เนื้อหาวันที่ : 2009-11-03 14:31:17 จำนวนผู้เข้าชมแล้ว : 550 views

ดัชนีความเชื่อมั่นฟื้นทั่วโลก ไทยดีดขึ้น 13 จุด

ดัชนีความเชื่อมั่นฟื้นทั่วโลก ประเทศไทยดีดขึ้น 13 จุด จากหกเดือนที่ผ่านมา แต่ยังชะลอการใช้จ่าย
.

ผลการสำรวจออนไลน์ของผู้บริโภคจาก 54 ประเทศชิ้นล่าสุดจาก นีลเส็น ผู้นำด้านการวิจัยทางการตลาดและข้อมูลชั้นนำของโลก พบว่าความเชื่อมั่นของผู้บริโภคทั่วโลกกำลังฟื้นตัวขึ้น และกำลังเริ่มหลุดพ้นจากวิกฤติเศรษฐกิจ โดยดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคในประเทศไทยเพิ่มขึ้นสิบสามจุดจากระดับ แปดสิบเอ็ด จากการสำรวจในเดือนเมษายนที่ผ่านมา ไปยัง ระดับที่เก้าสิบสี่ในเดือนตุลาคมนี้ ซึ่งสูงกว่าค่าเฉลี่ยระดับโลก

.

จากผลการสำรวจล่าสุดของนีลเส็นในช่วงวันที่ 28 กันยายน ถึงวันที่ 16 ตุลาคมที่ผ่านมา พบว่าค่าเฉลี่ยความเชื่อมั่นของผู้บริโภคในประเทศไทยเพิ่มขึ้นสิบสามจุดจากระดับ แปดสิบเอ็ด จากการสำรวจในเดือนเมษายนที่ผ่านมา ไปยัง ระดับที่เก้าสิบสี่ในเดือนตุลาคมนี้        

.

ในขณะเดียวกัน นีลเส็นยังพบความเชื่อมั่นของผู้บริโภคทั่วโลกเพิ่มขึ้นเก้าจุดจาก ระดับที่เจ็ดสิบเจ็ดในเดือนเมษายน มาที่แปดสิบหกในเดือนตุลาคม เนื่องจากแผนการกระตุ้นเศรษฐกิจเริ่มที่จะมีผลกระทบในช่วงไตรมาสที่สองที่ผ่านมา ความเชื่อมั่นของผู้บริโภคทั่วโลกรวมถึงประเทศไทยเริ่มที่จะฟื้นตัวอย่างช้าๆจากจุดที่เคยลงไปต่ำสุดเมื่อหกเดือนที่ผ่านมา ( ตารางที่ 1 )

.

จากผลการสำรวจจากห้าสิบสองประเทศทั่วโลก นีลเส็นพบว่าความเชื่อมั่นใน สี่สิบห้าประเทศเพิ่มขึ้น เมื่อเปรียบเทียบกับหกเดือนที่แล้ว ผู้บริโภคทั่วโลกมีความเชื่อมั่นไปในทิศทางบวก โดยประเทศที่มีความเชื่อมั่นอยู่ในลำดับแรกๆของโลก ได้แก่ อินเดีย อินโดนีเซีย และนอร์เวย์ ในทางตรงกันข้ามผู้บริโภค ในประเทศแลทเวีย และญี่ปุ่น คือ ประเทศที่มีความเชื่อมั่นต่ำที่สุดในโลก

.

นาย เจมส์ รัสโซ่ รองประธาน คอนซุเมอร์อินไซด์ของโลก บริษัท เดอะนีลเส็น คอมปะนี กล่าวว่า “การเพิ่มขึ้นของดัชนีความเชื่อมั่นทั่วโลกมากถึง เก้าจุดเป็นการแสดงให้เห็นถึงการฟื้นตัวในทิศทางที่เป็นบวก ถือเป็นการแสดงให้เห็นอย่างชัดเจนว่าความเชื่อมั่นของผู้บริโภคทั่วโลกเริ่มเดินหน้าจาก ภาวะเศรษฐกิจถดถอยมา เข้าสู่ระยะฟื้นตัวแล้ว”

.

ในประเทศไทย ผู้บริโภคจำนวนเจ็ดสิบห้าเปอร์เซ็นต์ คิดว่าเศรษฐกิจในประเทศของตนอยู่ในสภาวะถดถอย โดยลดลงจากระดับ แปดสิบสี่ เปอร์เซ็นต์ ในเดือนเมษายนที่ผ่านมา และในกลุ่มคนที่คิดว่าประเทศไทยอยู่ในภาวะเศรษฐกิจถดถอย นีลเส็นพบผู้บริโภคจำนวน ยี่สิบแปดเปร์เซ็นต์ เชื่อมั่นว่าภาวะเศรษฐกิจถดถอยจะสิ้นสุดภายในหนึ่งปี

.

สำหรับผู้บริโภคจำนวนมากในแถบเอเชียแปซิฟิค และละตินอเมริกา สภาวะเศรษฐกิจถดถอยเริ่มจะกลายเป็นอดีต โดยผลการสำรวจพบว่า แปดสิบเจ็ดเปอร์เซ็นต์ของผู้บริโภคในประเทศจีนคิดว่าประเทศของตนไม่อยู่ในสถาวะเศรษฐกิจถดถอย ในขณะที่ผู้บริโภค กว่า หกสิบเปอร์เซ็นต์ ในฮ่องกง นอร์เวย์ และ ออสเตรเลีย มีความเชื่อแบบเดียวกัน นอกจากนี้เรายังพบว่า ประมาณครึ่งหนึ่งของชาวบราซิล อินเดีย และซิลี ก็มีความคิดเช่นเดียวกันว่าภาวะเศรษฐกิจถดถอยได้มาถึงจุดสิ้นสุดแล้ว

.

ส่วนในประเทศไทย การเพิ่มขึ้นของดัชนีที่เพิ่มขึ้นมา แปดจุด หากเปรียบเทียบกับไตรมาสที่สอง เป็นผลมาจากผู้บริโภคชาวไทยมีความหวังที่สดใสเกี่ยวกับโอกาสในด้านการงาน และสภาวะการเงินของตนมากขึ้น เกือบสี่สิบเปอร์เซ็นต์ ของผู้บริโภคชาวไทย แสดงความคิดเห็นต่อเรื่องโอกาสในด้านการงาน ว่า “ดี” และ “ดีมาก” เพิ่มขึ้นจากยี่สิบเจ็ดเปอร์เซ็นต์ จากการสำรวจในไตรมาสที่สอง จากผลของการสำรวจ จะเห็นได้อย่างชัดเจนมากว่าผู้บริโภครู้สึกว่าภาวะเศรษฐกิจถดถอยได้มาถึงจุดต่ำสุด และกำลังอยู่ในระยะฟื้นตัว

.

มร.แอรอน ครอส กรรมการผู้จัดการ บริษัท เดอะ นีลเส็น คอมปะนี ประเทศไทย กล่าวว่า “ในไตรมาสที่สามนี้เราเห็นความเชื่อมั่นของผู้บริโภคชาวไทยที่ดีขึ้นอย่างต่อเนื่อง แต่ผู้บริโภคยังคงลังเลที่จะออกนอกบ้านเพื่อไปจับจ่ายใช้สอย 

.

โดยจะเห็นได้จาก ผู้บริโภคชาวไทยกว่าครึ่ง ( 57%) ยังคงประสงค์ที่จะเก็บเงินในส่วนที่เหลือเพื่อเก็บออมหากมีเงินเหลือหลังจากใช้จ่ายสิ่งที่จำเป็นในการดำรงชีวิต นอกจากความตั้งใจที่จะออมเงินแล้ว การใช้จ่ายทางด้านการท่องเที่ยวและการพักผ่อนหย่อนใจ ยังคงเป็นทางเลือกที่ผู้บริโภคชาวไทยนิยมมาก” ( ตารางที่ 2 )

.

ในขณะที่ผู้บริโภคทั่วโลกยังคงมีความกังวลใจมากที่สุดในอีกหกเดือนข้างหน้าเกี่ยวกับ ปัญหาทางด้านเศรษฐกิจ และ ความมั่นคงในด้านการงาน ผู้บริโภคในหลายๆประเทศเริ่มให้ความสนใจเกี่ยวกับเประเด็นอื่นๆมากขึ้น ปัญหาความกังวลเกี่ยวกับเรื่องเศรษฐกิจลดลงในช่วงหกเดือนที่ผ่านมา       

.

ในเดือนเมษายน ผู้บริโภคชาวไทย(27%) วิตกกังวลกับปัญหาทางด้านเศรษฐกิจมากที่สุด ลำดับรองลงมาคือ ความมั่นคงในด้านการงาน (14%) ส่วนผลจากการสำรวจล่าสุดพบว่า ผู้บริโภคชาวไทย วิตกกังวลกับปัญหาทางด้านเศรษฐกิจ (21%) และ ความมั่นคงในด้านการงาน (8%) ลดลง

.

นีลเส็นยังเผยผลสำรวจเกี่ยวกับพฤติกรรมของผู้บริโภคเกี่ยวกับการซื้อของและการดำเนินชีวิตของพวกเขาในหนึ่งปีที่ผ่านมา โดยพบว่าผู้บริโภคชาวไทยมากถึง แปดสิบสี่เปอร์เซ็นต์ กล่าวว่าตนได้เปลี่ยนพฤติกรรมการใช้จ่าย โดยพวกเขาได้พยายามลดรายจ่ายดังต่อไปนี้

.

- ซื้อเสื้อผ้าใหม่ 65%
- ประหยัดค่าไฟ 60 %
- ลดสิ่งบันเทิงนอกบ้าน 60%
- ค่าโทรศัพท์ 49%