ปัญหาที่เกิดจากมอเตอร์ที่มีอุณหภูมิสูงเกิน หรือ Over Temperature อาจจะเกิดมาจาก การเลือกขนาด และชนิดของมอเตอร์ การติดตั้งไม่ถูกต้อง ความไม่เข้าใจในลักษณะของโหลดที่นําไปใช้งาน รวมไปถึงอุณหภูมิ ของสภาพแวดล้อมในขณะใช้งานสูงเกินมาตรฐาน หลาย ๆ ปัญหาที่เกิดกับมอเตอร์ รวมไปถึง ปัญหาที่เกิดจากมอเตอร์ที่มีอุณหภูมิสูงเกิน สามารถที่จะหลีกเลี่ยงปัญหาที่จะเกิดขึ้นได้ ถ้าเข้าใจในหลักการทํางานของมอเตอร์ และเข้าใจถึงสภาพการนำไปใช้งาน
พิรพงศ์ ลิ้มประสิทธิ์วงศ์ |
. |
ปัญหาที่เกิดจากมอเตอร์ที่มีอุณหภูมิสูงเกิน หรือ Over Temperature อาจจะเกิดมาจาก การเลือกขนาด และชนิดของมอเตอร์ การติดตั้งไม่ถูกต้อง ความไม่เข้าใจในลักษณะของโหลดที่นําไปใช้งาน รวมไปถึงอุณหภูมิ ของสภาพแวดล้อมในขณะใช้งานสูงเกินมาตรฐาน หลาย ๆ ปัญหาที่เกิดกับมอเตอร์ รวมไปถึง ปัญหาที่เกิดจากมอเตอร์ที่มีอุณหภูมิสูงเกิน สามารถที่จะหลีกเลี่ยงปัญหาที่จะเกิดขึ้นได้ ถ้าเข้าใจในหลักการทํางานของมอเตอร์ และเข้าใจถึงสภาพการนำไปใช้งาน |
. |
|
. |
มอเตอร์กรงกระรอก หรือ อินดักชั่นมอเตอร์ โดยส่วนใหญ่จะมีการระบายความร้อนเป็นแบบชนิด IC411 หรือ แบบ Self Cool หรือ TEFC (Totally Enclosure Fan Cool) โดยจะมีพัดลมอยู่สองชุด แยกวงจรลมออกเป็นวงจรลมร้อนภายในและภายนออก โดยวงจรลมภายในจะมีครีบใบพัดติดที่ตัวโรเตอร์ทำหน้าที่ตีลมให้มีการหมุนเวียนภายในห้องโรเตอร์ให้ลมกระจายโดยทั่ว |
. |
เพื่อสามารถนำพาเอาความร้อนจากตัวโรเตอร์เอง และขดลวดสเตเตอร์ ถ่ายเทไปยังผิวของโครงสร้างตัวมอเตอร์ โดยวิธีการนำพาระบายความร้อน ส่วนวงจรลมด้านนอกจะมีพัดลมติดด้านท้ายของตัวโรเตอร์ด้านนอกโครงมอเตอร์ ทำหน้าที่ดูดลมเย็นจากทางด้านท้าย (Non Drive End) ผ่านทางครีบด้านนอกเพื่อช่วยนำพา และระบายความร้อนออกจากตัวโครงสร้างมอเตอร์ ดังรูปที่ 1 |
. |
|
รูปที่ 1 แสดงลักษณะโครงสร้างของมอเตอร์เหนี่ยวนำแบบกรงกระรอก |
. |
จากรูปที่ 1 แสดงมอเตอร์โดยทั่วไปจะประกอบด้วยโครงเหล็กหรืออะลูมิเนียมด้านนอกครอบสเตเตอร์ที่ทำจากแผ่นเหล็กบางเรียงอัดซ้อนกัน พร้อมขดลวดทองแดงหุ้มด้วยฉนวนฝังในร่องสเตเตอร์ แล้วทำการชุบหรือเคลือบด้วยฉนวนวานิช แล้วอบแห้งเพื่อให้ทนทานต่ออุณหภูมิที่เพิ่มขึ้นจากการใช้งาน บางชนิดของมอเตอร์หรือบางโรงงานอาจจะผ่านกรรมวิธี VPI (Vacuum Pressure Impregnation) |
. |
เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพของการเคลือบวานิชให้กระจายทุกซอกทุกมุม เพิ่มความคงทนแข็งแรงอันเนื่องมาจากการสั่นสะเทือน และลดโอกาสที่ฝุ่นละอองจะเข้าไปจับระหว่างขดลวด โดยทั่วไปในปัจจุบันนี้วัสดุของฉนวนที่ใช้ส่วนใหญ่ จะสามารถทนอุณหภูมิได้ตามการมาตรฐานฉนวนไฟฟ้า Class F ซึ่งจะสามารถทนอุณหภูมิได้สูงสุด 155oC หรือมอเตอร์บางรุ่นอาจจะใช้ ฉนวนไฟฟ้าตามมาตรฐาน Class H ซึ่งสามารถทนอุณหภูมิได้สูงสุดถึง 180oC |
. |
|
รูปที่ 2 แสดงลักษณะโครงสร้าง และ ขดลวดของ Stator ของมอเตอร์ไฟฟ้า |
. |
จากรูปที่ 2 แสดงลักษณะของขดลวดเมื่อพันเสร็จแล้วกลายเป็นขดลวดสเตเตอร์ รวมทั้งฉนวนขดลวดที่ใช้กันโดยทั่วไป โดยระบบของฉนวนสำหรับขดลวดไฟฟ้าในสเตเตอร์จะประกอบไปด้วย |
. |
ก.) ฉนวนระหว่างเฟสไฟฟ้า หรือระหว่างขดลวด (Phase Barrier) |
. |
อุณหภูมิกับอายุการใช้งานของมอเตอร์ |
อายุการใช้งานของมอเตอร์จะยาวนาน หรือสั้นลง ส่วนสำคัญ ส่วนหนึ่ง คือ อายุการใช้งานของฉนวนที่ขดลวด ส่วนอื่น ๆ เช่น แบริ่ง ซึ่งเป็นอุปกรณ์ทางกลสามารถที่จะพอมองเห็นได้ด้วยตา หรือฟังด้วยเสียงได้ และการเปลี่ยนอุปกรณ์เหล่านี้ ไม่ยากและราคาไม่สูงมากนัก |
. |
มอเตอร์ส่วนใหญ่เกินกว่า 50% จะเสียอันเนื่องมาจากเกิดการลัดวงจรของขดลวด การลัดวงจรอาจจะเกิดจากปัญหาทางกลที่สามารถมองเห็นได้ง่าย แต่สาเหตุใหญ่ที่อยู่เบื้องหลัง คือฉนวนเสื่อมคุณภาพก็เพราะความเป็นฉนวนไม่สามารถทำหน้าที่เป็นฉนวนทนแรงดันไฟฟ้าสูงสุดได้ จึงทำให้เกิดแรงดันทะลุฉนวน เกิดการลัดวงจรทางไฟฟ้า หรือลัดวงจรลงดิน |
. |
ฉนวนเสื่อมคุณภาพสาเหตุใหญ่เกิดจากอุณหภูมิเกินพิกัด เพราะอุณหภูมิที่สูงเกินจะทำให้คุณสมบัติทางกายภาพของวัสดุเปลี่ยนไป ความเป็นฉนวนของขดลวดเสื่อมคุณภาพ ทำให้เกิดการลัดวงจรลงโครง หรือระหว่างขดลวด |
. |
อุณหภูมิเกินพิกัดนั้นมีสาเหตุมาจากหลายปัจจัย เช่น สภาพแวดล้อมไม่ตรงกับที่ออกแบบ, มอเตอร์ขับโหลดเกินทำให้กระแสเกิน, การสตาร์ทบ่อยเกินไป จะมีกระแสเป็นจำนวนมากในตอนที่มอเตอร์สตาร์ททำให้ร้อนจัด, หรือการเลือกมอเตอร์ไม่เหมาะสมกับสภาพการใช้งาน เป็นต้น |
. |
โดยปกติฉนวนสำหรับมอเตอร์ควรจะมีอายุการใช้งานประมาณ 20 ปี ถ้ามอเตอร์นั้นทำงานภายใต้สภาวะแวดล้อมตามการที่ออกแบบเอาไว้ หากอุณหภูมิของฉนวนเพิ่มขึ้นทุก ๆ 10 องศาเซลเซียส (10oK) อายุการใช้งานของฉนวนจะสั้นลงโดยประมาณ 50% ยกตัวอย่างเช่น ตามสถิติ ฉนวน Class F (155oC) นำไปใช้งานที่อุณหภูมิเพิ่มขึ้นตาม Class F (105 oK) จะมีอายุการใช้งานประมาณ 60,000 ชั่วโมง แต่หากนำไปใช้งานที่อุณหภูมิเพิ่มขึ้นตาม Class B (80oK) จะมีอายุการใช้งานประมาณ 150,000 ชั่วโมง เป็นต้น |
. |
|
รูปที่ 3 แสดงมาตรฐานอุณหภูมิ หรือ Class ของฉนวนสำหรับขดลวดมอเตอร์ |
. |
ในบางกรณี อาจจะมีผู้ขายหรือผู้ผลิตบางรายใช้วิธีเล่นคำ นำเสนอมอเตอร์ ซึ่งปกติมอเตอร์มีฉนวนแบบ Class F ออกแบบเพื่อใช้งาน Utilization to Class B สามารถขับโหลดได้ไม่เกิน 100 kW เล่นคำเสียใหม่เป็นมอเตอร์ 110 kW ฉนวนชนิด Class F Utilization to Class F ฟังดูดี และขนาดมอเตอร์ใหญ่กว่า น่าจะราคาแพงกว่ามอเตอร์ 100 kW Class F/B |
. |
ซึ่งแท้ที่จริงแล้วเป็นมอเตอร์เหมือนกันทุกประการ Utilization to Class F หมายความว่าเมื่อนำมอเตอร์ไปใช้งานที่กำลังพิกัด (ซึ่งจะสูงกว่าเดิมประมาณ 10%) จะทำให้อุณหภูมิเพิ่มขึ้นจากอุณหภูมิแวดล้อมได้สูงขึ้นจากเดิม 80 oC เปลี่ยนเป็น Class F หรือ 105 oC หรือ อธิบายได้อีกอย่างหนึ่ง มอเตอร์ตัวเดียวกันนี้ ถ้าระบุการนำไปใช้งาน เป็นแบบ Class F/B จะได้กำลังน้อยกว่า F/F ประมาณ 10% |
. |
นอกจากนั้น การเพิ่มขึ้นของอุณหภูมิจะเป็นผลทำให้เกิดค่าความต้นทานของขดลวดในมอเตอร์เพิ่มมากขึ้น ทำให้ค่า I2R หรือ กำลังสูญเสียในตัวมอเตอร์เพิ่มขึ้นตามอุณหภูมิที่แตกต่างไป ทำให้ประสิทธิภาพของการแปลงพลังงานไฟฟ้าไปเป็นพลังงานกลของมอเตอร์ลดลง ซึ่งสามารถหาค่าความต้านทานที่เพิ่มขึ้นได้ ตามสูตร |
. |
![]() |
. |
การระบายความร้อนมอเตอร์ |
ประสิทธิภาพของการระบายความร้อน ทั้งด้านนอก และภายในตัวมอเตอร์ ซึ่งขึ้นอยู่กับปริมาณลมที่ระบายความร้อน และความเย็นของลม ในขณะที่ปริมาณลมก็ขึ้นอยู่กับความเร็วของพัดลมยกกำลังสาม (Q ~ n3) ตามกฎพลศาสตร์ ดังนั้นเมื่อเรานำมอเตอร์อเมริกาที่ออกแบบให้ใช้ที่อุณหภูมิแวดล้อมเท่ากัน ที่ระบบความถี่ 60 Hz ความเร็วรอบ 1800 รอบต่อนาที มาใช้ที่ระบบไฟฟ้า 50 Hz ความเร็วรอบ 1500 รอบต่อนาที |
. |
จะทำให้ประสิทธิภาพของการระบายความร้อนของมอเตอร์ลดลง ทำให้ความสามารถในการรองรับกระแสก็จะลดลงตามไปด้วย ทำให้มอเตอร์ไม่สามารถขับโหลดได้เต็มพิกัดตามขนาดกระแสพิกัด หากเรานำมอเตอร์ไปขับยังกระแสพิกัด ผลที่ตามมาคือ มอเตอร์จะร้อนกว่าพิกัดที่ออกแบบไว้ ทำให้อายุการใช้งานของมอเตอร์สั้นลงอย่างรวดเร็ว |
. |
|
รูปที่ 4 แสดงลักษณะการระบายความร้อนของมอเตอร์ |
. |
จากรูปที่ 4 หากวิเคราะห์ดูตามหลักพลศาสตร์ การระบายความร้อน ส่วนที่ร้อนที่สุดคือส่วนกลางตัวมอเตอร์ เพราะอยู่ใกล้แหล่งกำเนิดความร้อนคือ ขดลวดสเตเตอร์มากที่สุด ส่วนที่มีอุณหภูมิต่ำที่สุดคือส่วนท้ายตัวมอเตอร์เพราะอยู่ใกล้แหล่งลมเย็นที่ระบายความร้อนมากที่สุด |
. |
ดังนั้นหากต้องการนำมอเตอร์อเมริกาออกแบบที่ 60 Hz มาใช้ที่ระบบไฟฟ้า 50 Hz ควรตรวจดูความร้อนที่เพิ่มขึ้นที่ตัวมอเตอร์ โดยทั่วไปมอเตอร์ Class F Utilization Class B หมายถึง ฉนวนของขดลวดมีความสามารถทนความร้อนได้ไม่เกิน 155oC และจะยอมให้มีอุณหภูมิเพิ่มขึ้นจากการใช้งานได้ไม่เกิน 80oC จากอุณหภูมิแวดล้อม |
. |
ยกตัวอย่างเช่น อุณหภูมิแวดล้อม 40oC เมื่อขับมอเตอร์เต็มรอบ ความร้อนที่ขดลวดเพิ่มขึ้นเป็น 125oC นั่นหมายความว่ามอเตอร์กำลังขับโหลดเกินกำลัง เพราะอุณหภูมิที่ยอมรับได้ คือ อุณหภูมิไม่เกิน 40oC + 80oC = 120oC |
. |
|
รูปที่ 5 แสดงลักษณะอุณหภูมิที่เพิ่มขึ้นแต่ละตำแหน่งของมอเตอร์ |
. |
จากรูปที่ 5 เป็นการอธิบายอุณหภูมิที่เพิ่มขึ้น ณ ตำแหน่งจุดต่าง ๆ ที่ตัวมอเตอร์ โดย 1 องศาเคลวิน มีค่าเท่ากับ 1 oC |
. |
ตามมาตรฐาน IEC มอเตอร์จะออกแบบขดลวดเป็นแบบชนิด Class F Utilization to Class Bหมายความว่า ขดลวดที่สเตเตอร์ได้ถูกออกแบบโดยใช้ฉนวนเป็นแบบชนิด Class F ซึ่งตามมาตรฐานจะต้องสามารถทนอุณหภูมิสูงสุดได้ถึง 155 oC Utilization to Class B หมายความว่า การนํามาใช้งานที่กําลังพิกัด จะยินยอมให้อุณหภูมิที่เพิ่มขึ้นจากอุณหภูมิแวดล้อมต้องไม่เกิน Class B=80 oC หรืออีกนัยหนึ่ง หมายความว่า อุณหภูมิของขดลวดเมื่อนําไปใช้งานที่กําลังพิกัด (Rated Power Output) อุณหภูมิที่เพิ่มขึ้นจากอุณหภูมิแวดล้อมต้องไม่เกิน 80 oC |
. |
ตามมาตรฐาน IEC มอเตอร์ จะออกแบบและทดสอบมาให้ใช้งาน ณ อุณหภูมิแวดล้อม 40 oC ดังนั้น อุณหภูมิที่ขดลวดจะมีอุณหภูมิสูงสุดไม่เกิน 40 oC + 80 oC = 120 oC โดยเฉลี่ย หรืออ้างอิงตามมาตรฐาน IEC ในแต่ละจุดที่ขดลวดสเตเตอร์ อาจจะยินยอมให้มี Hot Spot หรือ Tolerance ได้ 10 oK |
. |
จากรูปอุณหภูมิที่ขดลวดสเตเตอร์อาจจะมีบางจุด อุณหภูมิอาจจะสูงเกินได้แต่ต้องไม่เกิน 10 oK ในบางจุดได้ หรือ 40 oC + 80 oC + 10 oC = 130 oC ได้ ทั้งนี้หากนําไปใช้งาน ณ. อุณหภูมิแวดล้อม 50 oC อุณหภูมิที่ขดลวดจะมีอุณหภูมิสูงสุดไม่เกิน 50 oC + 80 oC =130 oC หรือมี Hot Spot ที่ขดลวด ไม่เกิน 130 oC |
. |
เนื่องจากมอเตอร์ชนิดนี้ ออกแบบการระบายความร้อนโดยมีพัดลมติดกับแกนเพลา ด้านตรงข้ามเพลาขับ ทําหน้าที่ดูดลมเย็นจากทางด้านหลัง ผ่านไปยังครีบระบายความร้อน โดยมีครีบเป็นตัวช่วยเพิ่มพื้นที่ผิว การระบายความร้อนโดยวิธีการนําพาความร้อนออกไป (IC411) จึงทําให้อุณหภูมิที่ แหวนรองลื่นด้านตรงข้ามเพลาขับ (Non Drives End) จะมีอุณหภูมิไม่สูงมากนัก อันเนื่องมาจากติดตั้งอยู่ใกล้กับพัดลมระบายความร้อน และโดนลมเย็นระบายความร้อนมากที่สุด |
. |
ตามมาตรฐาน การออกแบบจากทางโรงงานผู้ผลิตชั้นนํา จะมีอุณหภูมิ เพิ่มขึ้นโดยประมาณ 30 oK หรืออีกนัยหนึ่งหากวัดอุณหภูมิที่แหวนรองลื่นด้านตรงข้ามเพลาขับ 40 oC + 30 oC = 70 oC ในทํานองกลับกันอุณหภูมิที่แหวนรองลื่นด้านเพลาขับ หากดูทิศทางลมระบายความร้อนจะเห็นว่าไม่มีส่วนของลมเย็นมาปะทะ ให้นําพาความร้อนออกไปได้โดยตรงเหมือน แหวนรองลื่นด้านตรงข้ามเพลาขับ |
. |
จึงทําให้เกิดความร้อนสะสมมีมากกว่า ตามรูป จะเกิดอุณหภูมิ เพิ่มขึ้นโดยประมาณ 45 oK หรือ 40 oC + 45 oC = 85 oC อย่างไรก็ตาม โดยมาตรฐานการออกแบบของผู้ผลิตแหวนรองลื่น (Bearing) สามารถจะทนอุณหภูมิสูงสุดได้ถึง 60 oK หรือ 40 oC + 60 oC = 100 oC จึงไม่น่าจะมีปัญหาประการใด หากอุณหภูมิสูงไม่เกินพิกัดมาตรฐานผู้ผลิตแหวนรองลื่น |
. |
|
รูปที่ 6 อุณหภูมิที่เพิ่มขึ้น ณ ตำแหน่งจุดต่าง ๆ ที่ตัวมอเตอร์ |
. |
รูปที่ 6 เป็นการอธิบายอุณหภูมิที่เพิ่มขึ้น ณ ตำแหน่งจุดต่าง ๆ ที่ตัวมอเตอร์ จากรูปอาจจะไม่ค่อยคุ้นตากับมอเตอร์ชนิดนี้มากนัก เพราะเป็นการระบายความร้อนแบบ IC 611 จะเป็นมอเตอร์ขนาดใหญ่กว่า 1,000 kW เสียเป็นส่วนมาก |
. |
เนื่องจากมอเตอร์ชนิดนี้ ออกแบบการระบายความร้อนโดยมีพัดลมติดกับแกนเพลา ด้านตรงข้ามเพลาขับ ทำหน้าที่ดูดลมเย็นจากทางด้านหลัง ผ่านไปยังท่อระบายความร้อน โดยวิธีการนำพา (IC611) จึงทำให้อุณหภูมิที่ แหวนรองลื่นด้านตรงข้ามเพลาขับ (Non Drives End) จะมีอุณหภูมิไม่สูงมากนัก อันเนื่องมาจากติดตั้งอยู่ใกล้กับพัดลมระบายความร้อน และโดนลมเย็นระบายความร้อนมากที่สุด จากมาตรฐาน การออกแบบจากทางโรงงานผู้ผลิตชั้นนำจะมีอุณหภูมิเพิ่มขึ้นโดยประมาณ 18oK หรือ 40oC + 18oC= 58 oC |
. |
จากรูปแหวนรองลื่นด้านเพลาขับ หากดูทิศทางลมระบายความร้อนจะเห็นว่าไม่มีส่วนของลมเย็นมาประทะ ให้นำพาความร้อนออกไปได้โดยตรงเหมือน แหวนรองลื่นด้านตรงข้ามเพลาขับ จึงทำให้เกิดความร้อนสะสมมากกว่า จะเห็นว่า เกิดอุณหภูมิเพิ่มขึ้นโดยประมาณ 48oK หรือ 40oC + 48oC = 88 oC |
. |
อนึ่งในบางกรณี หากนำมอเตอร์ไปใช้ที่อุณหภูมิแวดล้อมต่ำกว่าที่ออกแบบไว้ หรือนำมอเตอร์ไปขับโหลดที่ต่ำกว่ากำลังพิกัด อุณหภูมิที่ขดลวดจะต้องต่ำกว่าที่ออกแบบไว้ ส่วนที่แหวนรองลื่นจะลดลงบ้างอาจจะไม่มากนัก หากนำมอเตอร์ไปใช้งานที่ความเร็วรอบต่ำกว่ามาตรฐานที่ออกแบบไว้ อาจจะทำให้การระบายความร้อนได้ไม่ดีเท่าที่ควร แต่ไม่ควรจะสูงกว่าที่ได้ออกแบบไว้ตามมาตรฐานการผลิต |
. |
กรณีการนํามอเตอร์ไปใช้กับ VSD |
ในกรณีที่นํามอเตอร์ไปใช้กับอุปกรณ์การปรับความเร็วรอบ (VSD) หากนํามอเตอร์ไปใช้งานที่ความเร็วรอบต่ำกว่ามาตรฐานที่ออกแบบไว้ จะทําให้พัดลมด้านตรงข้ามเพลาขับหมุนช้าตามไปด้วย ทําให้การระบายความร้อนจะทํางานได้ไม่ดีเท่าที่ควรอันอาจจะทําให้อุณหภูมิสูงขึ้นจนเกินพิกัด ดังนั้น หากนํามอเตอร์มาตรฐานโดยทั่วไป IC611 หรือ IC411 ไปใช้กับอุปกรณ์ |
. |
การปรับความเร็วรอบ (VSD) เมื่อลดความเร็วรอบมอเตอร์ลง กระแสของมอเตอร์จะต้องลดลง เพราะกระแสไฟฟ้าจะทําให้ความร้อนสะสมที่ขดลวดมอเตอร์สูงเกินพิกัดอันเนื่องมาจากการระบายความร้อนที่พัดลมระบายความร้อนหมุนช้าลงนั่นเอง ทั้งนี้อุณหภูมิที่เพิ่มขึ้นจะต้องไม่สูง กว่าที่ได้ออกแบบไว้ตามมาตรฐานการผลิตของมอเตอร์ดังที่ได้กล่าวมาแล้วข้างต้น |
. |
ดังนั้น การนํามอเตอร์มาตรฐานโดยทั่วไป ไปใช้กับอุปกรณ์การปรับความเร็วรอบ (VSD) สามารถนําไปใช้ได้กับโหลดประเภท พัดลม หรือปั๊มน้ำ ซึ่งโหลดชนิดนี้จะกินกระแสลดลงเมื่อความเร็วรอบลดต่ำลง แต่หากนําไปใช้กับโหลดประเภทอื่น ๆ เช่น เครื่องบด เครื่องอัด สายพานลําเลียง ลิฟต์ยกของ ซึ่งโหลดชนิดนี้อาจจะกินกระแสเท่าเดิม หรือลดลงเพียงเล็กน้อย เมื่อความเร็วรอบลดต่ำลง อาจจะส่งผลให้มอเตอร์ร้อนเกินจนกระทั่งเกิดความเสียหายได้ในที่สุด |
. |
มอเตอร์ฉนวน Class H |
ด้วยเหตุผลของฉนวน Class H ซึ่งสามารถทนความร้อนได้สูงถึง 180 oC ทําให้ขดลวดสามารถรองรับกระแสได้มากขึ้น หรือสามารถขับโหลดได้มากขึ้นในขณะที่ตัวยังเท่าเดิมหรืออีกนัยหนึ่งก็คือมอเตอร์มันจะร้อนขึ้นจะเป็นไรไป ในเมื่อฉนวนสามารถทนความร้อนได้สูงขึ้นทําให้สามารถออกแบบมอเตอร์ได้ตัวเล็กลงให้กําลังมากขึ้นกินพื้นที่ลดลง น้ำหนักก็ลดลงด้วยดังนั้นหากเจอมอเตอร์ฉนวน Class H ร้อนกว่าปกติก็ไม่ต้องตกใจมัน เป็นเรื่องธรรมชาติ |
. |
ปัจจุบันมีผู้ผลิตหลายรายได้นําฉนวน Class H มาใช้กับมอเตอร์โดยเฉพาะมอเตอร์ DC หรือ SEVO หรือ Induction Motor มอเตอร์ฟังดูเหมือนจะดีแต่มันมีเหตุผลของการนํามาใช้เพราะต้องการประหยัดพื้นที่ และลดต้นทุนเรื่องโครงสร้าง แต่อาจจะไปแพงที่ชนิดของฉนวน แถมยังพ่วงท้ายมาด้วยจุดขาย Class H ซึงสามารถทนความร้อนได้สูงขึ้น |
. |
ในการออกแบบ และนำมาใช้งานที่ถูกต้อง มอเตอร์ฉนวน Class H จะนำมาใช้กับพื้นที่ที่มีอุณหภูมิแวดล้อมสูงกว่าปกติ เช่นในโรงหลอมเหล็ก หรือมอเตอร์ที่จำเป็นต้องสตาร์ทเป็นเวลานาน ทำให้อุณหภูมิตอนเริ่มหมุนสูงมากจนมอเตอร์ฉนวน Class F ไม่สามารถจะทนได้ จึงนับเป็นการเลือกใช้งานที่ถูกต้อง เพราะราคามอเตอร์ Class H แบบ Induction จะมีราคาสูงมากเมื่อเปรียบเทียบกับมอเตอร์ Class F |
. |
ส่วนมอเตอร์แบบ DC หรือ SEVO อาจจะเนื่องมาจากข้อจำกัดของพื้นที่ในการติดตั้ง ที่ติดมากับเครื่องจักรที่ต้องการความเล็ก และเบา และการออกตัวที่รวดเร็ว หรือลักษณะงานที่ต้องการการเปลี่ยนความเร็วรอบอย่างรวดเร็ว (High Dynamics) จึงจำเป็นต้องใช้ Class H ประกอบกับราคาไม่แตกต่างกันมาก เพราะตัวไม่ใหญ่มากนัก เป็นต้น |
. |
อีกตัวอย่างของมอเตอร์ฉนวนพิเศษคือ Smoke and Heat Extraction Motors เป็นมอเตอร์ที่ออกแบบให้ฉนวนมีความสามารถทนความร้อนได้เป็นกรณีพิเศษโดยเฉพาะ ปัจจุบันมีการนำมาใช้งานกับพัดลม ในระบบระบายอากาศซึ่งสามารถทำงานได้ทั้งในสภาวะปกติ และในสภาวะเกิดเพลิงไหม้ เพื่อทำหน้าที่ลดประมาณควัน และความร้อนภายในตัวตึกเมื่อเกิดเพลิงไหม้ เช่น ในปัจจุบันอุโมงค์รถไฟฟ้าใต้ดินในกรุงเทพ ฯ ก็มีการนำมาใช้งาน หรือในตึกสูง หรือในพื้นที่เสี่ยงอัคคีภัย |
. |
การทำงานในขณะเกิดเพลิงไหม้ มอเตอร์จะต้องสามารถทำงานในขณะที่มีควันไฟ และมีอุณหภูมิสูงได้ จึงมีการกำหนดมาตรฐานที่แตกต่างออกไปจากมอเตอร์ธรรมดา เช่น มาตรฐาน F200 = 200 oC, F300 = 300 oC, F400 = 400 oC ซึ่งต้องทนความร้อนได้นานกว่า 120 นาที เป็นต้น |
สงวนลิขสิทธิ์ ตามพระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ พ.ศ. 2539 www.thailandindustry.com
Copyright (C) 2009 www.thailandindustry.com All rights reserved.
ขอสงวนสิทธิ์ ข้อมูล เนื้อหา บทความ และรูปภาพ (ในส่วนที่ทำขึ้นเอง) ทั้งหมดที่ปรากฎอยู่ในเว็บไซต์ www.thailandindustry.com ห้ามมิให้บุคคลใด คัดลอก หรือ ทำสำเนา หรือ ดัดแปลง ข้อความหรือบทความใดๆ ของเว็บไซต์ หากผู้ใดละเมิด ไม่ว่าการลอกเลียน หรือนำส่วนหนึ่งส่วนใดของบทความนี้ไปใช้ ดัดแปลง โดยไม่ได้รับอนุญาตเป็นลายลักษณ์อักษร จะถูกดำเนินคดี ตามที่กฏหมายบัญญัติไว้สูงสุด