สศอ.เดินหน้าหามาตรการหนุนอุตฯ ชิ้นส่วนยานยนต์ เผยผู้ประกอบการวอนรัฐปรับลดอัตราภาษีนำเข้า เพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขัน พร้อมรับสัญญานการฟื้นตัว ประเดิมอัดงบ 39 ล้านบาท สนองแผน Productivity
สศอ.เดินหน้าหามาตรการหนุนอุตฯ ชิ้นส่วนยานยนต์ เผยผู้ประกอบการวอนรัฐปรับลดอัตราภาษีนำเข้า เพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขัน พร้อมรับสัญญานการฟื้นตัว ประเดิมอัดงบ 39 ล้านบาท สนองแผน Productivity |
. |
|
นายอาทิตย์ วุฒิคะโร ผู้อำนวยการสำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม (สศอ.) |
. |
นายอาทิตย์ วุฒิคะโร ผู้อำนวยการสำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม (สศอ.) เปิดเผยว่าจากผลหารือร่วมกับสมาคมผู้ผลิตชิ้นส่วนยานยนต์ไทยในประเด็นการปรับโครงสร้างภาษีศุลกากรของวัตถุดิบ และสินค้าบางรายการ รวมทั้งการหาแนวทางในการพัฒนาผู้ผลิตชิ้นส่วนยานยนต์ไทยในอนาคต |
. |
ภายใต้แผนแม่บทการเพิ่มประสิทธิภาพและผลิตภาพของภาคอุตสาหกรรม(Productivity) พบว่า ผู้ประกอบการต้องการให้รัฐบาลเข้ามาดูแลแผนปรับโครงสร้างภาษีชิ้นส่วนอุตสาหกรรมยานยนต์ โดยการปรับลดอัตราภาษีนำเข้าลง เนื่องจากแนวทางการปรับปรุงโครงสร้างภาษีศุลกากรของวัตถุดิบ และสินค้าบางรายการที่ยังไม่เข้าโครงสร้าง 1, 5 และ 10 |
. |
โดยการยกเว้นอากรขาเข้าปัจจัยการผลิตที่ไม่มีภายในประเทศ และปรับลดอัตราอากรขาเข้าวัตถุดิบ รวมทั้งปัจจัยการผลิตเข้าสู่อัตราอากรเป้าหมาย (อัตรา 1, 5 และ 10) และปรับลดอากรขาเข้าสินค้ากลุ่มอุตสาหกรรมที่อยู่นอกเหนือไปจากกลุ่มสินค้าตามโครงสร้างพิกัดศุลกากร และสินค้าขั้นปลายที่ไม่ได้นำมาใช้เป็นวัตถุดิบในการผลิต |
. |
และกรอบ FTAs ที่ยังไม่ได้นำมาปรับลดอัตราอากรขาเข้า นั้น อาจส่งผลให้ผู้ผลิตชิ้นส่วนยานยนต์ได้รับผลกระทบ เนื่องจากผู้ประกอบการรถยนต์ต้องการให้ปรับลดภาษีนำเข้าชิ้นส่วนฯ โดยเฉพาะพิกัด 87.08 แต่ในขณะที่ผู้ประกอบการรถยนต์ยังคงอัตราภาษีรถยนต์สำเร็จรูปไว้ที่ร้อยละ 80 |
. |
นายอาทิตย์ กล่าวว่า ขณะนี้ สศอ.ได้เร่งหามาตรการในการช่วยผู้ประกอบการ โดยจัดสรรงบประมาณประจำปี 2553 จำนวนกว่า 39 ล้านบาท ภายใต้โครงการแผนแม่บทการเพิ่มประสิทธิภาพและผลิตภาพของภาคอุตสาหกรรม (Productivity) ดำเนินโครงการส่งเสริมอุตสาหกรรมชิ้นส่วนยานยนต์ไทย เพื่อช่วยพัฒนาประสิทธิภาพของเครื่องจักร รวมทั้งเพิ่มศักยภาพให้ทรัพยากรบุคคล รองรับสัญญานการฟื้นตัวของอุตสาหกรรมชิ้นส่วนยานยนต์ไทยที่มีแนวโน้มดีขึ้นเรื่อยๆ |
. |
"อุตสาหกรรมชิ้นส่วนยานยนต์ ถือเป็นอุตสาหกรรมหนึ่งที่มีความสำคัญต่อการพัฒนาประเทศ และผู้ประกอบการส่วนใหญ่เป็นคนไทย สศอ. จึงเล็งเห็นถึงความสำคัญโดยมีแนวทางการพัฒนาผู้ผลิตชิ้นส่วนยานยนต์ไทยให้มีความเข้มแข็งสามารถแข่งขันได้ในตลาดโลก และพัฒนาเทคโนโลยีการผลิตให้มีมาตรฐานระดับสากล โดยผ่านกลไกต่างๆ เช่น |
. |
การส่งเสริมการผลิตรถยนต์ประหยัดพลังงานมาตรฐานสากล(Eco Car) การส่งเสริมการประกอบรถยนต์ประเภทใหม่ ทั้งนี้เพื่อเป็นการยกระดับความสามารถในการผลิตด้วยการพัฒนาความรู้ในด้านวิศวกรรมศาสตร์ การออกแบบ และการนำเทคโนโลยีใหม่ที่เหมาะสมมาใช้เพิ่มประสิทธิภาพการผลิตชิ้นส่วนยานยนต์ในประเทศ" |
. |
นายอาทิตย์ กล่าวอีกว่า ในการดำเนินโครงการ มีแผนจะเริ่มดำเนินการในเดือนตุลาคมนี้ โดยแบ่งการศึกษาออกเป็น 3 โครงการ ได้แก่ โครงการพัฒนาบุคลากรในอุตสาหกรรมยานยนต์ วงเงิน 28 ล้านบาท เน้นการพัฒนาบุคลากรที่ปฏิบัติงานในอุตสาหกรรมชิ้นส่วนยานยนต์ ระดับ 2nd Tier, 3rd Tier และบุคลากรที่ปฏิบัติงานในอุตสาหกรรมยานยนต์ และบุคลากรใหม่ที่จะเข้ามาในอุตสาหกรรมยานยนต์ |
. |
โครงการสนับสนุนการใช้ระบบคุณภาพ ISO TS : 16949 วงเงิน 6 ล้านบาท มีผู้ประกอบการเข้าร่วมโครงการฯ 30 โรงงาน โดยเน้นการยกกระดับระบบการบริหารงานด้านคุณภาพของผู้ผลิตชิ้นส่วนยานยนต์ไทยไปสู่ระบบ ISO/TS 16949 ตามข้อกำหนดของผู้ประกอบรถยนต์ และ โครงการปรับปรุงประสิทธิภาพเครื่องจักรด้วยการบำรุงรักษาทวีพล (TPM) วงเงิน 5 ล้านบาท |
. |
มีผู้ประกอบการเข้าร่วมโครงการฯ 20 โรงงาน เน้นเพิ่มทักษะบุคลากร (Human Skills) ให้สามารถดูแลบำรุงรักษาเครื่องจักรที่ใช้ในการผลิต และปรับปรุงประสิทธิภาพและบำรุงรักษาเครื่องจักรให้พร้อมจะผลิตสินค้าที่มีคุณภาพ |
. |
รวมทั้งโครงการยกระดับขีดความสามารถอุตสาหกรรมแม่พิมพ์ ซึ่งมีระยะเวลาดำเนินการในปี 2553-2557 โดยมีเป้าหมายให้อุตสาหกรรมแม่พิมพ์ไทยมีศักยภาพในการผลิตแม่พิมพ์ที่มีคุณภาพและเที่ยงตรงสูง สามารถรองรับการพัฒนาอุตสาหกรรมยานยนต์ในอนาคต |
. |
ที่มา : สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม |