับภาระที่ต้องขับเคลื่อน (Load) เพื่อจุดประสงค์ในการประหยัดพลังงานไฟฟ้า และยืดอายุการใช้งานของมอเตอร์ไฟฟ้า ซึ่งอาจเลือกใช้ได้หลายวิธี
ในกระบวนการผลิตโดยเฉพาะการผลิตแบบต่อเนื่อง และการผลิตที่มีขนาดใหญ่ เช่น กระบวนการกลั่นน้ำมัน กระบวนการผลิตไฟฟ้า กระบวนการถลุงเหล็ก นั้น ล้วนแล้วแต่เป็นกระบวนการที่มีความซับซ้อนค่อนข้างมาก การควบคุมกระบวนการผลิตเพื่อให้ได้ผลิตผลที่ดีมีคุณภาพตามต้องการ (Desired Productivity) รวมทั้งต้องประหยัดด้วย เหล่านี้นับเป็นสิ่งสำคัญ อันเป็นที่ต้องการสำหรับเจ้าของกิจการ การนำเทคโนโลยีการวัดคุมและระบบควบคุม (Instrumentation and Control System) เข้ามาใช้งาน จึงเป็นสิ่งสำคัญที่สุด เพื่อให้บรรลุวัตถุประสงค์ของการผลิตที่ดีตามต้องการ
ปัญหาที่เกิดจากมอเตอร์ที่มีอุณหภูมิสูงเกิน หรือ Over Temperature อาจจะเกิดมาจาก การเลือกขนาด และชนิดของมอเตอร์ การติดตั้งไม่ถูกต้อง ความไม่เข้าใจในลักษณะของโหลดที่นําไปใช้งาน รวมไปถึงอุณหภูมิ ของสภาพแวดล้อมในขณะใช้งานสูงเกินมาตรฐาน หลาย ๆ ปัญหาที่เกิดกับมอเตอร์ รวมไปถึง ปัญหาที่เกิดจากมอเตอร์ที่มีอุณหภูมิสูงเกิน สามารถที่จะหลีกเลี่ยงปัญหาที่จะเกิดขึ้นได้ ถ้าเข้าใจในหลักการทํางานของมอเตอร์ และเข้าใจถึงสภาพการนำไปใช้งาน
อินเวอร์เตอร์ (Inverter) หรือไดรฟ์ (Drive) เป็นผลิตภัณฑ์ที่มีจุดมุ่งหมายเพื่อใช้ในการปรับความเร็ว หรือใช้งานร่วมกับระบบควบคุมความเร็วของมอเตอร์ไฟฟ้ากระแสสลับ ซึ่งมีใช้งานอย่างแพร่หลายในอุตสาหกรรม การติดตั้งอินเวอร์เตอร์ที่ไม่ถูกต้องอาจทำให้อินเวอร์เตอร์เกิดความเสียหาย ทำงานได้ไม่เต็มประสิทธิภาพ หรืออาจเป็นต้นเหตุของเพลิงไหม้ได้
จากในตอนที่แล้วที่เราได้กล่าวถึงบทนำของความเสียหายของวัสดุและรายละเอียดของความเสียหายของวัสดุที่เกิดจากการล้าตัว (Fatigue Failure) สำหรับตอนนี้เราจะกล่าวถึงรายละเอียดของความเสียหายของวัสดุต่อในส่วนของ ความเสียหายเนื่องจากการอ่อนตัว (Ductile Failure) ความเสียหายเนื่องจากการสึกหรอ (Wear Failures) ประเภทต่าง ๆ ความเสียหายจากการเกิดโพรงไอ (Cavitations Failure) และบทนำในเรื่องความเสียหายจากการผุกร่อน (Corrosion Failures)
วาล์วควบคุมเป็นอุปกรณ์ที่สำคัญอีกชนิดหนึ่งที่ใช้ในระบบควบคุมกระบวนการผลิตประเภทต่าง ๆ การเลือกวาล์วควบคุมที่เหมาะสมจะทำให้การควบคุมกระบวนการผลิตเป็นไปตามความต้องการ, มีอายุการใช้งานยาวนานและมีความปลอดภัยในการใช้งาน ในบทความนี้เป็นการแสดงคำแนะนำความต้องการสำหรับการเลือกใช้งานวาล์วควบคุมในอุตสาหกรรมกลั่นน้ำมัน โดยจะแสดงบรรทัดฐานในการเลือกใช้, การกำหนดรายละเอียดและการใช้งานวาล์วควบคุมที่ใช้หัวขับแบบลูกสูบ (Piston Actuator) และใช้หัวขับแบบไดอะเฟรม (Diaphragm Actuator)