เนื้อหาวันที่ : 2009-12-02 10:29:52 จำนวนผู้เข้าชมแล้ว : 1135 views

ดัชนีอุตฯ ต.ค.- 0.5% กำลังการผลิตพุ่ง 61%

สศอ. เผยดัชนีอุตฯ ต.ค. ติดลบเล็กน้อย อุตฯหลักมีสัญญาณฟื้นชัดเจน โดยเฉพาะกลุ่ม Hard disk drive-เหล็ก-เม็ดพลาสติก ยอดผลิตและจำหน่ายคึกคัก ขณะที่การผลิตรถยนต์ติดลบน้อยลงเรื่อยๆ

สศอ.  เผยดัชนีอุตฯ ต.ค. ติดลบเล็กน้อย อุตฯหลักมีสัญญาณฟื้นชัดเจน โดยเฉพาะกลุ่ม Hard disk drive-เหล็ก-เม็ดพลาสติก ยอดผลิตและจำหน่ายคึกคัก ขณะที่การผลิตรถยนต์ติดลบน้อยลงเรื่อยๆ ส่งผลให้อัตราการใช้กำลังการผลิตอยู่ในระดับ 61%

.

.

นางสุทธินีย์ พู่ผกา ผู้อำนวยการสำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม (สศอ.) เปิดเผยว่า ดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรม(ดัชนีอุตฯ) เดือนตุลาคม ปี 2552 ติดลบ 0.5% เมี่อเทียบกับเดือนเดียวกันของปีก่อน ซึ่งถือเป็นการปรับตัวในระยะสั้นทางธุรกิจของผู้ประกอบการ หลังจากเมื่อเดือนที่ผ่านมา ดัชนีอุตฯปรับตัวเป็นบวก 1% เชื่อว่าช่วง 2 เดือนที่เหลือของปีนี้

.

ดัชนีอุตฯบวกได้อย่างแน่นอน เนื่องจากมีสัญญาณการฟื้นตัวของเศรษฐกิจโลกที่มีเสถียรภาพมากขึ้น จากมาตรการกระตุ้นทางเศรษฐกิจของทั่วโลกเริ่มมีผล ขณะเดียวกันความเชื่อมั่นของผู้บริโภคต่อภาวะเศรษฐกิจกลับฟื้นขึ้นมาอีกครั้ง

.

ส่งผลให้ภาพรวมของภาคอุตสาหกรรมไทยฟื้นตัวตามไปด้วย อุตสาหกรรมหลักโดยเฉพาะการผลิต Hard Disk Drive การผลิตเหล็ก และเม็ดพลาสติก ยอดผลิตและจำหน่ายเพิ่มขึ้นอย่างคึกคัก ขณะที่การผลิตยานยนต์เริ่มฟื้นตัวอย่างต่อเนื่อง โดยยอดผลิตและจำหน่ายติดลบน้อยลง ส่งผลให้อัตราการใช้กำลังการผลิตโดยรวมอยู่ที่ 61%

.

นางสุทธินีย์ กล่าวว่า การผลิต Hard disk drive เมื่อเทียบกับเดือนเดียวกันของปีก่อน การผลิตและจำหน่ายปรับตัวเพิ่มขึ้น 2.6% และ 6.5% เนื่องจากเมื่อปีก่อนเริ่มได้รับผลกระทบจากภาวะวิกฤติเศรษฐกิจโลก ผู้ประกอบการส่วนใหญ่แทบจะปรับตัวไม่ทัน จึงส่งผลต่อภาวะการจ้างงานที่ทำให้หลายแห่งมีการปรับลดพนักงานลงอย่างมาก

.

แต่สำหรับปีนี้ทิศทางการฟื้นตัวกลับเข้ามาแล้วผู้ประกอบการเริ่มมีคำสั่งซื้อล่วงหน้ากลับเข้ามาแล้ว ไม่น้อยกว่า 3 เดือน และไตรมาสสุดท้ายของทุกปีจะเป็นช่วงการผลิตและส่งออกสินค้าในกลุ่มนี้เป็นไปอย่างคึกคัก คาดว่าจะเป็นปัจจัยหนุนที่สำคัญส่งให้ภาคอุตสาหกรรมของไทยฟื้นตัวอย่างชัดเจนยิ่งขึ้น

.

การผลิตเหล็กและผลิตภัณฑ์จากเหล็ก เมื่อเทียบกับเดือนเดียวกันของปีก่อน การผลิตและจำหน่ายโดยรวมเพิ่มขึ้น 66.8% และ 42.4% ตามลำดับ เนื่องจากมาตรการกระตุ้นต่างๆ จากภาครัฐมีความชัดเจน โดยเฉพาะการลงทุนก่อสร้างระบบสาธารณูปโภคขั้นพื้นฐานที่ได้มีการเปิดประมูล และมีคู่สัญญากับภาครัฐเป็นที่เรียบร้อย ซึ่งจะเริ่มลงมือก่อสร้างภายในสิ้นปีนี้

.

รวมทั้งปัจจัยจากภาคธุรกิจก่อสร้างเริ่มฟื้นตัวจึงมีความต้องการบริโภคเหล็กมากขึ้น ขณะที่ราคาเหล็กโลกปีนี้มีเสถียรภาพมากขึ้น และทิศทางการจำหน่ายมีแนวโน้มดีขึ้นเช่นกัน ผู้ผลิตจึงมีความมั่นใจผลิตสินค้าออกมาไว้ในสต๊อก เพื่อรองรับความต้องการอย่างเพียงพอ

.

การผลิตเม็ดพลาสติก  เมื่อเทียบกับเดือนเดียวของปีก่อน การผลิตและจำหน่ายเพิ่มขึ้น 15.9% และ 12.2% เนื่องจากช่วงเดียวกันของปีก่อน ได้รับผลกระทบจากภาวะวิกฤติเศรษฐกิจโลก รวมทั้งความผันผวนจากราคาน้ำมันดิบทำให้ผู้ประกอบการหลายแห่งลดการผลิตลง ถึงขั้นต้องปิดสายการผลิตลง เพื่อลดความเสี่ยงของ สต๊อกสินค้าที่เพิ่มขึ้น แต่เมื่อทิศทางการฟื้นตัวของเศรษฐกิจโลกกลับเข้ามาจึงเริ่มมีการผลิตและจำหน่ายเพิ่มขึ้น ดังกล่าว 

.

ขณะที่ การผลิตยานยนต์   เมื่อเทียบกับเดือนเดียวกันของปีก่อน การผลิตได้ติดลบน้อยลงอย่างเห็นได้ชัด กล่าวคือ -12.9% เทียบกับที่เคยติดลบไม่ต่ำกว่า -40% ในช่วงที่ผ่านมา ทั้งนี้เนื่องจากมีการปรับปริมาณการผลิตเพิ่มขึ้นเพื่อรับกับการส่งออกที่มียอดคำสั่งซื้อกลับเข้ามามากขึ้น รวมทั้งความเชื่อมั่นของผู้บริโภคต่อสถานการณ์ทางเศรษฐกิจกลับฟื้นขึ้นมา จึงพร้อมที่จะตัดสินใจซื้อรถใหม่มากขึ้น

.

นางสุทธินีย์ กล่าวว่า ภาพรวมดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรมเดือนตุลาคม 2552 เมื่อเทียบกับเดือนเดียวกันของปีก่อนพบว่า ดัชนีผลผลิต (มูลค่าเพิ่ม) อยู่ที่ระดับ 180.19 ลดลง 0.5% จากระดับ 181.11ดัชนีผลผลิต (มูลค่าผลผลิต) อยู่ที่ระดับ 182.24 ลดลง -0.9% จากระดับ 183.90 ดัชนีสินค้าสำเร็จรูปคงคลัง อยู่ที่ระดับ 1170.39 ลดลง -19.1% จากระดับ 210.61

.

ดัชนีอัตราส่วนสินค้าสำเร็จรูปคงคลัง อยู่ที่ระดับ 182.71 ลดลง -3.5%  จากระดับ 189.39 ดัชนีแรงงานในภาคอุตสาหกรรม อยู่ที่ระดับ 111.25 ลดลง -4.2% จากระดับ 116.18 ดัชนีการส่งสินค้า อยู่ที่ระดับ 184.08 เพิ่มขึ้น 3.7% จากระดับ 177.51 ดัชนีผลิตภาพแรงงานในภาคอุตสาหกรรม อยู่ที่ระดับ 164.54 เพิ่มขึ้น 21.0% จากระดับ 135.89 ขณะที่อัตราการใช้กำลังการผลิตอยู่ที่ 61%

.

5 อุตสาหกรรมที่เป็นบวก และ ติดลบที่ปรับตัวดีเข้าใกล้บวก

ลำดับ

อุตสาหกรรมเป็นบวก

เปลี่ยนแปลง
(YOY)

อุตสาหกรรมที่ติดลบ
(ปรับตัวได้ดีเข้าใกล้บวก)

เปลี่ยนแปลง(YOY)

การผลิตเหล็กและผลิตภัณฑ์จากเหล็ก

66.8%

การผลิตรถจักรยานยนต์

 -0.2%

2 การผลิตเม็ดพลาสติก

15.9% 

การผลิตยางนอก และยางใน 

-1.6%

3 การผลิตคอนกรีต

11.9%

การผลิตอาหารสำเร็จรูป

-2.4%

การผลิตหลอดอิเล็กทรอนิกส์และส่วนประกอบอิเล็กทรอนิกส์

8.5%

การผลิตเบียร์

-2.3%

5 การผลิต Hard Disk Dive 

2.6%

การเตรียมและการปั่นเส้นใยสิ่งทอ รวมถึงการทอสิ่งทอ

 -4.9%

.
ที่มา : สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม