นักศึกษาไทยคว้ารางวัลชนะเลิศการแข่งขันวางแผนธุรกิจอุตสาหกรรมเทคโนโลยีชีวภาพ จากค่ายผู้นำด้านเทคโนโลยีชีวภาพนานาชาติของโนวาร์ตีส
. |
นักศึกษาไทยคว้ารางวัลชนะเลิศการแข่งขันวางแผนธุรกิจอุตสาหกรรมเทคโนโลยีชีวภาพ จากค่ายผู้นำด้านเทคโนโลยีชีวภาพนานาชาติของโนวาร์ตีส |
. |
นักศึกษาไทยคว้ารางวัลทีมชนะเลิศ การแข่งขันวางแผนธุรกิจอุตสาหกรรมเทคโนโลยีชีวภาพสำหรับบริษัทตั้งใหม่ จากค่ายผู้นำด้านเทคโนโลยีชีวภาพนานาชาติของโนวาร์ตีส หรือโนวาร์ตีส ไบโอแคมป์ 2009 ที่ประเทศสหรัฐอเมริกา โดยมีนักศึกษาที่ได้รับการคัดเลือกจากมหาวิทยาลัยชั้นนำกว่า 27 ประเทศทั่วโลกจำนวน 60 คน ที่เข้าร่วมกิจกรรม ระหว่างวันที่ 26-30 ตุลาคม 2552 ที่ผ่านมา |
. |
เภสัชกรหญิง ศิริลักษณ์ สุธีกุล ประธานบริหาร บริษัท โนวาร์ตีส (ประเทศไทย) จำกัด เปิดเผยว่า โครงการค่ายผู้นำด้านเทคโนโลยีชีวภาพนานาชาติของโนวาร์ตีส (Novartis International Biotechnology Leadership Camp) หรือโนวาร์ตีส ไบโอแคมป์ (Novartis BioCamp) จัดขึ้นเพื่อเป็นเวทีที่เปิดโอกาสให้กับนักวิจัยและนักศึกษา ได้ฝึกทักษะในการสร้างสรรค์แผนธุรกิจ |
. |
มองเห็นภาพธุรกิจการลงทุนในด้านเทคโนโลยีชีวภาพ เสมือนหนึ่งว่าพวกเขาได้อยู่ในสภาวะแวดล้อมธุรกิจจริง และช่วยสนับสนุนให้มีการเผยแพร่ความรู้และเข้าถึงการพัฒนาเทคโนโลยีชีววิทยาระดับนานาชาติ |
. |
รวมทั้งสนับสนุนให้นักศึกษาที่เข้าร่วมโครงการให้เป็นนักวิจัย และเป็นผู้ประกอบการที่ประสบความสำเร็จในอนาคต ในปีนี้ถือว่าเป็นเรื่องน่ายินดีที่ตัวแทนนักศึกษาของไทย สามารถสร้างชื่อเสียงให้กับประเทศคว้ารางวัลทีมชนะเลิศ และทีมรองชนะเลิศอันดับ2 จากการแข่งขันวางแผนธุรกิจอุตสาหกรรมเทคโนโลยีชีวภาพสำหรับบริษัทตั้งใหม่ |
. |
การจัดโครงการโนวาร์ตีส ไบโอแคมป์ 2009 ปีนี้ จัดขึ้นเป็นปีที่ 5 นับตั้งแต่ปี พ.ศ. 2548 โดย 4 ครั้งที่ผ่านมาจัดขึ้นที่ประเทศไต้หวัน สิงคโปร์ ญี่ปุ่น และฮ่องกง ตามลำดับ มีการคัดเลือกนักศึกษากว่า 27 ประเทศทั่วโลกเพื่อเข้าร่วมโครงการ โดยคัดเลือกเยาวชนที่สำเร็จการศึกษา หรือกำลังศึกษาในระดับปริญญาโทขึ้นไป ในสาขาเทคโนโลยีชีววิทยา สาขาบริหารจัดการธุรกิจ และสาขาใกล้เคียง |
. |
สำหรับ โนวาร์ตีส (ประเทศไทย) ได้คัดเลือกตัวแทนนักศึกษาจำนวน 2 คน ได้แก่ นาย ณัฐดนัย เดชธีรานุกูล และนางสาว ภัทราพร เสนาวัฒนกุล ซึ่งทั้งสองเป็นนักศึกษาปริญญาโท จากสถาบันบัณฑิตบริหารธุรกิจศศินทร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
. |
นางสาว ชุติมา สีบำรุงสาสน์ ผู้อำนวยการฝ่ายทรัพยากรบุคคล บริษัท โนวาร์ตีส (ประเทศไทย) จำกัด เปิดเผยว่า ค่ายผู้นำด้านเทคโนโลยีชีวภาพนานาชาติ (Novartis International Biotechnology Leadership Camp) หรือโนวาร์ตีส ไบโอแคมป์ ในปีนี้จัดขึ้นที่สถาบันวิจัยด้านชีวภาพทางการแพทย์ของบริษัท โนวาร์ตีส (Novartis Institutes for Biomedical Research: NIBR) ในเมืองเคมบริดจ์ รัฐแมสซาชูเซตส์ ประเทศสหรัฐอเมริกา |
. |
โดยมีผู้บรรยายจากหลากหลายสาขา อาทิ ศ.จอร์จ คิว. ดาลีย์ ผู้เชี่ยวชาญด้านชีวเคมี และเภสัชวิทยาระดับโมเลกุล และผู้เชี่ยวชาญโรคเด็ก จากโรงพยาบาลเด็กบอสตัน สหรัฐอเมริกา ร่วมกล่าวเปิดงาน พร้อมบรรยายในหัวข้อ การใช้สเต็มเซลส์ในการพัฒนายาใหม่ (The Promise of Stem Cells in Developing New Medicines) |
. |
ดร.คาโรล มานาฮาน ผู้ช่วยผู้อำนวยการสำนักงานการศึกษา สถาบันวิจัยด้านชีวภาพทางการแพทย์ของบริษัท โนวาร์ตีส บรรยายในหัวข้อ วิทยาการการค้นพบยา: เป้าหมายในการรักษา (The Science of Drug Discovery: Target to Therapy), และดร.คริสเตียน แมนดล์ หัวหน้าฝ่ายวิจัยวัคซีน, โนวาร์ตีส วัคซีน ไดนอสติกส์ สหรัฐอเมริกา บรรยายในหัวข้อ ภาพรวมการวิจัยวัคซีน (Overview of Vaccines Research) |
. |
นอกจากนี้ นักศึกษาที่เข้าร่วมงาน จะถูกแบ่งกลุ่มเพื่อทำกิจกรรมระดมความคิดสร้างแผนธุรกิจโดยเน้นการพัฒนาแนวคิดทางธุรกิจอุตสาหกรรมเทคโนโลยีชีวภาพสำหรับบริษัทตั้งใหม่ ที่ต้องผนวกความรู้ทางด้านเทดโนโลยีชีวภาพและทางธุรกิจเข้าด้วยกัน ซี่งแนวทางนี้จะเป็นการเตรียมความพร้อมให้เกิดการทำงานเป็นทีมในการนำเสนอแผนงาน ท่ามกลางสภาพแวดล้อมที่มีการแข่งขันและสอดคล้องกับการทำงานในโลกแห่งความเป็นจริง |
. |
โดยทุกทีมจะต้องนำเสนอแผนงานดังกล่าวต่อคณะกรรมการผู้ตัดสินที่ประกอบไปด้วยผู้เชี่ยวชาญทางด้านการวิจัย ธุรกิจร่วมทุน การเงิน และทรัพยากรบุคคล สำหรับปีนี้เป็นเรื่องที่น่าภูมิใจยิ่งที่ทีมของนาย ณัฐดนัย เดชธีรานุกูล สามารถนำเสนอแผนธุรกิจจนคว้ารางวัลทีมที่ชนะเลิศการแข่งขันวางแผนธุรกิจอุตสาหกรรมเทคโนโลยีชีวภาพสำหรับบริษัทตั้งใหม่มาได้ |
. |
นาย ณัฐดนัย เดชธีรานุกูล นักศึกษาปริญญาโท จากสถาบันบัณฑิตบริหารธุรกิจศศินทร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ซึ่งได้รับรางวัลชนะเลิศจากการแข่งขันวางแผนธุรกิจในงานโนวาร์ตีส ไบโอแคมป์ 2009 ที่ประเทศสหรัฐอเมริกาในครั้งนี้ กล่าวว่า ผมดีใจมากที่ทีมของผมซึ่งมีเพื่อนๆจากหลากหลายประเทศซึ่งประกอบไปด้วยประเทศ สหรัฐอเมริกา แคนาดา จีน แอฟริกาใต้ เม็กซิโก สามารถคว้ารางวัลชนะเลิศมาได้ แต่ถึงแม้จะได้รางวัลหรือไม่ก็ตาม |
. |
การที่ได้มีโอกาสเข้าร่วมโครงการนี้ ช่วยให้ได้รับความรู้ในด้านเทคโนโลยีชีววิทยามากขึ้น ได้มีโอกาสเรียนรู้การบริหารจัดการทางด้านธุรกิจผ่านกรณีศึกษาต่างๆ ได้มีโอกาสแลกเปลี่ยนความรู้กับเพื่อนต่างชาติ รู้จักการปรับตัวให้เข้ากับคนอื่น รู้จักการทำงานเป็นทีม ซึ่งประสบการณ์ต่างๆ ที่ได้รับ ผมคิดว่าสามารถนำไปปรับใช้ต่อการทำงานของเราในอนาคตได้ |
. |
นางสาว ภัทราพร เสนาวัฒนกุล นักศึกษาปริญญาโท จากสถาบันบัณฑิตบริหารธุรกิจศศินทร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ได้รับรางวัลทีมรองชนะเลิศอันดับ2 จากการแข่งขันวางแผนธุรกิจในงานโนวาร์ตีส ไบโอแคมป์ 2009 ที่ประเทศสหรัฐอเมริกาในครั้งนี้เช่นกัน กล่าวว่า |
. |
อยากให้น้องๆ รุ่นต่อไปมาสมัครเข้าร่วมโครงการนี้ เพราะถือว่าเป็นโอกาสดี ที่เราจะได้รับความรู้จากผู้เชี่ยวชาญในสายงานด้านเทคโนโลยีชีวภาพและจากนักลงทุนโดยตรง ซึ่งเป็นการช่วยเปิดโลกทัศน์เราให้กว้างขึ้น ได้รู้จักการฝึกพูด ฝึกคิด รู้จักปรับตัว และเรียนรู้ที่จะทำงานเป็นทีมร่วมกับเพื่อนๆชาวต่างชาติ และถือเป็นโอกาสดีในการเรียนรู้การวางแผนงานธุรกิจ ซึ่งสามารถนำไปปรับใช้สำหรับการทำงานในอนาคตต่อไป |