จีเอสเอ็มเอออกโรงหนุนรัฐบาลไทยเดินหน้าเปิดประมูล 3G ชี้ GDP ประเทศไทยจะเพิ่มขึ้นถึง 2.3 พันล้านเหรียญสหรัฐ มีการจ้างงานเพิ่มขึ้น 80,000 ตำแหน่งต่อปี
. |
จีเอสเอ็มเอสนับสนุนรัฐบาลไทยเดินหน้าในการเปิดประมูล 3G GDP ประเทศไทยจะเพิ่มขึ้นถึง 2.3 พันล้านเหรียญสหรัฐและมีการจ้างงานที่เพิ่มขึ้นถึง 80,000 ตำแหน่งต่อปี |
. |
สมาคมผู้ประกอบการจีเอสเอ็ม (The GSM Association / GSMA) เป็นสมาคมอุตสาหกรรมไร้สายระดับโลก มีความยินดีและสนับสนุนการเริ่มต้นเดินหน้าของรัฐบาลไทยในการเปิดให้ใบอนุญาตของแถบคลื่นความถี่ 2100MHz สำหรับบรอดแบนด์ไร้สาย 3G สมาคมผู้ประกอบการจีเอสเอ็มได้เรียกร้องให้รัฐบาลไทยเร่งดำเนินการ เพื่อให้ประชาชนไทยได้มีโอกาสเชื่อมต่อกับบริการอินเทอร์เน็ตยุคหน้า ที่จะช่วยกระตุ้นเศรษฐกิจให้เติบโตเพิ่มขึ้น |
. |
ในงานสัมมนาที่จัดขึ้นด้วยการสนับสนุนของคณะกรรมการกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กทช.) ซึ่งทางสมาคมผู้ประกอบการจีเอสเอ็มได้เน้นให้เห็นถึงประโยชน์อย่างมหาศาลต่อสังคมและเศรษฐกิจของประเทศไทยจากการลงทุนในโครงข่ายไร้สายครั้งใหม่นี้ จากการคำนวณของ LECG* ซึ่งเป็นบริษัทที่ปรึกษาทางเศรษฐกิจระดับโลก อธิบายว่า การลงทุนในอุตสาหกรรมประจำปี 1 พันล้านเหรียญต่อปี จะส่งผลให้ GDP เพิ่มสูงขึ้นถึง 2.3 พันล้านเหรียญสหรัฐ และการจ้างงานที่เพิ่มขึ้นถึง 80,000 ตำแหน่งต่อปี ระหว่างปี พ.ศ. 2553-2557 |
. |
นอกจากนี้ รายงานของ LECG ยังได้ให้ความสำคัญต่อการเปิดให้ใบนุญาตคลื่นความถี่ 2100MHz ที่กำลังจะเกิดขึ้น ที่ก่อให้เกิดโอกาสที่สำคัญในการส่งเสริมการลงทุนในอนาคตและการแข่งขันในภาคธุรกิจสื่อสารโทรคมนาคมไร้สาย กระบวนการประมูลคลื่นความถี่ที่โปร่งใสและได้ถูกออกแบบมาเป็นอย่างดีครั้งนี้ จะก่อให้เกิดการใช้คลื่นความความถี่ที่มีอย่างจำกัดเพื่อให้เกิดประโยชน์มากที่สุด |
. |
มร.เซบาสเตียน เอ็ม คาเบลโล ผู้จัดการด้านกฎเกณฑ์ ฝ่ายนโยบายสาธารณะของสมาคมผู้ประกอบการจีเอสเอ็ม กล่าวว่า “สมาคมผู้ประกอบการจีเอสเอ็มเชื่อว่า การเลื่อนช้าและการเปลี่ยนแปลงในการเปิดให้ใบอนุญาตจะส่งผลกระทบต่อความเชื่อถือของประเทศ เพิ่มอัตราความไม่แน่นอนและอัตราความเสี่ยงด้วย |
. |
ซึ่งส่งผลลดโอกาสในการได้รับการลงทุนที่จำเป็นต่อการกระตุ้นเศรษฐกิจไทยจากภาวะเศรษฐกิจตกต่ำทั่วโลกอย่างเช่นทุกวันนี้ ผลกระทบของเทคโนโลยีบรอดแบนด์ไร้สายในตลาดเกิดใหม่มีบทบาทสำคัญในการลด “ความเหลื่อมล้ำในการเข้าถึงข้อมูล” (“digital divide”) ของบรอดแบนด์ระหว่างประเทศที่พัฒนาแล้วและประเทศที่เกิดใหม่อย่าง ประเทศไทย” |
. |
การวิเคราะห์การวัดเศรษฐกิจจาก 120 ประเทศของธนาคารโลกคาดการณ์ว่า ทุกๆ 10 เปอร์เซนต์ที่เพิ่มขึ้นของอัตราการเข้าถึงบริการบรอดแบนด์ ส่งผลทำให้เศรษฐกิจเติบโตขึ้นถึง 1.3 เปอร์เซนต์ (Qiang 2009) ผลการเติบโตของบรอดแบนด์มีผลดีมากมายต่อประเทศกำลังพัฒนามากกว่าประเทศที่พัฒนาแล้ว |
. |
โดยเฉพาะในประเทศไทย ที่การลงทุนในเครือข่ายไร้สายยุคหน้าจะกระตุ้นแอปพลิเคชั่นซอฟต์แวร์และอุตสาหกรรมคอนเทนต์ภายในประเทศที่กำลังจะเพิ่งเริ่มต้น เพิ่มอัตราการเชื่อมต่อของบริษัท และทำให้สะดวกมากขึ้นในการเชื่อมต่อระหว่างการเดินทาง |
. |
มร.เซบาสเตียน เอ็ม คาเบลโล กล่าวเพิ่มเติมว่า “ถึงแม้ว่าประชากรไทย 65.3 ล้านราย จะมีผู้เชื่อมต่อผ่านบริการสื่อสารไร้สายเพียง 1.8 ล้านราย ดังนั้น ประชากรไทยจึงมีความต้องการอย่างมากสำหรับการเชื่อมต่อบรอดแบนด์ ในการก้าวตามให้ทันประเทศเพื่อนบ้าน ซึ่ง LECG คาดการณ์ว่า การเปิดใช้บริการ 3G ในประเทศไทย จะก่อให้เกิดประโยชน์ต่อผู้บริโภคมากกว่า 1 พันล้านเหรียญสหรัฐต่อปีภายในปี พ.ศ. 2557 ด้วยการยึดถือกรอบนโยบายที่ชัดเจนและการสนับสนุนการแข่งขันอย่างเสรีและเป็นธรรมสำหรับผู้ประกอบการทุกราย |