น่าจะเป็นเรื่องธรรมดาสำหรับผู้จัดการ/หัวหน้างาน ที่มีการย้ายงานจากองค์กรหนึ่งไปที่อื่น ๆ ในสังคมการทำงานยุคปัจจุบัน หากท่านกำลังคิดจะย้ายงาน
น่าจะเป็นเรื่องธรรมดาสำหรับผู้จัดการ/หัวหน้างาน ที่มีการย้ายงานจากองค์กรหนึ่งไปที่อื่น ๆ ในสังคมการทำงานยุคปัจจุบัน หากท่านกำลังคิดจะย้ายงานและกำลังมองที่อื่น ๆ อยู่ ลองมาทำความเข้าใจในการเลือกองค์กร เป็นเป็นแนวคิดดูครับ เพราะการที่หัวหน้างานประสพความสำเร็จในบริษัทหนึ่ง ๆ ไม่ได้เป็นสิ่งรับรองว่าท่านจะต้องประสพความสำเร็จในบริษัทอื่น ๆ ที่ท่านคาดหมายว่าจะไปร่วมงานด้วย แต่ละองค์กรต้องการคนทำงานที่แตกต่างกันไป บางแห่งให้ความสำคัญกับระบบบริหารงาน ขณะที่บางแห่งให้ความสำคัญกับแผนกบุคคลหรืองานบุคคล |
. |
ดังนั้น ท่านจึงควรมองไปที่ตัวองค์กรและงานขององค์กร แล้วประเมินว่าตัวท่านเหมาะกับองค์กรหรือไม่ |
. |
- องค์กรเป็นกลุ่มบริษัทร่วมลงทุนขนาดใหญ่หรือเป็นธุรกิจครอบครัวขนาดเล็ก - ท่านมีโอกาสได้เลื่อนตำแหน่งสูงขึ้นในสายงานที่ถนัดหรือไม่ - ตัวท่านเองจะเข้ากับวัฒนธรรมองค์กรนั้นได้หรือไม่ - จุดแข็งจุดอ่อนค่านิยม และความต้องการของตัวท่านเหมาะสมกับองค์กรแค่ไหน |
. |
ลักษณะของผลิตภัณฑ์ เจ้าขององค์กร มุมมอง คู่แข่ง ลูกค้า สังคมรอบข้าง องค์กร และพนักงานขององค์กร จะให้ข้อมูลแก่ท่านเกี่ยวกับตัวองค์กรและรูปแบบการบริหารองค์กร พนักงานในองค์กรใหญ่ ๆ จำนวนมาก แม้บางครั้งจะเป็นระดับจัดการเอง ไม่เข้าใจความสลับซับซ้อนขององค์กรที่ตัวเองทำงานอยู่ เพราะพวกเขาทำงานอยู่ในฝ่ายที่เชี่ยวชาญเฉพาะทาง ซึ่งจะเห็นเพียงรายละเอียดย่อยของงานทั้งหมดเท่านั้น พวกเขาคิดว่ารายละเอียดที่เห็นคือบริษัท ซึ่งที่ถูกต้องในฐานะที่ท่านคือผู้จัดการ/หัวหน้างาน และทำงานด้านประสานงาน ต้องสามารถมองเห็นภาพกว้างของการรวมแต่ละหน่วยงานเป็นองค์กรได้ |
. |
ทำไมเราต้องเลือกองค์กร |
เป็นเรื่องปกติที่เมื่อเราชอบอะไร หรือสิ่งใด เราจะหมกมุ่นอยู่กับสิ่งนั้น อย่างไม่รู้เบื่อหรือเหน็ดเหนื่อย การเลือกองค์กร ก็เหมือนกัน หากเราได้เข้าทำงานในองค์กรที่เลือกเอง นั่นก็เป็นเท่ากับเป็นการประสบความสำเร็จ ในการทำงานไปครึ่งหนึ่งแล้ว |
. |
แต่สิ่งที่สำคัญ ที่เป็นปัจจัยอีกส่วนหนึ่งหนึ่งของความสำเร็จ คือ ต้องรู้ตัวเองก่อนว่า เราต้องการอะไรจากองค์กรที่เรามองหาอยู่ จากนั้นจึง ค่อยมองหา องค์กรที่สามารถตอบสนอง ความต้องการของเรา เป็นเรื่องสำคัญมากในการที่เราต้องรู้ก่อนว่า ทำไมเราถึงต้องการอยากย้ายงาน มีอะไรที่ที่ทำงานอยู่ปัจจุบันไม่สามารถตอบสนองเราได้ แล้วท่านคาดหวังอะไรจากองค์กรใหม่ ลองตอบคำถามเหล่านี้ดู |
.. |
. |
ท่านต้องประเมินถึงความจำเป็นในการย้ายงานก่อน เพื่อประเมินดูว่ามีความจำเป็นหรือไม่ หากว่าไม่มีความจำเป็น เพราะที่เดิมก็ให้ในสิ่งที่ต้องการได้อยู่แล้ว และที่อยากย้ายก็เพราะว่าต้องการบรรยากาศใหม่ล่ะก็ แนะนำว่าให้หยุดคิดเรื่องย้ายงานเสีย มันจะเป็นการสร้างปัญหาให้กับตัวเอง องค์กรและสังคมเสียเปล่า ๆ ยังมีอีกหลายวิธีในการกำจัดความรู้สึกน่าเบื่อจากการทำงานในที่ ๆ เดิมนาน ๆ ที่ยุ่งยากน้อยกว่าการเปลี่ยนงาน |
. |
หาข้อมูลบริษัท |
หากท่านตัดสินใจว่า ยังไง ๆ ก็ต้องการมีส่วนร่วมในองค์กรที่มองอยู่ให้ได้ คราวนี้ก็มาถึงวิธีการหาข้อมูลเพื่อประเมินว่าองค์กรที่เราคิดจะไปร่วมงานด้วยเหมาะกับเราจริงหรือไม่ |
. |
การประเมินองค์กรที่ท่านกำลังคิดจะไปร่วมงานอย่างถูกต้อง คงเป็นเรื่องยาก ด้วยรูปแบบ ตัวอาคารอาจจะทำให้เกิดความคิดที่ผิดหรือคิดเพียงผิวเผินว่า ชีวิตช่วงที่อยู่ในองค์กรเป็นอย่างไร โดยมากมักจะมองสิ่งต่าง ๆ เหล่านี้ |
. |
1. โฆษณาผลิตภัณฑ์หรือตัวองค์กร องค์กรที่มีผลิตภัณฑ์ขายเป็นชิ้นเป็นอัน ก็จะโฆษณาสรรพคุณของผลิตภัณฑ์หรือภาพลักษณ์ว่ามีดีเพียงใด องค์กรที่ผลิตสินค้าที่จับต้องเป็นชิ้นไม่ได้ เช่น งานบริการ ขายหุ้น บริษัทจะโฆษณาภาพลักษณ์ขององค์กรเพื่อให้ผู้บริโภคประทับใจ แต่โฆษณาต่าง ๆ ที่เกี่ยวกับบริษัทไม่สามารถบ่งชี้ลักษณะโดยรวมของบริษัทได้ชัดเจน โดยมากมักจะเน้นในเรื่องการสร้างความประทับใจแก่ผู้บริโภคมากกว่า |
. |
2. ที่ตั้งของบริษัท เช่น สำนักงานหรือโรงงาน สามารถบอกลักษณะโดยรวมของบริษัทได้ |
- สำนักงานที่เล็กไม่หรูหรา อาจแสดงถึงบริษัทที่ไม่มีการทำงานเป็นระบบ ต้องการลดค่าใช้จ่ายให้น้อยที่สุดได้เช่นกัน แต่ก็อาจแสดงถึงการจัดการที่มีประสิทธิภาพ - สำนักงานที่ใหญ่หรูหรา แสดงถึงองค์กรที่มั่นคง แต่ไม่ได้หมายความว่าระบบการทำงานมีประสิทธิภาพ บางครั้งอดีตอาจเคยรุ่งเรืองแต่ปัจจุบันอาจประสบปัญหาอยู่ ทั้งนี้ต้องดูบรรยากาศการทำงานของพนักงานที่ทำงานอยู่ประกอบด้วยว่าเป็นสุข เป็นทุกข์ อย่างไร |
. |
3.ประเมินจากพนักงานปัจจุบัน แม้ว่าจะเป็นเรื่องที่สำคัญและใช้ประเมินร่วมกับองค์ประกอบอื่น ๆ ที่ผ่านมา แต่ก็เป็นเรื่องที่ทำได้ยาก ในตอนเข้าสัมภาษณ์ท่านควรจะพบปะผู้คนที่เป็นพนักงานปัจจุบันให้มากที่สุดเท่าที่จะทำได้ ดูว่าบริษัทปฏิบัติกับพนักงานในแต่ละระดับอย่างไร เพราะนั่นหมายถึงการบ่งชี้ที่ดีว่า บริษัทมีลักษณะวัฒนธรรมองค์กร ค่านิยมของคนในองค์กรเป็นอย่างไร ดูจากการทำงานว่า มีความสุข สีหน้าอมทุกข์ กระตือรือร้น เฉื่อย การเป็นผู้นำของหัวหน้าระดับต่าง ๆ เป็นแบบนาย ผู้ผลักดัน ฯลฯ |
. |
4.ลักษณะผลิตภัณฑ์ขององค์กร ไม่จำเป็นว่าบริษัทที่ให้บริการหรือขายสินค้าเทคโนโลยีชั้นสูง จะมีทัศนคติที่ก้าวหน้าเกี่ยวกับการจัดการเสมอไป |
- สินค้าที่ผลิตง่ายโดยไม่มีเทคโนโลยี ตอบสนองผู้บริโภคทั่วไป มักมีการจ้างงานจากคนที่หลากหลายระดับ อาจจะเกิดปัญหาด้านการบริหาร และเรื่องความแตกต่างของคนที่หลากหลายระดับการศึกษา - บริษัทที่ผลิตสินค้าเฉพาะด้านหรือที่เกี่ยวกับความปลอดภัยของผู้บริโภค จะมีความหลากหลายของพนักงานน้อยลง เช่น ผลิตยา เครื่องสำอาง แต่จะเกิดปัญหาเรื่องค่านิยมเฉพาะกลุ่ม มีการแข่งขันกันในงานที่เข้มข้น สิ่งที่ควรดูอีกอย่างคือผลิตภัณฑ์ขององค์กรมีว่าลู่ทางในตลาดในอนาคตเป็นอย่างไร |
. |
5.รายงานประจำปี หากท่านเป็นผู้จัดการ/หัวหน้างานที่มองหาบริษัทมหาชน รายงานประจำปีถือเป็นแหล่งข้อมูลหนึ่ง ซึ่งในเมืองไทยบริษัทมหาชน ที่จดทะเบียนเพื่อเชิงระดมทุนในตลาดหลักทรัพย์ต้องทำรายงานประจำปี อย่างไรก็ตามจำไว้ว่ารายงานเหล่านี้จัดทำขึ้นให้แก่ ผู้ถือหุ้น นายธนาคาร สถาบันทางการเงิน และหนังสือพิมพ์ทางการเงิน ดังนั้น จึงพยายามทำให้เกิดความประทับใจมากที่สุด ควรอ่านรายงานย้อนหลัง 2-3 ปี และเปรียบเทียบกับคู่แข่งรายใหญ่ขององค์กรที่ท่านสนใจ รายงานประจำปีจะบอกท่านถึง |
. |
- ใครเป็นเจ้าของ ประวัติโดยย่อของผู้บริหารระดับสูง - ค่านิยมและเป้าหมายขององค์กร - สินค้า บริการ ขององค์กร และการลงทุนด้านต่าง ๆ - แผนในอนาคตและสิ่งที่คาดหวัง เช่น มีแผนจะขยายหรือเข้าซื้อกิจการอะไรในอนาคตบ้าง - ฐานะทางการเงิน - ความสามารถในการทำกำไรของหน่วยงานต่าง ๆ - การเติบโตขององค์กรไปในทิศทางใด |
. |
ผมไม่ได้แนะนำว่าให้เลือกองค์กรที่มีความสมบูรณ์พร้อมครบทุกอย่าง เพราะนั่นบางครั้งอาจหมายถึงท่านไม่มีโอกาสได้แสดงความสามารถ หรือเส้นทางความก้าวหน้าอาจถูกปิดกั้น และในไม่ช้าท่านอาจต้องแสวงหาองค์กรใหม่ต่อไป เว้นแต่ว่าท่านวางแผนใช้องค์กรนั้นเป็นที่พักเพื่อรอเกษียณ ก็เป็นทางเลือกที่น่าสนใจ ที่สำคัญต้องดูว่าองค์กรนั้นมีสภาพแวดล้อมที่เหมาะสมกับเรา ณ เวลานั้นหรือไม่ ดูแล้วอาจเป็นเรื่องท้าทายสำหรับท่านที่จะก้าวเข้าไปในองค์กรที่กำลังประสบปัญหา เพราะท่านเชื่อมั่นว่าจะเข้าไปฟื้นฟูและเป็นโอกาสที่จะได้แสดงฝีมือหรือมองเห็นผลตอบแทนที่รออยู่ องค์กรที่มีสภาพแวดล้อมโดยรวมกลาง ๆ ก็อาจเหมาะกับผู้จัดการ/หัวหน้างาน ที่ไม่ชอบอะไรหวือหวา คาดเดาไม่ได้อยู่ตลอดเวลา จงพยายามหาข้อมูลให้มากที่สุดและประเมินว่าองค์กรนั้น ๆ เหมาะที่จะเข้าไปร่วมงานได้อย่างเป็นสุขหรือไม่ อย่าคิดว่าท่านจะสามารถปรับตัวได้ หากว่ามีบางอย่างที่ดูแล้วไม่สบายใจ เพราะส่วนมากท่านจะไม่สามารถปรับตัวกับสิ่งที่แตกต่างเหล่านี้ได้ง่ายเลย นอกเหนือจากสิ่งที่เรา ๆ พิจารณาองค์กรจากข้อมูล 5 แหล่งที่กล่าวมาข้างต้น ยังมีสิ่งที่ท่านควรทราบถึง |
. |
ขนาดขององค์กร |
ขนาดขององค์กรมีความสำคัญในการเลือกองค์กรที่เราจะทำงาน ด้วยโลกของบริษัทครอบครัวขนาดเล็กและบริษัทร่วมลงทุนระหว่างประเทศขนาดใหญ่อาจมีความแตกต่างกัน บริษัทขนาดใหญ่จะมีโอกาสมากกว่า แต่มีการแข่งขันกันอย่างสูงด้วย ส่วนบริษัทขนาดเล็กจะมีความหลากหลายของงานในแต่ละตำแหน่งมากกว่า ท่านอาจต้องรับผิดชอบงานหลากหลายประเภท แต่ก็จะมีความคล่องตัวและอิสระสูงกว่าองค์กรขนาดใหญ่ แต่อย่าดูจากขนาดเพียงอย่างเดียว ลักษณะผลิตภัณฑ์องค์กรก็มีส่วนด้วย เพราะในอุตสาหกรรมองค์กรใหญ่ ได้แบ่งกลุ่มผู้ดูแลผลิตภัณฑ์แต่ละตลาดออกเป็นหน่วยงานที่ดูแลตัวเอง เสร็จสรรพเรียกว่าองค์กรเล็กในองค์กรใหญ่เช่นกัน |
. |
การเลือกองค์กรขึ้นอยู่กับตัวท่านเองด้วยเช่นกัน |
- ท่านอยู่ในระดับไหนในอาชีพของท่าน - ท่านเป็นผู้สร้างหรือผู้เสริมให้แข็งแกร่ง - แท้จริงตัวเองต้องการอะไร เช่น ประสบการณ์ ชื่อเสียง หรือโอกาสที่จะพัฒนาทักษะใหม่ ๆ |
. |
บางครั้งท่านอาจ มีความต้องการทั้งหมดที่กล่าวในเวลาเดียวกันก็เป็นได้ แต่ต้องรู้ตัวเองจริง ๆ ว่าต้องการอะไร หากท่านคิดต้องการเจริญก้าวหน้าในอาชีพอย่างรวดเร็วเท่าที่จะเป็นไปได้ การทำงานกับบริษัทขนาดใหญ่ที่มีชื่อในการฝึกอบรมพัฒนาทุก ๆ ด้าน น่าจะเป็นทางเลือก แต่ถ้าท่านมีใบผ่านงานจากบริษัทที่คนส่วนใหญ่อยากเข้าไปทำงานแล้ว การเลือกองค์กรขนาดเล็กจะมีโอกาสให้ได้แสดงฝีมือมากกว่า |
. |
วัฒนธรรมขององค์กร |
วัฒนธรรมองค์กร หมายถึง ระเบียบ แบบแผน แนวคิด เกี่ยวกับการจัดการสินค้าลูกค้า การบริการ การแข่งขันในตลาดขององค์กร โดยมากมักจะกำหนดขึ้นโดยผู้บริหารระดับสูงและระดับกลาง บางครั้งอาจมาจากการที่องค์กรมีอายุมากขึ้นด้วย วัฒนธรรมองค์กร บ่อยครั้งยากที่จะเปลี่ยนและบางครั้งองค์กรเองก็กลับยินดีต้อนรับคนที่ยอมรับวัฒนธรรมขององค์กรได้ นอกเสียจากผู้บริหารระดับสูงต้องการจะเปลี่ยน |
. |
องค์กรโดยส่วนมากมีวัฒนธรรมที่มุ่งเน้นเฉพาะเรื่อง ไม่ใช่ทั้งหมดที่กล่าวมา บางองค์กรอาจมีวัฒนธรรมที่ครอบคลุมทุกเรื่อง ท่านควรสำรวจดูว่า องค์กรที่ท่านหมายตามีวัฒนธรรมในเรื่องใดและเป็นอย่างไร บางองค์กรมีค่านิยมในการบริหารจัดการด้วยการเลือกคนที่มาจากสถาบันศึกษาหรือภูมิภาคเดียวกัน ซึ่งเป็นการยากที่คนนอกกลุ่มจะได้รับเลือก บางองค์กรมีค่านิยมการให้บริการลูกค้าด้วยความรวดเร็วและลูกค้าพอใจ โดยไม่สนใจว่าจะมีวิธีจัดการอย่างไร ที่สำคัญคือเร็ว หากท่านเป็นคนทำงานโดยต้องมีแบบแผนชัดเจนจึงค่อยเริ่มทำ ท่านอาจต้องคิดหนักก่อนจะกระโดดลงไป |
. |
ใครเป็นผู้กุมอำนาจที่แท้จริง |
หากท่านเป็นพนักงานระดับที่มีภาระหน้าที่ตามเอกสารบรรยายลักษณะงาน การทำงานประจำของท่านอาจไม่จำเป็นต้องรู้ว่าอำนาจอยู่ในมือใคร แต่ท่านเป็นผู้จัดการ/หัวหน้างาน ที่มีหน้าที่จัดการขยายอำนาจโดยเพิ่มจำนวนเจ้าหน้าที่ในฝ่ายหรือต้องการให้นโยบายใหม่เป็นที่ยอมรับและปฏิบัติ ท่านจำเป็นต้องรู้ว่าใครมีอำนาจบังคับบัญชาทรัพยากรในองค์กรทั้งหมด ท่านต้องรู้ว่าอำนาจที่แท้จริงอยู่ที่ใคร |
. |
แผนผังโครงสร้างองค์กรเป็นจุดเริ่มต้นที่ทำให้มองเห็นภาพได้ว่าสายบังคับบัญชาในองค์กรเป็นอย่างไร แต่โดยมากแผนผังเหล่านี้ไม่ได้แสดงถึงผู้มีอำนาจในการบังคับบัญชาจริง ๆ หากบางครั้งถูกทำขึ้นมาเพื่อให้แผนผังดูครบถ้วนเท่านั้นเอง ในการหาว่าใครกันแน่ที่มีอำนาจ ท่านจำเป็นต้องตรวจสอบการติดต่อกันระหว่างผู้มีอำนาจ ปกติอำนาจจะอยู่ที่กลุ่มคนที่มีประสบการณ์และค่านิยมร่วมกัน หรืออาจมากจากภูมิหลังที่บรรดาผู้มีอำนาจเหล่านี้ บางคนอาจเคยฝึกอบรมให้อีกคนมาก่อนหรือเคยคัดเลือกมาทำงานก่อนหน้านี้ ซึ่งสิ่งเหล่านี้ไม่สามารถมองเห็นในผังองค์กรได้ ถ้าองค์กรที่ท่านมองอยู่เป็นบริษัทลูก อำนาจอาจอยู่นอกเหนือผังองค์กร แต่บริษัทสำนักงานใหญ่โดยปกติเจ้าขององค์กรจะมีอำนาจมากที่สุด แต่ถ้ามีผู้ถือหุ้นจำนวนมากอำนาจจริง ๆ อาจอยู่ในมือของผู้อำนวยการที่เลือกโดยกลุ่มผู้ถือหุ้นส่วนใหญ่ขององค์กร |
. |
เหตุผลที่ควรรู้ว่าใครเป็นผู้มีอำนาจที่แท้จริงในองค์กร เพื่อให้แน่ใจว่าท่านจะสามารถทำหน้าที่ในงานที่กำลังจะแบกรับได้อย่างที่ต้องการ ลองคิดดูว่า หากท่านกำลังจะไปทำหน้าที่ผู้จัดการแผนกประกันคุณภาพ แต่อำนาจที่แท้จริงในการจัดการด้านผลิตภัณฑ์อยู่ที่ผู้จัดการผลิต และแนวคิดคือการผลิตออกมาให้ได้มาก ๆ แล้วค่อยคัดเลือกเกรดของสินค้า ท่านจะต้องประสบปัญหาอะไรบ้าง หรือถ้ากระโดดเข้าไปในองค์กรที่อำนาจอยู่ในมือของกรรมการผู้จัดการที่มีภูมิหลังมาจากนักบัญชี ที่มีแนวคิดการลดต้นทุนทุกลมหายใจ ก็อาจต้องเหนื่อยและสามารถทำหน้าที่ได้ดีเพียงไรในฐานะผู้จัดการด้านออกแบบผลิตภัณฑ์ใหม่ |
. |
ข้อมูลเกี่ยวกับขนาดขององค์กรอาจหาได้ไม่ยากนัก เนื่องจากโดยมากมักจะปรากฏในสิ่งพิมพ์ขององค์กรหรือรายงานประจำปีกรณีบริษัทที่จดทะเบียนเป็นบริษัทมหาชน หรือเอกสารโฆษณา กรณีที่องค์กรมีขนาดใหญ่ ข้อมูลที่หายากกลับเป็นข้อมูลเกี่ยวกับวัฒนธรรมองค์กร ผู้ที่มีอำนาจที่แท้จริงโดยมากต้องเป็นคนภายในจึงจะให้ข้อมูลได้อย่างเพียงพอ |
. |
การเลือกที่ถูกต้อง |
การเลือกองค์กรที่เหมาะกับตัวเอง แน่นอนไม่ใช่เรื่องง่าย ๆ และไม่ว่าชีวิตในองค์กรจะเป็นอย่างไรท่านก็ต้องเป็นส่วนหนึ่ง ในบางครั้งสถานการณ์ขององค์กรอาจเปลี่ยนแปลงไปได้ การสูญเสียลูกค้ารายใหญ่ การเข้าไปควบคุมกิจการจากผู้บริหารกลุ่มใหม่ ปัญหาด้านการเงิน หรือการออกไปของหัวหน้า อาจก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วและคาดไม่ถึง เมื่อท่านเป็นส่วนหนึ่งขององค์กรใด ๆ แล้ว และทำงานหนัก นั่นก็ไม่ได้เป็นหลักประกันว่าท่านจะประสพความสำเร็จได้ ความวุ่นวายทางธุรกิจซึ่งมักจะซับซ้อนและไม่มีคำว่าประนีประนอม เช่นเดียวกับความสัมพันธ์ในครอบครัวอาจสร้างความผิดหวังหรือนำมาสู่ความล้มเหลวได้ |
. |
ปัจจัยบางอย่างซึ่งบางทีไม่น่าจะเป็นปัจจัยขององค์กรในวงการธุรกิจได้ แต่ในความเป็นจริงกลับเป็นปัจจัยที่มีความสำคัญต่อความสำเร็จหรือความล้มเหลวของแต่ละคนหรือส่วนรวม ไม่ว่าจะเป็นการอิจฉา เจตนาร้าย ความละโมบ การไม่ยอมให้ความร่วมมือ แต่ประเด็นสำคัญคือท่านสามารถจัดการหรือแม้แต่หลีกเลี่ยง เพื่อให้เกิดประโยชน์แก่ตัวท่านเองและองค์กรได้อย่างไร |
. |
องค์กร คือ หม้อข้าว แห่งชีวิต |
ปัจจัยที่สำคัญอีกส่วนหนึ่ง ในการประสบความสำเร็จในการทำงานตามที่ปรารถนา นั่นคือ ความทุ่มเทด้วยความเต็มใจตามที่ได้กล่าวมาแต่ตอนต้นว่า เมื่อไดก็ตามที่เราทำในสิ่งที่เราชอบ เราจะทุ่มเททำมัน หมกมุ่นอยู่กับมันอย่างไม่รู้จัดเหน็ดเหนื่อย |
. |
ถ้าท่านยังรู้สึกว่า องค์กรที่เลือกแล้วยังไม่โดน ขอแนะนำว่าอย่าพึ่งกระโดดไปเพียงเพื่อพักแล้วกระโดดต่อไปยังที่อื่นจะดีกว่ามันไม่มีประโยชน์อะไร เพราะเพียงเพื่อให้กระโดดออกจากที่เก่าไปให้พ้น ๆเพื่อตั้งตัว เพราะว่าอย่างไรเสียท่านก็จะไม่รู้สึกอยากทุ่มเทด้วยความเต็มใจให้กับองค์กรนั้น ในทางกลับกันการที่ท่านทำอย่างนั้น ท่านได้สร้างภาระ ที่ท่านอาจจะมองไม่เห็นอีกมากมายแก่สังคมการทำงาน และตัวท่านเองในอนาคต |
. |
หากว่าท่านคิดว่าเลือกองค์กรได้ตรงใจแล้ว การทุ่มเทด้วยความเต็มใจ และสำนึกที่มองว่า ที่นี่คือหม้อข้าวของท่านและครอบครัว และเป็นเรื่องสำคัญที่ท่านต้องรักษาหม้อข้าวนั้น ให้มีข้าวให้ท่านอยู่ตลอดเวลาและไม่ใช่เรื่องที่สมควรนัก ที่ท่านกำลังกอดหม้อใบนี้อยู่ ในเวลาเดียวกันก็เหลียวมองหม้อข้าวใบอื่น ๆ เพื่อมองหาที่ใบใหญ่กว่า โดยคิดไปว่าน่าจะมีข้าวให้ท่านมากกว่า และเตรียมกระโดดอีกครั้ง เพราะหากทำเช่นนั้น อาจไม่มีหม้อข้าวเหลือให้ท่านกอดไว้ ไม่ว่าใบจะเล็กแค่ไหนก็ตาม และสิ่งที่ว่านี้กำลังเกิดขึ้นในปัจจุบันและก่อปัญหาวิกฤติขึ้น ซึ่งท่านเองต้องเป็นส่วนหนึ่งในการแก้ไขปัญหานี้ |
. |
ตอนต่อไปจะนำเอาปัญหาวิกฤตที่ว่านี้ และในการทำหน้าที่หัวหน้างานของท่าน ต้องแก้มันด้วย มาเล่าสู่กันฟัง ซึ่งเป็นสิ่งที่หัวหน้างานทุกท่านหลีกเลี่ยงไม่ได้ ทางเดียวคือต้องเข้าใจและตั้งการ์ดเพื่อรับมือกับมัน ครับ |