ประธานและเจ้าหน้าที่บริหารระดับสูงของกลุ่มพันธมิตรธุรกิจซอฟต์แวร์ เดินทางมาเยือนประเทศไทยในสัปดาห์นี้ พร้อมแสดงความชื่นชมความพยายามของประเทศไทย ในการลดอัตราการละเมิดลิขสิทธิ์ซอฟต์แวร์ในประเทศ
มิสเตอร์โรเบิร์ต ฮอลลี่แมน |
. |
ประธานและเจ้าหน้าที่บริหารระดับสูงของกลุ่มพันธมิตรธุรกิจซอฟต์แวร์ (บีเอสเอ) มิสเตอร์โรเบิร์ต ฮอลลี่แมน เดินทางมาเยือนประเทศไทยในสัปดาห์นี้ พร้อมแสดงความชื่นชมความพยายามของประเทศไทย ในการลดอัตราการละเมิดลิขสิทธิ์ซอฟต์แวร์ในประเทศ |
. |
มิสเตอร์ฮอลลี่แมน กล่าวว่า อัตราการละเมิดลิขสิทธิ์ซอฟต์แวร์ที่ลดลงอย่างต่อเนื่องในช่วงระยะเวลาสองปีที่ผ่านมา เป็นผลโดยตรงจากความพยายามของประเทศไทยในการคุ้มครองทรัพย์สินทางปัญญาของผู้พัฒนาซอฟต์แวร์ |
. |
อัตราการละเมิดลิขสิทธิ์ซอฟต์แวร์ในประเทศไทยอยู่ที่ 76 เปอร์เซ็นต์ ลดลง 2 เปอร์เซ็นต์ ทั้งในปี 2550 และ 2551 และมีแนวโน้มจะลดลงอีกในปี 2552 จากความพยายามรณรงค์ลดการละเมิดลิขสิทธิ์ซอฟต์แวร์อย่างต่อเนื่องในช่วงครึ่งปีแรก |
. |
"การละเมิดลิขสิทธิ์ซอฟต์แวร์ยังคงเป็นความท้าทายของอุตสาหกรรมซอฟต์แวร์ และเป็นปัญหาระดับโลก ที่ภาครัฐและภาคเอกชนต้องร่วมกันแก้ไข เรายินดีที่เห็นรัฐบาลไทยมีนโยบายที่มุ่งมั่นลดการละเมิดลิขสิทธิ์ซอฟต์แวร์" มิสเตอร์ฮอลลี่แมนกล่าว "อัตราการละเมิดลิขสิทธิ์ซอฟต์แวร์ที่ลดลงอย่างต่อเนื่อง แสดงให้เห็นว่ารัฐบาลให้ความสำคัญกับการคุ้มครองทรัพย์สินทางปัญญาของผู้พัฒนาซอฟต์แวร์" |
. |
ตลอดระยะเวลาสองวันของการเยือนกรุงเทพฯ ในครั้งนี้ มิสเตอร์ฮอลลี่แมนได้รับโอกาสให้เข้าพบ พณฯ ท่านนายกรัฐมนตรี อภิสิทธิ์ เวชาชีวะ และเจ้าหน้าที่ระดับสูงของภาครัฐท่านอื่นๆ รวมถึงบริษัทผู้พัฒนาซอฟต์แวร์ และมีกำหนดมอบโล่ห์ประกาศเกียรติคุณให้กับเจ้าหน้าที่ตำรวจ บริษัทพัฒนาซอฟต์แวร์ของไทย ตลอดจนผู้นำในอุตสาหกรรมซอฟต์แวร์ของประเทศ |
. |
นอกจากจะชมเชยการทำงานของรัฐบาลไทยแล้ว มิสเตอร์ฮอลลี่แมนยังเสริมอีกว่า "อัตราการละเมิดลิขสิทธิ์ของประเทศไทยยังนับว่าสูงอยู่เมื่อเปรียบเทียบกับประเทศอื่นๆ ในภูมิภาค และจำเป็นต้องมีการดำเนินงานอย่างต่อเนื่อง แม้ว่าการดำเนินงานของบีเอสเอมุ่งเป้าไปที่การลดการละเมิดลิขสิทธิ์ซอฟต์แวร์ในองค์กร แต่อยากเสนอแนะให้ภาครัฐกวดขันเรื่องการจำหน่ายซอฟต์แวร์เถื่อนอย่างเปิดเผยในไอทีมอลล์ต่างๆ ให้มากขึ้น ทั้งนี้เพื่อยกระดับภาพลักษณ์ของไทยในเวทีการค้าโลกและในสายตาของนานาประเทศ |
. |
ผู้นำอุตสาหกรรมซอฟต์แวร์ของประเทศไทยกล่าวว่า การมาเยือนของฮอลลี่แมนเป็นผลดีต่อการพัฒนาอุตสาหกรรมซอฟต์แวร์ของประเทศไทยในฐานะประเทศที่ส่งเสริมและคุ้มครองทรัพย์สินทางปัญญา |
. |
"การมาเยือนของมิสเตอร์ฮอลลี่แมน ช่วยตอกย้ำให้เห็นว่าประเทศไทยได้ดำเนินการมาถูกทางในเรื่องการคุ้มครองทรัพย์สินทางปัญญาด้านซอฟต์แวร์ ทำให้ผู้ผลิตและผู้ประกอบการในประเทศไทยและทั่วโลกเกิดความมั่นใจว่า ประเทศไทยเป็นประเทศที่เหมาะกับการสร้างนวัตกรรม" คุณสมพร มณีรัตนะกูล กรรมการผู้จัดการบริษัทไทยซอฟท์แวร์เอ็นเตอร์ไพรส์และสมาชิกของบีเอสเอกล่าว |
. |
ในรอบสัปดาห์ที่ผ่านมา ความพยายามที่จะลดการละเมิดลิขสิทธิ์ซอฟต์แวร์เริ่มเห็นผลจากการที่เจ้าหน้าที่ตำรวจใช้กฎหมายเข้าควบคุมกลุ่มผู้ละเมิดในเดือนสิงหาคม เจ้าหน้าที่ประสบความสำเร็จในการบุกเข้าจับกุมบริษัทที่ละเมิดกฎหมายลิขสิทธิ์ได้ถึง 15 ครั้ง สูงที่สุดในรอบหลายเดือน และในเดือนกรกฎาคม ผู้ผลิตซอฟต์แวร์หลายรายชนะคดีแพ่งในศาล เรียกค่าเสียหายเรื่องการละเมิดสิทธิ์ด้านทรัพย์สินทางปัญญาเป็นเงินสูงถึง 1.8 ล้านบาท |
. |
จากการศึกษาของ IDC การลดอัตราการละเมิดลิขสิทธิ์ซอฟต์แวร์ในประเทศไทยเพียง 10 เปอร์เซ็นต์ในอีกสี่ปีข้างหน้า จะสร้างงานได้ถึง 2,100 ตำแหน่ง พร้อมสร้างความเติบโตทางเศรษฐกิจ 1 พันล้านเหรียญสหรัฐ (US$) รวมถึงสร้างรายได้ทางภาษีได้ถึง 55 ล้านเหรียญสหรัฐ (US$) ซึ่งสูงกว่าที่คาดการณ์ไว้ |