คุณกำลังแบกรับต้นทุนสูญเสียเป็นจำนวนมากอันเกิดจากปัญหาไฟฟ้าคุณภาพแย่อยู่หรือไม่ ? ต้นทุนค่าพลังงาน อาจทำให้ท่านหมดตัว หยุด! ความสูญเสียจากปัญหาคุณภาพไฟฟ้าด้วย เครื่องบันทึกและวิเคราะห์คุณภาพไฟฟ้าจาก FLUKE หลากหลายความสามารถ ครอบคลุมทุกระดับทุกขนาดงาน
ธีระวัฒน์ หนูนาค |
. |
ความอยู่รอดของอุตสาหกรรมในภาวะแข่งขันที่รุนแรงในปัจจุบันต้นทุนด้านพลังงานโดยเฉพาะพลังงานไฟฟ้า มีสัดส่วนที่สูงมากและไม่อาจหลีกเลี่ยงได้ ดังนั้นโรงงานต่าง ๆ จึงต้องมีการบริหารจัดการเพื่อให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุด มีการนำระบบการผลิตแบบอัตโนมัติเข้ามาใช้เพื่อเพิ่มผลผลิต ซึ่งคุณภาพของไฟฟ้าที่ใช้เป็นปัจจัยสำคัญต่อปัญหาอื่น ๆ ที่ตามมาอีกมากมาย |
. |
. |
ปัญหาคุณภาพไฟฟ้าเป็นอย่างไร |
ความเชื่อมั่นในระบบการผลิตทั้งหมด ตั้งอยู่บนความเชื่อถือได้ของคุณภาพไฟฟ้าที่ใช้ในระบบ ปัญหาคุณภาพไฟฟ้าอาจเป็นสาเหตุกระบวนการผลิตติดขัด, เครื่องจักรและอุปกรณ์เสียหายหรือไม่ทำงาน ซึ่งผลของมันอาจเบา ๆ แค่เพียงการจ่ายค่าพลังงานที่แพงเกินกว่าเหตุ หรือ รุนแรงถึงขึ้นต้องหยุดขบวนการผลิตโดยสิ้นเชิง นั่นคือปัญหาคุณภาพไฟฟ้าเข้าขั้นวิกฤติแล้ว |
. |
. |
ระบบต่าง ๆ ที่เป็นเอกเทศในระบบ อาจสร้างความยุ่งยากซับซ้อนของปัญหามากยิ่งขึ้น คอมพิวเตอร์อาจยังคงทำงานปกติดี แต่ระบบเน็ตเวิร์กดาวน์ ก็เลยไม่มีใครสามารถสั่งงานหรือทำรายงานใด ๆ ได้ ขบวนการผลิตทำงานปกติ แต่ระบบควบคุมอุณหภูมิห้องและการระบายอากาศ (HVAC) มีปัญหาไม่ทำงาน การผลิตจำเป็นต้องหยุดโดยปริยาย จะเห็นได้ว่ามีจุดวิกฤติที่อาจเกิดขึ้นได้ทั่วไป ปัญหาคุณภาพไฟฟ้าเป็นตัวการที่ทำให้ต้องหยุดการผลิตเป็นพัก ๆ อยู่ตลอดเวลา ซึ่งเป็นการสูญเสียเวลาอย่างยิ่ง |
. |
มูลค่าความสูญเสียจากคุณภาพไฟฟ้า |
ปัญหาคุณภาพไฟฟ้าส่งผลกระทบต่อ 3 ปัจจัยสำคัญ คือ เครื่องหยุดเดิน (Downtime), เครื่องพัง (Equipment Problems) และค่าไฟแพง (Energy Costs) |
. |
* เครื่องหยุดเดิน |
. |
ทั้งนี้ยังต้องพิจารณาถึงขบวนการทางธุรกิจด้วย ว่ามีการสะดุดหยุดลงไปด้วยหรือไม่ ลูกค้าหายไปด้วยหรือไม่ ถ้าหายไปพร้อม ๆ กันกับการหยุดการผลิต มูลค่าความเสียหายคงมากมายเกินกว่าจะแก้ไขกลับคืนโดยง่าย ลูกค้าไปแล้วไปลับไม่กลับมาง่าย ๆ แน่ |
. |
. |
* เครื่องชำรุดเสียหาย |
ตรงนี้อาจเป็นการยากที่จะคิดมูลค่าออกมา เพราะความเสียหายอาจเกิดได้จากหลายสาเหตุ อาจเพราะฮาร์มอนิกสูงเกินจนเครื่องชำรุด หรือไฟบางเฟสผิดปกติทำให้ประสิทธิภาพตกลง จึงต้องสืบสาวให้ชัดเจนก่อน |
. |
* ค่าไฟฟ้าสูงเกิน |
ในการลดค่าใช้จ่ายด้านพลังงานไฟฟ้า จำเป็นต้องบันทึกรูปแบบการใช้กำลังไฟฟ้า ทำการปรับระบบ หรือย้ายช่วงเวลาใช้โหลดสูง เพื่อลดค่าของ |
. |
แล้วปัญหาคุณภาพไฟฟ้ามาจากไหน |
ปัญหาส่วนใหญ่แล้วเกิดขึ้นในโรงงานนั่นเอง โดยอาจเกิดได้จากหลายสาเหตุ เช่น ระบบกราวด์ไม่ดี, เดินสายไม่เหมาะสม หรือใช้สายระบบจ่ายขนาดเล็กกว่ามาตรฐาน, ใช้งานเครื่องจักรหรืออุปกรณ์เกินกำลังที่ออกแบบมา, ขาดการบำรุงรักษาที่ดี เป็นต้น แม้ในระบบที่มีการติดตั้งที่สมบูรณ์แบบ มีการบำรุงรักษาที่ดีเยี่ยมแล้ว ก็ยังอาจเกิดปัญหาคุณภาพไฟฟ้าได้เมื่อมีอายุการใช้งานมากขึ้น |
. |
ปัญหาคุณภาพไฟฟ้าอาจมีจุดกำเนิดมาจากนอกโรงงานก็ได้ เราต้องอาศัยไฟฟ้าจากภายนอกที่ไม่สามารถคาดการณ์ได้ว่าจะเกิดไฟฟ้าดับ ไฟตกชั่วขณะ หรือเกิดไฟกระชาก ขึ้นเมื่อใด ทุกอย่างคือต้นทุนสูญเสีย เราจะตรวจวัดปริมาณและจัดการกับมันได้อย่างไร |
. |
. |
Fluke มีเครื่องมือสำหรับงานบันทึกและวิเคราะห์คุณภาพไฟฟ้า เพื่อการตรวจสอบและแก้ไขปัญหาในทุกลักษณะ ทุกระดับงาน ทั้งเฟสเดียวและ 3 เฟส ตลอดจนการวิเคราะห์ปัญหาที่ซับซ้อน ตรวจพบได้ยาก ที่ไม่อาจค้นพบได้ด้วยเครื่องมือทั่ว ๆ ไป มีซอฟต์แวร์ช่วยในการวิเคราะห์อันชาญฉลาด ช่วยคุณจัดการปัญหาจากคุณภาพไฟฟ้าได้อย่างมืออาชีพ |
. |
เครื่องบันทึกและวิเคราะห์คุณภาพไฟฟ้า |
. |
Fluke 345 Power Quality Clamp Meter เครื่องวิเคราะห์คุณภาพไฟฟ้าแบบแคลมป์ |
Fluke 345 เป็นเครื่องมือที่รวมเอาความสามารถวิเคราะห์และบันทึกคุณภาพไฟฟ้า เข้ากับแคลมป์มิเตอร์ เหมาะอย่างยิ่งสำหรับงานตรวจเฝ้าระวังโหลดอิเล็กทรอนิกส์ |
. |
ตัวอย่างการใช้งาน |
* งานติดตั้งและตรวจค้นปัญหา ไดรฟ์แบบปรับความถี่ และระบบ UPS: ตรวจทานการทำงานให้แน่ใจก่อน โดยการวัดค่าพารามิเตอร์ด้านคุณภาพไฟฟ้า |
. |
. |
คุณสมบัติ |
* วัดกระแส AC/DC โดยไม่ต้องตัดวงจรด้วย Clamp-on ได้สูงถึง 1400 A rms AC และ 2000 A DC |
. |
Fluke VR1710 เครื่องบันทึกคุณภาพแรงดันไฟฟ้า 1 เฟส |
. |
Fluke VR1710 เป็นเครื่องบันทึกคุณภาพแรงดันไฟฟ้าเฟสเดียว แบบเสียบปลั๊ก ใช้งานง่ายมาก สำหรับการตรวจจับและบันทึกปัญหาด้านคุณภาพไฟฟ้า เพื่อการสืบสวนหาต้นตอ และแก้ไขปัญหาได้ทันท่วงที ลดปัญหาการหยุดกระบวนการผลิต เหมาะกับซ่อมบำรุง และการจัดการ Facilities ในโรงงาน และสถานที่ที่คุณภาพไฟฟ้ามีความจำเป็นต่อการทำงาน |
. |
. |
ตัวเล็กนิดเดียว แต่ความสามารถเกินตัว |
Fluke VR1710 มีขนาดกะทัดรัดเท่าฝ่ามือ แต่เต็มเปี่ยมไปด้วยความสามารถในการใช้งานได้อย่างครบถ้วน สำหรับงานบันทึกคุณภาพแรงดันฟ้า 1 เฟส |
* บันทึก แรงดันเปลี่ยนแปลง, ไฟดับ, คุณภาพไฟฟ้า ช่วยระบุสาเหตุของปัญหาแรงดันได้อย่างง่ายดาย |
. |
การประยุกต์ใช้งาน |
เครื่องบันทึกคุณภาพแรงดันไฟฟ้า Fluke VR1710 สามารถใช้งานได้ในงานเหล่านี้ |
. |
• งานบันทึกแรงดัน คอยตรวจเฝ้าระวังและทำการบันทึกแรงดันจ่าย, วัดแรงดัน RMS, ค่าสูงสุดต่ำสุด, ค่าเฉลี่ย ตรวจสอบแรงดันไฟฟ้าจากเต้าเสียบว่าให้แรงดันคลาดเคลื่อนภายในช่วงที่ยอมรับได้หรือไม่ |
. |
Fluke 43B Power Quality Analyzer |
. |
คุณสมบัติ |
* วัดและวิเคราะห์ได้ทั้งเฟสเดียว และ 3 เฟส (Balance) |
. |
. |
Fluke VR101S |
. |
สำหรับเฝ้าดูแรงดัน ณ เต้าเสียบเดียวกับอุปกรณ์ที่ไวต่อคุณภาพของไฟฟ้า เพียงเสียบ VR101 เข้ากับปลั๊กที่ต้องการบันทึกสภาวะแรงดัน มันจะทำงานเฝ้าดูแรงดันไปเรื่อย ๆ จนกระทั่งเกิดเหตุการณ์ (Event) ต่าง ๆ เช่น Sag, Swell, Transient, ความถี่หรือแรงดันแกว่งออกนอกค่าที่ตั้งไว้, แรงดันหายไป (ไฟดับ) โดยบันทึกวันเวลาที่เกิดและระยะเวลาที่เกิด เก็บค่าของเหตุการณ์ที่เกิดได้ถึง 4000 รายการในตัวเอง โดยมี LED บนตัวมันกะพริบบอกทุกครั้งที่เก็บแต่ละรายการ |
. |
. |
Fluke VR101S เป็นรุ่นที่มาพร้อมซอฟต์แวร์ และสายเชื่อมต่อกับคอมพิวเตอร์ (Optical) เมื่อต้องการเอาข้อมูลออกจาก VR101 เพียงเสียบสายเชื่อมต่อแล้วโหลดข้อมูลลงใน คอมพิวเตอร์ ซอฟต์แวร์ Event View จะวิเคราะห์แล้วแสดงทางจอภาพ |
. |
เครื่องบันทึกและวิเคราะห์คุณภาพไฟฟ้า |
. |
Fluke 435 Three-phase Power Quality Analyzers |
. |
Fluke 435 เครื่องวิเคราะห์คุณภาพไฟฟ้า 3 เฟส ช่วยให้คุณสามารถตรวจวิเคราะห์ คาดการณ์ และระบุตำแหน่งของปัญหาในระบบจ่ายไฟฟ้า ทั้งชนิด 3 เฟส และ 1 เฟส |
. |
การตรวจค้นปัญหา ทำได้อย่างรวดเร็วด้วยการแสดงผลการจับเหตุการณ์และแนวโน้มบนจอภาพ พร้อมกันกับการบันทึกเหตุการณ์ยังคงเป็นไปโดยต่อเนื่อง ความสามารถครบถ้วนตามมาตรใหม่ของ IEC Standard สำหรับ Flicker, Harmonic และ Power Quality |
. |
. |
คุณสมบัติ |
* วัดและวิเคราะห์คุณภาพไฟฟ้าด้วยความละเอียดสูง ตามมาตรฐาน IEC6100-4-30 Class A (Fully) |
. |
Fluke 1740 Series Three-Phase Power Quality Loggers Memobox เครื่องบันทึกคุณภาพไฟฟ้า 3 เฟส เก็บบันทึกระยะยาว |
. |
ใช้งานง่าย สำหรับประเมินคุณภาพไฟฟ้า และตรวจสอบความผิดปกติระยะยาว |
Fluke 1740 Series เป็นเครื่องบันทึกแรงดันและกระแสไฟฟ้าที่มีขนาดกะทัดรัด แข็งแรง เชื่อถือได้สูง สำหรับใช้งานประจำวันในการตรวจแก้ไขปัญหาและวิเคราะห์กำลังไฟฟ้าในระบบจำหน่าย มีความสามารถในการเก็บบันทึกค่าได้ 500 พารามิเตอร์พร้อมกัน ได้ยาวนานถึง 85 วัน พร้อมบันทึกเหตุการณ์ผิดปกติ ช่วยในการแก้ไขปัญหาไฟฟ้าประเภทเกิดบางครั้งบางคราว ที่ยากแก่การตรวจพบ มี 3 รุ่น ให้เลือกใช้งานตามความต้องการของงาน ตั้งแต่รุ่นพื้นฐานจนถึงความสามารถระดับสูง |
. |
. |
Fluke 1743: กันน้ำระดับ IP65 สำหรับเก็บบันทึกค่าพารามิเตอร์ทั่วไปทางไฟฟ้า เช่น V, A, W, VA, VAR, PF, Energy, Flicker, แรงดันผิดปกติ และ THD มีรุ่นเฟสเดียวและ 3 เฟสให้เลือก |
. |
Fluke 1744: คุณสมบัติเหมือน Fluke 1743 และเพิ่มความสามารถในการตรวจวัดฮาร์มอนิกทั้งแรงดันและกระแส, Interharmonics, Mains Signaling, Unbalance และความถี่ |
. |
Fluke 1745: รุ่นแอดวานซ์ สมบุกสมบันกันน้ำได้ ระดับ IP50 คุณสมบัติอื่นเหมือน Fluke 1744 และเพิ่มจอแสดงผล LCD ที่แสดงค่าแบบ Real-time พ้อมระบบสำรองไฟ (UPS) นาน 5 ชั่วโมง |
. |
มีซอฟต์แวร์ PQ Log ให้พร้อม |
. |
คุณสมบัติเด่น |
* ระบบเสียบปุ๊บใช้ปั๊บ ตั้งค่าได้ง่ายด้วยโพรบตรวจจับกระแสและกำลังไฟฟ้าอัตโนมัติ |
. |
Fluke 1735 Three-Phase Power Logger |
. |
Fluke 1735 เป็นเครื่องวัดและบันทึกค่าพลังงานและกำลังไฟฟ้า 3 เฟส เหมาะอย่างยิ่งสำหรับงานประหยัดพลังงานไฟฟ้าและการตรวจวิเคราะห์ศึกษาเกี่ยวกับโหลด สามารถเซ็ตอัพได้ในเวลาอันสั้น |
. |
มีโพรบวัดที่ยืดหยุ่น จอแสดงผลเป็นสี เก็บค่าพารามิเตอร์ทางไฟฟ้าได้ครบถ้วน รวมทั้งฮาร์มอนิก และบันทึกสภาวะแรงดันตกหรือเกิน |
. |
คุณสมบัติ |
* วัดและบันทึกค่าพลังงานและฮาร์มอนิกได้นานถึง 45 วัน |
. |
Fluke 1750 Three-Phase Power Quality Recorder |
. |
. |
Fluke 1750 เป็นเครื่องบันทึกคุณภาพไฟฟ้า 3 เฟส สำหรับงานเฝ้าระวังระบบจ่ายกำลังไฟฟ้า สามารถวิเคราะห์คุณภาพไฟฟ้าด้วยซอฟต์แวร์ Fluke Power Analyze บันทึกทุกเหตุการณ์ของพารามิเตอร์ด้านคุณภาพ ทุกลูกคลื่น ได้ตลอดเวลา |
. |
ตัวอย่างการใช้งาน |
การวิเคราะห์ระยะยาว: สำหรับเหตุการณ์ที่ตรวจพบได้ยาก หรือเกิดไม่แน่นอน |
. |
. |
คุณสมบัติ |
* ความแม่นยำสูง รับประกันทุกค่าพารามิเตอร์ตามมาตรฐานระบบวัด IEC 61000-4-30 Class A |
. |
Fluke1760 เครื่องวิเคราะห์ระบบคุณภาพไฟฟ้า ระดับ Class-A |
. |
Fluke1760 เครื่องมือเพื่อการวิเคราะห์คุณภาพไฟฟ้าประสิทธิภาพสูงจาก Fluke เป็นเครื่องมือสำหรับหาสาเหตุของปัญหาคุณภาพไฟฟ้า 3 เฟส ที่ยากต่อการวิเคราะห์ด้วยเครื่องมือชนิดอื่น มีความสามารถในการบันทึกข้อมูลได้ยาวนาน พร้อมซอฟต์แวร์ช่วยวิเคราะห์ และจัดทำรายงาน |
. |
Fluke1760 เป็นไปตามมาตรฐาน IEC 61000-4-30 Class-A ซึ่งเป็นบรรทัดฐานสำหรับความแม่นยำ, อัลกอริทึมการวัด, การซิงโครไนซ์กับความถี่ไฟฟ้า และ GPS Time Stamp วิเคราะห์ปัญหาที่ซับซ้อนด้วยการกำหนดโครงร่างตามที่ต้องการหรือใช้ฟังก์ชันการทริกอัตโนมัติ สำหรับการทำงานแบบง่าย นอกจากนี้ยังเชื่อถือได้ในการปฏิบัติงาน ในสภาพแวดล้อมที่เลวร้าย ด้วย Solid State Memory ตัวเครื่องหุ้มด้วยฉนวน แข็งแรง |
. |
. |
คุณสมบัติ |
* วิเคราะห์อินพุตและเอาต์พุตด้านของอุปกรณ์ไฟฟ้ากำลังเหมือนกับ UPS โดยการกำหนดโครงร่าง สำหรับอินพุต 8V |
. |
มาตรฐานการวัดคุณภาพไฟฟ้า IEC 61000-4-30 Class A คืออะไร |
IEC 61000-4-30 เป็นการนิยามวิธีการวัดของเครื่องมือในงานคุณภาพไฟฟ้าที่ความถี่ 50 Hz และ 60 Hz ให้เป็นวิธีการมาตรฐานเดียวกัน โดยที่เครื่องมือทุกเครื่องที่มีสมรรถนะตามความต้องการของ Class A ในมาตรฐานนี้ เมื่อนำมาวัดสัญญาณเดียวกันจะให้ค่าผลลัพธ์ที่เหมือนกันทุกประการ แต่ถ้าเครื่องมือที่ได้สมรรถนะตามความต้องการของ Class B จะให้ค่าที่เชื่อถือได้ในการใช้งาน โดยไม่จำเป็นต้องให้ผลลัพธ์ที่แม่นยำ |
. |
61000-4-30 เป็นมาตรฐานตัวหนึ่งของ IEC ที่เป็นการอธิบายว่าเครื่องมือในงานคุณภาพไฟฟ้าควรทำงานอย่างไร เพื่อให้แน่ใจได้ว่าเครื่องมือในงานคุณภาพไฟฟ้าที่ต่างรุ่น ต่างผู้ผลิต ใช้นิยามและเทคนิคการวัดเดียวกันในทุกพารามิเตอร์คุณภาพไฟฟ้า เพื่อให้ได้ผลลัพธ์ที่เชื่อถือได้ ทำซ้ำได้ และเปรียบเทียบกันได้ |
. |
ค่าพารามิเตอร์คุณภาพไฟฟ้ามาตรฐาน IEC 6100-4-30 Class A ประกอบด้วย |
* Power Frequency |
. |
เครื่องมือวัดคุณภาพไฟฟ้ารุ่นเก่า ๆ ที่ไม่ได้เป็นไปตามมาตรฐานนี้ ล้วนใช้นิยามแตกต่างกันและวิธีการวัดที่เป็นของตนเอง ผลก็คือ การวัดค่าของเหตุการณ์เดียวกันด้วยเครื่องมือที่ไม่เป็นไปตามมาตรฐาน 2 เครื่อง จะให้ผลการวัดที่แตกต่างกันอย่างสิ้นเชิง ไม่สามารถนำมาเปรียบเทียบหรืออ้างอิงกันได้ |
. |
ตัวอย่างข้อกำหนดตามความต้องการของ Class A |
ค่าความไม่แน่นอนของการวัด (Uncertainty) ถูกกำหนดไว้ที่ 0.1 % ของแรงดันอินพุตที่ระบุ เครื่องมือวัดคุณภาพไฟฟ้าราคาถูก ๆ ที่มีค่าความไม่แน่นอนสูงกว่า 1 % จะตรวจจับค่า Dips ที่ความผิดพลาดสูงถึง -9 % เมื่อตั้งค่า Threshold ไว้ที่ -10 % ในเครื่องมือวัด Class A เราสามารถตรวจจับเหตุการณ์ต่าง ๆ ได้อย่างมั่นใจภายใต้ค่าความไม่แน่นอนการวัดที่ยอมรับได้ในระดับนานาชาติ ซึ่งมีความสำคัญมากในการตรวจรับรองการผ่านข้อกำหนดตามกฎหมาย หรือการเปรียบเทียบผลการวัดระหว่างเครื่องมือ หรือจากคนละแห่ง |
. |
รูปที่ 1 กราฟนี้แสดงถึงการที่ค่าความไม่มั่นคงการวัด (uncertainty) 0.1 % ของแรงดันอินพุตที่ระบุ มีผลกระทบต่อค่าความแม่นยำการวัดแรงดันอย่างไร สังเกตที่แรงดัน 230 V มีค่า Uncertainty เป็น 0.1 % |
. |
Dips, Swells และ Interruptions จะต้องถูกวัดที่เต็มรูปคลื่นสมบูรณ์และอัพเดตทุกครึ่งรูปคลื่น ทำให้ได้ผลรวมของความละเอียดการวัดที่จุดสุ่มข้อมูลทุกครึ่งรูปคลื่น พร้อมทั้งความแม่นยำที่ค่าการคำนวณ RMS เต็มรูปคลื่น |
. |
เก็บค่าหลายอย่างพร้อมกันในหน้าต่างเวลาเดียว (Aggregation Windows) เครื่องวัดคุณภาพไฟฟ้าจะทำการบีบอัดข้อมูลที่ได้จากการเก็บที่คาบเวลาหลายค่าที่กำหนดพร้อมกันภายในช่วงเวลาเดียวกัน ซึ่งในเครื่องมือ Class A จะประกอบไปด้วย |
. |
* ค่าเวลาเปลี่ยนในช่วง 10/12 Cycle (200 msec) ที่ 50/60 Hz |
. |
รูปที่ 2 กราฟแสดง FFT Bins ที่ถูกบวกเข้าด้วยกันเพื่อคำนวณค่า Magnitudes ของฮาร์มอนิกและอินเตอร์ฮาร์มอนิก |
. |
อัลกอริทึมที่ใช้ในการคำนวณค่า Harmonics ด้วย FFT จะต้องทำให้เครื่องวัดคุณภาพไฟฟ้า Class A ทุกเครื่อง ให้ค่า harmonic magnitudes ที่เท่ากัน |
. |
มีการซิงโครไนซ์กับเวลามาตรฐานภายนอกเพื่อระบุเวลาบันทึกที่แม่นยำตรงกัน ใช้ข้อมูลร่วมกันได้แม้ใช้เครื่องวัดคนละตัว โดยกำหนดความแม่นยำไว้ที่ +/- 20 ms สำหรับ 50 Hz และ +/- 16.7 ms สำหรับ 60 Hz |
. |
สนใจโปรดติดต่อสอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ |
. |