เนื้อหาวันที่ : 2009-11-30 08:59:59 จำนวนผู้เข้าชมแล้ว : 537 views

KATM แจงดูไบเลื่อนชำระหนี้ไม่กระทบKTFF2

นายสมชัย   บุญนำศิริ   กรรมการผู้จัดการ  บริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุน กรุงไทย จำกัด (มหาชน)  เปิดเผยว่า   จากกระแสข่าวที่รัฐบาลดูไบได้ประกาศ ขอเลื่อนการชำระหนี้ออกไปทำให้ตลาดเกิดความเกรงกลัวต่อความสามารถในการชำระหนี้ของรัฐอื่นๆ ในสหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ และประเทศอื่นๆ ในภูมิภาคด้วย      

.

โดยที่ผ่านมารัฐดูไบได้มีการลงทุนในอสังหาริมทรัพย์ขนาดใหญ่เป็นจำนวนมาก ไม่ว่าจะเป็นโครงการ The World, The Palm หรือตึกที่สูงที่สุดในโลกอย่างเช่น Burj Dubai เป็นต้น   

.

ซึ่งการลงทุนที่เกินตัวนี้ทำให้รัฐดูไบเข้าสู่สถานการณ์ที่ลำบากเมื่อวิกฤติการณ์ทางการเงินของโลกเกิดขึ้น  จนทำให้ต้องเลื่อนการชำระหนี้  เมื่อวันที่ 25 พฤศจิกายน ที่ผ่านมา  บริษัทได้มีการติดตามสถานการณ์ของรัฐดูไบมาโดยตลอด และเล็งเห็นถึงความเสี่ยงที่มากเกินไป จึงไม่ได้มีการลงทุนในดูไบแต่อย่างใด

.

ก่อนหน้าที่ บริษัทได้ปิดจำหน่ายกองทุนกองทุนรวมกรุงไทยตราสารหนี้ต่างประเทศ เอฟไอเอฟ 2 (KTFF2) เมื่อวันที่ 24  พฤศจิกายน ที่ผ่านมา  ซึ่งเป็นกองทุนที่มีอายุโครงการ 2 ปี11 เดือน  มูลค่าโครงการ 400  ล้านบาท  สามารถระดมเงินลงทุนได้ 148  ล้านบาท  เป็นกองทุนที่ เน้นลงทุนในพันธบัตรของรัฐอาบูดาบี   ซึ่งมีสถานะเป็นรัฐที่ใหญ่ที่สุดในประเทศสหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ (UAE)        

.

ลงทุนในบริษัท ลาส รัฟฟาน ลิควีไฟด์ เนเชอรัล แก๊ส  จำกัด    ลงทุนในบริษัทอาบูดาบี  เนชั่นแนล  เอ็นเนอร์จี จำกัด (มหาชน)  และลงทุนในพันธบัตรที่ออกโดยรัฐบาลเกาหลีใต้  ในสัดส่วนสถาบันละประมาณ 25 %ของมูลค่าทรัพย์สินสุทธิของกองทุน     โดยผู้ลงทุนจะได้รับผลตอบแทนประมาณการที่3%  ต่อปี  

.

โดยกองทุนไม่ได้รับผลกระทบจากสถานะการดังกล่าว  เนื่องจาก รัฐอาบูดาบีมีความเข้มแข็งกว่ามาก  เป็นรัฐขนาดใหญ่สุดของสหรัฐอาหรับอามิเรตส์      โดยมีพื้นที่ประมาณ 67,340  ตร.กม. หรือประมาณ 80%ของประเทศ    และมีรายได้สูงสุด มาจากการส่งออกน้ำมันดิบและก๊าซธรรมชาติ            

.

ซึ่งอาบูดาบีมีปริมาณน้ำมันดิบและก๊าซธรรมชาติสำรองคิดเป็นประมาณ 95% ของปริมาณน้ำมันดิบและก๊าซธรรมชาติสำรองของประเทศทั้งหมด และถือเป็นปริมาณน้ำมันดิบและก๊าซธรรมชาติสำรองมากเป็นลำดับที่ 7 ของโลก   ดังนั้น  รัฐอาบูดาบีจึงมีทรัพยากรธรรมชาติที่สามารถแปลงเป็นเงินทุนได้อีกเป็นจำนวนมาก ซึ่งแตกต่างจากดูไบที่ไม่มีน้ำมันดิบสำรองเหลืออยู่แล้ว 

.

นอกจากนี้ รัฐอาบูดาบียังได้เก็บรายได้จากการขายน้ำมันเข้าสู่ Sovererign Wealth Fund (SWF) คือ Abu Dhabi Investment Authority (ADIA) ซึ่งนับเป็น SWF ที่ใหญ่ที่สุดในโลก เชื่อว่ามีทรัพย์สินภายใต้การจัดการอยู่ระหว่าง 6.5 ถึง 8.75 แสนล้านดอลลาร์ สรอ. ในปี 2551  ซึ่งใหญ่กว่า SWF ที่ใหญ่เป็นอันดับสองของนอร์เวย์ถึงประมาณหนึ่งเท่าตัว

.

ทั้งนี้  Moody’s ได้ให้อันดับความน่าเชื่อถือของรัฐอาบูดาบีที่ Aa2  เนื่องจากมีทรัพยากรธรรมชาติสำรองอีกเป็นจำนวนมาก และความแข็งแกร่งของฐานะการคลังของรัฐ ซึ่งสามารถรับภาวะถดถอยของโลกที่เกิดขึ้นในปัจจุบันได้

.

สำหรับบริษัทอาบูดาบี  เนชั่นแนล  เอ็นเนอร์จี จำกัด (มหาชน) (Abu Dhabi National Energy Company PJSC    : TAQA) เป็นธุรกิจด้านพลังงานครบวงจรของรัฐ อาบูดาบี  ณ สิ้นปี 2551 TAQA มีสินทรัพย์ทั้งหมด 86.4 พันล้านเดอร์แฮม และมีรายได้ในปี 2551 เท่ากัย 16.8 พันล้านเดอร์แฮม  และมีกำไรสุทธิเท่ากับ พันล้าน 1,825 พันล้านเดอร์แฮม          

.

โดยมีผู้ถือหุ้นใหญ่คือ Abu Dhabi Water and Electricity Authority ซึ่งมีรัฐบาลอาบูดาบีเป็นผู้ถือหุ้นทั้งหมด ดังนั้น TAQA จึงมีความเข้มแข็งเทียบเท่ากับได้กับรัฐอาบูดาบี โดย Moody’s Investor Service จัดอันดับความน่าเชื่อถือของ TAQA ไว้ที่ Aa2 

.

ส่วนบริษัท ลาส รัฟฟาน ลิควีไฟด์ เนเชอรัล แก๊ส  จำกัด     (Ras Laffan LNG Company Limited  : RASGAS) เป็นบริษัทในเครือของกาตาร์ปิโตรเลียมซึ่งเป็นหน่วยงานทางด้านปิโตรเลียมและการพัฒนาพลังงานของประเทศกาตาร์    ซึ่งรัฐบาลกาตาร์ถือหุ้นใน Qatar Petroleum   ประมาณ 10%

.

โดยผู้ถือหุ้นใหญ่ของ RasGas II-3  คือ Qatar Petroleum และ Exxon Mobil  ซึ่งถือหุ้นในส่วน 70% และ 30% ตามลำดับ โดยปัจจุบัน RasGAs II-3 เป็นหนึ่งในบริษัทผู้ผลิต LNG แถวหน้าของโลก

.

ส่วนประเทศกาตาร์นับเป็นประเทศที่มีรายได้ต่อคนสูงที่สุดในโลก มีทรัพยากรธรรมชาติอยู่มาก โดยเฉพาะก๊าซธรรมชาติสำรองที่มากเป็นอันดับที่ 3 ของ โลก และเพียงพอที่จะผลิตได้อีกมากกว่า 100 ปี  ณ  ระดับการผลิตในปี 2008  รายได้จากการจำหน่ายก๊าซธรรมชาติและน้ำมันทำให้กาตาร์มีฐานะการคลังที่แข็งแกร่ง มีศักยภาพในการชำระหนี้สูง  

.

นอกจานี้ กาตาร์ยังพยายามพัฒนาตนเองให้เป็นเศรษฐกิจแห่งการเรียนรู้จะช่วยทำให้เศรษฐกิจสามารถพัฒนาต่อไปได้ในระยะยาว แม้ว่ากาตาร์จะมีความพยายามที่จะพัฒนาภาคอสังหาริมทรัพย์เพื่อกระจายแหล่งที่มาของรายได้ แต่ก็ไม่ได้ลงทุนมากเกินตัวดังเช่นดูไบ และยังได้รับอันดับความน่าเชื่อถือที่ Aa2 จาก Moody’s และ AA- จาก S&P