สวทช.เครือข่ายภาคเหนือ เร่งเสริมสร้างความเข้มแข็งแก่ผู้ประกอบการภาคเหนือ รุกกลุ่มเครือข่ายวิสาหกิจท้องถิ่นพัฒนาเทคโนโลยีการผลิต หลังประสบความสำเร็จในกลุ่มผู้ประกอบการ SMEs
. |
สวทช.เครือข่ายภาคเหนือ เร่งเสริมสร้างความเข้มแข็งแก่ผู้ประกอบการภาคเหนือ ตั้งเป้าปี 49 รุกกลุ่มเครือข่ายวิสาหกิจท้องถิ่นพัฒนาเทคโนโลยีการผลิต หลังประสบความสำเร็จในกลุ่มผู้ประกอบการ SMEs ภายใต้โครงการสนับสนุนการพัฒนาเทคโนโลยีของอุตสาหกรรมไทย (ITAP) จัดหาผู้เชี่ยวชาญเข้ามาช่วยพัฒนาทคโนโลยีของอุตสาหกรรมในท้องถิ่น และการประยุกต์ใช้งานวิจัยในภาคอุตสาหกรรมให้เกิดนวัตกรรมใหม่ๆ เพื่อเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันของธุรกิจไทยในตลาดโลกได้อย่างยั่งยืน |
. |
จากแนวโน้มของ SMEs ที่นับวันมีความสำคัญต่อประเทศยิ่งขึ้น ขณะที่วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีถือเป็นเรื่องใกล้ตัวและมีบทบาทต่อชีวิตประจำวันมากขึ้นเช่นกัน สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ(สวทช.) กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ซึ่งเป็นหน่วยงานที่มีบทบาทในการส่งเสริมและผลักดันการนำความรู้ทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีมาใช้ในการพัฒนาธุรกิจ เพื่อเพิ่มความสามารถในการแข่งขันให้กับเอสเอ็มอี โดยไม่ลืมเศรษฐกิจระดับรากหญ้า ดังนั้น เพื่อเป็นการเปิดโลกทัศน์ใหม่ให้แก่ผู้ประกอบการภาคเหนือ โดยเฉพาะเครือข่ายวิสาหกิจท้องถิ่น |
. |
สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) เครือข่ายภาคเหนือ จึงได้จัดประชุมประจำปีในหัวข้อ “ บทบาทของ สวทช.ต่อการพัฒนา SMEs & OTOP ในเขตภาคเหนือ” ขึ้น เมื่อวันศุกร์ที่ 3 กุมภาพันธ์ ที่ผ่านมา ณ โรงแรมอิมพีเรียลแม่ปิง จ.เชียงใหม่ โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อนำเสนอผลงานวิจัย และโครงการพัฒนาด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีที่ สวทช.ให้การสนับสนุนไปสู่ชุมชนและภาคเอกชนในท้องถิ่น ประสานงานและให้คำปรึกษาด้านการวิจัยและพัฒนาวิทยาศาสตร์แก่ผู้ประกอบการวิสาหกิจชุมชน และนักวิจัยท้องถิ่นภาคเหนือ และเป็นเวทีแลกเปลี่ยนความคิดเห็นและประสบการณ์ในการวิจัยและพัฒนาเพื่อการแก้ไขปัญหาท้องถิ่นภาคเหนือของนักวิจัย และพัฒนาศักยภาพของผู้ประกอบการและวิสาหกิจชุมชน รวมทั้งสร้างความเข้าใจเกี่ยวกับโครงการสนับสนุนการพัฒนาเทคโนโลยีของอุตสาหกรรมไทย (ITAP) แก่ผู้ประกอบการในพื้นที่ ซึ่งได้รับความสนใจจากผู้ประกอบการและนักวิชาการเข้าร่วมงานกว่า 400 คน |
. |
รองศาสตราจารย์ ดร.ศักรินทร์ ภูมิรัตน ผู้อำนวยการสำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ ( สวทช.) กล่าวว่า เป็นที่ทราบกันดีว่า เอสเอ็มอีมีความสำคัญอย่างยิ่งต่อการพัฒนาประเทศ ซึ่งปัจจุบันมีผู้ประกอบการเอสเอ็มอีอยู่ประมาณ 1.7 ล้านแห่งทั่วประเทศ โดยเฉพาะในพื้นที่ภาคเหนือมีผู้ประกอบการเอสเอ็มอยู่กว่า 3 แสนราย แต่เนื่องจากส่วนใหญ่เป็นผู้ประกอบการขนาดกลาง และขนาดเล็ก ดังนั้น ในการจัดประชุมฯ ครั้งนี้ เพื่อต้องการเห็นการรวมตัวกันของกลุ่มผู้ประกอบการต่างๆ เพื่อที่จะชี้แนะให้เห็นถึงประโยชน์จากการใช้วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีเพื่อเพิ่มความสามารถในการแข่งขันนั้นได้อย่างไร ควรจะมีการส่งเสริมการวิจัยและพัฒนาอย่างไร รวมถึงความจำเป็นต้องใช้ผู้เชี่ยวชาญจากที่ต่างๆ เข้ามาเสริมสร้างความสามารถเพิ่มเติมอย่างไร และจะต่อยอดความสามารถที่มีอยู่ได้อย่างไร |
. |
สวทช.เครือข่ายภาคเหนือ ได้ดำเนินงานโดยยึดถือนโยบายสร้างความเชื่อมโยง ระหว่างผู้ประกอบการ และนักวิชาการ ทั้งในพื้นที่และนอกพื้น โดยคำนึงถึงผลได้ ผลลัพธ์ และผลกระทบสูงสุดต่อท้องถิ่นภาคเหนือ ซึ่งก็คือการพัฒนาเอสเอ็มอี และกลุ่มวิสาหกิจชุมชน หรือ โอท็อป ตามนโยบายเศรษฐกิจพอเพียงของรัฐ แต่ทั้งนี้ยอมรับว่า การจะสนับสนุนให้เอสเอ็มอีและโอท็อปพัฒนาไปได้นั้น มีความจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องกระตุ้นให้เกิดความตื่นตัวและเพิ่มศักยภาพในการแข่งขัน โดยใช้วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีเข้ามาทำให้เกิดนวัตกรรม ยกระดับการใช้วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีในการเพิ่มมูลค่าให้กับผลิตภัณฑ์ได้อย่างมีประสิทธิภาพ และสร้างนวัตกรรมใหม่ๆ ขึ้น รศ.ดร.ศักรินทร์ กล่าว |
. |
ผอ.สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) กล่าวอีกว่า ในการประชุมประจำปี สวทช.เครือข่ายภาคเหนือครั้งนี้ ได้เน้นความสำคัญของการทำเครือข่ายของวิสาหกิจ หรือที่เรียกว่า คลัสเตอร์ ซึ่งผู้ประกอบการและภาคเอกชนถือเป็นตัวจักรสำคัญที่จะเข้ามามีส่วนร่วมในการพัฒนาเทคโนโลยีต่างๆ โดยกลไกหลักที่ สวทช. นำมาใช้ คือ โครงการสนับสนุนการพัฒนาเทคโนโลยีของอุตสาหกรรมไทย(ITAP) เพื่อให้การพัฒนาเทคโนโลยีมีศักยภาพสูงสุด โดยจะเชื่อมโยงเข้ากับศูนย์แห่งชาติทั้ง 4 ศูนย์ ได้แก่ เนคเทค เอ็มเทค นาโนเทค และไบโอเทค ซึ่งประกอบด้วยนักวิจัยที่มีความสามารถ เพื่อจะได้พัฒนางานวิจัยให้สอดคล้องกับความต้องการของผู้ประกอบการเอสเอ็มอีต่อไป |
. |
สวทช. เน้นการสร้างพันธมิตรในการทำงาน เน้นการมีส่วนร่วม ที่จะช่วยกันนำพาประเทศให้สามารถแข่งขันได้ในยุคโลกาภิวัตน์ จึงหวังเป็นอย่างยิ่งว่า การจัดประชุมฯ ครั้งนี้ จะได้นำความรู้ความสามารถที่พัฒนาร่วมกันมาแล้วทำให้มีความเป็นนวัตกรรมเพิ่มขึ้น เพื่อเพิ่มความสามารถในการแข่งขันของประเทศมากยิ่งขึ้น เพื่อที่เราจะได้ก้าวทันยุคโลกาภิวัตน์นี้ รศ.ดร.ศักรินทร์ กล่าวในตอนท้าย |
. |
ด้าน ผศ.สุรพงษ์ เลิศทัศนีย์ รักษาการผู้อำนวยการ โครงการเครือข่าย สวทช.ภาคเหนือ กล่าวว่า สวทช.เครือข่ายภาคเหนือ จัดตั้งขึ้นเมื่อปี 2540 ดูแลรับผิดชอบในพื้นที่ 17 จังหวัดทางภาคเหนือ มุ่งเน้นการพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีในท้องถิ่นเพื่อแก้ปัญหาของท้องถิ่นเป็นหลัก และได้ให้บริการด้านต่างๆ หลากหลาย เพื่อตอบสนองความต้องการในท้องถิ่น ภายใต้แนวปรัชญาที่ว่า รวมพลังในท้องถิ่น ใช้ทรัพยากรท้องถิ่น เพื่อพัฒนาท้องถิ่น ตามความต้องการของท้องถิ่น นอกจากการดำเนินตามภารกิจหลักของ สวทช. ในการประสานงานด้านการวิจัย พัฒนา และวิศวกรรม การถ่ายทอดเทคโนโลยีและการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ ภายใต้กลไกของ โครงการ ITAP ซึ่งถือว่าเป็นโครงการที่ประสบความสำเร็จและได้รับความสนใจจากผู้ประกอบการอย่างมาก |
. |
สำหรับการดำเนินโครงการ ITAP นั้น ทาง สวทช. เครือข่ายภาคเหนือได้เริ่มดำเนินการมาตั้งแต่ปี 2545 จนถึงปัจจุบัน มีผู้ประกอบการเข้ามาติดต่อทั้งสิ้น 196 ราย แบ่งเป็นการวิเคราะห์ปัญหาเบื้องต้น 69 บริษัท และจัดส่งผู้เชี่ยวชาญเข้าไปแก้ปัญหาระยะยาว 25 โครงการ คิดเป็นอัตราส่วนของผู้เชี่ยวชาญในประเทศต่อนอกประเทศ 85 : 15 โดยสัดส่วนของอุตสาหกรรมภาคเหนือที่ได้รับการสนับสนุนจาก เครือข่าย ITAP สวทช. ภาคเหนือ ประกอบด้วย อุตสาหกรรมอาหารและอาหารสัตว์ 43% , อุตสาหกรรมเซรามิกส์ 19 % , อุตสาหกรรมเกษตร 13 % , อุตสาหกรรมไม้และผลิตภัณฑ์จากไม้ 6% , อุตสาหกรรมสิ่งทอ 6% และอื่นๆ อีก 13% รวมมูลค่าที่ให้การสนับสนุนไปแล้วทั้งสิ้น 3.5 ล้านบาท |
. |
นอกจากนี้ สวทช. เครือข่ายภาคเหนือ ยังได้ดำเนินการถ่ายทอดเทคโนโลยีและพัฒนาทรัพยากรมนุษย์แก่ชุมชนในภาคเหนือมาโดยตลอด และได้มีส่วนในการทำงานร่วมกับสถาบันอุดมศึกษาต่างๆในเขตภาคเหนือ ตลอดจนจัดหาทุนวิจัยเพื่อแก้ปัญหาท้องถิ่น และภายในงานยังได้มีพิธีมอบรางวัลผญาดีศรีล้านนาหรือ ปราชญ์ท้องถิ่น ประจำปี 2548 เพื่อเป็นการเชิดชูเกียรติของผู้คิดค้นหรือต่อยอดภูมิปัญญาท้องถิ่นมาประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวัน ให้แก่ นายบุญส่ง ชินะวงศ์ ผู้อำนวยการวิทยาลัยจาวบ้านลุ่มน้ำแม่วาง ในสาขาการเกษตร และนาย
|