เนื้อหาวันที่ : 2009-11-16 10:09:49 จำนวนผู้เข้าชมแล้ว : 1733 views

ก.ไอซีที แจงผลสรุปโครงการ ASEAN CA-CA Interoperability

ไอซีที ระบุโครงสร้างของ Trust Model แบบ Trust List มีความเหมาะสมต่อการทำ CA-CA Interoperability ในภูมิภาคอาเซียน พร้อมเลือกประเทศสิงคโปร์เข้าร่วมทดสอบโครงการ

ไอซีที ระบุโครงสร้างของ Trust Model แบบ Trust List มีความเหมาะสมต่อการทำ CA-CA Interoperability ในภูมิภาคอาเซียน พร้อมเลือกประเทศสิงคโปร์เข้าร่วมทดสอบโครงการ

.

นายสือ ล้ออุทัย ปลัดกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร

.

นายสือ ล้ออุทัย ปลัดกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร เปิดเผยว่า หลังจากที่กระทรวงฯ ได้รับคัดเลือกให้เป็นหน่วยงานหลักในการดำเนินโครงการ ASEAN CA-CA Interoperability Project ภายใต้งบประมาณสนับสนุนจาก ASEAN ICT Fund ตั้งแต่เดือนตุลาคม 2551

.

เพื่อดำเนินการพิจารณาโครงสร้าง Trust Model ที่เหมาะสมในการทำงานร่วมกันระหว่างใบรับรองอิเล็กทรอนิกส์ที่ออกโดยผู้ให้บริการออกใบรับรอง หรือ Certification Authority : CA ซึ่งให้บริการในแต่ละประเทศให้สามารถทำงานระหว่างกันได้ รวมทั้งให้ดำเนินการทดสอบโครงสร้าง Trust Model ดังกล่าวร่วมกับประเทศสมาชิก ASEAN ที่มีความพร้อมเข้าร่วมทดสอบจำนวน 1 ประเทศด้วย

.

“ในระหว่างการดำเนินโครงการนั้น พบว่า โครงสร้างของ Trust Model แบบ Trust List มีความเหมาะสมต่อการทำ CA-CA Interoperability ในภูมิภาคอาเซียน เพราะเป็นโครงสร้างที่ไม่ซับซ้อนมีค่าใช้จ่ายไม่สูง และรองรับการขยายระบบในอนาคตได้เป็นอย่างดี พร้อมกันนี้ ยังได้คัดเลือกประเทศสิงคโปร์ให้เข้าร่วมทดสอบระบบกับโครงการฯ เนื่องจากมีโครงสร้าง Trust Model ของประเทศที่มีความชัดเจน รวมทั้งมีการดำเนินการด้านการพัฒนาเทคโนโลยี PKI ในประเทศมาเป็นระยะเวลานาน

.

ซึ่งหลังจากได้ดำเนินการทดสอบทางเทคนิคเกี่ยวกับ CA-CA Interoperability ร่วมกับประเทศสิงคโปร์ โดยใช้โครงสร้าง Trust List และดำเนินการทดสอบร่วมกับแอพพลิเคชั่นที่สนับสนุนการใช้ PKI ได้แก่ S/MIME (Microsoft Outlook) และ SSL (Microsoft Internet Explorer) เรียบร้อยแล้ว พบว่าผลการทดสอบเป็นที่น่าพอใจ           

.

แอพพลิเคชั่นสามารถนำ Certificate Trust List ที่ถูกสร้างขึ้นไปใช้ในการ Trust CA ระหว่างประเทศไทยและสิงคโปร์ได้เป็นอย่างดี และขณะนี้กำลังอยู่ระหว่างการจัดทำเอกสาร ASEAN CA-CA Interoperability Framework เพื่อเป็นแนวทางในการทำ CA-CA Interoperability ในภูมิภาคอาเซียนให้เกิดเป็นรูปธรรมต่อไปอีกด้วย” นายสือ กล่าว

.

นอกจากนี้กระทรวงไอซีทียังได้ทำการทดสอบ CA-CA Interoperability ร่วมกับสาธารณรัฐไต้หวัน ภายใต้โครงการ National Root CA และ CA Interoperability เพื่อ e-Logistics อีกด้วย โดยโครงการฯ นี้เป็นการทำ CA Interoperability ในประเทศ และระหว่างประเทศ พร้อมทั้งจัดทำข้อกำหนดคุณสมบัติขั้นต่ำ หรือ TOR เกี่ยวกับเทคโนโลยี PKI และจัดการอบรมสัมมนาให้ความรู้ด้าน PKI ให้กับบุคคลที่เกี่ยวข้องภายใต้โครงการ e-Logistics ตลอดจนให้คำปรึกษากับหน่วยงานที่นำเทคโนโลยี PKI ไปประยุกต์ใช้งานภายใต้โครงการ e-Logistics ด้วย

.

“ในส่วนของการทำ CA Interoperability ระหว่างประเทศนั้น กระทรวงฯ ได้คัดเลือกสาธารณรัฐไต้หวัน เข้าร่วมการทดสอบ เนื่องจากมีความเหมาะสมในการดำเนินการ เพราะมีปริมาณธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ระหว่างไทยกับไต้หวันในปริมาณมาก รวมทั้งมูลค่าของธุรกรรมดังกล่าวอยู่ในระดับสูง ทั้งนี้ รูปแบบ Trust Model ที่เลือกใช้ในการทดสอบจะเป็นแบบ Cross-Certification โดยทดสอบร่วมกับแอพพลิเคชั่นที่รองรับการใช้งานเทคโนโลยี PKI นั่นคือ Microsoft Outlook

.

ซึ่งจากผลการทดสอบพบว่า การทำ CA Interoperability ระหว่างไทยกับไต้หวันสามารถบรรลุผลสำเร็จตามวัตถุประสงค์ของโครงการ ซึ่งถือเป็นจุดเริ่มต้นสำคัญในการผลักดันการทำธุรกรรมอิเล็กทรอนิกส์ระหว่างประเทศให้เกิดขึ้นอย่างเป็นรูปธรรม รวมถึงมีความมั่นคง ปลอดภัย และน่าเชื่อถืออีกด้วย” นายสือ กล่าว