Articles

การหาค่าความผิดพลาดด้วย Markov Model (ตอนจบ)

3850

มีวิธีการหลายวิธีที่ใช้ในการแก้ปัญหา Markov Model เพื่อหาคำตอบค่าความน่าจะเป็นในการเปลี่ยนสถานะจากการทำงานปกติไปยังสถานะที่ต้องการ แต่สำหรับการแก้ปัญหาในบางวิธีอาจไม่เหมาะสมสำหรับการตรวจสอบฟังก์ชันนิรภัย เมื่อมีการจัดเตรียมช่วงเวลาตรวจสอบและซ่อมแซมถูกรวมเข้าไปในฟังก์ชันนิรภัย วิธีการหนึ่งที่เหมาะสมสำหรับการแก้ปัญหาของแผนภาพ Markov Model โดยใช้วิธีการทางตารางตัวเลขเป็นการคูณเมตริกของจำนวนเวลาที่ทำการพิจารณา ช่วงเวลาการพิจารณาที่ถูกเลือกและอัตราความผิดพลาดจะเป็นมาตราส่วนสำหรับช่วงเวลานั้น ความน่าจะเป็นของการเปลี่ยนสถานะบนเส้นโค้งที่กำหนดโดยอัตราความผิดพลาด คูณด้วยช่วงเวลา การเลือกช่วงเวลาสั้น ๆ ทำให้การแก้ปัญหาด้วย Markov Model มีความแม่นยำมาก มาตราส่วนอัตราความผิดพลาดถูกแสดงอยู่บนทุกเส้นโค้งแทนที่ความน่าจะเป็น ซึ่งรวมไปด้วยอัตราความผิดพลาดและช่วงระยะเวลาMarkov Model สามารถถูกแทนโดยเมตริกที่แสดงเส้นทางความน่าจะเป็นระหว่างแต่ละสถานะ เมตริกเส้นทางสามารถถูกคูณด้วยเมตริกแนวนอนแทนที่สถานะเริ่มต้น ผลลัพธ์เมตริกแนวนอนให้เวลาขึ้นอยู่กับความน่าจะเป็นสำหรับแต่ละสถานะ ตัวอย่างฟังก์ชันนิรภัยที่ประกอบด้วยเครื่องมือวัด 3 ตัวในรูปแบบ 2oo3 (Two out of Three Voting) แสดงแผนภาพกระบวนการผลิตและ Fault Tree Analysis ได้ดังรูปที่ 9 และ 10

การหาค่าความผิดพลาดด้วย Markov Model (ตอนที่ 1)

3919

ในการออกแบบระบบนิรภัยหรือระบบ SIS (Safety Instrumented System) เพื่อนำไปใช้สำหรับป้องกันความเสียหายที่อาจจะเกิดขึ้นในอุตสาหกรรมกระบวนการผลิตประเภทต่าง ๆ ซึ่งความเสียหายเหล่านี้จะรวมไปถึงความเสียหายต่อสิ่งมีชีวิต, ต่อสิ่งแวดล้อมและความเสียหายต่ออุปกรณ์หรือผลิตภัณฑ์ที่จะได้จากกระบวนการผลิต ในอดีตที่ผ่านมา การออกแบบส่วนใหญ่แล้วผู้ชำนาญพิเศษในระบบควบคุมและเครื่องมือวัดทางอุตสาหกรรม (Control and Instrumentation) จะมีความเชื่อมั่นอยู่บนประสบการณ์ของตนเองและข้อปฏิบัติที่ดีในการออกแบบระบบป้องกันหรือระบบนิรภัย แต่ในปัจจุบันการออกแบบระบบนิรภัยกับอุตสาหกรรมกระบวนการผลิตต่าง ๆ ได้มีความต้องการถูกกำหนดขึ้นในมาตรฐานสากลที่สามารถทำได้โดยการคำนวณเกี่ยวกับปริมาณหรือจำนวนตัวเลขเพื่อใช้ยืนยันว่าระบบนิรภัยที่ทำการออกแบบนั้นมีความเหมาะสมกับความต้องการ ระบบนิรภัยที่มีใช้ในอุตสาหกรรม ดังตัวอย่าง อาทิเช่น ระบบบริหารการเผาไหม้หรือระบบ BMS (Burner Management System) มีคุณสมบัติที่ดีในฟังก์ชันการป้องกันความเสียหายด้วยตัวเอง, ระบบ SIS (Safety Instrumented System) หรือระบบนิรภัยที่ใช้ระบบไฟฟ้าและเครื่องมือวัดทางอุตสาหกรรมเป็นส่วนประกอบ ควรจะต้องถูกออกแบบให้เป็นไปตามมาตรฐานสากล เช่น IEC 61508/61511, SP 84.01 หรือ NFPA

แนวทางการบริหารจัดการพลังงานตามมาตรฐาน ISO 50001

5153

ในปัจจุบันปัญหาทางด้านพลังงานนับวันจะทวีความรุนแรงเพิ่มมากขึ้น ไม่เฉพาะกับประเทศไทยเท่านั้น แต่เกิดขึ้นไปทั่วทั้งโลก มีการใช้พลังงานเพิ่มขึ้นอย่างมาก ในขณะที่ทรัพยากรทางด้านพลังงานกลับลดน้อยลงอย่างรวดเร็ว เกิดปัญหาการขาดแคลนพลังงานในหลาย ๆ พื้นที่ รวมถึงการสร้างผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมจากการใช้พลังงาน การแย่งชิงทรัพยากรธรรมชาติ หรือแม้แต่สงครามเพื่อแย่งชิงแหล่งพลังงาน สิ่งต่าง ๆ เหล่านี้ ได้สร้างปัญหาให้เกิดขึ้นอีกมากมาย ทั้งในด้านสังคม เศรษฐกิจ และการเมือง ส่งผลให้ทุก ๆ ภาคส่วน ไม่ว่าจะเป็นภาคธุรกิจ ภาครัฐ ภาคอุตสาหกรรม ภาคบริการ ภาคการศึกษา และอื่น ๆ อีกมากมาย ต่างเล็งเห็นถึงความสำคัญของการจัดการ และการอนุรักษ์พลังงานต่อการดำเนินกิจกรรมต่าง ๆ อย่างมีประสิทธิภาพ

Page : [First] [Prev] 26 | 27 | 28 | 29 | 30 | 31 | 32 | 33 | 34 | 35 | 36 | 37 | 38 | 39 | 40 | 41 | 42 | 43 | 44 | 45 | 46 | 47 | 48 | 49 | 50 [Next] [Last]