ปัญหาสิ่งแวดล้อมที่ดูจะทวีความรุนแรงขึ้นเรื่อย ๆ ทำให้หลายฝ่ายต้องพยายามคิดค้นสินค้าและวิธีการผลิตใหม่ ๆ ที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมมากขึ้น แนวคิดสินค้าRemanufacturing จึงได้เข้ามาเป็นอีกทางเลือกหนึ่งของทั้งหน่วยธุรกิจและผู้บริโภค
นางอารียา สุภาพ นักวิเคราะห์นโยบายและแผนชำนาญการ กลุ่มพหุภาคี สำนักเศรษฐกิจอุตสาหกรรมระหว่างประเทศ สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม |
. |
. |
สืบเนื่องจากปัญหาสิ่งแวดล้อมทำให้หลายฝ่ายพยายามคิดค้นสินค้าและวิธีการผลิตสินค้าใหม่ๆ ขึ้นมามากมายเพื่อป้องกันและแก้ไขปัญหาสิ่งแวดล้อม อาทิ การผลิตสินค้าที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม (EPP) การคิดค้นกระบวนการผลิตที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม (PPM) การนำสินค้ากลับมาใช้ซ้ำ (reuse) และการนำขยะของเสียกลับเข้ากระบวนการผลิตใหม่ (recycle) โดยล่าสุดมีการนำเสนอเรื่องสินค้า Remanufacturing |
. |
สินค้า remanufacturing คือสินค้าที่ผ่านการใช้งานมาแล้วในระยะหนึ่ง แต่มีการนำกลับมาปรับปรุงแปรสภาพให้มีคุณสมบัติเหมือนของใหม่ (same as new) โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อยืดอายุการใช้งานของสินค้านั้นๆ การ Remanufacture ในสินค้าหนึ่งๆ สามารถทำได้หลายครั้งเพื่อทำให้สินค้ากลับมามีสภาพเหมือนใหม่อยู่ตลอดเวลา และสามารถทำได้กับสินค้าทุกประเภท ทั้งสินค้าที่ใช้ในอุตสาหกรรม |
. |
สินค้าที่ใช้ทั่วไป และแม้แต่อุปกรณ์การแพทย์ โดยสินค้า Remanufacturing จะไม่ถือว่าเป็นสินค้าเก่า (used) หรือเป็นสินค้าเก่าที่นำกลับมาผลิตใหม่ (recycle) แต่เป็นสินค้าใช้แล้วที่มีการนำมาแปรสภาพ/คุณสมบัติการใช้งานให้เหมือนใหม่และมีการนำกลับมาใช้หรือขายในราคาที่ต่ำกว่า |
. |
ทั้งนี้การ Remanufacture จะรวมถึงการรับคืน (Take back) สินค้าเก่าจากผู้บริโภคเพื่อนำมาคัดแยกเพื่อ Remanufacture และ Recycle ซึ่งวิธีนี้ค่อนข้างแพร่หลายโดยเฉพาะในประเทศที่พัฒนาแล้ว |
. |
อย่างไรก็ตามการ Remanufacture ที่มีประสิทธิภาพ จะต้องประกอบด้วยการ Recycle และการขนส่ง (logistic) ที่เป็นระบบ เพื่อลดจำนวนขยะที่เกิดจากสินค้าเสื่อมสภาพ ส่งผลให้มีการใช้ทรัพยากรเพื่อผลิตสินค้าน้อยลง และมีการจ้างงานที่เพิ่มขึ้น |
. |
ข้อดีของสินค้า Remanufacturing |
1) สินค้า Remanufacturing เป็นสินค้าที่มีคุณภาพการใช้งานเหมือนของใหม่ แต่มีราคาขายที่ต่ำกว่า เนื่องจากเป็นการนำสินค้าที่ใช้งานแล้วมาปรับปรุงคุณภาพ ทำให้ผู้บริโภคสามารถเข้าถึงสินค้าเหล่านี้ได้ง่ายขึ้นและก่อให้เกิดประโยชน์แก่ผู้บริโภค |
. |
โดยเฉพาะอย่างยิ่งสินค้าที่ต้องใช้เทคโนโลยีสูงและมีราคาแพง เช่น อุปกรณ์การแพทย์ โดยการมีอุปกรณ์การแพทย์ที่เป็น Remanufacturing ซึ่งมีคุณภาพดีเหมือนของใหม่แต่มีราคาที่ต่ำกว่าจะช่วยให้โรงพยาบาลหรือศูนย์การแพทย์ที่มีงบประมาณไม่มากสามารถซื้อเครื่องมือแพทย์ Remanufacturing เหล่านี้มาใช้ในกิจการและสามารถนำมาช่วยเหลือรักษาประชาชน |
. |
ส่งผลให้ประชาชนมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น ทั้งนี้สินค้าที่ได้รับการ Remanufacture จะต้องมีการตรวจสอบคุณภาพโดยใช้มาตรฐานการตรวจสอบเช่นเดียวกันกับสินค้าใหม่ และการรับประกันคุณภาพสินค้าจะต้องเท่าเทียมหรือใกล้เคียงกับของใหม่ ผู้บริโภคจึงมั่นใจได้ว่าสินค้า Remanufacturing ที่นำไปใช้จะไม่ใช่สินค้าด้อยคุณภาพ |
. |
2) การ Remanufacture สินค้าสามารถทำได้หลายครั้ง ทำให้สินค้ากลับมามีสภาพเหมือนใหม่อยู่ตลอดเวลา ประหยัดค่าใช้จ่ายในการซื้อสินค้าใหม่ |
. |
3) สินค้า Remanufacturing ถือเป็นสินค้าที่มีกระบวนการผลิตที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมอย่างมาก เนื่องจากเป็นสินค้าที่นำกลับมาแปรสภาพใหม่ ทำให้ลดการใช้ทรัพยากรและพลังงานในการผลิตสินค้าขึ้นมาใหม่ ลดการก่อให้เกิดปัญหาเรือนกระจก นอกจากนี้ การมีระบบ Recycle ที่เหมาะสม ยังสามารถทำให้มีการนำส่วนประกอบเก่าที่ใช้งานไม่ได้ มาคัดแยก เพื่อส่งเข้ากระบวนการ Recycle และนำกลับมาผลิตเป็นสินค้าใหม่ได้ |
. |
4) ผู้ประกอบการที่มีการผลิตสินค้าอยู่แล้วสามารถผลิตสินค้า Remanufacturing ควบคู่ไปกับการผลิตสินค้าใหม่ได้ โดยการนำสินค้าที่ไม่ผ่านมาตรฐานมาแยกส่วนประกอบ แล้วนำชิ้นส่วนที่ไม่เสียหายกลับมาเข้าสายการผลิตใหม่ ซึ่งจะทำให้ผู้ประกอบการมีสินค้า Remanufacturing เพื่อเป็นทางเลือกให้ลูกค้า รวมถึงก่อให้เกิดการจ้างงานเพิ่มขึ้นจากการมีสายการผลิตที่เพิ่มขึ้นอีกทางหนึ่ง |
. |
5) การมีสินค้า Remanufacturing ทำให้ผู้ผลิตสามารถประหยัดการใช้ทรัพยากรหรืออาจมีต้นทุนการผลิตที่ต่ำลง การสนับสนุนสินค้า Remanufacturing จะทำให้ผู้ผลิตสามารถคิดค้นการผลิตสินค้า Remanufacturing ที่ก้าวหน้าขึ้น ส่งผลให้เกิดการพัฒนาที่ยั่งยืนของภาคธุรกิจ |
. |
อุปสรรคสำคัญของสินค้า Remanufacturing |
1) การยอมรับของผู้บริโภค เนื่องจากยังมีความเชื่อว่าสินค้า Remanufacturing เป็นสินค้าเก่า/ตกรุ่นและมีคุณสมบัติที่ต่ำกว่าสินค้าใหม่ ซึ่งในการประชุมเชิงปฏิบัติการ ผู้ประกอบการได้ขอให้ภาครัฐช่วยกันสนับสนุนและให้ความรู้แก่ประชาชนมากขึ้นเพื่อให้เข้าใจถึงความหมายที่แท้จริงของสินค้า Remanufacturing |
. |
2) ปัจจุบันประเทศส่วนใหญ่โดยเฉพาะประเทศกำลังพัฒนายังมีการกีดกันสินค้าRemanufacturing โดยกำหนดให้สินค้าดังกล่าวเป็นสินค้าใช้แล้ว (used) |
. |
3) การรับประกันสินค้า Remanufacturing จะรับประกันเฉพาะสินค้าที่ได้รับการ Remanufacture จากบริษัทผู้ผลิตเท่านั้น |
. |
เช่น ยานยนต์และชิ้นส่วนและเครื่องใช้ไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ การสนับสนุนการผลิตสินค้า Remanufacturing สามารถดำเนินการโดยเลือกอุตสาหกรรมบางสาขาที่ไทยได้ประโยชน์ โดยจะต้องมีการดำเนินการเกี่ยวกับการจัดการขยะและการนำวัสดุกลับมาใช้ใหม่อย่างมีประสิทธิภาพและเป็นระบบไม่เช่นนั้นไทยจะกลายเป็นที่ทิ้งของเสียในที่สุด |
. |
อย่างไรก็ตามคงจะต้องมีการศึกษาเพิ่มเติมถึงศักยภาพ ความพร้อม และความต้องการที่แท้จริงของคนในประเทศทั้งนี้ เพื่อที่จะนำไปสู่การกำหนดนโยบายที่แน่ชัดในเรื่องสินค้า Remanufacturing ของไทยในอนาคตต่อไป |
. |
ที่มา : สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม |