เนื้อหาวันที่ : 2009-09-11 12:00:05 จำนวนผู้เข้าชมแล้ว : 1444 views

ภาคประชาสังคมจี้รัฐบาลทั่วโลกเร่งสรุปข้อตกลงลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก

ภาคประชาสังคมเรียกร้องรัฐบาลทั่วโลกเร่งสรุปข้อตกลงการลดการปล่อยก๊๋าซเรือนกระจก พร้อมเตือนโลกเหลือเวลาอีกเพียง 100 วันเท่านั้น ที่จะบรรลุเป้าหมายการปกป้องประชากรนับพันล้านทั่วโลกและระบบนิเวศ ให้พ้นจากผลกระทบร้ายแรงของภาวะโลกร้อน

.

ภาคประชาสังคมเรียกร้องรัฐบาลทั่วโลกเร่งสรุปข้อตกลงการลดการปล่อยก๊๋าซเรือนกระจก พร้อมเตือนโลกเหลือเวลาอีกเพียง 100 วันเท่านั้น ที่จะบรรลุเป้าหมายการปกป้องประชากรนับพันล้านทั่วโลกและระบบนิเวศ ให้พ้นจากผลกระทบร้ายแรงของภาวะโลกร้อน

.

นักเีรียนชั้นมัธยมต้นจำนวน 100 คนถือร่มหลากสีสันแปรอักษรเป็นคำ่ว่า "Tck Tck Tck" เลียนเสียงร้องเดินเข็มนาฬิกา และคำว่า "ACT NOW!" หรือ "ลงมือทำเดี๋ยวนี้" นอกจากนี้ยังแปรขบวนเป็นรูปนาฬิกาที่หน้าตึกสำนักงานสหประชาชาติ  ทั้งนี้เพื่อเรียกร้องให้ผู้นำประเทศต่างๆ หันมาใส่ใจอนาคตของโลกอย่างจริงจังมากขึ้น

.

นักเรียนกลุ่มนี้มาจากโรงเรียนเทศบาล 1 จังหวัดนครราชสีมา ใกล้กับอุทยานแห่งชาติเขาใหญ่ ซึ่งได้รับการประกาศเป็นอุทยานแห่งชาติแห่งแรกของประเทศไทย และยังเป็นมรดกโลกอีกด้วย กิจกรรมดังกล่าวจัดขึ้นเพื่อส่งสาส์นไปยัง การประชุมเจรจาเรื่องการร่างอนุสัญญาสหประชาชาติว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ (ยูเอ็นเอฟซีซีซี) ซึ่งประเทศไทยเป็นเจ้าภาพในการจัดการประชุมเป็นเวลากว่า 1 สัปดาห์ ในปลายเดือนหน้า

.

"ได้เวลาแล้วที่ผู้นำประเทศทั้งหลายต้องตีตั๋วเพื่อไปสรุปข้อเจรจาที่โคเปนเฮเกนด้วยตัวเอง เพราะเห็นแล้วว่าที่ผ่านมาแทบไม่มีความคืบหน้าอะไรเลย และผลการเจรจาที่ออกมาก็น่าผิดหวังมาตลอดทั้งปี" ดีน่าห์ ฟูเอ็นเตสฟิน่า เจ้าหน้าที่โฆษกโครงการรณรงค์ Tcktcktck กล่าว

.

"เราอยากเห็นผู้นำประเทศทุกคนอยู่ที่โคเปนเฮเกน และแสดงความเป็นผู้นำในเหตุการณ์ประวัติศาสตร์นี้ โดยการร่วมเซ็นข้อตกลงลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก ที่ให้ผลชัดเจน เป็นธรรม และ มีข้อผูกมัดทางกฎหมายโดยประเทศที่มีส่วนในปัญหานี้มากที่สุดต้องลงมือปฏิบัติดังกล่าว"  

.

โครงการยังได้เปิดเผยข้อมูล "100 เหตุผลที่เอเชียจำเป็นต้องมีข้อตกลงโลกร้อนที่เป็นธรรม" โดยได้แบ่งผลกระทบโลกร้อนด้านต่างๆ ในภูมิภาคนี้ ทั้งในปัจจุบันและที่จะเกิดต่อไปถ้าไม่มีการจัดการปัญหาอย่างจริงจังและเป็นระบบ มีประเด็นเด่นๆ ที่อ้างอิงผลการวิจัยในช่วงที่ผ่านมามากมาย

.

อาทิเช่น ภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้เป็นแหล่งผลิตพืชผลการเกษตรหลักของโลก และกำลังตกอยู่ในภาวะเสี่ยงอันตรายต่อภัยพิบัติที่มาจากโลกร้อนมากที่สุดเช่นกัน โดย 8 ใน 10 ของเมืองหลวงหลักที่เสี่ยงต่อการถูกน้ำท่วมมากที่สุดในโลกนั้นอยู่ในทวีปเอเชียทั้งหมด รวมถึงกรุงเทพฯ ด้วย

.

ผลการศึกษาหลายฉบับยังแสดงให้เห็นว่าจำนวนพันธุ์สัตว์และพืชที่แปลกและหายากในเอเชีย กำลังถูกคุมคามจากภาวะโลกร้อนที่เกิดจากน้ำมือมนุษย์และการใช้ที่ดิน และครึ่งหนึ่งของความหลากหลายทางชีวภาพในภูมิภาคนี้กำลังตกอยู่ในอันตราย

.

"เหตุผลที่ต้องบรรลุการเจรจาที่โคเปนเฮเกนนั้นมีเป็นร้อยข้อ แต่สิ่งที่ขาดไปคือความมุ่งมั่นของฝ่ายการเมืองที่จะสร้างอนาคตคาร์บอนต่ำ และความตั้งใจที่จะลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก" ฟูเอ็นเตสฟิน่า กล่าว

.

สมาชิกของทีมรณรงค์ Tcktcktck ซึ่งส่วนใหญ่เป็นองค์กรภาคเอกชนด้านสิ่งแวดล้อมและการพัฒนา ต่างเรียกร้องผู้นำชาติต่างๆ ให้บรรลุข้อตกลงที่เป็นธรรมและเป็นที่พอใจของทั้งสองฝ่าย รวมทั้งต้องมีประสิทธิภาพในการลดและชะลอผลกระทบโลกร้อนที่มีต่อผู้คนทั่วโลก โดยเฉพาะคนจน ที่ผ่านมาประเทศที่พัฒนาแล้วประสบความล้มเหลวในการหามาตรการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกที่เด็ดขาด แม้ว่าจะมีหลักฐานทางวิทยาศาสตร์ที่ชัดเจนว่าผลกระทบโลกร้อนต่อคนและธรรมชาตินั้นรุนแรง

.

"ประเทศที่พัฒนาแล้วต้องลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกอย่างน้อย 40 เปอร์เซ็นต์จากระดับการปล่อยปี 2533 ให้ได้ภายในปี 2563 เพื่อหลีกเลี่ยงความหายนะทางเศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อม นี่ไม่ใช่ทางเลือก แต่เป็นสิ่งที่เราต้องทำถ้าไม่อยากเห็นคนเป็นล้านต้องลำบากหรือล้มตาย และการที่จะทำให้สำเร็จนั้น ชาติที่ร่ำรวยต้องให้การช่วยเหลือด้านการเงินและเทคโนโลยีแก่ประเทศยากจน เพื่อปรับตัวและปรับเปลี่ยนไปสู่สังคมที่พึ่งพาคาร์บอนน้อยลง" ฟูเอ็นเตสฟิน่าสรุป

.

พร้อมทิ้งท้ายว่า "เรามัวเสียเวลาไม่ได้แล้ว เรายังพอมีเวลาที่จะช่วยชีวิตคนให้รอดตาย หรือแม้แต่พลิกสถานการณ์ หากเราตั้งใจจริง  ณ เวลานี้เรายังเลือกได้ว่าจะเปลี่ยนแปลงหรือไม่"

.