การเร่งแก้ปัญหาขาดแคลนแรงงาน สืบเนื่องจากที่กลุ่มอุตสาหกรรมไฟฟ้าและเล็กทรอนิกส์ โดยสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทยได้จัดทำยุทธศาสตร์การพัฒนาบุคลากรมีการประชุมร่วมจัดทำแผนงาน 5 โครงการ
นายอภัย จันทนจุลกะ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน เป็นประธานการจัดสัมมนาเชิงปฏิบัติการ (workshop) ร่วมกับ กลุ่มอุตสาหกรรมไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย นำโดยนายกิตติ สุขุตมตันติ ผู้แทนจากสภาฯ ในการเร่งแก้ปัญหาขาดแคลนแรงงาน สืบเนื่องจากที่กลุ่มอุตสาหกรรมไฟฟ้าและเล็กทรอนิกส์ สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย ได้จัดทำยุทธศาสตร์การพัฒนาบุคลากรด้านไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ แผนปี 2550-2553 และได้มีการประชุมร่วมจัดทำแผนงาน 5 โครงการ คือ |
. |
1. การพัฒนาหลักสูตรสำหรับอุตสาหกรรมไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ 2. การพัฒนาระบบการรับรองฝีมือแรงงาน E&E และอัตราค่าจ้างกลาง 3. โครงการเตรียมคนก่อนเข้าสู่ภาคอุตสาหกรรม 4. โครงการส่งเสริมการพัฒนาบุคลากรในระดับวิทยากร/ภาคอุตสาหกรรม 5. โครงการจัดทำระบบฐานข้อมูลที่มีประสิทธิภาพด้านค่าจ้างแรงงาน เทคโนโลยี |
. |
ปัญหาขาดแคลนแรงงานไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ อาจแบ่งได้ 2 ลักษณะ |
1. อุตสาหกรรมทั่วไป ต้องการช่างไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ แต่มีผู้มาสมัครน้อยมากเพียง 18% ของความต้องการ (ข้อมูลจาก สำนักงานจัดหางานจังหวัดสมุทรปราการ สำรวจช่วง ก.ย.-พ.ย. 49 จาก 39 บริษัทมีความต้องการ 205 คน แต่มีผู้หางานแค่ 37 คน) |
. |
2. อุตสาหกรรมไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ ต้องการแรงงานหลายหลายสาขา แต่มีผู้มาสมัครน้อย (ข้อมูลจากสถาบันฝีมือแรงงานภาค 1 สมุทรปราการ สำรวจจาก 6 บริษัทอุตสาหกรรมไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ พบว่าต้องการแรงงาน 1,922 คน แบ่งเป็น ป.ตรี 1.5 % ปวส. 12% ปวช. 42% ช่างฝีมือ 2% ช่างกึ่งฝีมือ 2.7% คนงานทั่วไป 40% |
. |
จากผลการสำรวจเบื้องต้น เมื่อวิเคราะห์ปัญหาพบข้อมูลว่า |
1. ปัญหาแรงงานความรู้ ที่จบวุฒิ ปวช. และ ปวส. ที่ขาดแคลน เกิดจากปัญหาสังคม มีความไม่สอดคล้องกันของความต้องการแรงงาน กับ ความนใจของเด็ก เนื่องจาก สถานประกอบการจ่ายเงินเดือนตามวุฒิการศึกษา สภาพระบบการศึกษาและแรงงานในปัจจุบัน จึงพบว่า |
. |
1.1.1 ตามนโยบายรัฐ ให้การศึกษาฟรี 12 ปี ทำให้ไม่มีแรงงานที่จบ ม. 3 เข้าสู่ตลาดแรงงาน |
1.1.2 เด็กที่จบ ปวช. มีแนวโน้มศึกษาต่อมากขึ้น เพื่อเพิ่มโอกาสการได้รับเงินเดือนสูงขึ้น พบว่า 90% เรียนต่อ ปวส. , 5% อยู่บ้าน, จึงเหลือเพียง 5% เข้าสู่ตลาดแรงงาน |
1.1.3 เด็กที่จบ ปวส. 50% เรียนต่อ ป.ตรี จึงเหลือเพียง 50% เข้าสู่ตลาดแรงงาน และมีแนวโน้มสัดส่วนเรียนต่อ ป.ตรีเพิ่มสูงมากขึ้นในอนาคตเพราะมีสถาบันอุดมศึกษาเปิดใหม่หลายแห่งทำการจูงใจให้เด็กเรียนต่อมากขึ้น |
. |
1.2 ปัญหาแรงงานที่ จบ ป.ตรี เกิดความสนใจเรียนและความสนใจทำงานไม่สอดคล้องกัน รวมถึงการจูงใจของสถานประกอบการ เช่น สวัสดิการ สภาวะแวดล้อม ผู้จบ ป.ตรี จะเลือกทำงานบริษัทใหญ่ที่มีสวัสดิการและสภาพแวดล้อมสะดวกสบาย หากหางานไม่ได้ ก็จะเลือกศึกษาต่อ ป.โท และเมื่อจบมาก็ไม่ต้องการทำงานต่ำกว่าวุฒิที่เรียนมา |
1.3 ปัญหาแรงงานเปลี่ยนงานบ่อย มักเปลี่ยนสถานที่ทำงานเมื่อได้รับเงินเดือนสูงขึ้นเพียงเล็กน้อย 1.4 ปัญหาฐานข้อมูลของแรงงาน ทำให้การบรรจุงานทำได้ในระดับจำกัด |
. |
2. แนวทางแก้ไขปัญหา |
2.1ระยะสั้น ตั้งเป้าหมายการแก้ปัญหาให้เสร็จทัน มี.ค. 2550 ที่จะมีเด็กจบการศึกษารุ่นใหม่ |
. |
2.1.1 ให้ฝ่ายจัดหางานจังหวัด กรมการจัดหางาน ออกประกาศรับคน เพื่อให้สถานประกอบการส่งข้อมูลจำนวนแรงงานที่ต้องการให้ฝ่ายจัดหางานจังหวัด กรมการจัดหางาน ที่จะเป็นหน่วยงานหลักในการประสานข้อมูล โดยขอให้ระบุสาขาและทักษะที่ต้องการ เพื่อกรมการจัดหางานจะช่วยจัดหาคนตามจำนวนและคุณสมบัติ ช่วยในการจับคู่ ในขั้นต้น โดยขอให้สถานประกอบการต่างส่งข้อมูลความต้องการแรงงานให้ฝ่ายจัดหางานจังหวัด และกระทรวงแรงงานจะช่วยกระจายข่าวสารข้อมูลด้านแรงงานให้ทั่วถึงกลุ่มเป้าหมาย ทั้งผู้หางานและสถานประกอบการ |
. |
2.1.2 ให้ทดลองปฏิบัติแก้ไขปัญหาขาดแคลนแรงงานระดับ ปวช. และ ปวส. ตามร่าง 2 โมเดล ในโครงการนำร่องแก้ปัญหาพนักงานฝ่ายผลิต กับ พนักงานปฏิบัติการ ในพื้นที่ จ.สมุทรปราการ และ ชลบุรี และ ท่านรัฐมนตรีฯได้มอบนโยบายขอให้พัฒนาแรงงานให้รู้จัก “ออมเป็น” ตามนโยบายเศรษฐกิจที่พอเพียง และยึดมั่น 4 ป (MEET) ( เป็นธรรม (Morale) ประหยัด ( Economy) ประสิทธิภาพ (Efficiency) โปร่งใส (Transparency) ) ในโมเดล โดยให้รีบดำเนินการให้มีความก้าวหน้า เพื่อพิจารณาขยายผลต่อไป |
. |
2.1.3 กระทรวงแรงงานจะได้ให้จัดการประชุม 3 ฝ่าย ร่วมกับ สภาอุตสาหกรรม และ กระทรวงศึกษาธิการ ในการ |
ก.จัดทำฐานข้อมูลเพื่อผลิตแรงงานให้สอดคล้องกับความต้องการทั้งในเชิงปริมาณและคุณภาพ |
1. ให้สถาบันการศึกษาแสดงจำนวนนักศึกษาที่ผลิต เรียนจบ 2. ให้นักศึกษาเข้าไปลงทะเบียนผ่านเว็บไซต์ ว่าต้องการจะศึกษาต่อ หรือ ต้องการเข้าทำงาน 3. ให้สถานประกอบการ สามารถเข้าไปดูข้อมูลเหล่านี้ได้ และแสดงความต้องการโดยระบุทักษะ ความรู้ จำนวนที่ต้องการ |
. |
ข. จัดทำโครงการร่วมกับสถาบันการศึกษาในการจัดทำหลักสูตรการผลิตคนให้ตรงกับความต้องการแรงงาน ในเชิงปริมาณและคุณภาพ และ ให้สอดคล้องกับความต้องการของท้องถิ่น เพื่อลดการเคลื่อนย้ายแรงงานข้ามจังหวัด เนื่องจากการให้แรงงานมาทำงานนอกพื้นที่ที่ตนอยู่นั้น จะต้องมีค่าใช้จ่ายเพิ่มขึ้นในการจูงใจ เช่น ที่พัก, ค่ารถ, สวัสดิการอื่น ๆ |
. |
2.2 ระยะกลาง |
2.2.1 สถานประกอบการ พัฒนาแรงงานให้มีความรู้ โดยดำเนินการเอง หรือสมัครเข้าร่วมโครงการกับภาครัฐในการ |
2.2.1.1 การอบรมเสริมนอกระบบ ให้สถาบันการศึกษาเข้าไปอบรมหลักสูตรในสถานประกอบการ |
2.2.1.2 การอบรมโดยได้รับวุฒิ ให้ใช้ระบบทวิภาคี สามารถเรียนไปทำงานไป โดยเทียบประสบการณ์เป็นวุฒิได้ มีการส่งอาจารย์เข้าไปสอนถึงในสถานประกอบการ และการใช้ระบบเทียบโอนประสบการณ์มาร่วมเป็นเครดิตในการปรับวุฒิ โดยอาจารย์เป็นผู้ประเมินว่าเทียบโอนได้หรือไม่ |
. |
2.2.2 สถานประกอบการเปิดรับนักศึกษาไปฝึกงานที่โรงงาน โดยสถานศึกษาปรับหลักสูตร เช่น ฝึกงานนาน 3 เดือน เรียน 3 เดือน สลับกันไปตลอดทั้งปี ซึ่งวิทยาลัย จ. ชลบุรี ได้ปฏิบัติแล้วได้ผลดี |
. |
2.2.3 จัดหามาตรการจูงใจส่งเสริมผู้เข้าเรียนในสาขาที่ขาดแคลน เช่นเดียวกับมาตรการจูงใจที่มีใน พรบ.ส่งเสริมการพัฒนาฝีมือแรงงาน พ.ศ. 2545 โดยสถานประกอบการสามารถให้ทุนการศึกษาแก่นักเรียนสาขาที่ขาดแคลน ในระดับที่สูงกว่าการศึกษาฟรีภาคบังคับ เช่น ปวส. โดยมีสัญญาผูกมัดระยะเวลาทำงาน |
. |
.2.2.4 สถานประกอบการอาจต้องพิจารณาปรับระบบการจ่ายค่าจ้าง เปลี่ยนจากการจ่ายตามวุฒิการศึกษา ที่มีเพดานขั้นสูง ไปเป็นการจ่ายตาม ทักษะ ซึ่งกรมพัฒนาฝีมือแรงงานกำลังจัดทำ ร่างกฎหมายการจ่ายค่าจ้างตามทักษะฝีมือแรงงาน ประสบการณ์ |
. |
2.2.5 จัดทำโครงการลงทะเบียนผู้เชี่ยวชาญสูงอายุ ที่อาจเกษียณแล้ว แต่ยังมีความรู้ ความเชี่ยวชาญเฉพาะด้าน มาช่วยถ่ายทอดความรู้ในการฝึกอบรมให้กับหน่วยงานต่าง ๆ |
. |
2.2.6 จัดทำนโยบายการเคลื่อนย้ายแรงงานอย่างเป็นระบบ เพื่อบรรเทาปัญหาการขาดแคลนแรงงานในระยะยาว สนใจสอบถามรายละเอียดเพิ่มเติม โปรดติดต่อ กระทรวงแรงงาน . |