มะเร็งต่อมลูกหมาก โรคที่พบในชายที่มีอายุ 50 ขึ้นไป แม้อัตราการเกิดโรคจะสูงขึ้น แต่มีโอกาสรักษาให้หายได้
. |
โรคมะเร็งต่อมลูกหมาก เป็นโรคหนึ่งที่พบได้ในชายที่มีอายุ 50 ปีขึ้นไป ในปัจจุบันโรคมะเร็งต่อมลูกหมากมีอุบัติการณ์สูงขึ้น และมีความสำคัญมากขึ้น โรคมะเร็งต่อมลูกหมากเป็นโรคชนิดหนึ่งซึ่งมีโอกาสให้หายได้ ถ้าสามารถค้นพบและวินิจฉัยได้ในระยะเริ่มต้น |
. |
1. ต่อมลูกหมากคืออะไร |
ต่อมลูกหมากเป็นอวัยวะหนึ่งของระบบสืบพันธุ์ชายที่มีหน้าที่ในการผลิตส่วนประกอบของน้ำอสุจิและหล่อเลี้ยงตัวอสุจิต่อมลูกหมากอยู่ภายในช่องเชิงกรานใต้ต่อกระเพาะปัสสาวะและอยู่หน้าลำไส้ตรงหรือทวารหนัก และล้อมรอบท่อปัสสาวะส่วนต้น |
. |
. |
2. มะเร็งต่อมลูกหมากคืออะไร |
มะเร็งต่อมลูกหมากเป็นโรคมะเร็งชนิดหนึ่ง ซึ่งเกิดจากการแบ่งตัวผิดปกติของเซลล์เยื่อบุผิวของต่อมลูกหมาก ทำให้มีขนาดโตขึ้นและลุกลามไปยังอวัยวะข้างเคียง เช่น กระเพาะปัสสาวะถุงน้ำเก็บอสุจิ ท่อปัสสาวะ นอกจากนั้น เซลล์มะเร็งต่อมลูหมากยังจะมีการกระจายไปที่ต่อมน้ำเหลืองบริเวณช่องเชิงกราน และกระจายไปบริเวณกระดูกตามส่วนต่างๆ ของร่างกาย |
. |
การลุกลามหรือการแพร่กระจายจะทำให้เกิดภาวะแทรกซ้อนได้หลายอย่าง เช่น ภาวะการอุดกั้นทางเดินปัสสาวะตำแหน่งต่างๆ ทำให้เกิดอาการคั่งค้างของปัสสาวะ ไม่สามารถระบายของเสียต่างๆ จากร่างกายได้ ซึ่งจะทำให้เกิดไตวายได้ หรือเกิดภาวะโลหิตจางจากเซลล์มะเร็งไปทำลายกระดูก ถ้ามะเร็งต่อมลูกหมากกระจายไปทั่วตัวในระยะท้ายก็จะทำให้เสียชีวิตได้ |
. |
3. ใครมีโอกาสเสี่ยงเป็นมะเร็งต่อมลูกหมาก |
ชายที่มีอายุ 50 ปีขึ้นไป มีโอกาสเป็นมะเร็งต่อมลูกหมากได้เมื่ออายุมากขึ้นอัตราเสี่ยงในการเป็นมะเร็งต่อมลูกหมากก็สูงขึ้นชายที่มีอายุน้องกว่า 50 ปี ก็มีโอกาสเป็นโรคมะเร็งต่อมลูกหมากได้แต่พบได้น้อย นอกจากนั้น พบว่าชายที่มีบุคคลในครอบครัวเป็นโรคมะเร็งต่อมลูกหมากก็จะมีอัตราเสี่ยงสูงขึ้นกว่าประชากรทั่วไป ชายที่นิยมการบริโภคอาหารที่มีไขมันสูงก็มีอัตราเสี่ยงสูงมากขึ้น ซึ่งพบได้มากในประเทศตะวันตกที่นิยมบริโภคอาหารที่มีไขมันสูง |
. |
4. โรคมะเร็งต่อมลูกหมากมีอาการอย่างไร |
ในระยะแรก มะเร็งต่อมลูกหมากจะยังไม่มีอาการใดๆ แต่เมื่อมะเร็งลุกลากมากขึ้นมีการอุดตันของทางเดินปัสสาวะ อาจจะทำให้มีอาการปัสสาวะบ่อย ปัสสาวะลำบาก ต้องเบ่งปัสสาวะมากขึ้น ปัสสาวะเป็นเลือด ถ้าเป็นมากอาจจะปัสสาวะไม่ออก หริอเกิดการติดเชื้อในทางเดินปัสสาวะ แต่อาการปัสสาวะที่ผิดปกตินี้อาจจะเหมือนกับโรคต่อมลูกหมากโตแบบธรรมดาก็ได้ |
. |
ดังนั้น จึงจำเป็นต้องพบแพทย์เพื่อตรวจดูว่าเป็นโรคมะเร็งต่อมลูกหมากหรือไม่ในระยะที่โรคลุกลามมาก ลามไปกระดูกจะมีอาการปวดบริเวณกระดูกสันหลัง บริเวณกระดูกเชิงกราน หรือปวดบริเวณซี่โครง นอกจากนั้น จะมีอาการอ่อนเพลีย เบื่ออาหาร และเกิดภาวะซีด หรือมีกระดูกหักได้ง่ายขึ้น ผู้ป่วยบางรายเป็นอัมพาตจากกระดูกสันหลังหักทับเส้นประสาทได้ |
. |
5. จะตรวจเช็คว่าเป็นโรคมะเร็งต่อมลูกหมากได้อย่างไร |
เนื่องจากโรคมะเร็งต่อมลูกหมากในระยะแรกจะยังไม่มีอาการหรืออาการแสดงอย่างใด ชายไทยที่มีอายุ 50 ปีขึ้นไป ควรจะได้รับการตรวจต่อมลูกหมากจากแพทย์ปีละ 1 ครั้ง โดยจะตรวจดังนี้ |
. |
1. การเจาะเลือดหาสารบ่งชี้มะเร็งต่อมลูกหมาก หรือที่เรียกว่า prostatespecific antigen (PSA) ในผู้ป่วยที่เป็นโรคมะเร็งต่อมลูกหมากจะให้ผล PSA ในเลือดสูงกว่าปกติ |
. |
2. การตรวจทางทวารหนัก (Digital rectal examination) แพทย์จะใช้นิ้วสอดเข้าไปคลำต่อมลูกหมากโดยผ่านทางรูทวารหนัก ถ้าเป็นมะเร็งต่อมลูกหมากจะคลำได้ลักษณะเป็นก้อนแข็ง |
. |
ถ้าการตรวจ PSA หรือการตรวจทางทวารหนักอย่างใดอย่างหนึ่ง หรือทั้ง 2 อย่างให้ผลผิดปกติ ผู้ป่วยควรได้รับการตัดชิ้นเนื้อตรวจทางพยาธิวิทยาว่าเป็นมะเร็งหรือไม่การตัดชิ้นเนื้อตรวจทำได้ โดยการผ่านเข็มผ่านทางเครื่องอัลตราซาวนด์ของต่อมลูกหมากที่ เรียกว่า Transrectal ultrasound prostatic guide biopsy ซึ่งทำได้โดยใช้ยาเฉพาะที่ |
. |
6. โรคมะเร็งต่อมลูกหมากมีที่ระยะอะไรบ้าง? |
โรคมะเร็งต่อมลูกหมากมี 4 ระยะ คือ |
ระยะที่ 1 มะเร็งอยู่ในต่อมลูกหมากมีขนาดเล็ก ระยะนี้ผู้ป่วยจะไม่มีอาการอย่างใด |
. |
จะเห็นได้ว่าในระยะต้นมะเร็งต่อมลูกหมากจะยังไม่มีอาการ ดังนั้น การไปพบแพทย์เพื่อตรวจต่อมลูกหมากทางทวารหนัก หรือการเจาะเลือดหาค่า PSA จึงเป็นสิ่งสำคัญ |
. |
7. โรคมะเร็งต่อมลูกหมาก รักษาได้อย่างไร มีโอกาสหายได้หรือไม่ |
ปัจจุบันมีการรักษาโรคมะเร็งได้หลายวิธี ขึ้นอยู่กับระยะของโรคและสภาวะของผู้ป่วย ถ้าผู้ป่วยมาพบแพทย์ในระยะเริ่มต้น ผลการรักษาก็จะดีมีโอกาสหายได้ ผู้ป่วยที่มาพบแพทย์ในระยะท้าย การรักษาจะช่วยทำให้ชีวิตยืนยาวขึ้นและมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้นแต่จะไม่หายขาด ดังนั้น การมาพบแพทย์เพื่อตรวจค้นหามะเร็งต่อมลูกหมากในระยะแรกจึงเป็นสิ่งสำคัญมาก |
. |
การรักษาโรคมะเร็งต่อมลูกหมากในระยะที่ 1 หรือระยะที่ 2 |
. |
1. การผ่าตัดเอาต่อมลูกหมากออกทั้งหมด หรือที่เรียกว่า Radical prostatectomy เป็นการรักษามะเร็งตอมลูกหมากที่ได้ผลดีวิธีหนึ่ง มีโอกาสหายขาดได้ ถ้าผู้ป่วยเป็นโรคมะเร็งต่อมลูกหมากในระยะต้นๆ โดยเฉพาะระยะที่ 1 และระยะที่ 2 มักจะทำในผู้ป่วยที่มีอายุไม่เกิน 70 ปี จะได้ผลการรักษาดีมาก |
. |
แต่ถ้าผู้ป่วยอายุมากกว่า 70 ขึ้นไป แพทย์จะดูสภาวะอื่นๆ ของผู้ป่วยแล้วใช้ดุลยพินิจในการรักษาให้เหมาะสมกับสภาวะของผู้ป่วยผลข้างเคียงของการผ่าตัด คือ ผู้ป่วยอาจจะสูญเสียความสามารถในการแข็งตัวของอวัยวะเพศหลังผ่าตัด ในผู้ป่วยบางรายอาจจะมีปัญหาในการกลั้นปัสสาวะบ้าง |
. |
2. การฉายรังสี หรือฝังแร่ในต่อมลูกหมาก เป็นการรักษาอีกวิธีหนึ่ง ทำโดยใช้รังสีไปทำลายเซลล์มะเร็งของต่อมลูกหมากผลข้างเคียง คือ จะเกิดการระคายเคืองของเยื่อบุผิวของกระเพาะปัสสาวะ หรือเยื่อบุผิวของลำไส้ตรงจะทำให้มีปัสสาวะเป็นเลือดเป็นครั้งคราว ปัสสาวะลำบาก หรือมีอุจจาระเป็นเลือด อุจจาระลำบากได้ |
. |
การรักษามะเร็งต่อมลูกหมากในระยะลุกลามระยะที่ 3 |
ในระยะลุกลามจะต้องใช้การรักษาแบบผสมผสานกัน โดยการผ่าตัดต่อมลูกหมากออกทั้งหมด หรือการฉายแสงร่วมกับการรักษาโดยการลดฮอร์โมนเพศชายมีวิธีการได้หลายวิธี คือ การตัดลูกอัณฑะออกทั้ง 2 ข้าง bilateral orchidectomy หรือการฉีดยา LHRH agonist เพื่อยับยั้งการสร้างเทสโตสเตอร์โรน (Testosterone) จากลูกอัณฑะได้ นอกจากนั้น ยังมีการให้ยา anti-androgen ร่วมด้วย เพื่อยับยั้งฮอร์โมนแอนโดรเจน (androgen) จากต่อมหมวกไตได้ ซึ่งก็จะให้ผลการรักษาที่ดี |
. |
. |
การรักษาโรคมะเร็งต่อมลูกหมากในระยะที่ 4 |
ในระยะนี้โรคมะเร็งได้มีการกระจายไปที่ต่อมน้ำเหลืองหรือกระดูกแล้ว การรักษาที่นิยม คือ การลดฮอร์โมนเพศชาย ดังที่ได้กล่าวมาแล้วเป็นหลัก |
. |
. |
8. หลังจากได้รับการรักษาโรคมะเร็งต่อมลูกหมากแล้ว ควรจะปฏิบัติตัวอย่างไร |
หลังจากการรักษา แพทย์จะนัดติดตามผลการรักษาโดยการเจาะเลือดหาระดับ PSA เพื่อดูการเปลี่ยนแปลงของระดับ PSA ถ้าระดับ PSA ต่ำ การรักษาก็จะได้ผลดี ถ้าระดับ PSA สูงขึ้นแสดงว่าโรคมีการกำเริบขึ้น ดังนั้น ผู้ป่วยจะต้องติดตามการรักษา โดยมารับการตรวจทุกครั้งที่แพทย์นัด |
. |
ที่มา : สาขาศัลยศาสตร์ยูโรวิทยา ภาควิชาศัลยศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล มหาวิทยาลัยมหิดล |