เหมราช จับมือ กนอ. เปิด ศูนย์เฝ้าระวังและควบคุมคุณภาพสิ่งแวดล้อมเป็นแห่งแรกที่ภาคเอกชนร่วมดำเนินการ เน้นรายงานข้อมูลด้านสิ่งแวดล้อมแบบเรียลไทม์ โปร่งใส และตรวจสอบได้
เหมราช จับมือ กนอ. เปิด ศูนย์เฝ้าระวังและควบคุมคุณภาพสิ่งแวดล้อมเป็นแห่งแรกที่ภาคเอกชนร่วมดำเนินการ เน้นรายงานข้อมูลด้านสิ่งแวดล้อมแบบเรียลไทม์ โปร่งใส และตรวจสอบได้ |
. |
. |
บริษัท เหมราชพัฒนาที่ดิน จำกัด (มหาชน) ร่วมกับ การนิคมอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (กนอ.) เปิด ศูนย์เฝ้าระวังและควบคุมคุณภาพสิ่งแวดล้อม (ESIE) หรือ E:mc^2 ที่นิคมอุตสาหกรรมอีสเทิร์นซีบอร์ด (ระยอง) ซึ่งนับเป็นศูนย์ฯแห่งแรกที่เปิดในนิคมฯ ร่วมดำเนินการกับภาคเอกชน ศูนย์ดังกล่าวเน้นรายงานข้อมูลด้านสิ่งแวดล้อมตามเวลาจริง (เรียลไทม์) โปร่งใส และตรวจสอบได้ เผยเป็นอีกขั้นของความพยายามในการดูแลสิ่งแวดล้อมเพื่อการพัฒนาอุตสาหกรรมไทยอย่างยั่งยืนและคุณภาพชีวิตที่ดีของชุมชน |
. |
นางมณฑา ประณุทนรพาล ผู้ว่าการ การนิคมอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย กล่าวว่า "การนิคมฯ ตระหนักถึงการพัฒนาอุตสาหกรรม ควบคู่กับการกำกับดูแลด้านสิ่งแวดล้อมอย่างยั่งยืนเสมอมา ศูนย์เฝ้าระวังและควบคุมคุณภาพสิ่งแวดล้อมที่นิคมฯ อีสเทิร์นซีบอร์ด (ระยอง) นับเป็นศูนย์แห่งแรกที่จัดตั้งขึ้นในนิคมฯ เอกชน |
. |
เหตุผลที่เริ่มโครงการภาคเอกชนกับเหมราชฯ ก็เนื่องมาจากความเชี่ยวชาญและประสบการณ์ด้านการพัฒนานิคมอุตสาหกรรมของเหมราชฯ ที่ยาวนานกว่า 20 ปี ประกอบกับเหมราชฯ มีนโยบายและระบบจัดการด้านสิ่งแวดล้อมที่ชัดเจนและต่อเนื่อง จึงมีความพร้อมและขีดความสามารถในการขับเคลื่อนมาตรฐานใหม่ด้านการดูแลสิ่งแวดล้อม เพื่อเป็นแบบอย่างให้กับนิคมอุตสาหกรรมอื่นๆ ต่อไป" |
. |
นายวิวัฒน์ จิรัฐติกาลสกุล รองกรรมการผู้จัดการ บริษัท เหมราชพัฒนาที่ดิน จำกัด (มหาชน) เปิดเผยว่า "นอกเหนือจากการพัฒนาที่ดินเพื่อการอุตสาหกรรม การจัดหาระบบสาธารณูปโภคและสิ่งอำนวยความสะดวกรองรับความต้องการของผู้ประกอบการอย่างเพียงพอแล้ว นิคมอุตสาหกรรมจำเป็นต้องมีระบบจัดการสิ่งแวดล้อมและความปลอดภัยที่ได้มาตรฐานสากล |
. |
ซึ่งทางเหมราชฯ ได้ให้ความสำคัญและมีนโยบายส่งเสริมมาโดยตลอด การจัดตั้งศูนย์เฝ้าระวังและควบคุมคุณภาพสิ่งแวดล้อมที่นิคมอุตสาหกรรมอีสเทิร์นซีบอร์ด (ระยอง) ซึ่งเป็นคลัสเตอร์รถยนต์ที่สำคัญของประเทศ นับเป็นอีกก้าวหนึ่งของการประสานความร่วมมือระหว่างภาครัฐและเอกชนในการเพิ่มประสิทธิภาพด้านการกำกับการดูแลสิ่งแวดล้อมภายในเขตอุตสาหกรรม |
. |
โดยเฉพาะการจัดการน้ำทิ้ง ให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุด และที่สำคัญ ศูนย์ฯ แห่งนี้เปิดโอกาสให้ชุมชนและผู้มีส่วนได้ส่วนเสียเข้ามามีส่วนร่วมตรวจสอบและติดตามผลได้อย่างเป็นรูปธรรม ซึ่งเป็นอีกกลไกหนึ่งที่จะช่วยลดปัญหาความคาดเคลื่อนด้านข้อมูลระหว่างภาคอุตสาหกรรมและชุมชน ส่งผลให้ทั้งสองฝ่ายสามารถปรับตัวเพื่อให้อยู่ร่วมกันได้อย่างยั่งยืน" |
. |
ศูนย์ฯ แห่งนี้มีหน้าที่หลัก 4 ด้าน คือ 1) ตรวจวัดคุณภาพน้ำแบบเรียลไทม์ (WQMS) โดยการวัดค่าความเป็นกรด-ด่าง (pH) ค่าความสกปรก (BOD) และค่าของสารละลายในน้ำ (TDS) ในบ่อบำบัดน้ำทิ้งภายในนิคมฯ ก่อนนำกลับไปใช้ซ้ำภายในนิคมฯ หรือปล่อยสู่แหล่งน้ำสาธารณะ หากพบว่ามีค่าใดที่ไม่ได้มาตรฐาน ระบบจะส่ง SMS เตือนไปยังผู้ที่เกี่ยวข้องทันที เพื่อการแก้ไขอย่างทันท่วงที นอกจากนี้ยังสามารถเก็บข้อมูลเพื่อตรวจสอบข้อมูลย้อนหลังได้อีกด้วย |
. |
2) แสดงค่าผลการตรวจวัดคุณภาพสิ่งแวดล้อมด้านอื่นๆ ไม่ว่าจะเป็นคุณภาพอากาศ อาทิ ปริมาณสารซัลเฟอร์ไดออกไซด์ (SOx) ไนโตรเจนไดออกไซด์ (NOx) ค่าฝุ่นละอองรวม (TSP) คุณภาพทางเสียง และคุณภาพของน้ำผิวดินใน |
. |
บริเวณที่เชื่อมต่อกับจุดปล่อยน้ำของนิคม 3) แสดงรายชื่อโรงงานที่ต้องปฏิบัติและดำเนินการตามหลักกฎหมายต่างๆ อาทิ คุณภาพอากาศจากปล่อง การจัดทำระบบบำบัดน้ำทิ้ง การปฎิบัติตามมาตราการ EIA การวิเคราะห์ความเสี่ยง การตรวจสอบหม้อไอน้ำและหม้อต้ม เป็นต้น |
. |
การแสดงชื่อดังกล่าวทำให้การนิคมอุตสาหกรรมรับรู้และติดตามผลกับทางโรงงานได้สะดวกและมีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น 4) เปิดรับเรื่องร้องเรียนด้านสิ่งแวดล้อม โดยผู้ที่ต้องการร้องเรียนเกี่ยวกับสิ่งแวดล้อมสามารถโทรศัพท์แจ้งมาที่เบอร์ 038- 954-543 หรือลงทะเบียนและแจ้งผ่านทางเว็ปไซด์ ซึ่งเจ้าหน้าที่จะแจ้งไปยังผู้รับผิดชอบและแสดงสถานะการดำเนินการให้รับรู้ด้วย |
. |
เช่น อยู่ในระหว่างการดำเนินการ หรือ ดำเนินการเสร็จแล้ว หากเรื่องที่ร้องเรียนเป็นเรื่องที่ไม่เกี่ยวข้องกับทางเหมราชพัฒนาที่ดิน และการนิคมฯ เจ้าหน้าที่ก็จะเป็นตัวกลางในการช่วยประสานงานไปยังผู้รับผิดชอบเพื่อดำเนินการแก้ไขต่อไป ทั้งนี้ศูนย์ฯ ดังกล่าวจะสื่อสารข้อมูลผ่านทางเว็บไซด์ www.hemaraj.com/envi อีกทางหนึ่งด้วย |
. |
ศูนย์ดังกล่าวใช้งบประมาณในการจัดตั้งรวม 5 ล้านบาท ส่วนใหญ่เป็นการลงทุนนำเทคโนโลยีอันทันสมัยมาใช้ในการบริหารข้อมูล และติดต่อสื่อสาร ระหว่างภาครัฐซึ่งเป็นผู้กำกับดูแล ผู้พัฒนานิคม โรงงานและผู้ประกอบการในนิคม เพื่อการเฝ้าระวังเรื่องสิ่งแวดล้อมอย่างมีประสิทธิภาพ |
. |
"ตลอดระยะเวลากว่า 20 ปีที่ผ่านมา นอกจากความมุ่งมั่นในการพัฒนาและจัดการนิคมอุตสาหกรรมระดับโลกรวม 6 แห่ง บนพื้นที่รวมกว่า 31,300 ไร่ ซึ่งดึงดูดเงินลงทุนถึง 18,000 ล้านเหรียญสหรัฐและสร้างงานหลายหมื่นตำแหน่ง เหมราชฯ ยังให้ความสำคัญกับการดูแลสิ่งแวดล้อมและการรับผิดชอบต่อสังคมควบคู่ไปด้วย |
. |
ศูนย์ฯ แห่งนี้เป็นอีกหนึ่งความคิดริเริ่มจากการนิคมอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทยภายใต้ทิศทางดังกล่าว หลังจากที่ก่อนหน้านี้เหมราชฯ ร่วมกับสถาบันเทคโนโลยีแห่งเอเชีย (AIT) นำแนวคิด "บึงประดิษฐ์" ซึ่งเป็นระบบบำบัดน้ำทิ้งโดยใช้พืช ซึ่งมีประสิทธิภาพดีกว่าระบบบำบัดน้ำทิ้งแบบเดิมที่ใช้อยู่ |
. |
นอกจากนี้ ในส่วนของโครงการเพื่อสังคม บริษัทฯ ยังได้ดำเนินกิจกรรมต่างๆ อย่างต่อเนื่องในหลายรูปแบบ อาทิ การจัดหน่วยแพทย์เคลื่อนที่ให้บริการแก่ชุมชน โครงการพัฒนาฝีมือแรงงาน โครงการส่งเสริมการศึกษาและกีฬา ผ่านทางการบริจาคอุปกรณ์การเรียน และการมอบทุนการศึกษา แก่โรงเรียนที่ขาดแคลนในพื้นที่ภาคตะวันออก การสนับสนุนทีมฟุตบอลชลบุรีเอฟซี เป็นต้น" นายวิวัฒน์ กล่าว |
. |