สำนักงานบริการเทคโนโลยีสารสนเทศภาครัฐ เดินหน้าชูแผนพัฒนาระบบรัฐบาลอิเล็กทรอนิกส์บนสถาปัตยกรรมกลุ่มเมฆ หวังดันภาพลักษณ์รัฐบาลอิเล็กทรอนิกส์สู่ Integrated e-government service
สำนักงานบริการเทคโนโลยีสารสนเทศภาครัฐ เดินหน้าชูแผนพัฒนาระบบรัฐบาลอิเล็กทรอนิกส์บนสถาปัตยกรรมกลุ่มเมฆ หวังดันภาพลักษณ์รัฐบาลอิเล็กทรอนิกส์สู่ Integrated e-government service |
. |
. |
แม้ว่าภาพรวมการพัฒนารัฐบาลอิเล็กทรอนิกส์ในปะรเทศไทย จะมีความก้าวหน้าค่อนข้างมาก โดยเฉพาะจากความสำเร็จของบริการยื่นแบบ ภาษีผ่านออนไลนย์ (e-revenue) และบริการพิธีการศุลกากรไร้กระดาษ (e-Custom) ที่ได้รับการตอบรับจากประชาชนเป็นอย่างดี |
. |
แต่ทว่ายังมีหน่วยงานภาครัฐอีกจำนวนไม่น้อย โดยเฉพาะหน่วยงานราชการที่มีขนาดกลางเล็กที่มีข้อจำกัดทั้งทรัพยากรบุคคลและงบประมาณที่ยังมีพัฒนาการด้าน e-Government ไม่ก้าวหน้าเท่าที่ควร |
. |
และเพื่อเป็นการสนับสนุนให้หน่วยงานราชการที่มีข้อจำกัดดังกล่าวมีโอกาสพัฒนาสู่รัฐบาลอิเล็กทรอนิกส์ได้อย่างสะดวกและรวดเร็วมากขึ้น สำนักงานบริการเทคโนโลยีสารสนเทศภาครัฐ (สบทร.) ซึ่งเป็นหน่วยงานที่มีหน้าที่ให้บริการด้านไอทีแก่หน่วยงานที่มีหน้าที่ให้บริการด้านไอทีแก่หน่วยงานภาครัฐจึงมีแผนที่พัฒนาระบบรัฐบาลอิเล็กทรอนิกส์บนสถาปัตยกรรมกลุ่มเมฆหรือคลาวคอมพิวติ้ง (e-Government) |
. |
เพื่อช่วยลดภาระค่าใช้จ่ายในการลงทุนและดูแลระบบงานด้านไอทีทั้งระบบงานหลังบ้าน (Back Office) ระบบบริการหน้าบ้าน (Front Office) ที่ให้บริการประชาชน รวมถึงการพัฒนาระบบงานแอพพลิเคชั่นต่าง ๆ |
. |
ดร.ศักดิ์ เสกขุนทด ผู้อำนวยการ สบทร. กล่าวว่า ตามแผนงาน สบทร. จะเริ่มให้บริการระบบรัฐอิเล็กทรอนิกส์บนคลาวคอมพิวติ้งกับหน่วยงานราชการในปี 2553 โดยระบบงานแรกที่สามารถให้บริการได้คือระบบอีเมล์กลาง @mail.go.th ตามด้วยระบบปฏิทินงานและระบบจองใช้อุปกรณ์และสถานที่ของหน่วยงานภาครัฐ |
. |
"ปัจจุบันระบบอีเมล์กลางนี้ยังไม่ได้อยู่บนคลาวคอมพิวติ้ง แต่กระจายอยู่ตามเซิร์ฟเวอร์ของแต่ละหน่วยงานโดยมีผู้ที่ลงทะเบียนใช้บริการอยู่มากกว่า 30,000 ราย ในปีหน้า สบทร. จะร่วมมือกับกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร ผลักดันให้หน่วยงานราชการหันมาใช้ระบบอีเมล์กลางมากขึ้น โดยตั้งเป้าว่าจะมีผู้ใช้บริการ @mail.go.th ประมาณ 100,000 คน" |
. |
ดร.ศักดิ์ ให้ความเห็นว่า พัฒนาการของรัฐบาลอิเล็กทรอนิกส์ของไทยตลอด 10 ปีที่ผ่านมา เป็นไปในลักษณะของต่างคนต่างทำมากกว่าจะเป็นการบูรณาการ ทำให้เกิดความเหลื่อมล้ำของความก้าวหน้าของบริการอิเล็กทรอนิกส์ภาครัฐ และไม่เกิดภาพการให้บริการภาครัฐอิเล็กทรอนิกส์ข้ามหน่วยงาน (Integrated e-government service) |
. |
เพราะฉะนั้น การนำเทคโนโลยีคลาวคอมพิวติ้งเข้ามาช่วย จะทำให้พัฒนาการของรัฐบาลอิเล็กทรอนิกส์ก้าวกระโดดมากขึ้น โดยคาดว่าในปี 2553 จะเกิดบริการอิเล็กทรอนิกส์ภาครัฐในลักษณะบูรณาการข้ามหน่วยงานอย่างแน่นอน |
. |
"ขณะนี้รัฐบาลอิเล็กทรอนิกส์ของไทยกำลังเคลื่อนเข้าสู่ขั้นที่ 3 คือ ขั้นของ integration ที่ผ่านมาเราผ่านมาแล้ว 2 ขั้น โดยขั้นแรกคือ เป็นการให้บริการอิเล็กทรอนิกส์แบบให้ข้อมูลข่าวสารประชาชนผ่านออนไลน์ ที่เรียกว่า ขั้น Information และขั้นที่สอง คือการเป็นรัฐบาลอิเล็กทรอนิกส์แบบให้บริการ (บางบริการ) ผ่านระบบออนไลน์ หรือ ขึ้น Transaction |
. |
และปัจจุบันพัฒนาการของรัฐบาลอิเล็กทรอนิกส์ไทยกำลังเข้าสู่ขั้น Integration ที่จะมีบริการภาครัฐอิเล็กทรอนิกส์ที่ข้ามหน่วยงานกัน สำหรับขั้นสุดท้ายคือขั้น Intelligent ที่เป็นบริการอิเล็กทรอนิกส์แบบอัจฉริยะนั้นคาดว่าจะสามารถพัฒนาได้ในอีกหลายปีข้างหน้า" ดร.ศักดิ์กล่าว |
. |
อย่างไรก็ดี เพื่อให้รัฐบาลอิเล็กทรอนิกส์มีพัฒนาการที่ก้าวกระโดดและมีประสิทธิภาพมากขึ้น ดร.ศักดิ์กล่าวว่า ฝ่ายไอทีของหน่วยงานราชการควรจะเปลี่ยนบทบาทจากการเป็นผู้พัฒนาและดูแลระบบเองไปสู่การเป็นผู้บริหารจัดการระบบไอที โดยควรจะเอาท์ซอร์สระบบงานไอทีให้กับผู้ให้บริการด้านไอที (IT Service Provider) อย่าง สบทร. ซึ่งจะช่วยลดงบประมาณและลดภาระในการดำเนินงานของหน่วยงานนั้น ๆ |
. |
ดร.ศักดิ์ กล่าวต่อว่า และด้วยความพร้อมของ สบทร. ที่มีประสบการณ์การให้บริการด้านไอทีแก่หน่วยงานภาครัฐมากกว่า 10 ปีมีลูกค้ามากกว่า 100 กรม และได้รับมาตรฐาน ISO27001 : 2005 ซึ่งเป็นมาตรฐานสำหรับผุ้ให้บริการระบบไอที |
. |
กอปรกับความพร้อมของเทคโนโลยีในปัจจุบัน อาทิ เว็บ 2.0 คลาว คอมพิวติ้ง อินเทอร์เน็ตความเร็วสูง และเทคโนโลยีเสมือน (Virtualization) จะเป็นปัจจัยที่เอื้อให้ภาพของรัฐบาลอิเล็กทรอนิกส์แบบบูรณาการเกิดได้รวดเร็วขึ้น โดยเบื้องหลังของบริการดังกล่าว คือ การเอาท์ซอร์สงานไอทีให้ผู้ให้บริการดูแลผ่านคลาวคอมพิวติ้งนั่นเอง |