สศอ.เผยดัชนีอุตฯ ปิดบวกครั้งแรกหลังซึมยาว 11 เดือน Hard disk drive มีเฮคำสั่งซื้อล่วงหน้ากลับเข้ามา ขณะที่อุตฯปิโตรเลียม-เหล็ก ยอดผลิตและจำหน่ายเพิ่มตามสัญญาณการฟื้นตัวของเศรษฐกิจ ส่งผลให้อัตราการใช้กำลังการผลิตสูงถึง 60.1%
สศอ.เผยดัชนีอุตฯ ปิดบวกครั้งแรกหลังซึมยาว 11 เดือน Hard disk drive มีเฮคำสั่งซื้อล่วงหน้ากลับเข้ามา ขณะที่อุตฯปิโตรเลียม-เหล็ก ยอดผลิตและจำหน่ายเพิ่มตามสัญญาณการฟื้นตัวของเศรษฐกิจ ส่งผลให้อัตราการใช้กำลังการผลิตสูงถึง 60.1% |
. |
นายอาทิตย์ วุฒิคะโร ผู้อำนวยการสำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม (สศอ.) |
. |
นายอาทิตย์ วุฒิคะโร ผู้อำนวยการสำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม (สศอ.) และรองโฆษกกระทรวงอุตสาหกรรม เปิดเผยว่า ดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรม(ดัชนีอุตฯ) เดือนกันยายน ขยายตัวเพิ่มขึ้น 1% เมื่อเทียบกับเดือนเดียวกันของปีก่อน โดยขยายตัวเป็นบวกครั้งแรกในรอบ 11 เดือน หลังจากเผชิญภาวะวิกฤตเศรษฐกิจโลกมาตั้งแต่เมื่อกลางปี 2551 ที่ผ่านมา |
. |
ซึ่งสัญญาณการฟื้นตัวครั้งนี้เนื่องจากทิศทางของเศรษฐกิจโลกที่เริ่มฟื้นอย่างมีเสถียรภาพมากขึ้น จากมาตรการการกระตุ้นทางเศรษฐกิจของทั่วโลกเริ่มมีผล จึงทำให้ภาพรวมของภาคอุตสาหกรรมไทยฟื้นตัวตามไปด้วย อุตสาหกรรมหลักโดยเฉพาะการผลิต Hard Disk Drive การกลั่นปิโตรเลียม และการผลิตเหล็ก ยอดผลิตและจำหน่ายเพิ่มขึ้นอย่างคึกคัก |
. |
ขณะที่การผลิตยานยนต์เริ่มฟื้นอย่างต่อเนื่อง ยอดผลิตและจำหน่ายเพิ่มขึ้น 11 เดือน จากแนวโน้มที่ดีดังกล่าว สศอ. เชื่อว่าในเดือนต่อๆ ไป ดัชนีอุตฯ จะเป็นบวกเพิ่มขึ้น |
. |
ในทางนโยบาย นายชาญชัย ชัยรุ่งเรือง รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม ได้สั่งการให้หน่วยงานต่างๆ ของกระทรวงทั้งในส่วนกลางและส่วนภูมิภาค เร่งทำงานตามแผนงาน โครงการต่างๆ ในปีงบประมาณ 2553 เพื่อเสริมสร้างให้การฟื้นตัวของภาคอุตสาหกรรมเป็นไปอย่างแข็งแกร่ง ต่อเนื่อง โดยให้นำยุทธศาสตร์คลังสมองเพื่อชาติ ที่เน้นการทำงานร่วมกับภาคเอกชนมาใช้ |
. |
“ถือเป็น 11 เดือนเต็มๆ กว่าดัชนีอุตสาหกรรมจะเป็นบวก หลังจากติดลบครั้งแรก -0.4% เมื่อเดือนตุลาคม จากนั้นอัตราการขยายตัวติดลบมาตลอด คือ -8.4% ,-19.7% ในเดือนพ.ย.และ ธ.ค. ตามลำดับ จนมาถึงจุดต่ำสุด -25.6% ในเดือน ม.ค.จากนั้นจึงค่อยๆฟื้นตัว จากอัตราการขยายตัวติดลบลดลง |
. |
โดยเดือน ก.พ. -23.1% เดือน มี.ค.-17.7% เดือนเม.ย.-12.8% เดือน พ.ค.-12.4% เดือนมิ.ย.-6.8% เดือน ก.ค.-9.0% เดือนส.ค. -8.6% และ ขยายตัวเพิ่มขึ้น 1% ในเดือนกันยายน ขณะที่หากพิจารณาดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรม เมื่อเทียบกับเดือนก่อน ตัวเลขชี้ให้เห็นแนวโน้มที่เป็นบวก ตั้งแต่เดือน ก.พ. คือบวก 0.5% เดือน มี.ค.14.2% เดือนเม.ย.เกิดเหตุการณ์ความไม่สงบทำให้ติดลบ -8.7% แล้วจึงกลับมาเป็นบวก 9.2% และ 6.6% ในเดือน พ.ค. และมิ.ย.ตามลำดับ |
. |
แม้เดือนก.ค.แกว่งตัวติดลบเล็กน้อย -1.3% แต่กลับมาเป็นบวกเล็กน้อย 0.8% ในเดือนส.ค.และเดือนก.ย.บวก 10.1% เนื่องจากหลายสาขาอุตสาหกรรมมีคำสั่งซื้อเข้ามาอย่างต่อเนื่อง หลังจากอั้นมานานด้วย |
. |
ผลพวงของวิกฤตเศรษฐกิจโลก คำสั่งซื้อที่มีเข้ามาทำให้โรงงานเพิ่มการผลิต อัตราการใช้กำลังการผลิตภาคอุตสาหกรรมจึงเพิ่มขึ้นเป็น 60.1% ในเดือนก.ย. เทียบกับที่เคยต่ำสุด 50.0% เมื่อเดือน ก.พ.” |
. |
นายอาทิตย์ กล่าวว่า การผลิต Hard disk drive เมื่อเทียบกับเดือนเดียวกันของปีก่อน การผลิตและจำหน่ายปรับตัวเพิ่มขึ้น 13.2% และ 10.7% เนื่องจากเมื่อปีก่อนเริ่มได้รับผลกระทบจากภาวะวิกฤติเศรษฐกิจโลก ผู้ประกอบการส่วนใหญ่แทบจะปรับตัวไม่ทัน จึงส่งผลต่อภาวะการจ้างงานที่ทำให้หลายแห่งมีการปรับลดพนักงานลงอย่างมาก |
. |
แต่สำหรับปีนี้ทิศทางการฟื้นตัวกลับเข้ามาแล้วหลังจากเกิดการอั้นมานานเกือบปี ผู้นำเข้าจากทั่วโลกมีความมั่นใจสั่งซื้อสินค้าจากไทยเป็นจำนวนมาก และเริ่มมีคำสั่งซื้อล่วงหน้ากลับเข้ามาแล้ว ไม่น้อยกว่า 3 เดือน โดยคำสั่งซื้อที่กลับเข้ามานั้นเนื่องมาจากการที่ไทยเป็นนี้มีการปรับเปลี่ยนด้านเทคโนโลยีที่ทันสมัย และมีผลิตภัณฑ์ใหม่ๆสอดคล้องกับการใช้งานของผู้บริโภคอย่างต่อเนื่องนั่นเอง |
. |
การกลั่นปิโตรเลียม เมื่อเทียบกับเดือนเดียวกันของปีก่อน การผลิตและจำหน่ายเพิ่มขึ้นมากถึง 23.4% และ 32.9% เนื่องจากภาวะเศรษฐกิจเริ่มฟื้นตัวส่งผลต่อความต้องการใช้น้ำมันที่เพิ่มขึ้น โดยเฉพาะกระบวนการขนส่งสินค้า อีกทั้งเมื่อช่วงเดียวกันของปีก่อนนั้นภาวะวิกฤติเศรษฐกิจโลกเริ่มส่งผลกระทบมายังประเทศไทยทำให้ผู้บริโภคไม่มั่นใจในสถานการณ์ทางเศรษฐกิจ จึงทำให้การใช้น้ำมันสำเร็จรูปลดลงตามไปด้วยเช่นกัน |
. |
การผลิตเหล็กและผลิตภัณฑ์จากเหล็ก เมื่อเทียบกับเดือนเดียวกันของปีก่อน การผลิตและจำหน่ายโดยรวมเพิ่มขึ้น 24.2% และ 26.7% ตามลำดับ เนื่องจากปัจจัยเรื่องราคาเหล็กโลกปีนี้เริ่มมีเสถียรภาพมากขึ้น ผู้ผลิตจึงมีความมั่นใจผลิตสินค้าออกมาไว้ในสต๊อก อีกทั้งทิศทางการจำหน่ายมีแนวโน้มดีขึ้น จากภาคธุรกิจอสังหาริมทรัพย์เริ่มฟื้นตัว รวมทั้งปัจจัยจากโครงการลงทุนขนาดใหญ่ของรัฐบาลหลายโครงการเริ่มดำเนินการไปในบางส่วนแล้ว จึงส่งผลให้การผลิตและจำหน่ายคึกคักกว่าปีก่อน |
. |
ขณะที่ การผลิตยานยนต์ เมื่อเทียบกับเดือนเดียวกันของปีก่อน การผลิตได้ติดลบน้อยลงอย่างเห็นได้ชัด กล่าวคือ -17.2% เทียบกับที่เคยติดลบไม่ต่ำกว่า -40% ในช่วงที่ผ่านมา ทั้งนี้เนื่องจากมีการปรับปริมาณการผลิตเพิ่มขึ้นเพื่อรับกับการส่งออกที่มียอดคำสั่งซื้อกลับเข้ามามากขึ้น |
. |
สำหรับภาพรวมดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรมเดือนกันยายน 2552 เมื่อเทียบกับเดือนเดียวกันของปีก่อนพบว่า ดัชนีผลผลิต (มูลค่าเพิ่ม) อยู่ที่ระดับ 186.59 เพิ่มขึ้น 1% จากระดับ 184.79 ดัชนีผลผลิต (มูลค่าผลผลิต) อยู่ที่ระดับ 185.59 ลดลง -0.5% จากระดับ 186.59 ดัชนีการส่งสินค้า อยู่ที่ระดับ 189.37 เพิ่มขึ้น0.9% จากระดับ 187.72 |
. |
ดัชนีสินค้าสำเร็จรูปคงคลัง อยู่ที่ระดับ 167.24 ลดลง -20.7% จากระดับ 210.81 ดัชนีอัตราส่วนสินค้าสำเร็จรูปคงคลัง อยู่ที่ระดับ 172.43 ลดลง -52.8% จากระดับ 365.49 ดัชนีแรงงานในภาคอุตสาหกรรม อยู่ที่ระดับ 114.11 ลดลง -2.9% จากระดับ 117.46 ดัชนีผลิตภาพแรงงานในภาคอุตสาหกรรม อยู่ที่ระดับ 155.80 เพิ่มขึ้น 13.3% จากระดับ 137.55 ขณะที่อัตราการใช้กำลังการผลิตอยู่ที่ 60.1% |
. |
ตัวอย่างอุตสาหกรรมที่ดัชนีอุตสาหกรรมเป็นบวก และปรับตัวได้ดีเข้าใกล้บวก |
. |
ดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรมและอัตราการใช้กำลังการผลิต |
. |
ที่มา : สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม |