เนื้อหาวันที่ : 2009-11-05 17:55:47 จำนวนผู้เข้าชมแล้ว : 1492 views

ไอบีเอ็มเปิดตัวนวัตกรรมใหม่ ต่อยอดความสำเร็จส่วนแบ่งตลาดสตอเรจสูงสุด

ไอบีเอ็มต่อยอดความสำเร็จส่วนแบ่งตลาดสตอเรจสูงสุดในประเทศไทย เปิดตัวนวัตกรรมใหม่ทางด้านสตอเรจและเน็ตเวิร์ก ช่วยเอสเอ็มอีลดค่าใช้จ่าย เพิ่มประสิทธิภาพการบริการ และบริหารจัดการความเสี่ยง

.

ไอบีเอ็มต่อยอดความสำเร็จส่วนแบ่งตลาดสตอเรจสูงสุดในประเทศไทย เปิดตัวนวัตกรรมใหม่ทางด้านสตอเรจและเน็ตเวิร์ก ช่วยเอสเอ็มอีลดค่าใช้จ่าย เพิ่มประสิทธิภาพการบริการ และบริหารจัดการความเสี่ยง 

.

บริษัท ไอบีเอ็ม ประเทศไทย จำกัด สานต่อความสำเร็จในประเทศไทย จากการเป็นผู้นำด้านส่วนแบ่งตลาดของเอ็กซ์เทอร์นัล ดิสก์ สตอเรจช่วง 4 ไตรมาสที่ผ่านมาช่วง 4 ไตรมาส ที่ผ่านมา (ตั้งแต่ไตรมาสที่ 3 ปี 2551 ถึง ไตรมาสที่ 2 ปี 2552) ด้วยตัวเลขส่วนแบ่งตลาด 29.3%, 37.0%, 29.1% และ 33.9% ตามลำดับ จากรายงานของไอดีซี เอเชีย แปซิฟิก สตอเรจ ซิสเต็มส์ แทร็กเกอร์ ไตรมาส 2 เดือนกันยายน 2552                                  

.

เพื่อเป็นการต่อยอดความสำเร็จดังกล่าว ไอบีเอ็มจึงถือโอกาสเปิดตัวนวัตกรรมใหม่ทางด้านสตอเรจและเน็ตเวิร์ก พร้อมทั้งผนึกกำลังกับพันธมิตรและคู่ค้าทางธุรกิจทั่วประเทศ เพื่อช่วยองค์กรเอสเอ็มอีรับมือกับความท้าทายรอบด้าน โดยเฉพาะอย่างยิ่งความจำเป็นในการลดค่าใช้จ่าย เพิ่มประสิทธิภาพการบริการ และบริหารความเสี่ยง เสริมกำลังธุรกิจให้สามารถรับมือกับความท้าทายได้อย่างมีประสิทธิภาพ

.

ในช่วงเดือนเมษายนถึงพฤษภาคมที่ผ่านมา ไอบีเอ็มได้ทำการสำรวจความคิดเห็นผู้บริหารธุรกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (เอสเอ็มอี) 1,879 แห่งใน 17 ประเทศ* การสำรวจครั้งนี้ทำขึ้นโดยมีจุดประสงค์เพื่อช่วยให้ไอบีเอ็มเข้าใจปัญหา ความท้าทาย แนวทางกลยุทธ์การทำธุรกิจ แนวโน้มการลงทุนด้านไอที ข้อคิดเห็นหรือประเด็นเฉพาะด้านของธุรกิจเอสเอ็มอี        

.

จากผลการสำรวจพบว่า หนึ่งในโซลูชันที่ได้รับความสำคัญมากที่สุดจากความคิดเห็นของผู้บริหารเอสเอ็มอี คือ โซลูชันทางด้านการจัดการข้อมูล (Information Management) ที่มุ่งเน้นการแปลงข้อมูลมหาศาลในองค์กรให้กลายเป็นเครื่องมืออันทรงพลังทางธุรกิจ โซลูชันดังกล่าวได้รับโหวตโดย 75 เปอร์เซ็นต์ของผู้ตอบแบบสอบถามทั้งหมด 

.

นายธนพงษ์ อิทธิสกุลชัย รองกรรมการผู้จัดการใหญ่ ธุรกิจคอมพิวเตอร์ บริษัท ไอบีเอ็ม ประเทศไทย จำกัด กล่าวว่า “จากผลการสำรวจดังกล่าว ชี้ให้เห็นถึงความสำคัญในด้านการจัดการข้อมูล ซึ่งเป็นสิ่งที่ผู้บริหารส่วนใหญ่ให้ความสำคัญ” นอกจากนั้น นายธนพงษ์ ยังกล่าวเสริมอีกว่า “ไอบีเอ็มเล็งเห็นความต้องการดังกล่าว จึงมุ่งมั่นคิดค้นเทคโนโลยี ภายใต้แนวคิด ‘โครงสร้างพื้นฐานไอทีที่ปรับเปลี่ยนได้ (Dynamic Infrastructure)’ 

.

เพื่อช่วยให้ธุรกิจเอสเอ็มอีมีโอกาสดึงศักยภาพของเทคโนโลยีไปช่วยองค์กรลดค่าใช้จ่าย เพิ่มประสิทธิภาพการบริการและการบริหารจัดการความเสี่ยง ซึ่งไอบีเอ็มมองว่าสามารถจะช่วยให้ธุรกิจรับมือกับความท้าทายรอบด้านได้อย่างมีประสิทธิภาพ เพื่อความสำเร็จอย่างยั่งยืนขององค์กร” 

.

นอกเหนือไปจากความต้องการดังกล่าวแล้ว ไอบีเอ็มยังค้นพบว่าด้วยการเติบโตอย่างรวดเร็วของการใช้งานที่มีการส่งข้อมูลระหว่างกันไม่ว่าจะเป็นการใช้งานทางด้านเว็บผ่านอุปกรณ์พกพา เช่น โทรศัพท์มือถือ หรือการเชื่อมต่อกันของอุปกรณ์เซ็นเซอร์หลากหลายรูปแบบ เป็นต้น มีผลทำให้ธุรกิจหลายแห่งจำต้องมองหาโซลูชันในด้านการโอนย้ายข้อมูลผ่านเน็ตเวิร์กที่มีประสิทธิภาพ ซึ่งจากการประเมินของไอบีเอ็มพบว่าการเติบโตของโซลูชันในด้านดังกล่าวจะเพิ่มขึ้นถึง 16 เท่าภายในปีพ.ศ 2563

.

ด้วยแนวโน้มและความต้องการต่าง ๆ ดังกล่าวนี้เอง บริษัท ไอบีเอ็ม ประเทศไทย จึงถือโอกาสเปิดตัวโซลูชันใหม่ทางด้านสตอเรจและเน็ตเวิร์ก โดยนำเทคโนโลยีสตอเรจและเน็ตเวิร์กสมรรถนะสูงที่ใช้กับองค์กรขนาดใหญ่ มาพัฒนาขึ้นกับสตอเรจขนาดเล็กเพื่อธุรกิจเอสเอ็มอีโดยเฉพาะดังต่อไปนี้ สตอเรจตระกูล DS5000 ซีรี่ส์ ที่มาพร้อมกับเทคโนโลยีใหม่ล่าสุด ลิขสิทธิ์เฉพาะของไอบีเอ็ม เช่น เทคโนโลยีเสมือน (Virtualization) ที่ช่วยเพิ่มประสิทธิภาพการทำงานการจัดเก็บข้อมูลและลดการใช้พลังงาน 

.

เทคโนโลยีโซลิด สเตท (Solid State) นวัตกรรมทางด้านการโอนย้ายและจัดเก็บข้อมูลรูปแบบใหม่ที่เปิดโอกาสให้การโอนย้ายสามารถทำได้ผ่านระบบแฟลชเมมโมรีแทนรูปแบบการทำงานด้วยการหมุนของเข็มในฮาร์ดดิสก์หรือเทปแบบเดิม ด้วยเทคโนโลยีโซลิด สเตทนี้เองเปิดโอกาสให้การโอนย้ายข้อมูลสามารถทำได้เร็วขึ้นและมากขึ้นถึง 20,000 ครั้งต่อวินาทีแทนลักษณะการทำงานแบบเดิมที่การโอนย้ายข้อมูลทำได้สูงสุดเพียง 200 ครั้งต่อวินาทีเท่านั้น 

.

เทคโนโลยีการเข้ารหัสข้อมูลตรงผ่านฮาร์ดแวร์ (Self-Encrypting Drives) ซึ่งทำให้การรักษาความปลอดภัยของข้อมูลทำได้ง่ายและสะดวกรวดเร็วยิ่งขึ้นแทนการเข้ารหัสข้อมูลผ่านซอฟต์แวร์เหมือนที่เคยมีในอดีต

.

ความสามารถในการรองรับการโอนย้ายผ่านข้อมูลเข้ามาจัดเก็บในสตอเรจ ทั้งในรูปแบบไฟเบอร์แชนเนล (Fiber Channel) ผ่านเซิร์ฟเวอร์ ที่ความเร็วสูงสุด 8 กิ๊กกะบิต หรือจากระบบแลนผ่านไอ-สกัสซี่ (iSCSI) ได้ถึง 1 กิ๊กกะบิต 

.

ไอบีเอ็ม ดาต้าเซ็นเตอร์ เน็ตเวิร์กกิ้ง สวิทช์ (IBM Data Center Networking Switches) อุปกรณ์รองรับการโอนย้ายข้อมูลที่ทำงานร่วมกับสตอเรจของไอบีเอ็ม โดยไอบีเอ็มเปิดตัวสวิทช์หลากหลายซีรี่ส์ เช่น ซีรี่ส์ เอ็ม อาร์ หรือ เอส โดยเน็ตเวิร์กสวิทช์รุ่นใหม่ดังกล่าวมาพร้อมกับเทคโนโลยีล่าสุด ลิขสิทธิ์เฉพาะของไอบีเอ็ม ไม่ว่าจะเป็น           

.

ความสามารถในการโอนย้ายข้อมูลที่ทำได้สูงสุดถึง 10 กิ๊กกะบิต ความสามารถในการรองรับจำนวนพอร์ตต่อแชสซีได้สูงถึง 1536 พอร์ต (wire-speed 1 GpE รุ่น r-seies) เทคโนโลยีเพาเวอร์ โอเวอร์ อีเทอร์เน็ต (Power over Ethernet) ซึ่งสนับสนุนการจ่ายพลังงานให้กับอุปกรณ์ต่อพ่วงต่าง ๆ เช่น ไอพี โฟน หรือ กล้อง CCTV เป็นต้น

.

การรองรับมาตรฐาน ไอพีวีซิกส์ (IPV6) มาตรฐานที่รองรับการเชื่อมต่อโครงข่ายซึ่งสูงกว่ามาตรฐานไอพีวีโฟว์ (IPV4) ที่ใช้กันอย่างแพร่หลายในปัจจุบัน

.

เพื่อเป็นการเฉลิมฉลองความสำเร็จความเป็นผู้นำทางด้านส่วนแบ่งตลาดสตอเรจในประเทศไทยสี่ไตรมาสติดต่อกัน บริษัท ไอบีเอ็ม ประเทศไทยจึงร่วมมือกับพันธมิตรและคู่ค้าชั้นนำของไอบีเอ็มทั่วประเทศนำโซลูชันทางด้านสตอเรจและอุปกรณ์เน็ตเวิร์กของไอบีเอ็มเพื่อช่วยองค์กรเอสเอ็มอีเพิ่มประสิทธิภาพการทำงานและลดค่าใช้จ่าย

.

ไม่ว่าจะเป็น บริษัท คอมพิวเตอร์ยูเนี่ยน จำกัด บริษัท เมโทรคอนเนค จำกัด บริษัท เอสไอเอส ดิสทริบิวชั่น (ประเทศไทย) จำกัด (มหาชน) บริษัท อินเกรม ไมโคร (ประเทศไทย) จำกัด รวมทั้งตัวแทนจำหน่ายผลิตภัณฑ์ของไอบีเอ็มอีกกว่า 100 รายทั่วประเทศ