นายประดิษฐ์ ภัทรประสิทธิ์ รมช.คลัง กล่าวเปิดสัมมนาเรื่อง "แก้ไขกฎหมายศุลกากรและสรรพสามิต เพื่อใคร?" ว่า คณะกรรมการร่วมภาคเอกชน 3 สถาบัน (กกร.) ได้เสนอแก้ไขพ.ร.บ.ศุลกากร ในประเด็นสินบนนำจับ โดยกังวลว่าขั้นตอนการนำจับจะเป็นช่องโหว่ให้เกิดการทุจริต ซึ่งกระทรวงการคลังจะเร่งแก้ไขเพื่อให้กฎหมายมีความโปร่งใสและชัดเจนมากยิ่งขึ้น |
. |
โดยจะเร่งดำเนินการเพื่อเสนอต่อที่ประชุมคณะรัฐมนตรีพิจารณาภายใน 1-2 เดือนนี้ ซึ่งกฎหมายใหม่จะสนับสนุนให้ผู้ประกอบการนำเข้าและส่งออกมีความสะดวกในการขนส่งสินค้ามากขึ้น ส่วนประเด็นการ แก้ไขกฎหมายใหม่กรมสรรพสามิต ภาคเอกชนเกรงว่าจะไปขัดแย้งกับข้อตกลงในองค์การการค้าโลกหรือไม่ ซึ่งรัฐบาลจะต้องพิจารณาอย่างรอบคอบ เพื่อไม่ให้ขัดกับข้อตกลงดังกล่าว |
. |
นายพงศธร อังศุสิงห์ คณะทำงานเพื่อพิจารณาร่างพ.ร.บ.ศุลกากรของ กกร. กล่าวว่า ร่างกฎหมายใหม่ของกรมศุลกากรมีบทลงโทษหนักในความผิดทุกกรณีโดยไม่ลดหย่อน หรือยกเว้นให้ผู้ประกอบการตามเจตนากระทำผิด อีกทั้งยังเพิ่มโทษให้หนักกว่าพ.ร.บ.ฉบับเดิม โดยให้เจ้าหน้าที่ยึดสินค้าทั้งหมด ถือเป็นกฎหมายที่รุนแรงเกินกว่ากฎหมายทั่วไป |
. |
ขณะที่เงินสินบนนำจับก็มีอัตราสูงเกินไป ไม่เป็นธรรมและเป็นเหตุจูงใจให้เจ้าหน้าที่ศุลกากรปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบ จึงเสนอให้ยกเลิกการจ่ายสินบนหรือลดอัตราลง เพราะการให้เงินกับผู้แจ้งความนำจับ 30% ของค่าปรับ และเจ้าหน้าที่ศุลกากรที่เกี่ยวข้องอีก 25% รวมเป็นสินบนทั้งหมด 55% |
. |
กรณีไม่มีผู้แจ้งความนำจับให้ถึง 30% ซึ่งเป็นสัดส่วนที่สูง ส่วนการแก้ไขกฎหมาย 4 ฉบับคือของกระทรวงการคลังขณะนี้ยังมีบางประเด็นที่ทำให้ต้นทุนของผู้ประกอบการเพิ่มขึ้น |
. |
ที่มา : หนังสือพิมพ์ข่าวสดออนไลน์ |