กรีนพีซส่งท้ายโครงการ "เดินกับช้าง ร่วมสร้างการเปลี่ยนแปลง" ท้าทายผู้นำโลกให้เร่งกระบวนการเจรจาโลกร้อนของสหประชาชาติ จี้ให้แสดงความมุ่งมั่นและลงมือปฏิบัติหาทางออกเพื่อกู้วิกฤตโลกร้อน
กรีนพีซส่งท้ายโครงการ "เดินกับช้าง ร่วมสร้างการเปลี่ยนแปลง" ท้าทายผู้นำโลกให้เร่งกระบวนการเจรจาโลกร้อนของสหประชาชาติ จี้ให้แสดงความมุ่งมั่นและลงมือปฏิบัติหาทางออกเพื่อกู้วิกฤตโลกร้อน |
. |
. |
หนึ่งวันก่อนการประชุมเจรจาโลกร้อนที่กรุงเทพฯ และอีก 72 วันก่อนการประชุมสุดยอดโลกร้อนที่นครโคเปนเฮเกนของเดนมาร์ก กรีนพีซได้ท้าทายผู้นำโลกให้ยืนหยัดแสดงความมุ่งมั่นและลงมือปฏิบัติการหาทางออกเพื่อกู้วิกฤตโลกร้อน |
. |
การท้าทายดังกล่าวมาจากการสรุปผลของโครงการเดินกับช้างร่วมสร้างการเปลี่ยนแปลง การเดินทางรณรงค์ 15 วันของนักกิจกรรมของกรีนพีซ ชุมชนและช้างไทย 5 เชือกจากเขาใหญ่ ผ่านทุ่งข้าวสู่อ่าวไทยเพื่อบอกเล่าเรื่องราวของกลุ่มประชากรที่มีความล่อแหลมมากที่สุดต่อการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้และเพื่อเรียกร้องให้มีการปกป้องผืนป่าที่ยังคงหลงเหลืออยู่ในภูมิภาคเพื่อต้านสู้กับภัยจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ ตลอดจนปกป้องความหลากหลายทางชีวภาพที่ยังคงหลงเหลืออยู่ของโลก |
. |
โครงการเดินกับช้างร่วมสร้างการเปลี่ยนแปลงเริ่มต้น ณ ชายขอบอุทยานแห่งชาติเขาใหญ่ในอำเภอปากช่อง จังหวัดนครราชสีมาห่างจากกรุงเทพราว 250 กิโลเมตร ในวันที่ 12 กันยายน การเดินทางครั้งนี้เป็นหนึ่งในการเดินทางที่น่าจดจำและไม่เคยเกิดขึ้นมาก่อนโดยองค์กรรณรงค์ด้านสิ่งแวดล้อม |
. |
ในการจัดงานปิดท้ายโครงการ ณ "ศาลาร้องทุกข์แห่งกรุงสุโขทัย" ในเมืองโบราณ จังหวัดสมุทรปราการ กรีนพีซแสดงความผิดหวังต่อการประชุมสุดยอดทางเศรษฐกิจของกลุ่มจี 20 ที่พิสเบอร์กในสหรัฐอเมริกา ซึ่งเหล่าผู้นำโลกทั้งหลายต่างล้มเหลวต่อการตัดสินใจที่จะให้การสนับสนุนทางการเงินเพื่อการรับมือและปรับตัวต่อผลกระทบจากโลกร้อน |
. |
การปกป้องป่าไม้และการพัฒนาพลังงานหมุนเวียนที่สะอาดในประเทศกำลังพัฒนา ในวันพรุ่งนี้ (จันทร์ที่ 28 กันยายน) ตัวแทนของกรีนพีซจะส่งมอบ "เงินสมทบทุนคนละเล็กคนละน้อยเพื่อปกป้องภูมิอากาศ(small change for climate)" ซึ่งรวบรวมจากผู้คนและชุมชนสำหรับกองทุนเพื่อการรับมือและปรับตัว (Adaptation Fund) ให้กับนายอีฟ เดอ บัวร์ เลขาธิการอนุสัญญาสหประชาติว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ(UNFCCC) ในวันเปิดการประชุมเจรจาโลกร้อนที่กรุงเทพฯ |
. |
นายธารา บัวคำศรี ผู้จัดการฝ่ายรณรงค์ประจำประเทศไทย กรีนพีซเอเชียตะวันออกเฉียงใต้กล่าวว่า "เรารับฟังเสียงและเรื่องราวของกลุ่มคนบางกลุ่มที่นับว่ามีความล่อแหลมมากที่สุดและมีการเตรียมการรับมือน้อยที่สุดจากผลกระทบของการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศในระหว่างการเดินทางรณรงค์ เราบันทึกเรื่องราวผลกระทบที่เกิดขึ้นจากการเปลี่ยนแปลง สภาพภูมิอากาศที่มีต่อน้ำ อาหารและป่าไม้ของเรา และเราขอให้ผู้นำโลกรับฟัง วันนี้ การเดินทางรณรงค์ได้จบลง แต่เหล่าผู้นำโลกยังไม่เริ่มต้นแม้แต่ก้าวแรกในการกู้วิกฤตโลกร้อนเลย" |
. |
การเดินทางรณรงค์เป็นระยะเวลา 15 วันในโครงการเดินกับช้าง ร่วมสร้างการเปลี่ยนแปลง โดยมีช้างบ้าน 5 เชือกในการดูแลของกองทุนวิจัยและอนุรักษ์ช้างไทย เป็นส่วนหนึ่งของการริเริ่มการณรงค์ tck tck tck ในระดับโลก การเดินทางรณรงค์ครั้งนี้ได้จัดให้มีการวิจัยภาคสนาม การประชุมเชิงปฏิบัติการ |
. |
การรับฟังความคิดเห็นและการจัดคุยกลุ่มย่อยเพื่อบันทึกสถานการณ์จริงของกลุ่มคนได้รับผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ งานชิ้นหนึ่งคือการศึกษาการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศและการประเมินความล่อแหลมของชุมชนต่อผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศบริเวณลุมน้ำบางปะกงซึ่งเป็นพื้นที่เกษตรกรรมที่มีความสำคัญมากที่สุดแห่งหนึ่งของไทยและกำลังประสบผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศเช่น อุทกภัย ภัยแล้ง การรุกของน้ำเค็มและการกัดเซาะชายฝั่ง |
. |
นายชัยเลนดรา ยัสวัน ผู้อำนวยการรณรงค์ กรีนพีซเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ กล่าวว่า "โครงการเดินกับช้างร่วมสร้างการเปลี่ยนแปลงเป็นหนึ่งในการเรียกร้องระดับโลกเพื่อหาทางออกจากวิกฤตโลกร้อน เป็นสิ่งที่แสดงการท้าทายที่เหล่าผู้นำโลกต้องเผชิญและต้องตอบคำถาม นี่คือการท้าทายที่เหล่าผู้นำโลกมิอาจหลีกเลี่ยงได้อีกต่อไป จำเป็นอย่างยิ่งที่ประเทศอุตสาหกรรมจะจัดสรรงบประมาณ 140 พันล้านเหรียญสหรัฐ เพื่อช่วยเหลือประเทศกำลังพัฒนาในการยุติการทำลายป่า การปรับตัวต่อผลกระทบโลกร้อน และปรับปรุงสังคมไปสู่ยุคเศรษฐกิจแบบคาร์บอนต่ำ" |
. |