SAP APJ เผยอัตราการเติบโตและรายได้เพิ่มขึ้นอย่างมั่นคง พร้อมความสามารถในการแข่งขันในภูมิภาคนี้ได้อย่างมีประสิทธิภาพ
เอสเอพีภูมิภาคเอเชียแปซิฟิกและญี่ปุ่น (SAP APJ) ยังคงความสามารถในการดำเนินธุรกิจได้อย่างเข้มแข็งในช่วงไตรมาสที่ 2 ของปี 2552 โดยจากรายงานล่าสุด แสดงให้เห็นถึงประสิทธิภาพการทำงานที่เพิ่มขึ้นทั้งจากกำไรจากการดำเนินงาน (Operating Margins) และความไว้วางใจในบริการหลังการขาย (Customer Support) |
. |
ข้อมูลจากผลประกอบการดังกล่าว ระบุว่า เอสเอพีมีอัตราการเติบโตทางรายได้จากซอฟต์แวร์และบริการที่เกี่ยวกับซอฟต์แวร์ราว 9% ขณะที่รายได้รวมทั้งหมดมีอัตราการเติบโตราว 12% แสดงให้เห็นว่าเอสเอพีภูมิภาคเอเชียแปซิฟิกและญี่ปุ่น (SAP APJ) มีความสามารถบริหารจัดการเพื่อเพิ่มรายได้ในการดำเนินงานอย่างเห็นได้ชัด |
. |
โดยรายได้จากการดำเนินงานของเอสเอพีภูมิภาคเอเชียแปซิฟิกและญี่ปุ่น (SAP APJ) มีอัตราการเติบโตเพิ่มขึ้นไปในทางเดียวกันกับอัตราการเติบโตทางกำไรรวมทั่วโลกของเอสเอพี ซึ่งอยู่ที่ 3.5% ในไตรมาสที่ 2 ของปี 2552 โดยเป็นการประเมินเปรียบเทียบนัยทางการเงินแบบ non-GAAP เทียบกับช่วงการประเมินที่ผ่านมา |
. |
"เอสเอพีภูมิภาคเอเชียแปซิฟิกและญี่ปุ่น (SAP APJ) มีแนวโน้มผลการดำเนินงานในไตรมาสที่ 2 ซึ่งเกิดจากการทำงานอย่างใกล้ชิดของบริษัทต่อความต้องการของลูกค้า ทำให้บริษัทอยู่ในตำแหน่งการแข่งขันที่แข็งแกร่งในภูมิภาคนี้ และบริษัทกำลังปรับเปลี่ยนธุรกิจอย่างมั่นคงเพื่อสร้างการเติบโตของรายได้ให้สูงขึ้น" นางเจอร์ราดีน แมคไบร์ด ประธานเอสเอพี ภูมิภาคเอเชียแปซิฟิกและญี่ปุ่น (SAP APJ) กล่าว |
. |
องค์กรขนาดกลางและเล็กเป็นส่วนที่ช่วยสร้างประสิทธิภาพให้เกิดขึ้นอย่างแข็งแกร่ง โดยเฉพาะกับ ภาคส่วนที่ให้บริการสาธารณะและบริการด้านการเงิน ซึ่งแสดงให้เห็นถึงประสิทธิภาพอย่างชัดเจนในการสร้างตลาดในภูมิภาคเอเชีย |
. |
นอกจากนี้ อัตราการเติบโตของบริษัท เอสเอพี (ประเทศไทย) จำกัด มีแนวโน้มเช่นเดียวกับภูมิภาคเอเชียแปซิฟิกและญี่ปุ่น (SAP APJ) โดยรวมเช่นเดียวกัน |
. |
"บริษัทยังคงมองเห็นสัญญาณการสนับสนุนจากตลาดและจากลูกค้าจำนวนมากของบริษัท แม้ว่าจะอยู่ในสภาวะเศรษฐกิจที่ท้าทายอย่างในปัจจุบันก็ตาม" นายภัทร ยงวณิชย์ กรรมการผู้จัดการ บริษัท เอสเอพี (ประเทศไทย) จำกัด กล่าว |
. |
"บริษัทมั่นใจว่า ประเทศไทยซึ่งมีโครงสร้างการให้บริการพื้นฐานที่ดี มีระบบเศรษฐกิจเสรีนิยม และมีนโยบายสนับสนุนการลงทุนแบบก้าวหน้า จะกลับเข้าสู่สภาวะปกติทางเศรษฐกิจได้อย่างรวดเร็ว โซลูชั่นของ เอสเอพีที่ช่วยให้ลูกค้ามองเห็นภาพของธุรกิจได้ในคราวเดียว และช่วยให้ลูกค้าตัดสินใจจากข้อมูลที่มีอยู่ได้อย่างรวดเร็วจะสร้างมูลค่าให้ธุรกิจอย่างล้นเหลือ แก่บริษัทในประเทศไทยที่กำลังวางแผนเพื่อก้าวต่อไปข้างหน้าบนกระแสการฟื้นตัว" นายภัทรกล่าวเสริม |
. |
ผู้ดำเนินธุรกิจภูมิภาคเอเชียแปซิฟิกและญี่ปุ่น เลือกเอสเอพี |
เสาหลักแห่งความสำเร็จของภูมิภาคเอเชียแปซิฟิกและญี่ปุ่น (SAP APJ) คือความน่าสนใจและการรักษาไว้ซึ่งลูกค้าคุณภาพสูง โดยในช่วงครึ่งปีแรกของปี 2552 เอสเอพีมีลูกค้าเพิ่มขึ้นกว่า 7,000 รายทั่วโลก คิดเป็นรายการสั่งซื้อกว่า 17% ของรายการสั่งซื้อทั้งหมด เอสเอพียังคงแสดงให้เห็นถึงความแข็งแกร่งทางการเงิน ด้วยรายได้จากสินค้าและบริการที่คิดเป็น 55% ของรายได้รวมทั่วโลก อันเป็นตัวชี้วัดที่ชัดเจนอย่างยิ่งว่า ลูกค้ายังคงมองเห็นมูลค่าอันเกิดจากการให้บริการของเอสเอพีอย่างต่อเนื่อง |
. |
"เอสเอพีมีส่วนแบ่งการตลาดในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิกและญี่ปุ่น (SAP APJ) เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง เมื่อมองไปยังผลงานที่ผ่านมาของบริษัท บริษัทแข่งขันและได้ลูกค้ามากกว่า 2,000 รายในภูมิภาคนี้ตลอดครึ่งปีแรกของ ปี 2552 จะเห็นได้ว่า เอสเอพีไม่แพ้ใครในการแข่งขันเพื่อทำข้อตกลงกับลูกค้า โดยในการแข่งขันในระดับที่ใหญ่ขึ้นไปกับคู่แข่งขนาดใหญ่ที่สุดของบริษัทในตลาดอย่างจีน อินเดีย และญี่ปุ่น ก็ยังคงแสดงให้เห็นถึงแนวโน้มที่ยิ่งใหญ่ และบริษัทกำลังเดินหน้าลงทุนเพื่อเติบโตในฐานะของผู้นำในตลาดนี้" นางแมคไบร์ด กล่าว |
. |
คำมั่นสัญญาของเอสเอพีในการช่วยเหลือลูกค้าตามแนวทาง "see clearly; think clearly and act clearly" ที่ผ่านมา ทำให้ลูกค้าตระหนักถึงผลตอบแทนที่จับต้องได้จากการลงทุนด้วยซอฟต์แวร์ของเอสเอพี และช่วยให้ลูกค้ากลายเป็น "Best-Run Businesses" หรือองค์กรที่สามารถขับเคลื่อนต่อไปได้อย่างดีเลิศ |
. |
เซอร์บานา คอร์ปอเรชั่น (Surbana Corporation) ผู้ประกอบการธุรกิจข้ามชาติ (Multinational Corporation: MNC) อธิบายว่า เหตุใดบริษัทในเครือจึงเลือกเอสเอพีแทนที่จะเป็นออราเคิล จากการตัดสินใจลงทุนในระบบ Enterprise Resource Planning (ERP) ที่ผ่านมา "บริษัทเชื่อว่าการผสานเข้ากับระบบ ERP ของเอสเอพี ตรงตามความต้องการทางธุรกิจระดับโลกของบริษัท |
. |
โดยหลังจากที่ชื่นชมการเติบโตทางธุรกิจที่เป็นไปด้วยดีมาตลอดระยะเวลา 6 ปี ทั้งในด้านการพัฒนาในเมืองเล็กๆ และบริการให้คำปรึกษา นี่คือเวลาที่จะลงทุนในระบบ ERP เพื่อรองรับการเติบโตของบริษัท" นางสาว เชีย เชย์ โหยว ประธานเจ้าหน้าที่บริหารฝ่ายการเงิน จากเซอร์บานา กรุ๊ป กล่าว "เซอร์บานายังได้รับผลตอบแทนจากความรู้ในเชิงลึกทางอุตสาหกรรม และรูปแบบการดำเนินงานแบบสากลที่มาพร้อมกับโซลูชั่นของเอสเอพีอีกด้วย" |
. |
China Petroleum & Chemical Corporation (CPCC) เป็นลูกค้ารายสำคัญอีกรายหนึ่งที่เปลี่ยนระบบเดิมจากออราเคิลมาเป็น SAP Business Objects โดยโฆษกของ CPCC กล่าวถึงการตัดสินใจครั้งนี้ว่า "หลังจากประเมินผลรอบด้าน และจากโครงการนำร่องที่ประสบความสำเร็จในปี 2551 บริษัทเลือกที่จะแทนที่ระบบ Oracle Hyperion และ IBM Cognos ของบริษัทด้วยโซลูชั่น SAP Business Objects และจากความต้องการระบบธุรกิจอัจฉริยะ Business Intelligence (BI) ของผู้ใช้งานทางธุรกิจทุกระดับที่มากขึ้น |
. |
บริษัทจึงตัดสินใจที่วางมาตรฐานแพลตฟอร์มธุรกิจอัจฉริยะของบริษัทด้วยเอสเอพี ซึ่งบริษัทเชื่อว่า ความเป็นผู้นำด้านเทคโนโลยี และความสามารถระดับโลกของเอสเอพี จะสามารถช่วยให้ประสิทธิภาพทางธุรกิจของ Sinopec เพิ่มสูงขึ้นอย่างต่อเนื่องในอนาคต" |
. |
China Tobacco Fujian Province Company (CTFPC) กล่าวถึงเหตุที่มองเอสเอพีเป็นตัวเลือกของภูมิภาคนี้ด้วยเช่นกันว่า "บริษัทเลือกเอสเอพีเป็นผู้ให้บริการโซลูชั่นของบริษัท เนื่องจากโซลูชั่นของเอสเอพีนั่นเอง เพราะรู้ว่าบริษัทกำลังได้โซลูชั่นที่จะผสานการทำงานของบริษัทได้อย่างราบรื่นทั้งกับระบบที่ใช้อยู่ และระบบที่กำลังจะติดตั้งเพิ่มเติมในอนาคต" |
. |
จากการเปิดเผยข้อมูลในทำนองเดียวกันนี้จากลูกค้าจำนวนมากของเอสเอพีในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิกและญี่ปุ่น (SAP APJ) นางแมคไบร์ด กล่าวทิ้งท้ายว่า "SAP APJ และลูกค้า มีการวางตำแหน่งของตนเองไว้แล้วเป็นอย่างดี ในการเข้าสู่สภาวะเศรษฐกิจที่มีเงื่อนไขอย่างในปัจจุบันได้อย่างเข้มแข็งขึ้นกว่าก่อน เช่นเดียวกับบริษัทที่เดินหน้านำเสนอมูลค่าทางธุรกิจแก่ลูกค้าของบริษัทในภูมิภาคเอเชียทั้งหมด" |
. |
สู่ผู้นำระดับโลก ในตลาดแอพพลิเคชั่นการบริหารผลดำเนินงานร่วมกับการวิเคราะห์ |
เอสเอพี ได้รับการกล่าวขานจากไอดีซีว่า เป็นผู้นำทางการตลาดในด้านแอพพลิชั่นเพื่อการบริหารจัดการและการวิเคราะห์ บนพื้นฐานของรายได้จากการขายลิขสิทธิ์การใช้งาน และการบำรุงรักษา ตลาดแอพพลิเคชั่นการบริหารผลดำเนินงาน ร่วมกับการวิเคราะห์นี้ ประกอบไปด้วยระบบ financial performance and strategy management (FPSM) และแอพพลิชั่นด้านการวิเคราะห์อื่นๆ ที่หลากหลาย เช่น customer relationship management (CRM), supply chain, workforce และ service operations |
. |
ในตลาดนี้ เอสเอพีเรียกว่า enterprise performance management (EPM) และมีมูลค่าถึง 8.37 พันล้านเหรียญสหรัฐ เทียบกับมูลค่าของตลาดซอฟต์แวร์ด้านการวิเคราะห์ข้อมูลทั้งหมด 24.1 พันล้านเหรียญสหรัฐ โดยจากรายงานการวิเคราะห์ตลาดเรื่อง “Worldwide Business Analytics Software 2009-2013 Forecast and 2008 Vendor Shares” ระบุว่า เอสเอพีเป็นผู้นำในตลาดแอพพลิเคชั่นด้านการบริหารผลดำเนินงาน และการวิเคราะห์ ซึ่งคิดเป็นส่วนแบ่ง 20.3%ในตลาด |
. |
"ข้อมูลของไอดีซีที่อยู่ในรายงานการวิเคราะห์ธุรกิจของบริษัทในปี 2552 แสดงให้เห็นว่า เอสเอพีเป็นผู้นำในตลาดตลาดแอพพลิเคชั่นการบริหารผลดำเนินงาน ร่วมกับการวิเคราะห์ (combined performance management และ analytic applications)" มร.แดน เวสเซ็ท รองประธานฝ่าย Business Analytics Solutions จากไอดีซี กล่าว |
. |
"เอสเอพีมีแนวยุทธศาสตร์ในการใช้ Business Objects, OutlookSoft และ Pilot Software ซึ่งเอสเอพีเข้าซื้อกิจการในช่วง 18 เดือนที่ผ่านมา เพื่อนำเสนอโซลูชั่นด้านการเพิ่มประสิทธิภาพทางการเงินและกลยุทธ์การวางแผน ให้แก่บริษัทที่เคยใช้เอสเอพีมาก่อนได้ดีเช่นเดียวกับกลุ่มบริษัทที่เป็นลูกค้าใหม่ ส่งผลให้ไม่เพียงเป็นผู้นำในตลาดแอพพลิเคชั่นการบริหารผลดำเนินงานร่วมกับการวิเคราะห์เท่านั้น แต่ยังมีอัตราการเติบโตที่น่าประทับใจอีกด้วย" |
. |
รายงานของไอดีซี ยังแสดงให้เห็นอีกว่า อัตราการเติบโตที่เพิ่มขึ้นในแต่ละปีของเอสเอพีในตลาดนี้ คือ 13.9% สูงกว่าอัตราการเติบโตเฉลี่ยของคู่แข่งอีก 5 รายถัดไป และสูงกว่าอัตราการโตของตลาดโดยรวมที่ 8.9% อีกด้วย |
. |
การใช้ตัวเลขประเมินทางการเงินแบบ Non-GAAP |
ข่าวประชาสัมพันธ์ฉบับนี้ ใช้ตัวเลขประเมินทางการเงินแบบต่างๆ อาทิ รายได้รวมแบบ Non-GAAP, รายได้เฉพาะจากการดำเนินงานแบบ Non-GAAP, กำไรเฉพาะจากการดำเนินงานแบบ Non-GAAP, กระแสเงินสดอิสระ, รายได้จากอัตราแลกเปลี่ยนเงินแบบคงที่, และการประเมินรายได้เฉพาะจากการดำเนินงาน ซึ่งคำนวนจากตัวเลขรายได้แบบ Non-GAAP เป็นสกุลเงินดอลลาร์สหรัฐ โดยตัวเลขประเมินดังกล่าวยังไม่ใช่ตัวเลขที่ใช้ในการรายงานทางบัญชีตามเงื่อนไข GAAP ของสหรัฐ และจะใช้เฉพาะในการประเมินทางการเงินแบบ Non-GAAP เป็นหลักเท่านั้น |
. |
ทั้งนี้ วิธีการประเมินทางการเงินแบบ non-GAAP ของเอสเอพีอาจแตกต่างจากรายงานการประเมินทางการเงินแบบ Non-GAAP ของบริษัทอื่นๆ และการประเมินทางการเงินแบบ Non-GAAP ในรายงานฉบับนี้นั้น เป็นข้อมูลเสริมที่ไม่สามารถใช้แทน หรือใช้ประเมินภาพรวมของรายได้ กำไรสุทธิในการดำเนินงาน หรือการประเมินประสิทธิภาพทางการเงินตามเงื่อนไข GAAP ของสหรัฐได้ |
. |
เกี่ยวกับ บริษัท เอสเอพี (ประเทศไทย) จำกัด |
บริษัท เอสเอพี (ประเทศไทย) จำกัด ได้ก่อตั้งขึ้นตั้งแต่ปี 1995 ในปัจจุบัน SAP Thailand มีลูกค้าในประเทศไทย มากกว่า 500 ราย หรือมากกว่า 1000 installations ซึ่งเป็นลูกค้าทั้งในหน่วยงานราชการรัฐวิสาหกิจ เอกชน องค์กรต่างประเทศ ระบบงานของ บริษัท เอสเอพี (ประเทศไทย) จำกัด นั้นได้ถูกจัดทำ ขึ้น ให้สามารถรองรับกฎหมายของประเทศไทยและนอกจากนี้ยังสนับสนุนการทำงานเป็นภาษาไทยด้วยเช่นเดียวกัน |
. |
โดยที่ระบบงานของ บริษัท เอสเอพี (ประเทศไทย) จำกัด นั้นสามารถรองรับการทำงาน ขององค์กรได้ทั้งขนาดใหญ่ ขนาดกลางและขนาดย่อม หากท่านต้องการติดต่อสอบถามหรือต้องการข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับโซลูชั่นของบริษัท เอสเอพี (ประเทศไทย) จำกัด ท่านสามารถติดต่อได้ที่ SAP Thailand Ltd.- ชั้น 9 อาคารลิเบอร์ตี้สแควร์ ถนนสีลม บางรัก กทม. Tel: (662) 631 1800; Fax: (662) 631 1818; e-mail: info.thailand@ sap.com |
. |