ในช่วงเวลาที่เศรษฐกิจไม่ดี บริษัทฯส่วนใหญ่จะลดค่าใช้จ่ายในทุกด้าน รัดเข็มขัดจนเอวกิ่วเท่าที่จะทำได้ รวมถึงการชะลอการซื้ออุปกรณ์ใหม่และเลื่อนเวลาการบำรุงรักษาออกไปให้นานที่สุด ถึงแม้ว่าความคิดนี้จะเข้าใจได้ แต่การเลื่อนเวลาการบำรุงรักษาออกไปมีโอกาสสูงที่จะต้องเสียค่าใช้จ่ายเพิ่มขึ้นในภายหลังโดยเฉพาะอย่างยิ่งหากเป็นอุปกรณ์ UPS (Uninterruptible Power Supply)
ขวัญชัย กุลสันติธำรงค์ |
. |
. |
ในช่วงเวลาที่เศรษฐกิจไม่ดี บริษัทฯส่วนใหญ่จะลดค่าใช้จ่ายในทุกด้าน รัดเข็มขัดจนเอวกิ่วเท่าที่จะทำได้ รวมถึงการชะลอการซื้ออุปกรณ์ใหม่และเลื่อนเวลาการบำรุงรักษาออกไปให้นานที่สุด ถึงแม้ว่าความคิดนี้จะเข้าใจได้ แต่การเลื่อนเวลาการบำรุงรักษาออกไปมีโอกาสสูงที่จะต้องเสียค่าใช้จ่ายเพิ่มขึ้นในภายหลังโดยเฉพาะอย่างยิ่งหากเป็นอุปกรณ์ UPS (Uninterruptible Power Supply) การบำรุงรักษา UPS ที่น้อยหรือไม่มีการดูแลบำรุงรักษาเลย |
. |
เป็นสาเหตุที่จะทำให้ระบบจ่ายพลังงานไฟฟ้าคุณภาพสูงที่มี UPS เป็นแหล่งพลังงานเกิดความชำรุดบกพร่อง จนทำให้ธุรกิจของบริษัทตกอยู่ในอันตรายที่จะเกิดความเสียหายได้ บริษัทสูญเสียรายได้ กำลังการผลิตลดลง มีผลกระทบต่อความพึงพอใจของลูกค้า และความภักดีของลูกค้าต่อบริษัทฯ ลดลง เป็นต้น ทั้งนี้ยังไม่รวมถึงค่าใช้จ่ายในการซ่อมคืนสภาพและเปลี่ยนใหม่ ดังนั้นการบำรุงรักษาอุปกรณ์ที่ใช้งานอยู่จึงมีความสำคัญอย่างมากโดยเฉพาะอย่างยิ่งในสภาวะที่เศรษฐกิจไม่ดีในเวลานี้ |
. |
รูปที่ 1 ห้องเซิร์ฟเวอร์ (Server) หัวใจของธุรกิจในปัจจุบัน |
. |
การบำรุงรักษาเชิงป้องกัน (Preventive Maintenance) ของ UPS |
เมื่อบำรุงรักษาอุปกรณ์ไฟฟ้าอย่างไม่เหมาะสม โดยอย่างยิ่งในกรณีที่อุปกรณ์ดังกล่าวอยู่ภายใต้สภาวะแวดล้อมที่เลวร้าย เช่น ความชื้นสูงเกินไป อุณหภูมิสูงเกินไป จะทำให้ระบบไฟฟ้า และอุปกรณ์ไฟฟ้า ชำรุดสึกหรอได้ในเวลาอันรวดเร็ว |
. |
การบำรุงรักษาเชิงป้องกันเป็นการบำรุงรักษาเชิงรุกก่อนที่อุปกรณ์จะชำรุดเสียหาย เมื่อนำวิธีดังกล่าวมาใช้กับ UPS จะทำให้เกิดประโยชน์สูงสุดกับระบบไฟฟ้ากำลังที่จ่ายพลังงานไฟฟ้าให้กับโหลดวิกฤต (Critical Loads) เช่น ศูนย์ข้อมูล (Data Center) ทำให้ระบบจ่ายพลังงานไฟฟ้ามีความมั่นคง |
. |
การบำรุงรักษาเชิงป้องกันเกี่ยวข้องกับการตรวจสอบอย่างเป็นระบบ (Systematic Inspection) การตรวจวัด การทดสอบ การเปลี่ยนชิ้นส่วน และการแก้ไขความชำรุดบกพร่องในช่วงเริ่มต้นก่อนที่จะลุกลามบานปลายจนก่อให้เกิดปัญหาใหญ่ติดตามมา |
. |
การกำหนดความถี่ของการบำรุงรักษาขึ้นกับชนิดของ UPS โดย UPS ขนาดเล็ก อาจจะตรวจสอบประจำปีปีละครั้ง เพื่อให้มั่นใจว่า การแจ้งเตือน (Alarm) ตัวกรอง (Filter) และแบตเตอรี่ ทำงานได้ดีตามข้อกำหนด สำหรับ UPS ที่มีขนาดกลาง หรือ ขนาดใหญ่ (> 100 kVA) การตรวจสอบเพื่อบำรุงรักษาควรทำอย่างน้อยปีละ 2 ครั้ง |
. |
UPS ทุกรุ่นได้รับการออกแบบให้ชิ้นส่วนต่าง ๆ มีอายุที่จำกัด ชิ้นส่วนแต่ละชิ้นมีอายุแตกต่างกันขึ้นกับการออกแบบ และหน้าที่ของชิ้นส่วนนั้นที่ติดตั้งอยู่ภายใน UPS รวมถึงสภาวะการใช้งานที่ UPS ติดตั้งใช้งานอยู่ ถึงแม้ว่าชิ้นส่วนต่าง ๆ จะมีอายุที่จำกัดก็ตาม แต่การบำรุงรักษาที่มีการวางแผนไว้อย่างดีซึ่งรวมถึงการเปลี่ยนชิ้นส่วนเป็นประจำจะทำให้ UPS ทำงานได้อย่างต่อเนื่องและใช้งานได้ต่อไปอีกหลายต่อหลายปี |
. |
การเริ่มต้นการบำรุงรักษาเชิงป้องกันของ UPS |
UPS ส่วนใหญ่จะมีอายุใช้งานที่ออกแบบไว้ (Designed Life) ประมาณ 10 ปี ในกรณีที่มีการบำรุงรักษา UPS อย่างดีและสม่ำเสมอ ก็สามารถใช้ UPS ได้อย่างคุ้มค่ายาวนานกว่า 20 ปี หรือมากกว่านั้น ชิ้นส่วนบางอย่างของ UPS มีความไวต่อสภาวะแวดล้อม เช่นอุณหภูมิ ความชื้น หรือ การแปรปรวนของแรงดันไฟฟ้า เป็นต้น |
. |
ซึ่งทั้งหมดนี้ทำให้ชิ้นส่วนต่าง ๆ ภายใน UPS ชำรุดและสึกหรอได้อย่างรวดเร็ว ตารางที่ 1 แสดงช่วงอายุที่ออกแบบไว้ของชิ้นส่วนต่าง ๆ ของ UPS รวมถึงกำหนดเวลาในการเปลี่ยนชิ้นส่วนต่าง ๆ การเปลี่ยนชิ้นส่วนทดแทนต้องเป็นไปตามข้อกำหนดเดิมอย่างเคร่งครัด |
. |
ตารางที่ 1 ชิ้นส่วนของ UPS แสดงรายละเอียดช่วงอายุและกำหนดเวลาในการเปลี่ยนทดแทน |
. |
การตรวจสอบ UPS เฉพาะจุด (Inspection Specifics) |
ความมั่นคงของระบบจ่ายพลังงานไฟฟ้าคุณภาพสูงที่มี UPS เป็นแหล่งพลังงานจะขึ้นกับชิ้นส่วนที่มีอายุสั้นที่สุดที่อยู่ภายใน UPS ดังนั้นเพื่อป้องกันผลกระทบกรณีที่ชิ้นส่วนใดส่วนหนึ่งชำรุดจนส่งผลต่อโหลดวิกฤต การตรวจสอบชิ้นส่วนอย่างสม่ำเสมอและเปลี่ยนชิ้นส่วนก่อนจะหมดอายุจึงเป็นสิ่งจำเป็น ตารางที่ 2 แสดงชิ้นส่วนที่ต้องมีการตรวจสอบ คำแนะนำและอาการเบื้องต้นที่แสดงว่าถึงเวลาเปลี่ยนทดแทนได้แล้ว |
. |
ตารางที่ 2 ชิ้นส่วนที่ต้องมีการตรวจสอบและคำแนะนำเบื้องต้น |
. |
แบตเตอรี่เป็นส่วนประกอบหลักของ UPS อุณหภูมิที่สูง และการดิสชาร์จบ่อย ๆ เป็นสาเหตุที่ทำให้อายุของแบตเตอรี่สั้นลง รวมถึงกรณีที่แบตเตอรี่ชนิด VRLA แห้งก็ทำให้อายุแบตเตอรี่สั้นลงด้วย แบตเตอรี่ที่อยู่ในอุณหภูมิแวดล้อมที่สูงในขณะใช้งานหรือเก็บไว้เฉยจะทำให้อายุแบตเตอรี่สั้นลงอย่างรวดเร็ว แนวทางการบำรุงรักษาเชิงป้องกันของแบตเตอรี่ตามมาตรฐาน IEEE Std–1188 for Valve Regulated Lead Acid (VRLA) Battery and IEEE Std–450 for Vented Lead Acid (VLA or Flooded) Battery แสดงอยู่ในตารางที่ 3 |
. |
ตารางที่ 3 การบำรุงรักษาเชิงป้องกันของแบตเตอรี่ประเภท VRLA and VLA (Flooded) Batteries |
. |
เอกสารอ้างอิง |
สงวนลิขสิทธิ์ ตามพระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ พ.ศ. 2539 www.thailandindustry.com
Copyright (C) 2009 www.thailandindustry.com All rights reserved.
ขอสงวนสิทธิ์ ข้อมูล เนื้อหา บทความ และรูปภาพ (ในส่วนที่ทำขึ้นเอง) ทั้งหมดที่ปรากฎอยู่ในเว็บไซต์ www.thailandindustry.com ห้ามมิให้บุคคลใด คัดลอก หรือ ทำสำเนา หรือ ดัดแปลง ข้อความหรือบทความใดๆ ของเว็บไซต์ หากผู้ใดละเมิด ไม่ว่าการลอกเลียน หรือนำส่วนหนึ่งส่วนใดของบทความนี้ไปใช้ ดัดแปลง โดยไม่ได้รับอนุญาตเป็นลายลักษณ์อักษร จะถูกดำเนินคดี ตามที่กฏหมายบัญญัติไว้สูงสุด