เทเลนอร์ กรุ๊ป เผยอัตราการเข้าถึงอินเทอร์เน็ตในประเทศไทย และบังกลาเทศจะเพิ่มสูงขึ้นเป็นร้อยละ 26 และร้อยละ 10 ตามลำดับในปี 2563 การเชื่อมต่อที่เพิ่มขึ้นจะชี้วัดผลกระทบด้านเศรษฐกิจ และสังคมในทั้งสองประเทศ
|
. |
อัตราการเข้าถึงอินเทอร์เน็ตในประเทศไทย และบังกลาเทศจะเพิ่มสูงขึ้นเป็นร้อยละ 26 และร้อยละ 10 ตามลำดับในปี 2563 การเชื่อมต่อที่เพิ่มขึ้นจะชี้วัดผลกระทบด้านเศรษฐกิจ และสังคมในทั้งสองประเทศ |
. |
เทเลนอร์ กรุ๊ป ผู้ให้บริการการสื่อสารโทรคมนาคมระดับโลกเผยผลสำรวจที่วิเคราะห์ถึงผลกระทบของอินเทอร์เน็ตต่อเศรษฐกิจ และสังคมในกลุ่มประเทศเศรษฐกิจเกิดใหม่ในเอเชีย |
. |
ผลการศึกษาระบุว่าการใช้อินเทอร์เน็ตที่เพิ่มสูงขึ้นจะช่วยเร่งผลิตผลทางธุรกิจที่จะผลักดันให้เกิดการเพิ่มขึ้นของรายได้การจ้างงานและรายได้ของรัฐบาลในกลุ่มประเทศเศรษฐกิจเกิดใหม่ โดยการใช้งานอินเทอร์เน็ตที่เพิ่มขึ้นในอัตราร้อยละ 10 จะส่งผลให้ GDP เพิ่มขึ้นร้อยละ 1 ถึง 2.5 ทั้งยังช่วยกระตุ้นให้เกิดการสร้างธุรกิจใหม่ประมาณร้อยละ และช่วยเพิ่มรายได้รวมของรัฐบาลในบางประเทศได้มากถึงร้อยละ 8 ถึง 9 |
. |
การค้นพบอื่นๆ จากผลการศึกษาครั้งนี้ยังได้แก่การที่อินเทอร์เน็ตจะกระตุ้นให้เกิดประโยชน์ทางสังคมอย่างแพร่หลาย อาทิในภาคส่วนที่สำคัญอย่างสุขภาพและการศึกษาอินเทอร์เน็ตจะเปรียบเสมือนทางเลือกเพิ่มเติมนอกเหนือไปจากโครงสร้างพื้นฐานสำคัญดั้งเดิมอย่างเช่นถนนหนทางในการมีบทบาทสำคัญเป็นอย่างยิ่งต่อการพัฒนาชนบท |
. |
โดยจะช่วยเพิ่มและสร้างความแตกต่างทางด้านรายได้เพิ่มขึ้นอัตราการเข้าถึงข้อมูลและบริการขั้นพื้นฐาน เช่นการธนาคารและหน่วยงานราชการ นอกจากนี้ อินเทอร์เน็ตจะช่วยยกระดับการใช้ชีวิตและให้ความบันเทิงกับประชาชน ไม่ว่าพวกเข้าจะอาศัยอยู่ในเมืองหรือในชนบทก็ตาม |
. |
นายซิคเว่ เบรกเก้ รองประธานบริหาร เทเลนอร์ กรุ๊ป และประธานเจ้าหน้าที่บริหาร เทเลนอร์ เอเชีย กล่าวว่า “ผลจากการศึกษาครั้งนี้แสดงให้เห็นได้ชัดถึงผลประโยชน์มหาศาลที่ประเทศเศรษฐกิจเกิดใหม่จะได้รับจากอัตราการเข้าถึงอินเทอร์เน็ตที่เพิ่มขึ้น โดยเฉพาะในเอเชียผลการศึกษาแสดงให้เห็นว่าในทางเอเชียนั้น การเติบโตของการใช้อินเทอร์เน็ตจะเป็นไปอย่างแข็งแกร่งในอีกสิบปีข้างหน้า ทั้งในประเทศบังกลาเทศและไทยและการเติบโตของการเชื่อมต่อดังกล่าว หมายถึงประโยชน์อย่างยิ่งต่อเศรษฐกิจและสังคมของทั้งสองประเทศนี้” |
. |
ในประเทศไทย ผลการศึกษาคาดการณ์ว่า 1 ใน 4 ของประชากรไทยจะสามารถเข้าถึงอินเทอร์เน็ตได้ภายในปี พ.ศ. 2563 ซึ่งหมายถึงร้อยละ 70 ของครัวเรือนและประมาณร้อยละ 90 ของธุรกิจที่จะใช้งานอินเทอร์เน็ต การเติบโตนี้เท่ากับว่าอินเทอร์เน็ตจะมีส่วนต่อผลิตภัณฑ์มวลรวมของประเทศไทยอยู่ที่ร้อยละ 3.8 ในปี พ.ศ. 2563 สร้างกิจกรรมใหม่ๆ ทางธุรกิจ 52,000 รายการและสร้างงานใหม่อีก 140,000 รายต่อปี |
. |
ส่วนในบังกลาเทศ ผลการศึกษาคาดการณ์ว่าร้อยละ 32 ของครัวเรือน และร้อยละ 66 ของธุรกิจในบังกลาเทศจะมีการใช้งานอินเทอร์เน็ตภายในปี พ.ศ. 2563 ผลของการเพิ่มขึ้นดังกล่าวคาดว่าจะเป็นสัดส่วนประมาณร้อยละ 2.6 ของผลผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศ และผลักดันให้เกิดการสร้างงานใหม่ 129,000 รายต่อปีภายในปี พ.ศ. 2563 |
. |
หากพิจารณาถึงความท้าทายในการขยายเครือข่ายการเชื่อมต่อไปยังพื้นที่ชนบทของบังกลาเทศแล้ว เครือข่ายไร้สายน่าจะเป็นหนทางที่มีประสิทธิภาพที่สุด และหากมีการขยายบรอดแบนด์ไร้สายเต็มที่แล้ว คาดว่าร้อยละ 90 ของการเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ตทั้งหมดจะเป็นแบบไร้สายภายในปี พ.ศ. 2563 |
. |
นอกจากนี้ การศึกษายังพบว่าในอีกสิบปีข้างหน้าอินเทอร์เน็ตอาจมีส่วนในการสร้างรายได้แก่รัฐบาลบังกลาเทศถึงร้อยละ 4.6 และมีส่วนในการสร้างรายได้แก่รัฐบาลไทยร้อยละ 4.2 ดังนั้นในภาพรวมแล้ว ผลวิเคราะห์ดังกล่าวได้แสดงให้เห็นว่า การสร้างโครงสร้างพื้นฐานและการเข้าถึงอินเทอร์เน็ตนั้นช่วยสร้างงาน เพิ่มรายได้ และยกระดับสังคมที่ดีกว่าแก่ประเทศเศรษฐกิจเกิดใหม่นั่นเอง |