คณะกรรมการ รฟท.อนุมัติแผนปรับโครงสร้างกิจการการรถไฟแห่งประเทศไทย (รฟท.) โดยโอนหนี้ 37,000 ล้านบาท ที่ดินให้กับกระทรวงการคลัง ขณะเดียวกันก็เร่งตั้งบริษัทลูกขึ้นเพื่อบริหารทรัพย์สินของ รฟท.
คณะกรรมการ รฟท.อนุมัติแผนปรับโครงสร้างกิจการการรถไฟแห่งประเทศไทย (รฟท.) โดยโอนหนี้ 37,000 ล้านบาท – ที่ดินให้กับกระทรวงการคลัง ขณะเดียวกันก็เร่งตั้งบริษัทลูกขึ้นเพื่อบริหารทรัพย์สินของ รฟท. |
. |
นายอารักษ์ ราษฏร์บริหาร หัวหน้าผู้บริหารด้านการเงิน การรถไฟแห่งประเทศไทย (รฟท.) เปิดเผยภายหลังการประชุมคณะกรรมการการรถไฟแห่งประเทศไทย (รฟท.) ตลอดทั้งวันว่า ที่ประชุมมีมติอนุมัติแผนปรับโครงสร้างกิจการ รฟท. ตามแนวทางที่กระทรวงคมนาคมและกระทรวงการคลังได้เคยศึกษาร่วมกัน โดยเบื้องต้นได้กำหนดกรอบระยะเวลาโครงสร้างกิจการทั้งในระยะสั้นและระยะยาว โดยเริ่มจากการโอนหนี้ของ รฟท.ที่มีอยู่เดิม 37,000 ล้านบาท ไปให้กระทรวงการคลัง โดยวงเงินดังกล่าวจะครอบคลุมถึงการที่ รฟท.จะโอนที่ดิน ซึ่งเป็นทรัพย์สิน ซึ่งหน่วยงานราชการเช่าในปัจจุบันไปให้แก่กรมธนารักษ์ด้วย ซึ่งภายหลังการโอนหนี้จะทำให้ รฟท.มีภาระหนี้สะสมเหลือเพียง 10,000 ล้านบาท โดยจะใช้แนวทางการบริหารทรัพย์สินที่เหลืออยู่เพื่อชดเชยผลขาดทุนในอนาคต |
. |
วงเงิน 37,000 ล้านบาท แบ่งเป็นเงินกู้ในโครงสร้างพื้นฐานเดิม 15,000 ล้านบาท เงินชดเชยผลขาดทุนล่าช้า 13,000 ล้านบาท ซึ่งรัฐพร้อมรับภาระให้ เพราะเป็นการลงทุนโครงสร้างพื้นฐาน ส่วนการโอนชำระหนี้ที่ดินที่ราชการเช่าอยู่คิดเป็นมูลค่าประมาณ 4,000 ล้านบาท ที่เหลือ 5,000 ล้านบาท เป็นหนี้ค้างจ่ายอื่น ๆ” นายอารักษ์ กล่าว |
. |
นอกจากนี้ ที่ประชุมคณะกรรมการยังได้เร่งรัดให้ฝ่ายบริหารของ รฟท. จัดตั้งบริษัทลูกขึ้นมา 1 บริษัท ภายใน 1 ปี เพื่อบริหารทรัพย์สิน บริหารระบบรถไฟฟ้ารองรับการเปิดให้บริการรถไฟฟ้าเชื่อมต่อท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ แอร์พอร์ต เรล ลิ้งค์ ในอนาคต และบริษัทบริหารการขนส่งสินค้า รวมทั้งยังได้เร่งรัดให้มีการลงทุนในโครงการระบบรถไฟรางคู่ที่จะมีขึ้นในอนาคต โดยแบ่งภาคการลงทุนออกเป็น 2 ส่วน ส่วนแรกเป็นการลงทุนในโครงสร้างพื้นฐาน ซึ่งภาครัฐจะจัดสรรงบประมาณในแต่ละปีเพื่อลงทุนก่อสร้างระบบรางคู่ โดยได้จัดลำดับความสำคัญเส้นทางที่เกี่ยวข้องกับการขนส่งสินค้า เช่น เส้นทางแหลมฉบัง-ไอซีดี ลาดกระบัง รวมถึงเส้นทางฉะเชิงเทรา-แก่งคอย ที่จำเป็นต่อการขนส่งสินค้า |
. |
ส่วนที่ 2 การลงทุนที่รถไฟดำเนินการเองคือหัวรถจักรและระบบล้อเลื่อน ซึ่งจะเกิดการลงทุนภายใน 1 ปี โดย รฟท.จะจัดหาเงินกู้เพื่อซื้อหัวขบวนรถไฟใหม่ 20 ขบวน เพื่อเพิ่มการเดินรถรวมถึงแผนการซ่อมแซมหัวรถจักรเดิมเพื่อนำกลับมาใช้งานได้อย่างมีประสิทธิภาพ จากปัจจุบันที่ รฟท. มีการใช้หัวรถจักรเพียงร้อยละ 62 จากหัวรถจักรที่มีทั้งหมด โดยตามแผนฟื้นฟูกิจการฝ่ายบริหารต้องเพิ่มประสิทธิภาพของการใช้หัวรถจักรเดิมให้ได้ร้อยละ 80 |
. |
ทั้งนี้ หลังจากที่คณะกรรมการ รฟท. อนุมัติแผนปรับโครงสร้างกิจการ รฟท. ขั้นตอนต่อไปคณะกรรมการฯ จะสรุปแผนทั้งหมดเสนอเข้ากระทรวงคมนาคม เพื่อหารือกับกระทรวงการคลัง และคาดว่าจะใช้เวลาไม่เกิน 1 เดือน จะสรุปแผนนำเข้าสู่การพิจารณาของคณะรัฐมนตรีได้ เนื่องจากที่ผ่านมากระทรวงการคลังและกระทรวงคมนาคมได้ร่วมทำแผนดังกล่าวมาอย่างใกล้ชิด. |